น้ำยางพาราข้นชนิดแอมโมเนียต่ำมากสำหรับทำผลิตภัณฑ์ Para AC ในอุตสาหกรรมก่อสร้างถนน
ที่มา
การใช้น้ำยางพาราข้นเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ PARA AC ที่อุณหภูมิ 140-160 ºC มักเกิดปัญหาไอระเหยของแอมโมเนียทำให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ทั้งยังเกิดการอุดตันของน้ำยางพาราข้นในท่อนำส่ง แม้ว่าผู้ประกอบการลงทุนติดตั้งเครื่องจักรสำหรับดูดไอระเหยของแอมโมเนีย และสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียเพิ่มเติมแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เป้าหมาย
พัฒนาน้ำยางพาราข้นชนิดแอมโมเนียต่ำมาก (ultra-low ammonia latex, ULA) น้ำยาง ULA นี้มีเสถียรภาพต่อความร้อนสูง จึงเหมาะกับการใช้เป็นวัตถุดิบในผลิตภัณฑ์ PARA AC สำหรับอุตสาหกรรมก่อสร้างถนน
ทีมวิจัยทำอย่างไร
- พัฒนาสูตรและกระบวนการผลิตน้ำยาง ULA ระดับห้องปฏิบัติการ โดยใช้สารเคมีชนิดอื่นทดแทนแอมโมเนีย
- ร่วมกับ บริษัท ไทยอีสเทิร์น รับเบอร์ จำกัด ผลิตน้ำยาง ULA ระดับอุตสาหกรรม โดยตรวจสอบสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของน้ำยาง ULA อ้างอิงตามมาตรฐาน มอก. 980-2552 (น้ำยางข้นธรรมชาติ)
- ร่วมกับ บริษัท ทิปโก้แอสฟัลท์ จำกัด (มหาชน) นำน้ำยาง ULA ไปผลิตผลิตภัณฑ์ PARA AC สำหรับทำถนนที่โรงงานจำนวน 2 แห่ง โดยตรวจสอบสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของผลิตภัณฑ์ ULA-PARA AC อ้างอิงตามมาตรฐาน มอก. 2731-2559 (แอสฟัลต์ซีเมนต์ปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ)
ผลการทดสอบน้ำยางพาราข้นทางการค้า VS น้ำยางพาราข้น ULA | |
· มีกลิ่นเหม็นจากแอมโมเนีย | · ลดกลิ่นเหม็นจากแอมโมเนีย |
· ใช้เวลาบ่ม 21 วัน | · ไม่ต้องบ่ม |
· ทำให้ท่อนำส่งอุดตัน | · ไม่ทำให้ท่อนำส่งอุดตัน |
· สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการบำบัดกลิ่นและน้ำเสีย | · ไม่มีค่าใช้จ่ายในการบำบัดกลิ่นและน้ำเสีย |
· ไม่เสถียรต่อความร้อน | · เสถียรต่อความร้อน |
| · PARA AC ที่ผลิตจากน้ำยาง ULA มีสมบัติผ่านมาตรฐาน มอก. 2731-2559 |
สถานภาพงานวิจัย
- ทีมวิจัยยื่นขอสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เลขที่คำขอ 1601004757 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2559 และจดความลับทางการค้า เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2560
- เอ็มเทคได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการใช้ประโยชน์น้ำยาง ULA สำหรับการทำผลิตภัณฑ์ PARA AC ให้แก่บริษัท ไทยอีสเทิร์น รับเบอร์ จำกัด แล้ว
- บริษัท ไทยอีสเทิร์น รับเบอร์ จำกัด ได้ผลิตน้ำยาง ULA ในเชิงพาณิชย์แล้ว โดยจำหน่ายให้แก่ บริษัท ทิปโก้แอสฟัลท์ จำกัด (มหาชน) เพื่อใช้ทำผลิตภัณฑ์ PARA AC ในระดับอุตสาหกรรมจำหน่ายให้แก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมก่อสร้างถนน โดยใช้ชื่อว่าผลิตภัณฑ์ ULA-PARA AC
แผนงานในอนาคต
ขยายผลการใช้น้ำยาง ULA ไปสู่ผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น ดินซีเมนต์ (soil cement) หมอนยาง ถุงมือยาง และหัวนมยาง
ทีมวิจัย
เอ็มเทค : ทีมวิจัยน้ำยางและวัสดุยาง กลุ่มวิจัยนวัตกรรมการแปรรูปยาง
บริษัท ไทยอีสเทิร์น รับเบอร์ จำกัด และ บริษัท ทิปโก้แอสฟัลท์ จำกัด (มหาชน)
ติดต่อ
ฐิติพร ทนันไชย ผู้จัดการและรักษาการผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ
โทรศัพท์: 02 564 6500 ต่อ 4785
อีเมล: thitipt@mtec.or.th