รายงานประจำปี ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ 2020 https://www.mtec.or.th/annual-report2020 MTEC annual report 2020 Fri, 18 Dec 2020 01:29:52 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.9.3 https://www.mtec.or.th/annual-report2020/wp-content/uploads/2020/08/cropped-arrow_y-32x32.png รายงานประจำปี ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ 2020 https://www.mtec.or.th/annual-report2020 32 32 การดำเนินงานด้านมาตรฐาน https://www.mtec.or.th/annual-report2020/th/standard-operations/ Wed, 04 Nov 2020 04:21:04 +0000 https://www.mtec.or.th/annual-report2020/?p=3155 183 Views]]> สวทช. จับมือ กองทัพเรือ สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัยและพัฒนา https://www.mtec.or.th/annual-report2020/th/royal-thai-navy/ Wed, 04 Nov 2020 04:15:18 +0000 https://www.mtec.or.th/annual-report2020/?p=3149 161 Views]]> สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม https://www.mtec.or.th/annual-report2020/th/onep/ Wed, 04 Nov 2020 04:11:26 +0000 https://www.mtec.or.th/annual-report2020/?p=3147 "สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม"]]> 361 Views

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) มีภารกิจในการเสนอแนะนโยบายและแผนการอนุรักษ์และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสนับสนุนการจัดการเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนติดตามตรวจสอบ มาตรการเงื่อนไข ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจของประเทศ และสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนและคุณภาพชีวิต
ที่ดี
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รับมอบหมายให้ขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนา
ที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) 4 เป้าหมาย จากทั้งหมด 17 เป้าหมายตามที่องค์การสหประชาชาติกำหนด ได้แก่ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 12, 13, 14 และ 15 โดย สผ. ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานรับผิดชอบขับเคลื่อนการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 12 สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (SDG 12: Ensure sustainable consumption and production patterns) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 13 ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น (SDG13: Take urgent action to combat climate change and its impacts)

โดยมุ่งหวังให้เป็นระบบที่สามารถรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
และประมวลผลรายตัวชี้วัด SDG12 เช่น
กรณีของการบริโภควัสดุพื้นฐานในประเทศ
(Domestic Material Consumption: DMC)
ต้องใช้ข้อมูลจากหน่วยงานกว่า 10 แห่ง
ซึ่งข้อมูลต่างๆ จะสามารถสะท้อนแนวโน้ม
หรือความก้าวหน้าในการดำเนินงานของประเทศไทย

คุณนารีรัตน์ พันธุ์มณี ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน เล่าว่า “สำหรับ SDG12 ซึ่งเป็นเป้าหมายที่มีความคาบเกี่ยวกับหลายๆ เป้าหมาย ตั้งแต่เป้าหมายการขจัดความยากจน ขจัดความหิวโหยความมั่นคงทางอาหาร ความเป็นอยู่ที่ดี การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดี การอนุรักษ์พลังงาน สผ. ได้ศึกษาและติดตามการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน เพื่อให้ทราบถึงสถานะความก้าวหน้าการดำเนินงานที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน ช่องว่างในการดำเนินงานของประเทศไทยในการบรรลุเป้าหมาย และนำมาพิจารณาจัดทำแผนขับเคลื่อนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2560–2580 ผ่านการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการดำเนินการด้านการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน เพื่อขับเคลื่อนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการไปในทิศทางเดียวกัน”

“ขณะที่ สผ. ดำเนินการจัดทำแผนขับเคลื่อนฯ ได้มีโอกาสทำงานร่วมกับ รศ.ดร. ธำรงรัตน์ มุ่งเจริญจึงได้ทราบว่า สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) มีทีมวิจัยที่ศึกษาระเบียบวิธีและตัวชี้วัด SDG12 ดังนั้น สผ. จึงร่วมกับ MTEC จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 12 (สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน) และพัฒนาระบบติดตามประเมินผลการส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนของประเทศไทย โดยมุ่งหวังให้เป็นระบบที่สามารถรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประมวลผลรายตัวชี้วัด SDG12 เช่น กรณีของการบริโภควัสดุพื้นฐานในประเทศ (Domestic Material Consumption: DMC) ต้องใช้ข้อมูลจากหน่วยงานกว่า 10 แห่ง ซึ่งข้อมูลต่างๆ จะสามารถสะท้อนแนวโน้มหรือความก้าวหน้าในการดำเนินงานของประเทศไทย และถูกนำมาประกอบการพิจารณาเพื่อสนับสนุนข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องได้ นอกจากนี้ จากข้อมูลดังกล่าวทำให้ประเทศไทยสามารถนำผลการดำเนินงานไปประกอบการจัดทำรายงาน Voluntary National Review (VNR) เพื่อเสนอต่อนานาประเทศได้อีกด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยที่มีต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน”

การทำงานร่วมกันจึงมีความรวดเร็ว คล่องตัว และมีความยืดหยุ่นสูง
สามารถแลกเปลี่ยนแนวคิด มุมมอง การคาดการณ์ต่างๆ ทั้งในเชิงวิชาการ
และหารือแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้อง
เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยในเวลาที่เร่งด่วนได้

เมื่อถามถึงกระบวนการทำงานและการพัฒนาระบบฯ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กล่าวว่า “ทีมวิจัยเอ็มเทคได้ติดตามความเคลื่อนไหวของการกำหนดระเบียบวิธี ตัวชี้วัด SDG12 รวมถึงข้อมูลอภิพันธุ์ (metadata) และลงลึกเป็นรายประเด็น ในการทำงานร่วมกันจึงมีความรวดเร็ว คล่องตัว และมีความยืดหยุ่นสูง สามารถแลกเปลี่ยนแนวคิด มุมมอง การคาดการณ์ต่างๆ ทั้งในเชิงวิชาการ และหารือแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยในเวลาที่เร่งด่วนได้ สำหรับการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะการดำเนินงานและข้อมูลที่จำเป็นต่อการจัดทำตัวชี้วัด SDG12 นั้น มีทั้งการประสานอย่างไม่เป็นทางการและอย่างเป็นทางการ ผ่านหนังสือราชการ การจัดเวทีหรือการจัดประชุมหารือเพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริงประกอบการดำเนินงาน รวมถึงการเชิญผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรระหว่างประเทศมาให้ความรู้และแนวทางการดำเนินงานอีกด้วย”

ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กล่าวทิ้งท้ายว่า “ปัจจุบันมีประเด็นที่มีความเชื่อมโยงกับ SDG เป็นจำนวนมาก ครอบคลุมหลากหลายมิติ โดยเฉพาะด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีการนำดัชนี (Index) หรือตัวชี้วัดต่าง ๆ มาใช้จัดลำดับของประเทศ เช่น Environmental Performance Index (EPI) หาก MTEC สามารถพัฒนานักวิจัยทั้งด้านองค์ความรู้ และจำนวน จะช่วยสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ กลไกคณะกรรมการบริหารสถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในการพิจารณาอนุมัติโครงการ ยังช่วยพัฒนาข้อเสนอโครงการให้มีความสมบูรณ์ เกิดประโยชน์ และคุ้มค่าในการดำเนินงานมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะใช้งบประมาณของหน่วยงานใดในการดำเนินงานก็ตาม”

1 รศ.ดร. ธำรงรัตน์ มุ่งเจริญ ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษา สังกัดฝ่ายบริหารวิจัยเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

]]>
กลุ่มบริษัท เอสบี เฟอร์นิเจอร์ https://www.mtec.or.th/annual-report2020/th/sb-design-square/ Wed, 04 Nov 2020 04:03:12 +0000 https://www.mtec.or.th/annual-report2020/?p=3143 "กลุ่มบริษัท เอสบี เฟอร์นิเจอร์"]]> 739 Views

กลุ่มบริษัท เอสบี เฟอร์นิเจอร์ ผู้นำด้านนวัตกรรมและดีไซน์เฟอร์นิเจอร์ของเมืองไทยที่เติบโตคู่คนไทยมากว่า 50 ปี ได้ส่งมอบความสุขด้วยสินค้าและบริการคุณภาพแก่ลูกค้าไปแล้วกว่าล้านหลังคาเรือน   บริษัทยังคงมุ่งมั่นพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งในการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของคุณภาพชีวิตและการอยู่อาศัยที่ดีให้กับลูกค้า  เช่น ปฏิวัติการผลิตเฟอร์นิเจอร์ โดยเปลี่ยนมาใช้ไม้ E11  ในการผลิตทุกชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์เป็นรายแรกของประเทศ ตั้งแต่ พ.ศ. 2546   ริเริ่มบริการ 3D Pro Designer และ SB Interior@Home ซึ่งเป็นบริการที่ช่วยอำนวยความสะดวก ให้ทุกเรื่องแต่งบ้านของลูกค้าเป็นเรื่องสะดวกสบายและง่ายขึ้น   รวมถึงการพัฒนา SB Design Square ให้เป็นศูนย์รวมการแต่งบ้านสุดวงจร ครบครันไปด้วยสินค้าและบริการเกี่ยวกับงานออกแบบตกแต่ง เพื่อความสวย ง่าย ตรงใจทุกเรื่องแต่งบ้านและตอบรับกับไลฟ์สไตล์การอยู่อาศัยที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน   

คุณพิเดช ชวาลดิฐ กรรมการบริหาร เล่าว่า “องค์กรมีอายุกว่า 50 ปี อยู่ในธุรกิจที่แต่ก่อนเรียกตัวเองว่าบริษัทค้าปลีกเฟอร์นิเจอร์ แต่จากการเปลี่ยนแปลงของความต้องการของลูกค้า จึงผันตัวเองเป็น Solution Provider บางอย่างให้แก่ลูกค้า โดยลูกค้ากลุ่มแรกๆ จะเป็น Gen X ต่อมาขยายเข้าสู่ Gen Y, Gen Z และ New Gen เรามองว่า กลุ่มหลังๆ จะมีช่องว่างเยอะ จึงขยายบริการสู่การเป็น Solution Provider สำหรับการแต่งบ้าน ทำให้มีเซ็กเมนต์ที่หลากหลาย ลูกค้ามาแล้วได้บริการจบในครั้งเดียว ซึ่งใช้เป็นแนวทางที่ขับเคลื่อนองค์กรในขณะนี้” 

“จุดเริ่มต้นของบริษัทฯ มาจากการขายเฟอร์นิเจอร์ เมื่อหลายสิบปีก่อนที่ลูกค้าต้องซื้อเฟอร์นิเจอร์ทีละตัวไปสร้างจินตนาการ ต่อมาบริษัทมีโชว์รูม เพื่อสร้างตามจินตนาการให้ลูกค้า นำเฟอร์นิเจอร์มาจัดโชว์เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจว่าอยากได้ทุกชิ้นไปอยู่ในบ้านไหม  ปัจจุบันจินตนาการปรับไปมาได้ตามที่ลูกค้าต้องการ เริ่มขยับจากเฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ ตู้ เตียงปกติ ขยายไปที่กำแพง ที่ฝ้า ปัจจุบันเรามีสินค้าทั้งกลุ่มที่เป็นเฟอร์นิเจอร์ลอยตัวและบิลท์อิน รวมถึงบริการช่วยออกแบบตกแต่งครบวงจร เพื่อเป็นคำตอบของการแต่งบ้านให้ลูกค้าได้แบบครบทุกมิติ นอกจากนี้ บริษัทมีทีมพัฒนา  Product และ Interior โดยในช่วง 5-10 ปีหลัง น้ำหนักของการพัฒนา Product และ Interior ถูกรวมไปกับบริการ ฉะนั้นจะเป็นการพัฒนาเทคโนโลยี และ Operation set บางอย่าง ให้ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่แล้วก็เทคโนโลยีนั้น ก็กลายเป็นสิ่งที่ลูกค้าไม่เคยเห็นมาก่อน ปัจจุบันการที่บริษัทส่งซอฟต์ไฟล์ให้ลูกค้าสามารถปรับกำแพงเองได้ ปรับบานตู้เสื้อผ้าและขนาดเองได้  บริษัทฯ จึงไม่ใช่เพียงแค่ผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์ แต่เป็นผู้ออกแบบแนวคิดของการตกแต่งห้องซึ่งใช้ทั้งเทคโนโลยีและวัสดุใหม่ๆ มาเสริมกัน”

บริษัทได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิประโยชน์จากผลงานวิจัย “เตียงตื่นตัว” หรือ “เตียงนอนแบบมีกลไกช่วยผู้สูงอายุในการลุกนั่งและลุกขึ้นยืน” เพื่อการผลิตและจำหน่ายเชิงพาณิชย์ คุณพิเดชกล่าวว่า “บริษัทฯ มองว่าตอนนี้ผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มลูกค้า ใหม่ หากมีนวัตกรรมบางอย่างเข้ามาเติมก็เป็นโอกาส แม้ว่าเตียงพับได้ในตลาดจะมีอยู่แล้ว แต่เตียงพับและหมุนได้ที่ช่วยพยุงคนป่วยหรือผู้สูงอายุในการลุกนั่งหรือลุกยืน เป็นสิ่งที่ไม่เคยมี ซึ่งส่วนตัวมีคุณพ่อที่เคยอยู่ในสภาวะเช่นนั้น บริษัทฯ จึงสนใจและขอรับอนุญาตการใช้สิทธิประโยชน์จากงานวิจัยขึ้น 
 
“บริษัทฯ ไม่ได้หวังจะขายจนได้กำไรมาก แต่เห็นว่าการมีสินค้าที่ขยายผลจากงานวิจัยของเอ็มเทค สวทช. และร่วมมือกับทีมวิจัยจนสามารถพัฒนาออกสู่ตลาดได้ จะเป็นภาพลักษณ์ใหม่ของบริษัทฯ ถือว่าบรรลุเป้าหมายแล้ว” 
 

“Aging Society หรือสังคมผู้สูงอายุ นับเป็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลก (Mega Trend) รวมถึงไทยเราด้วย ซึ่งสังคมไทยยังคงอาศัยอยู่ร่วมกับเป็นครอบครัวใหญ่ ลูกหลานต้องคอยดูแลคุณพ่อคุณแม่หรือผู้สูงอายุในบ้าน เอสบีในฐานะผู้ประกอบการภาคธุรกิจ เราก็มุ่งหวังที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนสังคมให้มีความพร้อมรับกับแนวโน้มสังคมที่จะเกิดขึ้น เราจึงรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับความร่วมมือจากทีมเอ็มเทคในการพัฒนาโปรเจค Power Lift Bed นี้ ให้เกิดขึ้นมาได้เอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในด้านรูปลักษณ์ที่สวยงามและฟังก์ชั่นใช้สอยที่ครบถ้วนสมบูรณ์ เชื่อว่าน่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถเข้าถึงและเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง”

การพัฒนาหลังจากได้รับถ่ายทอดเทคโนโลยี คุณพิเดช กล่าวว่า “มีการพัฒนาตั้งแต่รูปลักษณ์ ฟังก์ชั่นการใช้งาน และโครงสร้าง เพราะต้นแบบแรกอาจจะเน้นส่วนของกลไกและอิเล็กทรอนิกส์ แต่พอมาใช้งานจริงต้องมาพัฒนาร่วมกันต่อซึ่งใช้เวลาพอสมควร ขณะนี้ในส่วนของผลิตภัณฑ์ (เตียง) รูปลักษณ์ดูไม่เหมือนเตียงผู้ป่วย ปรับเพิ่มให้มีความนุ่มนวลมากขึ้น มีฟังก์ชั่นปรับการเคลื่อนที่และพยุงผู้สูงอายุให้สามารถยืนขึ้นมาได้ และเพิ่มระบบการชาร์จให้รองรับการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ สามารถใช้เป็นเฟอร์นิเจอร์เตียงภายในบ้านได้”

การทำงานร่วมกับทีมวิจัยเอ็มเทคที่ผ่านมา คุณพิเดช กล่าวว่า “ตราบใดที่เอ็มเทคมีเป้าหมายในการผลิตผลงานให้เกิดการใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะผ่านเอกชน หรือผ่านพันธมิตร มุมมองหรือเทคโนโลยีเหล่านั้นถ้าได้รับพัฒนาร่วมกันด้วยจุดประสงค์เดียวกัน ก็สามารถทำให้เป็นจริงได้”

 “Aging Society หรือสังคมผู้สูงอายุ นับเป็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลก (Mega Trend) รวมถึงไทยเราด้วย  ซึ่งสังคมไทยยังคงอาศัยอยู่ร่วมกับเป็นครอบครัวใหญ่ ลูกหลานต้องคอยดูแลคุณพ่อคุณแม่หรือผู้สูงอายุในบ้าน เอสบีในฐานะผู้ประกอบการภาคธุรกิจ เราก็มุ่งหวังที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนสังคมให้มีความพร้อมรับกับแนวโน้มสังคมที่จะเกิดขึ้น เราจึงรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับความร่วมมือจากทีมเอ็มเทคในการพัฒนาโปรเจค Power Lift Bed นี้ ให้เกิดขึ้นมาได้เอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในด้านรูปลักษณ์ที่สวยงามและฟังก์ชั่นใช้สอยที่ครบถ้วนสมบูรณ์ เชื่อว่าน่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถเข้าถึงและเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง”  

“คุณพิเดช กล่าวทิ้งท้ายว่า ตอนนี้เอกชนรายใหญ่หลายรายมีความเห็นว่า ถ้ามีเทคโนโลยีจากภาครัฐแล้ว ร่วมมือกันในการนำออกตลาดโดยไม่หวังผลประโยชน์ในทางการค้า ก็มีหลายรายที่พร้อม อยู่ที่เอ็มเทคว่าจะกำหนดทิศทางอย่างไร เน้นเรื่องไหนด้านผู้สูงอายุ  การเกษตร หรืออื่นๆ ตราบใดก็ตามที่วัตถุประสงค์ ตรงกันที่จะพัฒนาให้มีสิ่งเหล่านี้เป็นทางเลือก คิดว่าเรื่องอะไรก็สำเร็จ แต่โจทย์สำคัญคือพฤติกรรมและการตัดสินใจของผู้บริโภคมากกว่า หากมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ผ่านการทำวิจัยความต้องการของลูกค้า ในแง่มุมต่างๆ เช่น งบประมาณหรือกำลังซื้อ ก่อนที่จะโฟกัสไปที่ตัวผลิตภัณฑ์”

 E1 1 เป็นมาตรฐานที่กำหนดไว้ว่า ไม้ที่ผ่าน E1 จะมีสาร formaldehyde ไม่เกิน 0.1 ppm เหมาะสำหรับใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ที่อยู่ในโรงพยาบาล บ้านพักคนชรา ของเล่นเด็ก และเหมาะสำหรับบุคคลที่ใส่ใจสุขภาพ E1 1

]]>
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) https://www.mtec.or.th/annual-report2020/th/egat/ Wed, 04 Nov 2020 04:00:13 +0000 https://www.mtec.or.th/annual-report2020/?p=3139 "การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)"]]> 736 Views

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นรัฐวิสาหกิจด้านกิจการพลังงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพลังงาน กระทรวงการคลัง ดำเนินธุรกิจหลักในการผลิต จัดให้ได้มา และจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ผู้ใช้ไฟฟ้าตามกฎหมายกำหนดและประเทศใกล้เคียง พร้อมทั้งธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการไฟฟ้าภายใต้กรอบพระราชบัญญัติ กฟผ.

กฟผ. ผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ซึ่งตั้งอยู่ทุกภูมิภาคของประเทศรวมทั้งสิ้น 50 แห่ง มีกำลังผลิตรวมทั้งสิ้น 15,789.58 เมกะวัตต์ ประกอบด้วยโรงไฟฟ้าหลายประเภท ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังความร้อน 3 แห่ง โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม 6 แห่ง โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน (พลังน้ำ) 27 แห่ง โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน (ลม แสงอาทิตย์ ความร้อนใต้พิภพ) 9 แห่ง โรงไฟฟ้าดีเซล 4 แห่ง และโรงไฟฟ้าอื่น ๆ 1 แห่ง

โรงไฟฟ้าแม่เมาะ เป็นแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าขนาดใหญ่ในภาคเหนือ มีโรงไฟฟ้ารวมทั้งหมด 10 เครื่อง กำลังผลิตรวมทั้งสิ้น 2,275 เมกะวัตต์ ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 18,000 ล้านหน่วยต่อปี ใช้ถ่านหินลิกไนต์จากเหมืองแม่เมาะ จ.ลำปาง เป็นเชื้อเพลิง เถ้าที่เหลือจากการเผาถ่านหินที่เกาะสะสมบนผนังภายในหม้อน้ำของโรงไฟฟ้า ส่งผลโดยตรงต่อเสถียรภาพและประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า กฟผ.จึงร่วมมือกับทีมวิจัยเอ็มเทค พัฒนาระบบทำความสะอาดเถ้าสะสมผนังเตาด้วยระบบฉีดน้ำแรงดันสูง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง  และลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ

คุณพลศรี สุวิศิษฎ์อาษา รองผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า เล่าประสบการณ์ทำงานให้ฟังว่า “เรียนจบวิศวกรรมเครื่องกล เริ่มเข้าทำงานที่ กฟผ. ตั้งแต่ปี 2526  ทำงานอยู่ที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะเป็นหลัก ทำหน้าที่เป็นทั้งวิศวกรเครื่องกล ไฟฟ้า และกังหัน มีประสบการณ์ควบคุม ดูแล  ปรับปรุงระบบและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานแทบทุกส่วนของโรงไฟฟ้าฯ รวมถึงเขียนโปรแกรมใช้เองที่โรงงานไฟฟ้าด้วย ต่อมาได้รับมอบหมายให้ดูแลโครงการที่ กฟผ. ทำร่วมกับภาคเอกชนหลายแห่ง โดยทำหน้าที่ให้คำปรึกษา ฟื้นฟูและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต สามารถลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้กับหน่วยงาน ล่าสุดได้รับมอบหมายให้ดูแลบริหารงานในตำแหน่ง รองผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา”

เกี่ยวกับงานวิจัยและพัฒนา “กฟผ. จัดสรรงบประมาณวิจัยประมาณ 2-3 % ของกำไร กระจายให้ทุกหน่วยงานภายในกำกับและดูแล  โดยแบ่งเป็น 5 ทิศทางคือ 1.นวัตกรรมในระบบไฟฟ้าของประเทศ 40% 2.การแก้ไขปัญหา เพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่าย 25% 3.การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม 15% 4.การอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนกับชุมชน 10% และ 5.การมุ่งไปสู่ธุรกิจใหม่ 10% โดยที่สายงานผลิตไฟฟ้าก็จะเน้นหนักไปในด้านที่ 1 และด้านที่ 2 เมื่อเจอปัญหา ก็ต้องหาคนทำวิจัย เสนองานวิจัยขึ้นมา และทำงานวิจัย” คุณพลศรี ให้ภาพรวม

“งานวิจัยและพัฒนาจะเป็นประโยชน์ถ้าคนทำและหน่วยงานที่ทำรู้จักทำ คือ ทำแล้วต้องเกิดประโยชน์ในส่วนใดส่วนหนึ่ง ทั้งหน่วยงาน ประเทศ สังคมและสิ่งแวดล้อม”

งานวิจัยและพัฒนาที่ร่วมดำเนินงานกับเอ็มเทค คุณพลศรี กล่าวว่า “กฟผ. ดำเนินงานวิจัยร่วมกับเอ็มเทคมาแล้วหลายโครงการ ในส่วนโครงการพัฒนาระบบทำความสะอาดเถ้าสะสมผนังเตาด้วยระบบฉีดน้ำแรงดันสูง ระยะที่ 1 เสร็จสิ้นแล้ว  เห็นว่ามีประโยชน์ สามารถนำมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนและลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ  ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินงานต่อเนื่องในระยะที่ 2  ได้มีโอกาสพูดคุยกับทีมวิจัยมากขึ้น และให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงในด้านทฤษฎี เทคนิค วิธีการ การเข้าไปมีส่วนร่วมของทีมงานที่ดูแลระบบ และการปรับระยะเวลาดำเนินงานให้เร็วขึ้นเพื่อให้ทันต่อความต้องการใช้งาน”

การทำโครงการวิจัยใหม่อยากให้เอ็มเทคคำนึงถึง 3 ส่วนสำคัญ
คือ ส่วนแรกอยากให้เอ็มเทคทำงานเชิงรุกมากขึ้น
ส่วนที่สอง เรื่องความเร็ว ปัจจุบันแข่งกันที่ความเร็ว
และเรื่องสุดท้าย การถ่ายทอดเทคโนโลยี
หลังงานวิจัยเสร็จสิ้นควรมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์กับส่วนรวม

คุณพลศรี ให้ข้อเสนอแนะว่า “การทำโครงการวิจัยใหม่อยากให้เอ็มเทคคำนึงถึง 3 ส่วนสำคัญ คือส่วนแรกอยากให้เอ็มเทคทำงานเชิงรุกมากขึ้น โดยเข้าไปที่โรงไฟฟ้าฯ เพื่อดูว่ามีงานอะไรที่ควรปรับปรุง มีเทคโนโลยีใหม่ๆ อะไรที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ แล้วเสนอให้โรงไฟฟ้าฯ พิจารณา เพราะมุมมองของคนนอกอาจได้แนวคิดใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์มากกว่าการให้คนในบอกปัญหา ส่วนที่สองคือเรื่องความเร็ว ปัจจุบันแข่งกันที่ความเร็ว ถ้าราคาถูกแต่นาน ก็ต้องถือว่าแพง เพราะเสียโอกาส แต่ถ้าทำแล้วเห็นผลเร็ว ผลตอบแทนกลับมาได้ไว ก็คุ้มค่ากว่า สุดท้ายคือเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยี หลังงานวิจัยเสร็จสิ้นควรมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์กับส่วนรวม ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาและต่อยอดด้วย” 

]]>
บริษัท สยามไพโอเนียร์รับเบอร์ จำกัด https://www.mtec.or.th/annual-report2020/th/siam-pioneer-rubber/ Wed, 04 Nov 2020 03:52:36 +0000 https://www.mtec.or.th/annual-report2020/?p=3135 "บริษัท สยามไพโอเนียร์รับเบอร์ จำกัด"]]> 636 Views

“ทีมวิจัยเอ็มเทค ทำงานได้ดี ดำเนินงานวิจัยและพัฒนาสำเร็จ
และส่งมอบผลงานตามเป้าหมาย รู้สึกพอใจในผลงาน และภูมิใจที่บริษัทฯ
เป็นผู้ริเริ่มการพัฒนาและผลิตยางล้อตันที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม”

บริษัทสยามไพโอเนียร์รับเบอร์ จำกัด เป็นผู้ผลิตยางล้อตันรถฟอร์คลิฟท์ภายใต้เครื่องหมายการค้า PIO-TYRES และ BIG-TYRES บริษัทฯ เริ่มดำเนินกิจการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 โดยได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการผลิตยางล้อตันจากประเทศญี่ปุ่น และมีทีมวิศวกรจากประเทศญี่ปุ่นเป็นที่ปรึกษา ด้วยนโยบายที่มุ่งเน้นการผลิตและพัฒนาสมบัติของยางล้อตันให้มีความทนทานสูง รับน้ำหนักได้มาก สะสมความร้อนต่ำ และเพิ่มความนุ่มนวลให้กับผู้ขับขี่ ทำให้ปัจจุบันยางล้อตันของบริษัทฯ ได้รับการยอมรับจากผู้ผลิตรถโฟล์คลิฟท์ใหม่ชั้นนำมากมาย (O.E.M.) รวมถึงธุรกิจรถฟอร์คลิฟท์ให้เช่าทั้งในและต่างประเทศ

คุณสุวงศ์ กอบกาญจน์สกุล กรรมการผู้จัดการและผู้จัดการฝ่ายการตลาด เล่าว่า “คุณพ่อเป็นผู้บุกเบิกโดยเริ่มจากกิจการเล็กๆ ของครอบครัวในราวปี พ.ศ. 2516 ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจในการดำเนินงานและส่งเสริมการขาย ทำให้สามารถขยายกิจการและก่อตั้งบริษัทสยามไพโอเนียร์รับเบอร์ จำกัด ผลิตยางล้อตันที่ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐาน ISO 9001:2000, ISO 9001:2008 , ISO 9001:2015  และ ISO 14001:2015 รวมทั้งได้รับการยอมรับจากตลาดโลกโดยมีการส่งออกไปยังประเทศต่างๆ มากมายทั่วทุกทวีป เช่น อเมริกา ออสเตรเลีย เอเชีย และยุโรป”

“เดิมรถฟอร์คลิฟท์ส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศ ใช้ล้อยางลมที่ติดมากับตัวรถ เวลาใช้งานมักมีปัญหารั่วซึมและขนย้ายไปซ่อมลำบาก จึงเริ่มมีการเปลี่ยนมาใช้ล้อยางตันที่มีความทนทานและใช้งานได้นานกว่า บริษัทฯ มองเห็นโอกาสของตลาดล้อยางตันในอนาคตว่าน่าจะมีปริมาณการใช้งานมากขึ้น จึงเริ่มศึกษาและลงทุนผลิตล้อยางตัน”

บริษัทฯ วิจัยและพัฒนามาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ใช้งานทนทาน คุณสุวงศ์ กล่าวว่า “ถ้าเราหยุดนิ่งไม่พัฒนา เราก็สู้ตลาดไม่ได้ โดยเฉพาะในเรื่องอัตราการสึกหรอหรือความทนทานต่อการใช้งานซึ่งเป็นจุดแข็งของผลิตภัณฑ์ของเรา”

บริษัทฯ ต้องการต่อยอดการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ผลิตภัณฑ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการปลดปล่อยซิงก์ออกไซด์สู่สิ่งแวดล้อม ลดความเป็นพิษต่อสัตว์และจุลินทรีย์ในดินและแหล่งน้ำต่างๆ ปรับเปลี่ยนชนิดของน้ำมันที่ใช้ในการผลิตที่มีความเป็นพิษสูง เป็นน้ำมันที่มีความเป็นพิษต่ำ รวมถึงพัฒนาสูตรยางล้อตันที่มีประสิทธิภาพการผลิตและประหยัดพลังงานมากขึ้น มีความต้านทานต่อการหมุน (rolling resistance) ต่ำลง เพื่อประหยัดเชื้อเพลิงในการขับขี่โดยไม่ส่งผลต่ออายุการใช้งานหรือความต้านทานต่อการสึกหรอของยาง บริษัทฯ จึงร่วมมือกับเอ็มเทคในการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาจนผลการวิจัยและพัฒนาเสร็จสิ้น สามารถนำเทคโนโลยีไปใช้ผลิตยางล้อตันเพื่อจำหน่ายเชิงพาณิชย์แล้ว

คุณสุวงศ์ กล่าวชื่นชมว่า “ทีมวิจัยเอ็มเทค ทำงานได้ดี ดำเนินงานวิจัยและพัฒนาสำเร็จและส่งมอบผลงานตามเป้าหมาย รู้สึกพอใจในผลงานและภูมิใจที่บริษัทฯ เป็นผู้ริเริ่มการพัฒนาและผลิตยางล้อตันที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม”

คุณสุวงศ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า “บริษัทฯมีแผนงานวิจัยต่อยอดในเรื่องการสะสมความร้อนและการออกแบบโครงสร้างยาง แต่เนื่องจากเป็นบริษัทขนาดเล็ก ลงทุนได้ไม่มาก จึงอยากให้หน่วยงานภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือสนับสนุนและให้คำแนะนำในด้านเทคโนโลยี เพื่อให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่แข่งขันได้ทั้งในและต่างประเทศ”

]]>
บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (GPSC) https://www.mtec.or.th/annual-report2020/th/gpsc/ Wed, 04 Nov 2020 03:50:15 +0000 https://www.mtec.or.th/annual-report2020/?p=3131 "บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (GPSC)"]]> 1,224 Views

บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งเมื่อ 10 มกราคม 2556 โดยเป็นบริษัทในเครือของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะเป็นแกนนำในการดำเนินธุรกิจไฟฟ้าและสาธารณูปการของกลุ่ม ปตท. โดยมีนโยบายในการดำเนินธุรกิจให้มีความยั่งยืน ด้วยการสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้มีส่วนได้เสีย ยึดแนวปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ มีความโปร่งใสในการทำธุรกิจ มีพัฒนาการในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ดูแลและรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมีกรอบการปฏิบัติให้เป็นไปตามแนวทางการบริหารจัดการความยั่งยืนของบริษัทฯ และตามมาตรฐานสากล

คุณลักษณะปรีชา ครุฑขุนทด ผู้จัดการฝ่ายอาวุโสนวัตกรรมและเทคโนโลยีพลังงาน เล่าถึงที่มาในการทำงานร่วมกับเอ็มเทคว่า “บริษัทฯ เป็นแกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. จึงได้รับมอบหมายให้ลงทุนในบริษัท 24M Technologies ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐอเมริกาที่ประกอบธุรกิจหลักด้านการวิจัยและพัฒนาการผลิตแบตเตอรี่ประเภทลิเทียมไอออน (Lithium-Ion) เพื่อใช้เป็นระบบกักเก็บไฟฟ้าสำรองสำหรับภาคอุตสาหกรรม และการเสริมสร้างความมั่นคงในระบบจ่ายไฟฟ้าและระบบเชื่อมโยง บริษัทฯ คาดหวังว่าจะนำเทคโนโลยี Semi-Solid ซึ่งเป็นนวัตกรรมกระบวนการผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนแบบใหม่ที่ลงทุนนี้มาสร้างฐานการผลิตในประเทศไทยเพื่อให้คนไทยได้ใช้ เพราะถือว่าคนไทยเป็นเจ้าของส่วนหนึ่ง อีกทั้งเป็นการต่อยอดองค์ความรู้ให้แก่วิศวกรและนักวิจัยไทยด้วย”

“ในช่วงเริ่มต้นบริษัทฯ ต้องการศึกษาความเป็นไปได้ของเทคโนโลยีก่อนที่จะผลิตจริง และทดสอบใช้งานด้านการกักเก็บพลังงานภายในกลุ่มบริษัทของเครือ ปตท. ก่อน เพื่อรับข้อเสนอแนะกลับมาพัฒนาควบคู่กับการวิเคราะห์ เมื่อมีความต้องการที่มากพอและมีต้นทุนการผลิตที่แข่งขันได้จึงค่อยขยายขนาดการผลิตไปสู่ตลาดภายนอก รวมถึงแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าด้วย การจะผ่านจุดนี้ได้โรงงานต้นแบบถือเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้น ในปี 2562 บริษัทฯ จึงเริ่มก่อสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ต้นแบบเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการผลิตใช้จริง ซึ่งปัจจุบันการก่อสร้างโรงงานมีความคืบหน้าไปมาก คาดว่าปี 2564 ก็น่าจะสามารถเริ่มผลิตผลิตภัณฑ์ได้”

ในส่วนของงานที่ต้องทำร่วมกัน
ทีมวิจัยของเอ็มเทคจะช่วยให้คำแนะนำแก่ทีมวิจัยของบริษัทฯ
อีกทั้งมีการฝึกอบรมให้ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเรื่องของความรู้พื้นฐาน
และการแก้ปัญหาที่อาจพบเจอในสถานการณ์จริง
ซึ่งก็ได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากผู้ที่ได้รับการอบรม

“อย่างไรก็ดี เนื่องจากธุรกิจนี้เป็นธุรกิจใหม่ของบริษัทฯ ทำให้ยังไม่มีนักวิจัยและผลงานวิจัยมากนัก แต่บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะสร้างองค์ความรู้ในด้านนี้จึงร่วมมือกับทีมวิจัยของเอ็มเทค1 นำโดย ดร.พิมพา ลิ้มทองกุล เนื่องจากบุคลากรมีความเหมาะสมทั้งในเรื่องการมีคอนเนกชันกับบริษัท 24M Technologies มาก่อน และมีความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีแบตเตอรี่เป็นอย่างดี รวมทั้งเอ็มเทคมีความพร้อมด้านเครื่องมือต่างๆ”

เรื่องการเตรียมความพร้อมของบุคลากรของบริษัทฯ คุณลักษณะปรีชาเล่าว่า “ในช่วงแรก บริษัทฯ ได้เตรียมทีมวิศวกรเพื่อรับถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านกระบวนการผลิตจากบริษัท 24M Technologies ต่อมาเมื่อบริษัทฯ เริ่มก่อสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ต้นแบบก็เตรียมความพร้อมของบุคลากรด้านการวิจัย และพัฒนาเพื่อให้ทำงานคู่ขนานไปกับทีมวิจัยเอ็มเทค ในช่วงเริ่มต้นมีนักวิจัย 2 คน แต่ในอนาคตจะเพิ่มเป็น 6-7 คน และจะแยกเป็นอีกหน่วยงานหนึ่ง รวมถึงเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับการวิจัยและพัฒนาด้วย”

คุณสุทธิภูมิ พุ่มหิรัญ ผู้จัดการส่วนพัฒนาธุรกิจ เล่าเสริมว่า “ในส่วนของงานที่ต้องทำร่วมกัน ทีมวิจัยของเอ็มเทคจะช่วยให้คำแนะนำแก่ทีมวิจัยของบริษัทฯ อีกทั้งมีการฝึกอบรมให้ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเรื่องของความรู้พื้นฐานและการแก้ปัญหาที่อาจพบเจอในสถานการณ์จริง ซึ่งก็ได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากผู้ที่ได้รับการอบรม”

“และเนื่องจากบริษัทฯ เป็นผู้รับถ่ายทอดเทคโนโลยีของบริษัท 24M Technologies ดังนั้นในระยะยาวเราต้องมีความรู้และทำเองได้ โดยอย่างน้อยต้องเข้าใจความรู้พื้นฐานและเทคโนโลยีหลัก ส่วนในกรณีที่มีโจทย์ที่เรายังแก้ไม่ได้ก็ต้องให้ทีมวิจัยเอ็มเทคช่วย”

บริษัทฯ มีความพอใจที่ได้ทำงานร่วมกับเอ็มเทคมาก
เนื่องจากทีมวิจัยทำงานได้ตรงตามที่วางแผนไว้
ส่งมอบผลงานได้ตรงเวลาและตอบโจทย์ของบริษัทฯ

เมื่อถามถึงจุดเด่นของเทคโนโลยีที่รับถ่ายทอดเทคโนโลยีจากบริษัท 24M Technologies คุณสุทธิภูมิกล่าวว่า “แบตเตอรี่ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีนี้มีความปลอดภัยสูง ซึ่งบริษัท 24M Technologies ได้เน้นที่การออกแบบเซลล์ของแบตเตอรี่ให้มีความปลอดภัย ไปจนถึงการควบคุมกระบวนการผลิต มีโครงสร้างที่รีไซเคิลได้ง่ายทำให้สามารถนำวัสดุบางชนิดกลับมาใช้ใหม่ได้ และเป็นเทคโนโลยีแบบใช้กระบวนการผลิตเป็นฐาน (process-based technology) ซึ่งบริษัทฯ สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดได้โดยการปรับเปลี่ยนสารตั้งต้นหรือวัตถุดิบ หากเปรียบเทียบให้เห็นภาพก็คือ บริษัทฯ ซื้อเครื่องทำไอศกรีม ดังนั้น เราสามารถใช้เครื่องนี้ผลิตไอศกรีมได้หลากหลายรสชาติ ตามแนวโน้มความต้องการของตลาด”

สำหรับการทำงานในภาพรวมที่ผ่านมา     คุณลักษณะปรีชากล่าวว่า  “บริษัทฯ มีความพอใจที่ได้ทำงานร่วมกับเอ็มเทคมาก เนื่องจากทีมวิจัยทำงานได้ตรงตามที่วางแผนไว้ ส่งมอบผลงานได้ตรงเวลาและตอบโจทย์ของบริษัทฯ”

คุณสุทธิภูมิ กล่าวเสริมว่า “ทีมวิจัยเอ็มเทคมีความยืดหยุ่นในการทำงานมาก แม้บริษัทฯ ขอปรับขอบเขตของงานเล็กน้อยในภายหลังเพื่อความเหมาะสม ทีมวิจัยก็ช่วยสนับสนุนจึงทำให้การทำงานร่วมกันราบรื่นเสมอมา”

คุณลักษณะปรีชาได้กล่าวทิ้งท้ายว่า “ในช่วงที่โรงงานต้นแบบที่มาบตาพุดเริ่มผลิต บริษัทฯ คงมีงานวิจัยมากขึ้น ในส่วนของเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ อาจมีการใช้ร่วมกันมากขึ้นเพื่อลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน และในส่วนของบุคลากรก็อาจให้ช่วยรองรับหากมีการขยายงานที่เพิ่มมากขึ้น”

1ทีมวิจัยเอ็มเทคประกอบด้วย ดร.วิทูรัช กู๊ดวิน นักวิจัย ทีมวิจัยเชื้อเพลิงและเคมีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดร.เปรียว เอี่ยมละมัย นักวิจัย ดร.อุกฤษฎ์ สหพัฒน์สมบัติ นักวิจัย ดร.พิมพา ลิ้มทองกุล นักวิจัยอาวุโสและหัวหน้าทีมวิจัย ทีมวิจัยวัสดุและงานระบบเพื่อใช้ประโยชน์ทางพลังงานไฟฟ้าเคมี กลุ่มวิจัยวัสดุสำหรับพลังงาน
]]>
แอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ทางสถิติเพื่อช่วยในการควบคุมกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมหล่อโลหะ https://www.mtec.or.th/annual-report2020/th/casting-software/ Tue, 03 Nov 2020 09:40:44 +0000 https://www.mtec.or.th/annual-report2020/?p=3123 "แอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ทางสถิติเพื่อช่วยในการควบคุมกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมหล่อโลหะ"]]> 272 Views

> ต้นแบบเชิงพาณิชย์

อุตสาหกรรมหล่อโลหะผลิตชิ้นส่วนเพื่อสนับสนุนงานทางวิศวกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรกล รวมทั้งอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้า หลายอุตสาหกรรมได้นำข้อมูลในกระบวนการผลิตไปวิเคราะห์ผลด้วยวิธีการทางสถิติเพื่อเพิ่มผลิตภาพ อย่างไรก็ดี ยังมีผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยที่ขาดความรู้และความเข้าใจในการนำข้อมูลไปใช้ในการตรวจสอบ และควบคุมกระบวนการผลิตซึ่งจะส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตไม่ดีเท่าที่ควร

การนำแอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ทางสถิติซึ่งอ้างอิงการใช้แผนภูมิควบคุม (control chart) เพื่อช่วยในการควบคุมกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมหล่อโลหะ เป็นเทคนิคที่ใช้วิเคราะห์กระบวนการและลักษณะการทำงานว่ายังอยู่ในสภาพปกติหรือไม่ วิธีนี้ช่วยป้องกันการเกิดปัญหาและของเสียต่างๆ จากกระบวนการผลิตได้อย่างทันท่วงที ช่วยลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งเป็นการลดต้นทุนการผลิตได้อีกทางหนึ่ง

ทฤษฎีของกระบวนการวิเคราะห์ทางสถิติเริ่มจาก (1) ค้นหาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อกระบวนการผลิต โดยใช้ความรู้ทางด้านโลหะวิทยาในการกำหนดปัจจัยที่เกี่ยวข้อง (2) คำนวณหาค่าขอบเขตการควบคุม (control limits) โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากกระบวนการผลิต ซึ่งมีความสัมพันธ์กับขอบเขตของความแปรปรวน (3) พล็อตข้อมูลในแผนภูมิควบคุม และ (4) วิเคราะห์ชุดข้อมูลดังกล่าวว่ามีข้อมูลออกจากเส้นควบคุม หรือเกิดการกระจายตัวที่ผิดปกติ เช่น เกิดเส้นแนวโน้มที่มีทิศทางขึ้นหรือลงเกิน 7 จุด เกิดการกระจายของชุดข้อมูลที่ใกล้ค่าขอบเขตบนและล่างมากจนเกินไป เป็นต้น แอปพลิเคชันซอฟต์แวร์มีอัลกอริทึมสำหรับตรวจจับการกระจายตัวของชุดข้อมูลที่ผิดปกติ หากพบความผิดปกติผู้ปฏิบัติงานก็สามารถแก้ไขและปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น

หน้าหลักแผนภูมิควบคุมแสดงการเกิดความผิดปกติของข้อมูลร่วมกัน
แสดงการเตือน Warning ของแผนภูมิควบคุมที่แสดงถึงความผิดปกติของข้อมูล

ภายหลังจากการทดสอบใช้งานแอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ในสถานการณ์จำลองต่างๆ ทั้งในระดับห้องปฏิบัติการและภาคสนาม เพื่อรับข้อเสนอแนะจากผู้ใช้งานจริงมาปรับปรุงจนได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ทีมวิจัยได้ขยายผลไปยังอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และอุตสาหกรรมการผลิตอะลูมิเนียมต้นน้ำอีกด้วย

ปัจจุบันได้ขายสิทธิ์การใช้แอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ทางสถิติ เพื่อช่วยในการควบคุมกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมหล่อโลหะให้แก่ผู้ประกอบการไปแล้วจำนวน 1 ราย คือ บริษัท แสงร่มโพธิ์ ออโต้พาร์ท จำกัด เพื่อนำไปใช้ควบคุมในกระบวนการผลิตจริง และคาดว่าในอนาคตอันใกล้จะมีการขายสิทธิ์ให้แก่ผู้ประกอบการรายอื่นเพิ่มเติม

ทีมวิจัย

สมภพ เพชรคล้าย และทีมวิจัยเทคโนโลยีการผลิตอะลูมิเนียม

]]>
Green-rock: มวลรวมเบาสังเคราะห์จากวัสดุพลอยได้จากอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ https://www.mtec.or.th/annual-report2020/th/lightweight-aggregate/ Tue, 03 Nov 2020 09:38:22 +0000 https://www.mtec.or.th/annual-report2020/?p=3119 "Green-rock: มวลรวมเบาสังเคราะห์จากวัสดุพลอยได้จากอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์"]]> 286 Views

> ต้นแบบเชิงพาณิชย์

วัสดุมวลรวมตามธรรมชาติ เช่น ทรายหรือหินบด ที่มีน้ำหนักอยู่ในช่วง 2,300 ถึง 2,600 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร แม้จะช่วยส่งเสริมความแข็งแรงของคอนกรีตได้เป็นอย่างดี แต่น้ำหนักที่สูงนี้ทำให้เกิดข้อจำกัดในการนำไปใช้งานบางประเภทที่ต้องการผลิตภัณฑ์คอนกรีตน้ำหนักเบา

ทีมวิจัยเอ็มเทคได้พัฒนากระบวนการผลิตต้นแบบมวลรวมเบาสังเคราะห์ในระดับอุตสาหกรรม โดยมุ่งเน้นการใช้วัสดุพลอยได้จากอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของบริษัทในเครือไทยเบฟเวอเรจเป็นวัตถุดิบหลัก ต้นแบบมวลรวมเบาสังเคราะห์ที่พัฒนาขึ้นนี้มีลักษณะเป็นเม็ดทรงกลมที่มีโพรงอากาศจำนวนมากภายในโครงสร้างจึงมีน้ำหนักเบา มีความเป็นฉนวนอากาศที่ดี แต่ยังคงความแข็งแรงเทียบเท่าวัสดุเซรามิกทั่วไป

การส่งเสริมให้ผลิตมวลรวมเบาสังเคราะห์จากวัสดุพลอยได้จากอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ ถือเป็นทางออกที่ดี เพราะนอกจากจะสามารถควบคุมลักษณะ และสมบัติของมวลรวมเบาที่ได้ให้เป็นไปตามการประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ แล้ว ยังช่วยเพิ่มมูลค่าของเสียหรือวัสดุพลอยได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างโอกาสทางธุรกิจให้แก่ภาคเอกชนในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ และลดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี

ต้นแบบมวลรวมเบาสังเคราะห์ที่พัฒนานี้มีค่าความหนาแน่นอนุภาค 1.024 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร การดูดซึมน้ำร้อยละ 25 และค่ากำลังรับแรงกดอัด 6.41 เมกกะปาสคาล เมื่อนำวัสดุดังกล่าวไปทดแทนมวลรวมจากธรรมชาติ คอนกรีตดังกล่าวมีค่าการนำความร้อนที่ 0.726 วัตต์ต่อเคลวิน-เมตร ลดลงจากค่าการนำความร้อนของคอนกรีตทั่วไป (1.359 วัตต์ต่อเคลวิน-เมตร) ประมาณร้อยละ 46 ซึ่งมีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้เป็นผนังอาคารเพื่อลดการถ่ายเทความร้อนจากภายนอกเข้าสู่อาคาร ช่วยลดภาระของการใช้ไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศได้เป็นอย่างดี

ทีมวิจัย

ดร. พิทักษ์ เหล่ารัตนกุล และทีมวิจัยวิศวกรรมเซรามิก

]]>
M-Wheel: อุปกรณ์พ่วงต่อสำหรับปรับรถเข็นทั่วไปให้เป็นรถเข็นไฟฟ้า https://www.mtec.or.th/annual-report2020/th/m-wheel/ Tue, 03 Nov 2020 09:37:31 +0000 https://www.mtec.or.th/annual-report2020/?p=3101 "M-Wheel: อุปกรณ์พ่วงต่อสำหรับปรับรถเข็นทั่วไปให้เป็นรถเข็นไฟฟ้า"]]> 405 Views

> ต้นแบบสาธาณประโยชน์​

ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้สูงอายุและผู้พิการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รถเข็นเป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณภาพชีวิตของคนกลุ่มนี้ดีขึ้น แต่ผู้ใช้รถเข็นจำนวนหนึ่งไม่มีกำลังเพียงพอในการหมุนล้อให้เคลื่อนที่ด้วยตัวเอง ดังนั้นรถเข็นไฟฟ้าจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยแก้ไขปัญหานี้ อย่างไรก็ดี รถเข็นไฟฟ้าที่มีจำหน่ายทั่วไปมีราคาค่อนข้างสูงจึงมีเพียงบางคนเท่านั้นที่เข้าถึงเทคโนโลยีนี้ได้

ทีมวิจัยเอ็มเทคได้ออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์พ่วงต่อ M-Wheel เพื่อปรับรถเข็นธรรมดาให้เป็นรถเข็นไฟฟ้าในราคาที่เหมาะสม หัวใจหลักของการเปลี่ยนรถเข็นธรรมดาให้เป็นรถไฟฟ้าประกอบด้วยสามส่วนหลัก ได้แก่ ชุดขับเคลื่อน ชุดควบคุมการเคลื่อนที่ และชุดแหล่งพลังงาน ซึ่งทีมวิจัยได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้แก่วิทยาลัยเทคนิค 3 แห่ง ได้แก่ ชลบุรี สัตหีบ และสมุทรปราการ เพื่อให้บริการชุมชนด้านการผลิตและการบำรุงรักษา ทั้งนี้ผู้รับถ่ายทอดสามารถผลิตซ้ำได้ด้วยการฝึกอบรมจากทีมวิจัย

หัวใจหลักของการเปลี่ยนรถเข็นธรรมดาให้เป็นรถไฟฟ้า

M-Wheel มีคุณสมบัติเด่นหลายประการ ได้แก่ ประกอบติดตั้งง่าย ควบคุมการเคลื่อนที่ได้ง่าย รับน้ำหนักได้สูงสุดถึง 80 กิโลกรัม ใช้ในพื้นที่ลาดเอียงและขึ้นทางต่างระดับได้ตามมาตรฐาน ใช้งานต่อเนื่องได้ 4 ชั่วโมงต่อการชาร์จแบตเตอรี่ 1 ครั้ง และมีความปลอดภัยเพราะผ่านการทดสอบมาตรฐานอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ทางไฟฟ้า และการป้องกันสัญญาณรบกวนทางแม่เหล็ก

M-Wheel เหมาะสำหรับผู้ใช้งานทุกเพศทุกวัยและผู้พิการอัมพาตครึ่งล่าง โดยจากผลสำรวจการใช้งานจริงของอาสาสมัครที่ต้องการใช้รถเข็นไฟฟ้าที่เป็นผู้สูงอายุและผู้พิการพบว่า M-Wheel ใช้งานง่าย ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น สามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น ลดการพึ่งพาผู้อื่น และลดค่าใช้จ่ายเรื่องค่าจ้างดูแล
การพัฒนา M-Wheel นอกจากทำให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการออกแบบและการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานแล้ว ยังเกิดการสร้างเครือข่ายการผลิตกับทั้งภาครัฐและเอกชนอีกด้วย

ทีมวิจัย

ดนุ พรหมมินทร์ และทีมวิจัยชีวกลศาสตร์

]]>