ทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร
                             

ทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร อยู่ภายใต้กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีโพลิเมอร์ขั้นสูงของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ แนวทางหลักของทีมวิจัย ได้แก่

1) งานวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในการผลิตสารให้ประโยชน์เชิงหน้าที่ (functional ingredients) จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร หรือวัสดุธรรมชาติ และการขยายเทคโนโลยีการผลิตจากระดับห้องปฏิบัติการสู่ระดับอุตสาหกรรม โดยเน้นกรรมวิธีที่ไม่ซับซ้อน ลดหรือเลี่ยงการใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย

2) งานวิจัยและพัฒนาที่นำองค์ความรู้พื้นฐานด้านวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเนื้อสัมผัสอาหาร โดยเฉพาะอาหารเพื่อสุขภาพและอาหารเฉพาะบุคคล รวมถึงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างอาหารกับสมบัติที่เกี่ยวข้องในกระบวนการรับประทานอาหาร ทั้งการบดเคี้ยวและการกลืน อีกทั้งจะขยายการศึกษาไปสู่การย่อย และการขับถ่าย ในอนาคตอันใกล้

– พัฒนาสารให้ประโยชน์เชิงหน้าที่จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร

– พัฒนาและปรับคุณภาพเนื้อสัมผัสของอาหาร และ ตัวปรับคุณภาพเนื้อสัมผัสอาหาร โดยประยุกต์ใช้ความรู้ทางวัสดุศาสตร์ ได้แก่ สมบัติรีโอโลยีที่เกี่ยวข้องกับการไหลและการเสียรูป สมบัติวิสโคอิลาสติก (ความหยุ่นหนืด) และสมบัติไตรโบโลยี (การไหลลื่น)

– ทดสอบชีวพร้อมใช้ (Bioavailability) และการนำไปใช้ทางชีวภาพ (Bioaccessibility) ของสารให้ประโยชน์เชิงหน้าที่หรือสารอาหาร เมื่อผ่านกระบวนการบดเคี้ยว-กลืนอาหารในช่องปาก การย่อย และการขับถ่าย โดยใช้ระบบจำลอง

– เครื่องวิเคราะห์สมบัติรีโอโลยีแบบหมุน (rotational rheometer) ทั้งแบบควบคุมความเค้น (controlled-stress) และควบคุมความเครียด (controlled-strain) และหัววัดที่หลากหลาย สำหรับวิเคราะห์สมบัติรีโอโลยี ไตรโบโลยีของอาหารและวัสดุโพลิเมอร์ชีวภาพ

– เครื่องวิเคราะห์สมบัติรีโอโลยีแบบดึงยืด (extensional rheometer, HAAKE CABER1)

– เครื่องวิเคราะห์สมบัติการไหลแบบคาปิลลารี (capillary rheometer) ที่มีหน่วยทดสอบการดึงยืด (haul-off unit) เพื่อทดสอบความแข็งแรงของโพลิเมอร์ขณะหลอม (melt strength)

 

– เครื่องวิเคราะห์สมบัติเชิงกลและเนื้อสัมผัสของอาหาร (universal testing machine)

– เครื่องพิมพ์อาหาร 3 มิติ (3D food printer) แบบ fused deposition modeling

– เครื่องมือเตรียมตัวอย่างอาหาร และวัตถุเจือปนอาหารต่างๆ เช่น

– สารให้ประโยชน์เชิงหน้าที่
– เพคติน สารปรับความหนืดและสารก่อเจลจากเปลือกส้มโอ

– ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ
– แป้งชุบทอด เพื่อลดการอมน้ำมันและรักษาความกรอบ
– ไส้กรอกหมูแฟรงค์เฟอร์เตอร์ไขมันต่ำ
– น้ำสลัดครีมและมายองเนสไร้น้ำมัน
– ไส้เบอร์เกอร์เห็ด

– ผลิตภัณฑ์อาหารเฉพาะบุคคล
– ขนมปัง ครัวซอง และเส้นบะหมี่ปราศจากกลูเตนที่ผลิตจากฟลาวมันสำปะหลัง หรือฟลาวข้าวเจ้า
– อาหารให้พลังงานสูงแบบแท่ง และอาหารให้พลังงานเร็วแบบเจลสำหรับพกพา
– หมูที่มีความนุ่มระดับ 2 และ 3 ตามมาตรฐาน Universal Design Food ของประเทศญี่ปุ่น สำหรับเมนูอาหารผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีภาวการณ์เคี้ยวและการกลืนลำบาก
– ผงปรับความหนืดของอาหาร/เครื่องดื่มสำหรับผู้ที่มีภาวะกลืนลำบาก

นายชนิต วานิกานุกูล
งานประสานธุรกิจและอุตสาหกรรม
ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ
โทรศัพท์ 0 2564 6500 ต่อ 4788
อีเมล chanitw@mtec.or.th

ทีมวิจัยในกลุ่มวิจัยเทคโนโลยีโพลิเมอร์ขั้นสูง

ทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร
ทีมวิจัยสิ่งทอ
ทีมวิจัยนวัตกรรมการดัดแปรวัสดุ
ทีมวิจัยเทคโนโลยีพลาสติก