ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ สมาคมการกัดกร่อนโลหะและวัสดุไทย และ CRRC Qingdao Sifang Co., Ltd. จัดการประชุมวิชาการทางด้านการกัดกร่อนและการป้องกันแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4 หรือ TCPC2023 (The 4th Thailand Corrosion and Prevention Conference) ระหว่างวันที่ 8–10 พฤศจิกายน 2566 ณ โรงแรมอมารี พัทยา จังหวัดชลบุรี
ศาสตราจารย์ ดร. กอบบุญ หล่อทองคำ นายกสมาคมการกัดกร่อนโลหะฯ และอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ ดร. เอกรัตน์ ไวยนิตย์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่ เอ็มเทค ร่วมเป็นประธานกล่าวเปิดงานการประชุมวิชาการฯ ในพิธีเปิดงานอย่างเป็นทางการที่มีการมอบโล่ขอบคุณผู้สนับสนุนการประชุมวิชาการฯ ทั้งหมด 12 หน่วยงาน โดยได้รับเกียรติจากประธานจัดการประชุมวิชาการฯ ศาสตราจารย์ ดร. กอบบุญฯ และ Dr. Sun Xiaoguang, CRRC Qingdao Sifang Co., Ltd. เป็นผู้มอบโล่ดังกล่าว ตามรายชื่อหน่วยงานผู้สนับสนุนฯ ดังต่อไปนี้
Platinum Sponsors:
JST Group Innovation & Excellence
Rayong Engineering & Plant Service Co., Ltd.
Gold Sponsors:
Akzo Nobel Paints (Thailand) Ltd.
GC Maintenance and Engineering Company Limited
Outokumpu (S.E.A.) Pte Ltd.
Exhibitors:
CMS Engineering and Solutions Co., Ltd.
Helmut Fischer (Thailand) Co., Ltd.
Integ Co., Ltd.
Nippon Paint Decorative Coatings (Thailand) Co., Ltd.
Pan Mechanic Engineering Co., Ltd.
Thai Marine Protection Co., Ltd.
Thai Parkerizing Co., Ltd.
รองศาสตราจารย์ ดร. เติมศักดิ์ ศรีคิรินทร์ ผู้อำนวยการเอ็มเทค ในฐานะประธานร่วมจัดการประชุมวิชาการฯ ครั้งนี้ ได้ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวต้อนรับและขอบคุณวิทยากร หน่วยงานสนับสนุน ผู้เข้าร่วมงาน และคณะกรรมการจัดการประชุมวิชาการฯ ภายในงานเลี้ยงกลางคืน พร้อมชมการแสดงศิลปะวัฒนธรรมพร้อมกันนี้ได้มีการหารือความร่วมมือกับหน่วยงานร่วมจัด หน่วยงานสนับสนุน และแลกเปลี่ยนความรู้กับวิทยากร (Keynote & invited speakers) และผู้เข้าร่วมการประชุมวิชการฯ ภายในงานเลี้ยงด้วย
การประชุมวิชาการครั้งนี้ประกอบด้วยการบรรยายของวิทยากรรับเชิญ ทั้งหมด 36 หัวข้อทางด้านเทคโนโลยีการกัดกร่อนและป้องกันในอุตสาหกรรมการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Construction) กระบวนการผลิต (Process Industry) และการขนส่งและการนำไปใช้งานที่เกี่ยวข้อง (Transport Industry and Related Applications) มีจำนวนผู้เข้าร่วมทั้งหมด 155 ท่านจาก 12 ประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา สวีเดน อิตาลี ญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และไทย
นอกจากนี้ยังมีการจัดให้เยี่ยมชมเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EECi (Eastern Economic Corridor of Innovation) อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง ในส่วนของศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center: SMC) โรงเรือนอัจฉริยะและโรงงานผลิตพืช (Greenhouse & Plant Factory) ชมการทำงานของทีมวิจัยมอเตอร์และการแปลงผันกำลังงาน (Machines and Power Conversions Research Team) และเดินชมกลุ่มอาคารหลัก (Main Buildings)