dtmd-saw – รายงานประจำปี ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ 2020 https://www.mtec.or.th/annual-report2020 MTEC annual report 2020 Tue, 22 Dec 2020 13:14:07 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.9.3 https://www.mtec.or.th/annual-report2020/wp-content/uploads/2020/08/cropped-arrow_y-32x32.png dtmd-saw – รายงานประจำปี ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ 2020 https://www.mtec.or.th/annual-report2020 32 32 การศึกษาและติดตามปัญหาการเกิดรอยพ่นคล้ายกับรอยที่เกิดจากความชื้น (Silver Streaks) ในชิ้นงานฉีดสไตรีน-อะคริโลไนทริล (AS) ด้วยเทคนิคเทอร์โมกราวิเมตริก (TGA) https://www.mtec.or.th/annual-report2020/th/the-study-and-follow-up-of-silver-streaks/ Tue, 03 Nov 2020 09:05:35 +0000 http://localhost/wordpress/pixgraphy/?p=39 "การศึกษาและติดตามปัญหาการเกิดรอยพ่นคล้ายกับรอยที่เกิดจากความชื้น (Silver Streaks) ในชิ้นงานฉีดสไตรีน-อะคริโลไนทริล (AS) ด้วยเทคนิคเทอร์โมกราวิเมตริก (TGA)"]]> 494 Views

ที่มา

แผ่นพลาสติก (cover plate) ที่ขึ้นรูปด้วยสไตรีน-อะคริโลไนทริล (AS) จากล็อตการผลิตต่างๆ ของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) เกิดรอยพ่นคล้ายกับรอยที่เกิดจากความชื้น หรือ ซิลเวอร์สตรีก (silver streaks) ในตำแหน่งต่างๆ บนชิ้นงาน ปัญหาดังกล่าวนี้อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เรซินมีปริมาณความชื้นหลงเหลือมากเกินไป มีโมโนเมอร์ที่เหลือจากปฏิกิริยาโพลิเมอไรเซชัน หรือสารเติมแต่ง (additives) ต่างๆ ที่ผสมลงในเรซิน จึงจำเป็นต้องศึกษาอย่างเป็นระบบเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัด อันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาการปฏิเสธชิ้นงานได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ

เป้าหมาย

วิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดซิลเวอร์สตรีก และนำเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด

ทีมวิจัยทำอย่างไร

  1. ใช้องค์ความรู้ด้านการวิเคราะห์ทดสอบอัตราการสลายตัวทางความร้อนของโพลิเมอร์ด้วยเทคนิคเทอร์โมกราวิเมตริก (Thermogravimetric Analysis, TGA)
  2. ใช้องค์ความรู้ด้านการออกแบบแม่พิมพ์ฉีดร่วมกับการจำลองสถานการณ์การฉีดเข้าแบบ (injection molding simulation)
  3. ทดลองฉีดขึ้นรูปชิ้นงานแผ่นพลาสติก

ผลงานวิจัย

ซิลเวอร์สตรีกในชิ้นงานแผ่นพลาสติกเป็นประเภทแอร์สตรีก (air streaks) เกิดจากการออกแบบชิ้นงานที่ไม่เหมาะสมและแม่พิมพ์ไม่มีช่องระบายอากาศทำให้อากาศถูกกัก และความรุนแรงของปัญหาจะเพิ่มสูงขึ้นหากฉีดชิ้นงานด้วย AS เกรดที่สลายตัวทางความร้อนได้ง่ายกว่า

สถานภาพการวิจัย

เสร็จสมบูรณ์

แผนงานวิจัยในอนาคต

บริษัทฯ นำองค์ความรู้ที่ได้ไปเป็นแนวทางในการวางแผนการผลิตและการปิด (shutdown) เพื่อทำความสะอาดไลน์การสังเคราะห์เรซิน AS ให้มีรอบระยะเวลาในการผลิตที่ไม่ยาวนานจนเกินไป จนกระทั่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดการสะสมของสารองค์ประกอบต่างๆ ภายในไลน์การสังเคราะห์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกรดที่มีองค์ประกอบของสารที่เกิดการสลายตัวทางความร้อนได้ง่าย ทั้งนี้เพื่อลดโอกาสที่ AS ที่สังเคราะห์ได้จะเกิดการสลายตัวทางความร้อนในระหว่างการฉีดขึ้นรูป

นอกจากนี้บริษัทฯ ยังนำองค์ความรู้ด้านการออกแบบแม่พิมพ์ที่ได้รับคำแนะนำจากทีมวิจัยไปให้คำแนะนำแก่ลูกค้า เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการเกิดอากาศถูกกัก อันเป็นสาเหตุหลักประการหนึ่งที่ทำให้ชิ้นงานฉีดเกิดซิลเวอร์สตรีกได้

รายชื่อทีมวิจัย

ดร. พัชรี ลาภสุริยกุล, จารีนุช โรจน์เสถียร, ดำรงค์ ถนอมจิตร และ ณัชชา ประกายมรมาศ

ติดต่อ

ดร. พัชรี ลาภสุริยกุล
กลุ่มวิจัยกระบวนการทางวัสดุและการผลิตอัตโนมัติ

โทรศัพท์ 02 564 6500 ต่อ 4449
อีเมล patcharl@mtec.or.th

]]>
เปลยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบตะกร้าในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน https://www.mtec.or.th/annual-report2020/th/basket-stretchers/ Thu, 08 Oct 2020 04:31:35 +0000 https://demo.themefreesia.com/cocktail/?p=1 "เปลยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบตะกร้าในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน"]]> 653 Views

> ต้นแบบสาธาณประโยชน์​

ปัจจุบันประเทศไทยยังขาดอุปกรณ์ที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่เหมาะสมทั้งในด้านการใช้งาน ความแข็งแรง และความมีมาตรฐาน สำหรับให้ทีมผู้ปฏิบัติงานกู้ภัยและหน่วยกู้ชีพที่มีทักษะใช้ช่วยเหลือและเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่พิเศษที่เข้าถึงยากลำบากและต้องดำเนินการด้วยความเร่งด่วน

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) และศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ จึงร่วมกันพัฒนานวัตกรรมเปลยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบตะกร้า (basket stretcher) ที่สามารถใช้งานได้ทั้งทางบก (รถยนต์) ทางน้ำ (เรือ) และทางอากาศ (เฮลิคอปเตอร์) โดยออกแบบให้มีน้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายง่าย ทำจากวัสดุที่ทนทาน มีความแข็งแรงสอดคล้องกับข้อกำหนดตามมาตรฐานสากล สามารถรองรับผู้ป่วยที่มีน้ำหนักมากได้ และสามารถผลิตได้จริงด้วยต้นทุนที่ผู้ผลิตรายย่อยในประเทศไทยสามารถเข้าถึงได้ในวงกว้าง

ทีมวิจัยใช้กระบวนการออกแบบที่เรียกว่า Human-centric design โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานตามลำดับดังนี้

  1. สังเกตการณ์และทำความเข้าใจผู้ใช้ (observation) ด้วยการลงพื้นที่เก็บข้อมูล สังเกตการณ์ สัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน และรวบรวมประเด็นปัญหาที่พบ เพื่อนำมาพิจารณาเป็นข้อกำหนดในการออกแบบ
  2. รวบรวมแนวคิดในการแก้ไขปัญหา (ideation) ด้วยการระดมสมองเพื่อหาแนวคิดในการแก้ไขปัญหา
  3. ออกแบบและสร้างต้นแบบ (prototyping) ด้วยการใช้ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ อ้างอิงมาตรฐาน NFPA 1983 เพื่อออกแบบและวิเคราะห์ความแข็งแรง จากนั้นจึงสร้างต้นแบบ
  4. พิสูจน์ความถูกต้องของการออกแบบ (validation) ด้วยการทดสอบความแข็งแรงตามมาตรฐาน และการทดสอบการใช้งานจริงโดยตัวแทนทีมกู้ภัย ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ใช้เป้าหมาย และนำผลตอบรับที่ได้มาปรับปรุง ภายใต้ขอบเขตของระยะเวลาและงบประมาณที่กำหนด

ทีมวิจัยได้ดำเนินกิจกรรมทั้ง 4 ขั้นตอนเป็นวงจรทั้งหมด 5 รอบ จนได้ต้นแบบที่ตอบโจทย์ข้อกำหนดในการออกแบบ จากนั้นจึงทดสอบต้นแบบทั้งในระดับห้องปฏิบัติการและระดับภาคสนามในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยดำเนินการร่วมกับตัวแทนผู้ใช้ ได้แก่ อาสาสมัครกู้ภัยจำนวน 4 หน่วยงาน

จากการวิเคราะห์และการทดสอบภาคสนามสรุปได้ว่า ต้นแบบเปลยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบตะกร้ามีความเหมาะสมในด้านการใช้งาน มีน้ำหนักที่เบาเทียบเท่ากับเปลที่มีใช้ในต่างประเทศ มีความแข็งแรงสอดคล้องกับข้อกำหนดในมาตรฐาน NFPA 1983 และเหมาะสมสำหรับการปฏิบัติงานในพื้นที่พิเศษ นอกจากนี้ หูยึดเปลฯ ยังใช้งานได้สะดวกกับระบบเชือก ทุ่นลอยน้ำ รวมถึงชุดโครงฐานล้อแบบถอดแยกได้ ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ทำงานยากลำบาก

ต้นแบบเปลฯ มีความเหมาะสมทั้งในเรื่องวัสดุ วิธีการผลิต และต้นทุนที่คาดการณ์ไว้ว่าจะต่ำกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศถึง 60% ทำให้ผู้ผลิตรายย่อยในประเทศสามารถลงทุนผลิต และนำไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ได้อย่างยั่งยืน ช่วยลดการนำเข้าจากต่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาคุณภาพระบบการแพทย์ฉุกเฉินในประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพ

ต้นแบบนี้ได้ถูกถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงสาธารณประโยชน์ให้แก่ผู้ผลิตหรือช่างเชื่อมรายย่อย เพื่อดำเนินการผลิต และตรวจสอบรอยเชื่อมเบื้องต้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่กู้ภัยได้นำต้นแบบเปลฯ ดังกล่าวไปใช้ปฏิบัติหน้าที่และฝึกอบรมตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2562 และได้มีการขยายผลการนำไปใช้เพิ่มอีก 10 ต้นแบบตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2562 ถึงปัจจุบัน

ทีมวิจัย

ดร. ศราวุธ เลิศพลังสันติ และทีมวิจัยการออกแบบและแก้ปัญหาอุตสาหกรรม

]]>
ภาพรวมองค์กร https://www.mtec.or.th/annual-report2020/th/executive_summary/ Thu, 09 Jul 2020 09:21:06 +0000 http://demo.themefreesia.com/edge/?p=1 33 Views ]]> ผลงานเด่นตาม Domain of utilization https://www.mtec.or.th/annual-report2020/th/research_highlights/ Thu, 09 Jul 2020 08:43:37 +0000 http://localhost/wordpress/pixgraphy/?p=80 "ผลงานเด่นตาม Domain of utilization"]]> 25 Views

ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ เอ็มเทค

มีภารกิจส่งเสริมให้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมไทยสามารถใช้ประโยชน์จาก ความเชี่ยวชาญของทีมวิจัย จึงดำเนินกิจกรรมเชิงรุกในหลายรูปแบบ เช่น การเยี่ยมชม งานวิจัยของเอ็มเทค การสัมมนาเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย กิจกรรมศึกษาดูงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งการประชุมระดมสมองร่วมกับภาคอุตสาหกรรม การดำเนิน กิจกรรมดังกล่าว ได้ทำให้เกิดความร่วมมือในรูปแบบต่างๆ เช่น โครงการรับจ้างวิจัย โครงการร่วมวิจัย การให้คำปรึกษา การให้บริการวิเคราะห์ทดสอบ ตลอดจนการถ่ายทอด เทคโนโลยีเพื่อนำผลงานวิจัยไปใช้ในเชิงพาณิชย์ อันจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และสังคมโดยรวม

]]>
Stakeholder interview https://www.mtec.or.th/annual-report2020/th/stakeholder_interview/ Thu, 09 Jul 2020 08:42:56 +0000 http://localhost/wordpress/pixgraphy/?p=66 "Stakeholder interview"]]> 27 Views

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Fusce scelerisque iaculis libero, ac pellentesque mi fermentum vitae. Donec ipsum tellus, dapibus at blandit sed, iaculis quis est. Maecenas luctus facilisis lacus, et aliquet arcu cursus vitae. Nulla dolor erat, iaculis in gravida quis, pellentesque sed tortor. Aliquam varius euismod orci venenatis tincidunt. Interdum et malesuada fames ac ante ipsum primis in faucibus. Duis vel pharetra metus, ut pretium mi. Nunc at dolor eros. Aenean tempor viverra risus sit amet condimentum. Nulla facilisi.

]]>
การศึกษาและพัฒนาการใช้งาน FPA300 ในอุตสาหกรรมพลาสติก https://www.mtec.or.th/annual-report2020/th/failure_analysis_of_hydrogen_piping_system/ Thu, 09 Jul 2020 07:54:20 +0000 http://localhost/wordpress/pixgraphy/?p=14 "การศึกษาและพัฒนาการใช้งาน FPA300 ในอุตสาหกรรมพลาสติก"]]> 418 Views

ที่มา

FPA300 เป็นสารช่วยขึ้นรูป (processing aid) ที่มีคุณสมบัติช่วยลดความเสียดทานของการลำเลียงวัตถุดิบในกระบวนการขึ้นรูปพลาสติก และช่วยป้องกันการหยดของพลาสติกขณะติดไฟ

อย่างไรก็ตาม การสังเคราะห์ FPA300 มักได้อนุภาคของ FPA300 ตั้งแต่ขนาดใหญ่ กลาง และเล็กมากในระดับน้อยกว่า 75 ไมครอน (FPA300 fibrils) ปะปนกัน ซึ่งทุกขนาดมีองค์ประกอบทางเคมีที่เหมือนกัน แต่ขนาดอนุภาคที่เล็กมากจะมีลักษณะฟูทำให้การลำเลียงเข้าสู่สกรูเพื่อหลอมขึ้นรูปทำได้ยาก หรือไม่สามารถกำหนดปริมาณได้อย่างสม่ำเสมอจึงจำเป็นต้องคัดแยกออก

ปัจจุบันบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) มีปริมาณ FPA300 fibrils ที่คัดแยกและเก็บสะสมไว้ถึง 200 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 60 ล้านบาท บริษัทฯ จึงต้องการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำ FPA300 fibrils มาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์

เป้าหมาย

เปลี่ยน FPA300 fibrils ให้อยู่ในรูปแบบที่ลำเลียงเข้าสู่สกรูของเครื่องจักรได้ง่ายหรือมีลักษณะไหลแบบอิสระ และศึกษาแนวทางการใช้งาน FPA300 ในอุตสาหกรรมพลาสติกต่างๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าและโอกาสทางธุรกิจ

ทีมวิจัยทำอย่างไร

  • ใช้องค์ความรู้ด้านวิศวกรรมการขึ้นรูปพลาสติก (compression/grinding/extrusion/injection molding) ในการเปลี่ยน FPA300 fibrils ให้เป็นเม็ดที่ไหลได้อย่างอิสระ และทดสอบสมบัติในด้านต่างๆ ของชิ้นงานที่เติมเม็ด FPA300 ดังกล่าว
  • ทดสอบประสิทธิภาพการใช้เม็ด FPA300 เป็นสารช่วยขึ้นรูปในการอัดรีดโพลิเมอร์

ผลงานวิจัย

การเปลี่ยนรูป FPA300 fibrils: สามารถเปลี่ยน FPA300 fibrils ให้เป็นเม็ดที่ไหลได้อย่างอิสระ ซึ่งสามารถใช้เป็นสารช่วยขึ้นรูปในการขึ้นรูปชิ้นงานพลาสติกด้วยกระบวนการต่างๆ ได้ อย่างไรก็ตาม FPA300 มีความเข้ากันได้ที่จำกัดกับพลาสติกหลายชนิด จึงจำเป็นต้องปรับองค์ประกอบทางเคมีเพื่อแก้ไขจุดบกพร่องดังกล่าว

คุณค่าของ FPA300: สามารถเติมในอะคริโลไนทริลบิวทาไดอีนสไตรีน (ABS) และโพลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) ในระหว่างกระบวนการอัดรีดเป็นแผ่น โดยกรณีของแผ่นที่หนากว่า 0.8 มิลลิเมตร จะมีความหยาบผิวลดลงระหว่าง 2.9-5.4% นอกจากนี้การเติม FPA300 ยังช่วยเพิ่มความสามารถในการดึงยืดของแผ่น ABS ได้อย่างน้อย 32% ซึ่งเป็นประโยชน์กับการดึงขึ้นรูปลึก (deep drawing) ด้วยกระบวนการเทอร์โมฟอร์มิง (thermoforming)

การใช้ FPA300 เป็นสารป้องกันการหยดของพลาสติกขณะติดไฟ: การเติมสารหน่วงการติดไฟ 30% ร่วมกับ FPA300 0.5 phr (parts per hundred part of resin) ใน ABS ทำให้ชิ้นงานผ่านการทดสอบการไม่ลามไฟตามมาตรฐาน UL94 จัดอันดับได้ 5VA (ระดับสูงที่สุด) หมายถึงวัสดุไม่ลามไฟและไม่เกิดการหยดของวัสดุ ถ้าหากไม่เติม FPA300 และสารหน่วงการติดไฟ ABS จะจัดอันดับได้เพียง HB (ระดับต่ำที่สุด) เท่านั้น

สถานภาพการวิจัย

เสร็จสมบูรณ์

แผนงานวิจัยในอนาคต

บริษัทฯ นำผลการวิจัยไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงองค์ประกอบทางเคมีของ FPA300 ให้มีความเข้ากันได้ที่ดีขึ้นกับพลาสติกหลากหลายชนิด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน FPA300 ในฐานะของสารช่วยขึ้นรูปหรือสารช่วยป้องกันการหยดได้มากขึ้น

การเปลี่ยนรูป FPA300 fibrils ให้อยู่ในรูปที่ไหลได้อย่างอิสระสามารถทำได้โดยไม่กระทบกับโครงสร้างทางเคมีและสมบัติของ FPA300 อย่างไรก็ตามกระบวนการบีบอัดและบดที่พัฒนาในโครงการวิจัยเป็นสเกลระดับเล็กจึงจำเป็นต้องปรับให้มีค่าเหมาะสมที่สุด และขยายสเกลการผลิตเพื่อให้รองรับกับการเปลี่ยนรูปของ FPA300 ในระดับอุตสาหกรรมได้อย่างเหมาะสมและคุ้มทุนต่อไป

รายชื่อทีมวิจัย

ดร. พัชรี ลาภสุริยกุล, จารีนุช โรจน์เสถียร , ดำรงค์ ถนอมจิตร, สัญญา แก้วเกตุ และกวินทร์ กีรติพินิจ

ติดต่อ

ดร. พัชรี ลาภสุริยกุล
กลุ่มวิจัยกระบวนการทางวัสดุและการผลิตอัตโนมัติ
โทรศัพท์ 02 564 6500 ต่อ 4449
อีเมล patcharl@mtec.or.th

]]>
สถิติภาพรวมผลงาน ปี 2563 https://www.mtec.or.th/annual-report2020/th/mission_and_research_highlights/ Wed, 08 Jul 2020 18:38:36 +0000 http://localhost/wordpress/pixgraphy/?p=85 292 Views
]]>