ภารกิจ บทบาท
ทีมวิจัยสารอันตรายจากวัสดุ มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีวัสดุเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากสารมลพิษอุบัติใหม่ โดยแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยีวัสดุ แบ่งออกเป็น 3 แนวทาง คือ
• แนวทางที่ 1 เทคโนโลยีวัสดุเพื่อแก้ไขปัญหามลภาวะที่เกิดจากของเสียอันตราย ได้แก่ การวิจัยและพัฒนาวัสดุทางเลือกเพื่อทดแทนวัสดุที่มีสารอันตรายเป็นองค์ประกอบ
• แนวทางที่ 2 เทคโนโลยีวัสดุเพื่อลดการปลดปล่อยมลภาวะ ได้แก่ การวิจัยและพัฒนาวัสดุที่มีสมบัติเฉพาะในการเก็บเกี่ยวพลังงานจากธรรมชาติและสภาวะแวดล้อ
• แนวทางที่ 3 เทคโนโลยีวัสดุเพื่อตอบสนองความต้องการวัสดุรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้แก่ การวิจัยและพัฒนาวัสดุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยเน้นการพัฒนากระบวนการผลิตใหม่ที่ลดมลภาวะ และต้นทุนการผลิต
1. การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีวัสดุสำหรับผลิตภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม
• วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีวัสดุ เพื่อลดการปลดปล่อยมลภาวะสู่สิ่งแวดล้อม โดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติเฉพาะของวัสดุกับบทบาทของวัสดุต่อการปรับปรุงสภาพแวดล้อม
• วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีวัสดุ เพื่อแก้ไขปัญหามลภาวะจากสารอันตรายที่เกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการผลิต และผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุการใช้งาน โดยการปรับปรุงกระบวนการผลิตวัสดุ และวิจัยวัสดุทดแทนที่ปราศจากสารอันตราย
• การสังเคราะห์วัสดุ ( Synthesis)
• กระบวนการผลิตวัสดุและการปรับปรุงวิธีการผลิตวัสดุ ( Processing & Reprocessing)
• การสร้างแบบจำลองวัสดุ (Modelling)
2. การวิจัยพัฒนาวิธีการทดสอบ ข้อมูล และความรู้ใหม่เกี่ยวกับวัสดุเพื่อสิ่งแวดล้อม
• พัฒนาขีดความสามารถด้านการวิเคราะห์ทดสอบปริมาณสารปนเปื้อนในวัสดุที่เป็นสารต้องห้ามตามกฎระเบียบ ข้อบังคับด้านสิ่งแวดล้อมที่มีต่อผลิตภัณฑ์
• พัฒนาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการทดสอบปริมาณและชนิดของสารปนเปื้อนในวัสดุ
• สร้างแนวร่วมด้านการวิเคราะห์ทดสอบสารปนเปื้อนในวัสดุ พร้อมทั้งดำเนินกิจกรรมเพื่อการเข้าไปมีส่วนร่วมในการร่างมาตรฐานการวิเคราะห์ทดสอบในระดับสากล
1. ผลงานด้านการวิจัยพัฒนาวิธีการวิเคราะห์ทดสอบ ข้อมูล และความรู้ใหม่เกี่ยวกับวัสดุเพื่อสิ่งแวดล้อม
• การจัดตั้งห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สารปนเปื้อนในวัสดุ (Trace Element Analysis Laboratory, TEA-Lab) เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการวิเคราะห์ปริมาณสารปนเปื้อนในวัสดุตามระเบียบ RoHS และเป็นห้องปฏิบัติการต้นแบบในการนำไปสู่การขยายผลในการเพิ่มปริมาณห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทดสอบปริมาณสารปนเปื้อนในวัสดุที่ได้มาตรฐานในประเทศไทย รวมทั้งการเป็นแหล่งสนับสนุนข้อมูลเทคนิค เพื่อการพัฒนาแนวทางในการวิเคราะห์ทดสอบ
• การพัฒนาเทคนิคการวิเคราะห์ปริมาณสารปนเปื้อนอย่างง่าย
• การตรวจสอบองค์ประกอบทางเคมีตั้งแต่ธาตุที่มีมวลโมเลกุลต่ำ จนกระทั่งถึงธาตุที่มีมวลโมเลกุลสูง และสามารถระบุตำแหน่งของแต่ละธาตุในชิ้นส่วนวัสดุ ตลอดจนระบุองค์ประกอบทางเคมีของแต่ละชั้นของชิ้นงานวัสดุในกรณีเป็นวัสดุที่มีการเคลือบผิว
• การพัฒนาวิธีการสำหรับการแยกแยะวัสดุที่ปนเปื้อนสารมลพิษอุบัติใหม่ ในผลิตภัณฑ์กลุ่ม สี น้ำมัน (ใช้แล้ว) และพลาสติกเนื้อนิ่ม เพื่อนำไปสู่ ข้อมูลสารอันตรายจากขยะและของเหลือใช้จากครัวเรือนและเกษตรกรรมในอนาคต (Future Waste)
เครื่องมือและตัวอย่างผลงานทดสอบ
GC-MS (Gas Chromatography-Mass Spectrometry)
มีตัวตรวจวัด (detector) ชนิด Mass Spectrometer (MS) เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูง สำหรับวิเคราะห์องค์ประกอบและปริมาณของสารอินทรีย์ในสถานะเเก๊ส จึงเหมาะสำหรับตัวอย่างที่ระเหยง่ายหรือกึ่งระเหย และมีเสถียรภาพทางความร้อน
1.1 GC-MS/TMD เป็น GC-MS ที่เชื่อมต่อกับ Thermal Desorption Unit
1.2 GC-MS/FID/ECD เป็น GC-MS ที่มีตัวตรวจวัดแบบ Flame Ionization Detector (FID) และ Electron Capture Detector (ECD) นอกเหนือจากแบบ MS นอกจากนี้ยังสามารถใช้วิเคราะห์ตัวอย่างด้วยเทคนิค Headspace Liquid และ Solid-Phase Micro Extraction (SPME)
ตัวอย่างงาน
• การตรวจวัดสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) ในอากาศ ชิ้นงานเรซิน และชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น
• การตรวจวัดปริมาณสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (Persistent Organic Pollutants : POPs) เช่น สารกลุ่ม HBCDs และ สารกลุ่ม PBDEs
2. เครื่อง HPLC (High Performance Liquid Chromatography)
เป็นเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์สารอินทรีย์ ที่อยู่ในรูปของของเหลว ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ ซึ่งเครื่องนี้จะมีตัวตรวจวัด (detector) แบบ
2.1 MS/MS (Triple quadrupole)
2.2 Photodiode array
3. เครื่อง LC/MS/MS (Liquid chromatography-mass spectrometry)
เป็นเครื่องมือสำหรับแยกวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณสารในสภาวะของเหลว โดยใช้ตัวตรวจวัด (Detector)เป็นแบบเครื่องวิเคราะห์มวลสาร (Mass Spectrometer) จัดเป็นเครื่องที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง มีความถูกต้องและความแม่นยำในการวิเคราะห์สูง สามารถวิเคราะห์สารตัวอย่างได้มากมายหลายชนิด
ตัวอย่างงาน
• การวิเคราะห์ VOCs เช่น Formaldehyde , Acetaldehyde ในชิ้นส่วนยานยนต์
• การวัดปริมาณการปลดปล่อยของยาที่ออกมาจากวัสดุปลดปล่อยยา (ยาปฏิชีวนะ ยาต้านมะเร็ง)
• วัดปริมาณสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (Persistent Organic Pollutants : POPs) เช่น สารกลุ่ม HBCD สารกลุ่ม PBDEs
4. เครื่อง IC (Ion Chromatography)
เป็นเครื่องมือที่อาศัยหลักการแลกเปลี่ยนไอออน (Ion exchange) จึงเหมาะสมกับสารประกอบที่มีประจุ หรือแตกตัวเป็นไอออนได้ สามารถวิเคราะห์ได้ทั้งประจุบวก (Cation) และประจุลบ (Anion) เช่น การวิเคราะห์ไอออน F-, Cl-, Ca2+, Mg2+ และการหาปริมาณไนเตรทและไนไตรท์จากเขม่าดินปืน
5. เครื่อง FT-IR (Fourier Transform Infrared Spectroscopy)
เป็นเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์หมู่ฟังก์ชัน (Functional group) ของสารตัวอย่าง ในรูปผงหรือแผ่นฟิล์มรวมทั้งสารทปนเปื้อนหรือสารที่เคลือบอยู่บนผิวตัวอย่างชิ้นงาน เช่น ยาง พลาสติก
6. เครื่อง UV (Ultraviolet)-VIS (Visible)-NIR (Near Infrared) spectrometry
เป็นเครื่องวิเคราะห์สารที่สามารถดูดกลืนแสงในช่วงคลื่น 200-2500 nm ได้ สามารถวิเคราะห์ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยตัวอย่างจะอยู่ในรูปสารละลายใสไม่มีตะกอน หรือของแข็ง เช่น แผ่นฟิล์ม หรือกระดาษ
7. Energy Dispersive X-Ray Fluorescence(ED-XRF)
เป็นเครื่องวิเคราะห์ธาตุ (elements) ในสารตัวอย่าง ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยสามารถตรวจวัดธาตุได้ ตั้งแต่ คาร์บอน ถึง ยูเรเนียม เหมาะสำหรับตัวอย่างทั้งที่เป็น ผง ของแข็ง และของเหลว เช่น การวิเคราะห์แผงวงจรในชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
8. Glow Discharge Spectroscopy (GDS) & GD-Profiler
เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ธาตุ (50 ธาตุ) ในตัวอย่าง ทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ รวมถึงวิเคราะห์แบบ bulk analysis, วิเคราะห์ที่พื้นผิว และวิเคราะห์ในแต่ละชั้น เหมาะสำหรับตัวอย่างที่เป็นโลหะที่มีผิวสัมผัสเรียบ
9. Electron Probe Micro Analyzer (EPMA)
เป็นเทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์ธาตุ (ทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ) ด้วยกล้องจุลทรรศ์แบบอิเล็กตรอนไมโครสโคป แบบ Mapping, ถ่ายรูป Scanning electron และภาคตัดขวาง (Cross section) โดยตัวอย่างต้องนำไฟฟ้า
10. Inductively Coupled Plasma (ICP)
เป็นเทคนิคที่ใช้วิเคราะห์ปริมาณธาตุโลหะในตัวอย่าง เช่น การตรวจวัดปรอทในท่อส่งแก๊ส โดยมีตัวตรวจวัด (Detector) ชนิด Optical Emission spectrometry (OES)
ทีมวิจัยสารอันตรายจากวัสดุ
โทรศัพท์ : 0 2564 6500 ต่อ 4369-4370