หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ
การวิเคราะห์ความเสียหายจากการกัดกร่อน
“Corrosion Failure Analysis Workshop”
จัดโดย
ทีมวิจัยการวิเคราะห์ความเสียหายและเทคโนโลยีการกัดกร่อน
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
วันที่ 28 – 29 พฤษภาคม 2562
สถานที่ ห้องบรรยาย 2 อาคารบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี
หลักการและเหตุผล
การกัดกร่อนของวัสดุเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเป็นปัญหาที่สามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้มีผลกระทบต่อด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม บางครั้งยังทำให้มีการสูญเสียชีวิต อันเป็นผลมาจากสาเหตุมากมายหลายประการ เช่น การขาดความรู้พื้นฐานของศาสตร์ด้านการกัดกร่อน ขาดความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องในการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมในสภาวะสิ่งแวดล้อมนั้นๆ มีการบำรุงรักษาและการป้องกันที่ไม่ถูกต้องและเหมาะสม นอกจากนั้นยังพบว่าเมื่อเกิดปัญหาแล้วไม่ได้ทำการตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง เป็นต้น
จากข้อมูลที่ได้มีการสำรวจในประเทศที่กำลังพัฒนาบางประเทศ พบว่า น่าจะมีการสูญเสียงบประมาณที่เกิดจากกัดกร่อนประมาณ 3-5% GNP และในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ได้มีการสำรวจมูลค่าการเสียหายเนื่องจากการกัดกร่อน ในปี ค.ศ. 2002 พบว่ามีการสูญเสียงบประมาณที่เกิดจากการกัดกร่อนประมาณ 3.1 % GNP คิดเป็นเงิน 276 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 11 ล้านล้านบาท สำหรับประเทศไทยนั้นจากการสำรวจต้นทุนการกัดกร่อนในประเทศไทย (Corrosion Cost Survey in Thailand) ในระหว่างปี พ.ศ. 2552-2554 ซึ่งเป็นการสำรวจต้นทุนการกัดกร่อนอย่างเป็นระบบครั้งแรก พบว่ามีมูลค่าราว 466,600 ล้านบาท หรือประมาณ 4.8 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ซึ่งจะเห็นได้ว่าต้นทุนการกัดกร่อนนั้นมีมูลค่าสูงมาก
ดังนั้นในประเทศไทย จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ศาสตร์ด้านการกัดกร่อนของโลหะ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้วัสดุที่มีมูลค่าสูง เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี โรงไฟฟ้า ชิ้นส่วนยานยนต์ และกระดาษ เป็นต้น เมื่อผู้ที่เกี่ยวข้องมีความรู้และความเข้าใจในศาสตร์ของการกัดกร่อนของโลหะแล้ว จะสามารถนำความรู้เหล่านั้นไปใช้ในการป้องการเสียหายจากการกัดกร่อนในรูปแบบต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกวัสดุที่เหมาะสม การบำรุงรักษาที่ถูกต้อง การวิเคราะห์หาสาเหตุที่เกิดขึ้น เป็นต้น ซึ่งจะทำให้เกิดการคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ลดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม และผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต
หลักสูตรการอบรมนี้ได้การออกแบบมาเพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้เกิดความเข้าใจทั้งเชิงทฤษฎีและปฏิบัติเกี่ยวกับศาสตร์ของการวิเคราะห์ความเสียหายของชิ้นส่วนโลหะจากการกัดกร่อน ผ่านการบรรยายทางทฤษฎีโดยทีมวิทยากรที่มีความรู้และประสบการณ์ตรงมากกว่า 15 ปี และมีภาคปฏิบัติเพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริง
วัตถุประสงค์
1. เข้าใจความสำคัญของการกัดกร่อนที่มีผลต่อเศรษฐกิจและสังคม
2. ทราบถึงหลักการเบื้องต้นของการกัดกร่อน
3. ทราบถึงกลไก สาเหตุ และการป้องกันการกัดกร่อนในรูปแบบต่างๆ
4. ทราบถึงเทคนิคการวิเคราะห์ความเสียหายจากการกัดกร่อน
5. ได้เรียนรู้การเสียหายจากการกัดกร่อนด้วยรูปแบบต่างๆ ผ่านกรณีการวิเคราะห์ความเสียหาย
6. ได้เห็นและสังเกตลักษณะความเสียหายจากการกัดกร่อนที่เกิดขึ้นกับชิ้นงานจริง
7. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริง
รูปแบบกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการเน้นการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ
กลุ่มเป้าหมาย
ทุกอุตสาหกรรมที่ประสบปัญหาด้านการกัดกร่อน และต้องการหาสาเหตุรวมไปถึงวิธีป้องกันอย่างถูกวิธี
วิทยากร
ดร.วนิดา พงศ์ศักดิ์สวัสดิ์; Ph.D. (Materials Science and Engineering)
อ.โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว; M. Eng. (Metallurgical Engineering)
อ.สยาม แก้วคำไสย์; M. Eng. (Metallurgical Engineering)
อ.ปิยะ คำสุข; M. Sci. (Industrial Chemical)
อ.นิรุช บุญชู; M. Eng. (Metallurgical Engineering)
อ.วิษณุพงษ์ คนแรง; B. Eng. (Materials Engineering and Production Technology)
อ.ศิริวรรณ อ่วมปาน; B. Eng. (Metallurgical Engineering)
กำหนดการ
วันอังคาร ที่ 28 พฤษภาคม 2562
08:00 น. – 08:45 น. ลงทะเบียน
08:45 น. – 09:30 น. การกัดกร่อนและการป้องกัน
– หลักการเบื้องต้นของการกัดกร่อน
09:30 น. – 10:30 น. รูปแบบการกัดกร่อน
– การกัดกร่อนแบบทั่วผิวหน้า (Uniform corrosion)
– การกัดกร่อนแบบกัลวานิก (Galvanic corrosion)
– การกัดกร่อนแบบใต้รอยซ้อน (Crevice corrosion)
– การกัดกร่อนแบบรูเข็ม (Pitting corrosion)
(ดร.วนิดา พงศ์ศักดิ์สวัสดิ์)
10:30 น. – 10:45 น. พักรับประทานอาหารว่าง เครื่องดื่ม และพบปะพูดคุยกัน
10:45 น. – 12:00 น. รูปแบบการกัดกร่อน (ต่อ)
– การสึกกร่อน-กัดกร่อน (Erosion-corrosion)
– การแตกร้าวเนื่องจากความเค้นร่วมกับการกัดกร่อน (Stress corrosion cracking)
– การแตกร้าวเนื่องจากความล้าร่วมกับการกัดกร่อน (Corrosion fatigue cracking)
– การแตกร้าวจากการเหนี่ยวนำของไฮโดรเจน (Hydrogen induced cracking)
(ดร.วนิดา พงศ์ศักดิ์สวัสดิ์)
12:00 น. – 13:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 น. – 16:00 น. ภาคปฏิบัติ: การวิเคราะห์ความเสียหายของชิ้นส่วนจากการกัดกร่อน
แบ่งกลุ่มเป็น 5 กลุ่ม โดยให้แต่ละกลุ่มทำการศึกษารูปแบบการกัดกร่อนกับชิ้นส่วนที่กำหนดให้
สถานีที่ 1. การทดลอง galvanic corrosion และศึกษาชิ้นส่วนส่วนที่เสียหายแบบ galvanic
สถานีที่ 2. การรั่วของท่อเหล็กกล้าไร้สนิมด้วยรูปแบบ pitting corrosion
สถานีที่ 3. การเสียหายของเฮดเดอร์ด้วยรูปแบบ hydrogen damage
สถานีที่ 4. การเสียหายของชิ้นส่วนด้วยรูปแบบ corrosion fatigue cracking
สถานีที่ 5. การเสียหายของชิ้นส่วนที่ผ่านการเคลือบด้วยรูปแบบ blistering/filiform corrosion
(อ.โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว อ.ปิยะ คำสุข อ.นิรุช บุญชู อ.วิษณุพงษ์ คนแรง และ อ.ศิริวรรณ อ่วมปาน)
16:00 น. – 16:45 น. สรุปภาคปฏิบัติการวิเคราะห์ความเสียหายของชิ้นส่วนโลหะจากการกัดกร่อน
(อ.โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว)
วันพุธ ที่ 29 พฤษภาคม 2562
08:45 น. – 10:15 น. การวิเคราะห์ความเสียหายของโลหะที่เกิดจากการกัดกร่อน
– ขั้นตอนการวิเคราะห์ชิ้นส่วนที่เสียหายจากการกัดกร่อน
– เครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์ความเสียหายจากการกัดกร่อน
(อ.นิรุช บุญชู)
10:15 น. – 10:30 น. พักรับประทานอาหารว่าง เครื่องดื่ม และพบปะพูดคุยกัน
10:30 น. – 12:00 น. กรณีศึกษาการกัดกร่อนของชิ้นส่วนทางวิศวกรรม
(อ.สยาม แก้วคำไสย์)
12:00 น. – 13:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 น. – 14:00 น. กรณีศึกษาการกัดกร่อนของชิ้นส่วนทางวิศวกรรม (ต่อ)
(อ.โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว)
14:00 น. – 14:15 น. พักรับประทานอาหารว่าง เครื่องดื่ม และพบปะพูดคุยกัน
14:15 น. – 16:15 น. ภาคปฏิบัติ: การวิเคราะห์ความเสียหายของชิ้นส่วนโลหะจากการกัดกร่อน
แบ่งกลุ่มเป็น 5 กลุ่ม โดยให้แต่ละกลุ่มทำการศึกษารูปแบบการกัดกร่อนกับชิ้นส่วนที่กำหนดให้
(อ.โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว อ.ปิยะ คำสุข อ.นิรุช บุญชู อ.วิษณุพงษ์ คนแรง และ อ.ศิริวรรณ อ่วมปาน)
16:15 น. – 16:45 น. สรุปภาคปฏิบัติการวิเคราะห์ความเสียหายของชิ้นส่วนโลหะจากการกัดกร่อน
(อ.โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว)
ค่าลงทะเบียน
บุคคลทั่วไป 6,000 บาท /ท่าน
สมาชิกสมาคมการกัดกร่อนโลหะและวัสดุไทย 5,500 บาท /ท่าน
หมายเหตุ
– อัตราค่าลงทะเบียนรวมค่าอาหารว่าง อาหารกลางวัน เอกสารประกอบการอบรม และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
– ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%
– รับจำนวนจำกัดเพียง 35 ท่านเท่านั้น
การลงทะเบียน
ลงทะเบียนออนไลน์ >>>
การชำระค่าลงทะเบียน
เงินสด/ โอนเงิน/ เช็คสั่งจ่าย บัญชี ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
บัญชีออมทรัพย์ สาขาย่อยอุทยานวิทยาศาสตร์ เลขที่บัญชี 080-0-000846
สมัครและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีวัสดุเพื่ออุตสาหกรรม (คุณบุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์/ คุณพลธร เวณุนันท์)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4675, 4677 E-mail : boonrkk@mtec.or.th