การออกแบบพัฒนาต้นแบบกระบวนการปรับสภาพดรอสอะลูมิเนียม
การออกแบบพัฒนาต้นแบบกระบวนการปรับสภาพดรอสอะลูมิเนียม
ที่มา
อุตสาหกรรมการหล่ออะลูมิเนียมใช้การเติมฟลักซ์เพื่อกำจัดสิ่งสกปรกออกจากอะลูมิเนียมหลอมเหลว ทำให้มีสกิมหรือดรอสร้อน (hot dross) เกิดขึ้น เมื่อนำดรอสร้อนไปแยกอะลูมิเมียมออกก็จะได้กากตะกรัน (salt slag) ที่มีเกลือในปริมาณสูง ทั้งนี้โรงงานแต่ละแห่งมักใช้วิธีกำจัดด้วยการฝังกลบ แต่ระหว่างการจัดเก็บถ้ากากตะกรันสัมผัสกับน้ำและหรือความชื้นในอากาศ ก็จะเกิดแก๊สแอมโมเนียที่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
เป้าหมาย
พัฒนากระบวนการปรับสภาพดรอสอะลูมิเนียมที่ใช้งานได้จริงในการผลิต กระบวนการดังกล่าวได้ผลลัพธ์ดังนี้
- ลดปริมาณคลอไรด์ไอออน เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมซีเมนต์ และช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องมือและอุปกรณ์ในการผลิตซีเมนต์
- ลดปริมาณแก๊สแอมโมเนียที่เกิดขึ้น เพื่อให้จัดเก็บได้ง่ายขึ้น
ทีมวิจัยทำอย่างไร
- ศึกษาข้อมูลจากงานวิจัยในต่างประเทศ
- วิเคราะห์ตัวอย่างกากตะกรัน
- ทบทวนกระบวนการจัดการแบบเดิม
- เลือกกระบวนการที่เหมาะสมกับประเทศไทย
- ออกแบบกระบวนการและเพิ่มประสิทธิภาพ
- ออกแบบเครื่องมือและเครื่องจักร
ผลการทดสอบ
- เพิ่มมูลค่ากากตะกรันโดยใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมซีเมนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเหล็ก และอุตสาหกรรมเซรามิก
- ลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดกากตะกรันด้วยการฝังกลบ
- จัดเก็บกากตะกรันได้ง่ายขึ้น
- ลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
สถานภาพงานวิจัย
- อยู่ระหว่างการขยายขนาดระบบการปรับสภาพกากตะกรันให้รองรับกำลังการผลิตจริงในโรงงาน
- ร่วมมือกับหน่วยวิจัยเซรามิกส์พัฒนาคุณภาพและนำผลิตภัณฑ์ที่ได้ไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม
แผนงานในอนาคต
พัฒนาระบบจัดเก็บและฐานข้อมูลพารามิเตอร์การหล่ออะลูมิเนียม รวมทั้งซอฟต์แวร์ที่ใช้จัดเก็บและควบคุมทางสถิติสำหรับกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมหล่ออะลูมิเนียม
ทีมวิจัย
เอ็มเทค : นายอมรศักดิ์ เร่งสมบูรณ์ และคณะ
ติดต่อ
พวงพร พันธุมคุปต์ นักวิเคราะห์อาวุโส ฝ่ายพัฒนาธุรกิจโทรศัพท์: 02 564 6500 ต่อ 4784
อีเมล: puangpp@mtec.or.th