รางวัลและเกียรติยศ
ระดับชาติ
รางวัลและเกียรติยศ: ระดับชาติ
ประเภท: ผลงานวิจัย
ผลงานที่ได้รับรางวัล: การวิจัยพัฒนาด้านเทคโนโลยีกักเก็บพลังงาน
นักวิจัยเจ้าของผลงาน: ดร.พิมพา ลิ้มทองกุล และคณะวิจัย ซึ่งประกอบไปด้วย ดร. วรวริศ กอปรสิริพัฒน์ ดร. จิราวรรณ มงคลธนทรรศ ดร. มานพ มาสมทบ ดร. อุกฤษฎ์ สหพัฒน์สมบัติ ดร. วิศาล ลีลาวิวัฒน์ ดร. ธัญญา แพรวพิพัฒน์ นางสาวฝนทิพย์ ธรรมวัฒน์ นางสาวประณุดา จิวากานนท์ และนายวิเศษ ลายลักษณ์
ชื่อรางวัลและเกียรติยศที่ได้รับ: PTIT Award ประจำปี 2019-2020
สาขา : PTIT Innovation Award
หน่วยงานที่ให้รางวัลและเกียรติยศ: สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (PTIT)
ผู้มอบ : คุณพละ สุขเวช ประธานสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
พิธีมอบรางวัลและเกียรติยศ: 2019 PTIT Annual Dinner
สถานที่ :โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร
วันที่ : 10 กันยายน 2562
ที่มาและความสำคัญของรางวัลและเกียรติยศ
PTIT Awards (Petroleum Institute of Thailand Awards) จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยพัฒนาและเสริมสร้างในด้านต่างๆ โดยเฉพาะในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกย่อง และส่งเสริมบุคลากรในส่วนราชการ สถาบันการศึกษา และอุตสาหกรรม ผู้ซึ่งได้ปฏิบัติงานหรือกำลังปฏิบัติงานที่สนับสนุนการพัฒนา และนวัตกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยรางวัลประเภท PTIT Innovation Award มอบให้กับคณะบุคคลที่มีประวัติการทำงานและผลงานวิจัยและพัฒนา ที่มี่คุณค่าต่ออุตสาหกรรม Petroleum (Oil & Gas), Petrochemical and/or Energy Related ตลอดจนเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ของประเทศไทยอย่างชัดเจน และ เป็นผู้มีผลงานด้านนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุตหกรรมดังกล่าวข้างต้น ที่คิดค้นได้ภายในประเทศ โดยนวัตกรรมนั้น หมายถึงผลงานที่สร้างขึ้นใหม่ หรือพัฒนาต่อยอดจากผลงานเดิม และสามารถนำไปใช้เชิงพาณิชย์ หรือเพื่อสาธาณประโยชน์ได้
รายละเอียดโครงการ/ผลงานที่ได้รับรางวัลและเกียรติยศ
ดร. พิมพา ลิ้มทองกุล และคณะวิจัยซึ่งประกอบไปด้วย ดร. วรวริศ กอปรสิริพัฒน์ ดร. จิราวรรณ มงคลธนทรรศ ดร. มานพ มาสมทบ ดร. อุกฤษฎ์ สหพัฒน์สมบัติ ดร. วิศาล ลีลาวิวัฒน์ ดร. ธัญญา แพรวพิพัฒน์ นางสาวฝนทิพย์ ธรรมวัฒน์ นางสาวประณุดา จิวากานนท์ และนายวิเศษ ลายลักษณ์ ได้ทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านด้านแบตเตอรี่มากว่า 15 ปี มีประสบการณ์ด้านการวิจัยพัฒนาวัสดุและระบบกักเก็บพลังงานรวมกันกว่า 100 คน-ปี (man-year) โดยทีมได้ทำการวิจัยพัฒนา วัสดุและระบบกักเก็บพลังงาน โดยเฉพาะด้าน นวัตกรรมแบตเตอรี่ เพื่อใช้งานกับยานยนต์ พลังงานทดแทน และสำหรับงานด้านความมั่นคง ณ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อการนำเทคโนโลยีด้านวัสดุและระบบแบตเตอรี่ไปใช้เพื่อในการพัฒนาประเทศให้เป็นไปอย่างยั่งยืน
ทีมวิจัยได้สร้างศักยภาพในการพัฒนาเทคโนโลยี ครอบคลุมทั้ง value chain ของแบตเตอรี่เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ของประเทศและของโลกได้มากที่สุด ได้มีผลงานการคิดค้นในหลายระดับตั้งแต่งานวิจัยพื้นฐานเชิงลึกที่โจทย์ความต้องการของประชาคมโลกระยะยาว การวิจัยให้หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศซึ่งส่วนใหญ่เป็นการตอบโจทย์ความต้องการระยะสั้นถึงปานกลาง โดยแต่ละงานสร้างนวัตกรรมจากความรู้ด้านวัสดุและระบบกักเก็บพลังงานโดยเฉพาะด้านแบตเตอรี่ที่มีเข้าไปสู่การใช้งานจริง รวมถึงการศึกษาเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องการภาคพลังงานรวมของประเทศที่เกี่ยวข้องกับระบบกักเก็บพลังงาน ตัวอย่างผลงานที่สำคัญ อาทิเช่น วัสดุใหม่ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญให้แบตเตอรี่มีความจุที่มากและอายุการใช้งานยาวนานที่เข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิตแบตเตอรี่ การใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อช่วยในการออกแบบโครงสร้างของเซลล์แบตเตอรี่ให้มีประสิทธิภาพสูงและราคาถูก การออกแบบแพ็กแบตเตอรี่ที่มีอายุการใช้งานยาวนาน และมีความทนทานในระดับสูงผ่านมาตรฐานสากลสำหรับการใช้งานด้านความมั่นคง การพัฒนาแบบจำลองในการเลือกใช้งานประเภทของแบตเตอรี่รวมถึงระบบการจัดการแบตเตอรี่ร่วมกับแหล่งพลังงานลมและแสงอาทิตย์ประสิทธิภาพการทำงานที่สูงและคุ้มค่าต่อการลงทุนที่ถูกนำไปใช้จริง โดยสามารถสร้างผลกระทบสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจรวมของประเทศในระดับพันล้านบาทต่อปี