ทีมวิจัยวิศวกรรมเนื้อเยื่อภายใต้กลุ่มวิจัยวัสดุและอุปกรณ์เฉพาะทางชีวภาพมีเป้าหมายในการสร้างองค์ความรู้และพัฒนาเทคโนโลยีวิศวกรรมเนื้อเยื่อกระดูก/กระดูกอ่อน เพื่อใช้ในการรักษา ซ่อมแซม หรือทดแทนเนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่เสียหายหรือบกพร่อง โดยในปัจจุบัน ทีมวิจัยฯ มุ่งเน้นในการวิจัยและพัฒนาวิศวกรรมเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนของข้อต่อ และวิศวกรรมเนื้อเยื่อโครงร่างกระดูกอ่อนใบหู สำหรับใช้ในการปลูกถ่ายเพื่อการรักษาให้กับผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บและผู้ป่วยที่มีความพิการหรือบกพร่องของอวัยวะดังกล่าว
- การประเมินสมบัติทางชีวภาพในระดับหลอดทดลองของโครงร่างรองรับเซลล์ 3 มิติ ที่มีรูพรุน เช่น การทดสอบความเป็นพิษ และการทดสอบความเข้ากันได้ทางชีวภาพ
- การสกัดและเพาะเลี้ยงเซลล์กระดูกอ่อนจากชิ้นเนื้อกระดูกอ่อนข้อเข่าจากสัตว์/มนุษย์
- การห่อหุ้มเซลล์/สารชีวภาพในแอลจิเนตไฮโดรเจลด้วยเครื่องห่อหุ้มตัวอย่าง
- การเพาะเลี้ยงและชักนำเซลล์ต้นกำเนิดของมนุษย์ให้เปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์กระดูก/เซลล์กระดูกอ่อนบนวัสดุโครงร่างรองรับเซลล์ 3 มิติ
- สารช่วยกระตุ้นการสร้างสารองค์ประกอบของเนื้อเยื่อกระดูกอ่อน
- โครงร่างแบบไบเฟสิค (สองชั้น) ที่มีรูพรุนที่ขึ้นรูปด้วยเทคนิค Digitial Light Processing (DLP) สำหรับการซ่อมแซมกระดูกอ่อนผิวข้อที่เสียหาย (อยู่ระหว่างดำเนินการวิจัย)
- ตู้ปฏิบัติการปลอดเชื้อสำหรับการปฏิบัติงานด้านการเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
- กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงฟลูออเรสเซนต์
- เครื่องเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรม
- เครื่องวัดค่าการดูดกลืนแสงในไมโครเพลท
- เครื่องตัดชิ้นเนื้อที่จุดเยือกแข็ง
- เครื่องห่อหุ้มตัวอย่าง
คุณกัณฐมณี กลกานนท์ (นักวิเคราะห์อาวุโส)
โทรศัพท์ : 0 2564 6500 ext. 4782
Email : kanthamanee.kal@mtec.or.th