ผู้รับเทคโนโลยี
1) โรงงานมีศิลป์เซรามิค
2) โรงงานนันท์เซรามิค
ที่มาของโครงการ
โรงงานเซรามิกที่มีขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดลําปาง ส่วนใหญ่มีผลิตภัณฑ์เป็นสโตนแวร์ ประเภทเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร และของประดับหรือของที่ระลึกต่างๆ เผาที่อุณหภูมิประมาณ 1150-1250 °C แต่เนื่องจากสภาวะการแข่งขันและต้นทุน พลังงานที่สูง ผู้ประกอบการจึงมีความต้องการจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่มีเอกลักษณ์ และสร้างความแตกต่างกับคู่แข่งขัน จึงมีความสนใจ ในการนําเนื้อดินอุณหภูมิต่ําไปใช้ เพื่อเป็นการลดต้นทุนด้านพลังงาน และสร้างผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายให้กับโรงงาน
รายละเอียดโครงการ
โครงการได้รับทุนวิจัยจากสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เพื่อดําเนินพัฒนาเนื้อดินเซรามิก สําหรับเผาที่อุณหภูมิต่ํา โดยมีการพัฒนาเนื้อดินสโตนแวร์ให้ สามารถเผาสุกตัวได้ที่อุณหภูมิ 1050-1100°C จํานวน 4 สูตร จากการสัมมนาเผยแพร่ผลงานวิจัย และทีมงานวิจัยได้มีโอกาส ไปเยี่ยมชมโรงงานในกลุ่มจังหวัดลําปาง โรงงานไทยสิราซัพพลาย โรงงานกิตติโรจน์เซรามิกส์ และโรงงานนันท์เซรามิค มีความสนใจ ในการผลิตเซรามิกที่อุณหภูมิต่ํา จึงได้ขอความอนุเคราะห์ในการ ถ่ายทอดความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับสูตรเนื้อดินและเคลือบเพื่อนําไป ทดลองใช้ในโรงงานเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ และปรับปรุงเนื้อดิน ของโรงงานให้สามารถใช้ร่วมกับเคลือบอุณหภูมิต่ําได้ แต่เนื่องจาก โรงงานไทยสิราซัพพลายและโรงงานกิตติโรจน์เซรามิกส์ใช้น้ําดิน ที่ผลิตจากโรงงานมีศิลป์เซรามิค ดังนั้น โรงงานมีศิลป์เซรามิค จึงเป็นผู้รับการถ่ายทอดสูตรเนื้อดินอุณหภูมิต่ําจากทางห้องปฏิบัติการ และทําการผลิตน้ําดินเพื่อส่งต่อให้โรงงานไทยสิราซัพพลายและโรงงาน กิตติโรจน์เซรามิกส์ไปใช้ในกระบวนการผลิต สําหรับโรงงานนันท์ เซรามิคได้ดําเนินการทดลองผลิตโดยความช่วยเหลือการใช้เครื่องมือ จากศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเซรามิก จ.ลําปาง
ผลที่เกิดขึ้น
การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตที่อุณหภูมิต่ํา สําหรับอุตสาหกรรม เซรามิกนั้น จําเป็นต้องมีการพัฒนาควบคู่กันระหว่างเนื้อดินและ เคลือบอุณหภูมิต่ําที่มีความเหมาะสมกัน โดยสูตรเนื้อดินที่นําไปใช้ เป็นสูตรสําหรับการเผาที่อุณหภูมิ 1 100 °C ดังรายละเอียดแสดง ในตารางที่ 1 ทั้งนี้การลดอุณหภูมิการเผาทุกๆ 100°C จะทําให้ ต้นทุนพลังงานลดลง 10-15% หากคิดราคาเชื้อเพลิงแก๊ส LPG ถังละประมาณ 1,200 บาท (48 กก./ถัง) จะได้ผลการลดพลังงาน ที่ใช้ในการผลิตโรงงานมีศิลป์เซรามิคต้นทุนพลังงานลดลง 132,000 – 180,000 บาท /ปี โรงงานนันท์เซรามิค ต้นทุนพลังงานลดลง 12,000 – 18,000 บาท/ปี ดังแสดงในตารางที่ 2
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการถ่ายทอดเทคโนโลยี
Products from the technology transger
หัวหน้าโครงการ : ดร.อนุชา วรรณก้อน ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
ผู้ร่วมวิจัย : นายปริญญา สมร่าง, นางวัชรี สอนลา, นางสาวภัทรวรรณ เฉยเจริญ, นายสิทธิศักดิ์ ประสานพันธ์, นายวิทยา ทรงกิตติกุล ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
Project Leader : Dr. Anucha Wannagon National Metal and Materials Technology Center
Research Team : Mr. Parinya Somrang, Mr. Watcharee Sornlar, Ms. Pattarawan Choeycharoen, Mr. Sitthisak Prasanphan
Mr. Witaya Shongkittikul National Metal and Materials Technology Center
Contact : 0 2564 6500 ext. 4045 e-mail anuchaw@mtec.or.th