เทคโนโลยีที่ใช้
• การยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลชีพในน้ำยางพารา
• การรักษาเสถียรภาพเชิงกลของน้ำยางพารา
• การทำโฟมยางด้วยกระบวนการดันลอป (Dunlop process)
ที่มาหรือความสำคัญของการวิจัย
น้ำยางพาราข้นเป็นวัตถุดิบหลักสำคัญที่ใช้ในการทำผลิตภัณฑ์หมอนและที่นอนยางพารา แต่น้ำยางพาราข้นที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีส่วนผสมของแอมโมเนีย ซิงก์ออกไซด์ และเตตระเมทิลไทยูแรมไดซัลไฟด์ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำยางพาราข้นเกิดการบูดเน่า แต่แอมโมเนียเป็นสารเคมีที่ระเหยง่ายและมีกลิ่นฉุนรุนแรงมาก ทำลายสุขภาพ สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม และน้ำยางพาราข้นมีสมบัติไม่คงที่ ซิงก์ออกไซด์มีส่วนประกอบที่เป็นโลหะหนัก เตตระเมทิลไทยูแรมไดซัลไฟด์เป็นสารที่ก่อให้เกิดสารไนโตรซามีน (สารก่อมะเร็ง) และยังต้องมีขั้นตอนการบ่มน้ำยางพาราข้นและต้องมีขั้นตอนการกำจัดแอมโมเนียออกจากน้ำยางพาราข้นให้อยู่ในระดับเหมาะสมก่อนนำไปผลิตหมอนและที่นอนยางพารา
การนำไปใช้ / ถ่ายทอดเทคโนโลยี
• มีปริมาณแอมโมเนียต่ำกว่า 0.20% โดยน้ำหนักน้ำยาง (น้ำยางพาราข้นทางการค้ามีปริมาณแอมโมเนีย 0.3-0.7% โดยน้ำหนักน้ำยาง) จึงไม่ต้องมีขั้นตอนการกำจัดแอมโมเนียออกจากน้ำยางพาราข้นก่อนนำไปผลิตหมอนและที่นอนยางพารา ซึ่งเป็นมิตรกับคนและสิ่งแวดล้อม
• มีปริมาณซิงก์ออกไซด์ (ZnO) และเตตระเมทิลไทยูแรมไดซัลไฟด์ (TMTD) น้อยกว่า น้ำยางพาราข้นทางการค้า (ชนิด LA และ MA) 30% โดยน้ำหนักน้ำยาง จึงช่วยลดปริมาณการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตน้ำยางพาราข้น
• นำไปใช้งานได้ทันทีภายใน 1-3 วันหลังจากวันผลิต (ไม่ต้องบ่มน้ำยางในถังพักไว้ 21 วันเหมือนน้ำยางพาราข้นทางการค้า) จึงช่วยลดเงินทุนหมุนเวียนในการรับซื้อน้ำยางพาราสดและประหยัดเงินลงทุนในการสร้างอุปกรณ์จัดเก็บน้ำยางพาราข้น
• มีอายุการเก็บรักษานานกว่า 6
กลุ่มลูกค้า / ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย
• เกษตรกรสวนยาง
• ผู้ประกอบการผลิตน้ำยางข้น
• ผู้ประกอบการผลิตหมอนและที่นอนยางพารา
ความก้าวหน้า
• มีการผลิตน้ำยาง ParaFIT ในระดับอุตสาหกรรมแล้ว
• มีผลิตหมอนและที่นอนยางพาราที่ผลิตจากน้ำยาง ParaFIT จำหน่ายเชิงพาณิชย์แล้ว
• อยู่ระหว่างขยายการใช้ประโยชน์น้ำยาง ParaFIT สู่ภาคชุมชนและภาคอุตสาหกรรมในวงกว้าง
หน่วยงานพันธมิตร
• สหกรณ์การเกษตรบ้านแพรกหา จำกัด
• บริษัท ไทยอีสเทิร์น รับเบอร์ จำกัด
มูลค่าผลกระทบ
• ตั้งแต่เดือน มีนาคม 2562 มีการผลิตน้ำยาง ParaFIT มากกว่า 25 ตัน
• ผลิตหมอน มากกว่า 5,300 ใบ
• ผลิตหมอนรองคอ มากกว่า 2,000 ใบ
• ผลิตหมอนข้าง มากกว่า 140 ใบ
• ผลิตที่นอน มากกว่า 30 หลัง
• สร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจมูลค่า มากกว่า 1.39 ล้านบาท (ปี 2562)