ทีมวิจัยมุ่งเน้นการแก้ปัญหาทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยางพารา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคนิคทางวิศวกรรมเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งด้านกระบวนการผลิต การแปรรูป (เช่น ปัญหาการทำงานของเครื่องจักรที่ไม่สมบูรณ์) การใช้พลังงานอย่างเหมาะสม ของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต การออกแบบทางวิศวกรรมสำหรับอุปกรณ์ที่ทำจากยางพารา การสร้างนวัตกรรมของอุปกรณ์ที่ใช้แก้ปัญหาทางการเกษตร ตลอดจนเทคโนโลยีที่ใช้ได้สองทาง
ทีมวิจัยยังมีกิจกรรมด้านการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ยาง ซึ่งถือเป็นหนึ่งในพันธกิจหลักของกลุ่มวิจัยนวัตกรรมการแปรรูปยาง เพราะมาตรฐานผลิตภัณฑ์ยางนอกจากจะช่วยให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์จากการได้รับสินค้าที่มีการรับประกันคุณภาพแล้ว ยังช่วยให้ผู้ผลิตสามารถนำข้อกำหนดเกณฑ์คุณภาพในมาตรฐานไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ทั้งนี้มีเป้าหมายคือ พัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ของผลิตภัณฑ์ยาง และผลักดัน มอก. ที่มีผลกระทบสูงต่ออุตสาหกรรมยางไทยให้เป็นมาตรฐานระดับระหว่างประเทศ (ISO)
1. กระบวนการผลิตยางแผ่นจับตัวแบบใหม่ (KLEAN Process) : เครื่องผลิตยางแผ่นจับตัวแบบกึ่งอัตโนมัติด้วยการออกแบบเครื่องจักรกลและระบบเซนเซอร์ที่สามารถควบคุมการผลิตที่ดี ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
3. กระบวนการการแก้ปัญหาดินดานในพื้นที่การเกษตร
4. ยางรีดนมวัวจากยางธรรมชาติ
5. การวิเคราะห์การเหินน้ำ
6. การออกแบบยางล้อที่มีความต้านทานต่อการหมุนต่ำ
โมเดลยางล้อเรเดียลและยางล้อตันจากการออกแบบ
การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับกับกรมอู่ทหารเรือ
ยางคัพปลิงแบบยืดหยุ่นสำหรับใช้ในเรือราชนาวี
การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับหน่วยงานเอกชน
ยางล้อรถบังคับวิทยุแบบผิวเรียบ
ตัวอย่างผลงานเกี่ยวกับมาตรฐาน
ทีมวิจัยได้รับการรับรองเป็นองค์กรกำหนดมาตรฐาน (Standards Developing Organizations; SDOs) ประเภทขั้นสูง สาขาที่ 29 ยางและผลิตภัณฑ์ยาง ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) มีหน้าที่จัดทำร่างมาตรฐานฯ ที่เกี่ยวกับยางและผลิตภัณฑ์ยาง ส่งให้ทาง สมอ. พิจารณาประกาศใช้เป็นมาตรฐาน (มอก.) ของประเทศไทยต่อไป ตัวอย่างผลงาน ได้แก่
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)
มาตรฐานระดับระหว่างประเทศ (ISO)
ISO 20058:2017 General purpose rubber thread – Specification
ISO 2321:2017 Rubber threads – Methods of test
1. เครื่องทดสอบความต้านทานต่อการหมุนของยางล้อ
ใช้สำหรับการทดสอบความต้านทานต่อการหมุนของยางล้อ เหมาะสำหรับการพัฒนาสูตรยางคอมพาวนด์และการออกแบบลายดอกยางให้มีค่าความต้านทานการหมุนต่ำ โดยสามารถวัดค่าความต้านทานต่อการหมุนได้จาก 3 วิธีด้วยกัน คือ force method, torque method และ electrical method (ดำเนินการร่วมกับศูนย์วิจัยเทคโนโลยียาง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
2. เครื่องทดสอบความต้านทานต่อการลื่นไถลของแผ่นยางปูพื้นคอกปศุสัตว์
ทิพย์จักร ณ ลำปาง
นักวิจัย
อีเมล thipjak.nal@mtec.or.th