ที่มาของโครงการ
ปัจจุบันมีความสนใจนําสีธรรมชาติมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ สิ่งทอที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น แต่สีที่ได้จากการย้อมหรือพิมพ์ด้วยสีธรรมชาติ มีความเข้มและความคงทนของสีน้อยกว่าสีเคมี ในงานวิจัยนี้ได้ทําการศึกษาการเตรียมผ้าฝ้ายและไหมด้วย ไคโตซานมวลโมเลกุลต่ําในช่วง 20,000-40,000 ดาลตัน โดยกระบวนการจุ่มอัด-อบแห้ง-ผนึก ก่อนการย้อมสีธรรมชาติ 5 ชนิด ได้แก่ ครั้ง ดอกดาวเรือง เปลือกต้นมะพูด ใบชา และเปลือกต้นสะเดา โดยทำการวัดค่าความเข้มของสี (K/S values) และค่าสี CIELAB L*a*b* ของตัวอย่างผ้าที่ย้อมได้ ทดสอบสมบัติความคงทนของสีต่อการชักต่อแสง ต่อการขัดถู ตามมาตรฐาน ISO 105C-01.ISO 105-B02, AATCC Test Method 8 ตามลําดับ ทดสอบความกระด้างของผ้าและความสามารถในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus- aureus ตามมาตรฐาน ASTM Dl388-96 และ AATCC Test Method 100 ตามลําดับ นอกจากนี้ยังศึกษาผลของการทํามอร์แดนท์ด้วยสารส้ม การตกแต่งผ้าหลังย้อมด้วยสาร Crosslinking agent และ Binder เชิงการค้า เพื่อช่วยเพิ่มความคงทนของสี
กระบวนการเตรียมผ้าโดยไคโครซาน
(Chitosan treatment process)
รายละเอียดโครงการ
จากผลการทดลองที่ได้ของงานวิจัยนี้ พบว่า การเตรียมผ้าฝ้าย ด้วยไคโตชานร่วมกับการทํามอร์แดนท์ด้วยสารส้มให้ผลการติดสีดีที่สุด สําหรับการย้อมสีธรรมชาติจากครั้ง ดอกดาวเรือง และ เปลือกต้นมะพูด ขณะที่สีใบชาและเปลือกต้นสะเดา ต้องการเฉพาะการเตรียมผ้าด้วยไคโตชาน สําหรับผ้าฝ้ายย้อมสีครังและเปลือกต้นมะพูดจําเป็นต้องทําการตกแต่งสําเร็จเพิ่มด้วยสาร Knittex CHN ที่เป็นสารประเภท Crosslinking agent เพื่อให้มีความคงทนของสี ต่อการชักอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ในกรณีของการย้อมผ้าไหม ด้วยสีครั้ง เปลือกต้นมะพูด ใบชา และเปลือกต้นสะเดา จําเป็นต้องผ่านการเตรียมผ้าด้วยไคโตชาน การทํามอร์แดนท์ด้วยสารส้ม และการตกแต่งสําเร็จด้วยสาร EVO TOP A 30 ที่เป็นสารประเภท polyacrylate binder ขณะที่การย้อมผ้าไหมด้วยสีดอกดาวเรืองต้องการเพียงการเตรียมผ้าด้วยไคโตชาน
จากองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยนี้ น่าจะมีศักยภาพในการนําไป ใช้พัฒนากระบวนการเตรียมผลิตภัณฑ์สิ่งทอจาก ผ้าฝ้ายและไหม ย้อมด้วยสีธรรมชาติ ที่มุ่งเน้นการใช้มอร์แดนท์หรือสารช่วยติดสีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่ควรศึกษาปรับปรุงสมบัติความคงทนของสีและความสามารถในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียเพิ่มเติม เพื่อให้เหมาะสมกับการนําไปใช้งานจริง
ผลที่เกิดขึ้น
• องค์ความรู้การเตรียมผ้าฝ้ายและไหมด้วยไคโตชานก่อนการย้อมสีธรรมชาติ
• ต้นแบบห้องปฏิบัติการ ผ้าฝ้ายและไหมย้อมสีธรรมชาติที่มีสมบัติยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย
• บทความตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติที่มี Impact factor 1 เรื่อง
• บทความตีพิมพ์ในเอกสารการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ 2 เรื่อง
หัวหน้าโครงการ : ดร.มณฑล นาคปฐม ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
ผู้ร่วมวิจัย : นางสาวบุปผา สมบูรณ์, นางสาวนุชศรา นฤมลต์ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
ผศ.ดร.อุษา แสงวัฒนาโรจน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Project Leader : Dr. Monthon Nakpathom National Metal and Materials Technology Center
Research Team : Ms. Buppha Somboon, Ms. Nootsara Narumol National Metal and Materials Technology Center
Asst.Prof.Dr. Usa Sangwatanaroj Chulalongkorn University
Contact : 0 2564 6500 ext. 4464 Email monthonn@mtec.or.th