ภารกิจ บทบาท
ภารกิจ บทบาท
กลุ่มวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม ดำเนินการวิจัยพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีวัสดุและการจัดการเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากสารมลพิษอุบัติใหม่ โดยมีเป้าหมายหลักในการสร้างบุคลากรและพัฒนาองค์ความรู้ งานวิจัยและนวัตกรรมของประเทศให้มีศักยภาพและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งพัฒนาเทคโนโลยีวัสดุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมให้สามารถผลิตสินค้าที่ปราศจากสารอันตรายและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อผลักดันสินค้าและธุรกิจไทยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดยุคเศรษฐกิจสีเขียว และนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการผลิตที่ยั่งยืน
นอกจากนั้น กลุ่มวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม ยังมีภารกิจในการให้คำปรึกษาเพื่อแก้ปัญหาการผลิตสำหรับภาคอุตสาหกรรม และสร้างความตระหนักให้แก่ผู้ประกอบการไทยให้เกิดการตื่นตัวเกี่ยวกับมาตรการรักษาสิ่งแวดล้อมของประเทศคู่ค้า และดำเนินการเพื่อลดอุปสรรคและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยสามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก
กลุ่มเป้าหมายหลักของกลุ่มวิจัย ดังนี้
• ผู้ผลิตในสายโซ่การผลิตในอุตสาหกรรมไฟฟ้า, ยานยนต์และชิ้นส่วน, เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน, บรรจุภัณฑ์, อุตสาหกรรมพลาสติกและผู้ประกอบการตลอดห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์พลาสติก
• หน่วยงานและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เช่น Recyclers/ Waste Treatment & Abatement, Materials Reclamation/ ผู้ผลิตเครื่องจักร เครื่องมือ วัสดุ และบริการเพื่อสิ่งแวดล้อม
ขอบเขตการวิจัย
1. วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีวัสดุเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
2. พัฒนาวิธีการทดสอบเพื่อให้ได้ข้อมูลและความรู้ใหม่เกี่ยวกับวัสดุเพื่อสิ่งแวดล้อม
3. ออกแบบระบบและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีวัสดุเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
4. วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
5. วิจัยและหาแนวทางการจัดการและการใช้ประโยชน์ทรัพยากร
6. พัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจรักษ์สิ่งแวดล้อม
– การให้ความรู้และสร้างความตระหนักแก่ผู้ประกอบการไทยเกี่ยวกับมาตรการรักษาสิ่งแวดล้อมของประเทศคู่ค้า เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยสามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก
โครงสร้างของกลุ่มวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม
กลุ่มวิจัยสิ่งแวดล้อมแบ่งทีมวิจัยออกเป็น 2 ทีมวิจัยดังนี้
1.ทีมวิจัยสารอันตรายจากวัสดุ : SMARTest Team (SMAT)
ภารกิจและบทบาท : มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีวัสดุเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากสารมลพิษอุบัติใหม่ โดยแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยีวัสดุ แบ่งออกเป็น 3 แนวทาง คือ
• แนวทางที่ 1 เทคโนโลยีวัสดุเพื่อแก้ไขปัญหามลภาวะที่เกิดจากของเสียอันตราย ได้แก่ การวิจัยและพัฒนาวัสดุทางเลือกเพื่อทดแทนวัสดุที่มีสารอันตรายเป็นองค์ประกอบ
• แนวทางที่ 2 เทคโนโลยีวัสดุเพื่อลดการปลดปล่อยมลภาวะ ได้แก่ การวิจัยและพัฒนาวัสดุที่มีสมบัติเฉพาะในการเก็บเกี่ยวพลังงานจากธรรมชาติและสภาวะแวดล้อม
• แนวทางที่ 3 เทคโนโลยีวัสดุเพื่อตอบสนองความต้องการวัสดุรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้แก่ การวิจัยและพัฒนาวัสดุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยเน้นการพัฒนากระบวนการผลิตใหม่ที่ลดมลภาวะ และต้นทุนการผลิต
2. ทีมวิจัยวัสดุและระบบเพื่อสิ่งแวดล้อม : Material-System-Environment Team (MSET)
ภารกิจและบทบาท : มุ่งเน้นการวิจัยพัฒนาองค์ความรู้ด้านการออกแบบระบบและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีวัสดุเพื่อติดตามและฟื้นฟูสภาพแวดล้อม รวมทั้งมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีรักษ์สิ่งแวดล้อม ที่มีกรรมวิธีที่ไม่ซับซ้อน ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม และลดเลี่ยงการใช้สารเคมี เพื่อแปรสภาพวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรหรือจากโรงงานอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้า
ผลงานวิจัย/กิจกรรมวิจัย
• การจัดทำทำเนียบสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (POPs Inventory) ของประเทศ ฉบับที่ 2 และ (ร่าง) แผนจัดการระดับชาติเพื่อการปฏิบัติตามอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน ฉบับที่ 2
• การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจรักษ์สิ่งแวดล้อม
• การสื่อสารข้อมูลสารเคมีในผลิตภัณฑ์ ในระบบ “ChemSHERPA” ให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมในไทยการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจรักษ์สิ่งแวดล้อม
• การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิเคราะห์ทดสอบสำหรับการวิเคราะห์สารปนเปื้อนในสินค้า
• การพัฒนางานวิจัยเกี่ยวกับ Identification of Emerging Pollutants & Solutions
• การพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับใช้ประโยชน์วัสดุเหลือทิ้ง และการพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ
เครื่องมือสนับสนุนงานวิจัย
1. เครื่อง GC-MS (Gas chromatography-Mass spectrometry)
2. เครื่อง HPLC (High Performance Liquid Chromatography)
3. เครื่อง LC/MS/MS (Liquid chromatography-mass spectrometry)
4. เครื่อง IC (Ion Chromatography)
5. เครื่อง FT-IR (Fourier Transform Infrared Spectroscopy)
6. เครื่อง UV (Ultraviolet)-VIS (Visible)-NIR (Near Infrared) spectrometry
7. เครื่อง Energy Dispersive X-Ray Fluorescence(ED-XRF)
8. เครื่อง Glow Discharge Spectroscopy (GDS) & GD-Profiler
9. เครื่อง Electron Probe Micro Analyzer (EPMA)
10. เครื่อง Inductively Coupled Plasma (ICP)
ติดต่อหน่วยวิจัย
กลุ่มวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม
คุณภารดี บุญรอง นักวิเคราะห์
Email : paradeeb@mtec.or.th
โทรศัพท์ : 0 2564 6500 ต่อ 4303
โทรสาร : 0 2564 6402