โครงการวิจัยนี้ มุ่งพัฒนาระบบเชื่อมซ่อมชิ้นส่วนที่ใช้ในโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ด้วยเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ระบบเชื่อมที่พัฒนาขึ้น ที่ใช้งานได้จริงและมีประสิทธิภาพ เพิมคณภาพของงานเชื่อมซ่อม ลดระยะเวลาการดําเนินงาน ลดปัญหาการขาดแคลนช่างเชื่อม
ที่มาของโครงการ
การเชื่อมซ่อมเป็นหนึ่งในกระบวนการหลักที่สําคัญและมีความจํา เป็นอย่างยิ่งที่ให้บริการลูกค้าในธุรกิจบํารุงรักษาโรงไฟฟ้าและ โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อสร้างความมั่นคงในระบบการผลิต ไฟฟ้าของประเทศ ดังนั้นเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการให้บริการจึง ต้องมีการพัฒนากระบวนการเชื่อมซ่อมที่มีความทันสมัย เชื่อถือได้ ในคุณภาพงาน และมีประสิทธิภาพสูงแข่งขันได้
รายละเอียดโครงการ
ในการพัฒนา ระบบหุ่นยนต์เชื่อมอัตโนมัติแบบทิก (GTAW) ที่มีแกนการเคลื่อนที่ 7 แกนการเคลื่อนที่แบบเซอร์โว พร้อมด้วย ซอฟต์แวร์สําหรับควบคุมการเชื่อมพอก ระบบควบคุมแรงดันอาร์คอัตโนมัติ ระหว่างเชื่อม หรือ Arc Voltage Control (AVC) ซอฟต์แวร์สําหรับสร้างทางเดินแนวเชื่อมอัตโนมัติ ระบบเฝ้าดู กระบวนการที่สามารถแสดงข้อมูลความร้อนที่ให้กับแนวเชื่อม (Heat-input) และอุณหภูมิของชิ้นงาน พร้อมทั้งนําเสนอผลการ วิเคราะห์โครงสร้างแบบมาโคร การตรวจสอบด้วยสารแทรกซึมการตรวจสอบความแข็งของแนวเชื่อม
ผลที่เกิดขึ้น
จากการวิจัยและพัฒนาร่วมกับ กฟผ. เป็นระยะเวลากว่า 2 ปี ทําให้ได้ต้นแบบระบบหุ่นยนต์เชื่อมอัตโนมัติ สําหรับการเชื่อมพอก ผิวแข็ง ที่ใช้งานได้จริงและมีประสิทธิภาพ ผลจากการเชื่อมซ่อม ชิ้นส่วนโรงไฟฟ้า ผ่านตามมาตรฐาน ASME SECTION IX และ ระบบหุ่นยนต์ได้ถูกติดตั้งใช้งาน ณ.กองโรงงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย
หัวหน้าโครงการ : ดร.นิรุตต์ นาคสุข ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
ผู้ร่วมวิจัย : นายจิรเดช นาคเงินทอง, นายทวีรัช มารวยทรัพย์, นายฉัตรชัย สุขศรีเมือง, นายวราวุธ พรินทรากูล ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
Project Leader : Dr. Nirut Naksuk National Metal and Materials Technology Center
Research Team : Mr. Jiradech Nakngoenthong, Mr. Taweerush Maruaisap, Mr. Chatchai Suksrimuang, Mr. Waravut Printrakoon National Metal and Materials Technology Center
Contact : 0 2564 6500 ext. 4149 e-mail nirutn@mtec.or.th