Find a co developer

โรงอบยางแผ่นประสิทธิภาพสูง

จุดเด่นของผลิตภัณฑ์: โรงอบยางแผ่นประสิทธิภาพสูงด้วยพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับอบแห้งยางแผ่นได้ในระยะเวลาที่รวดเร็วขึ้น และสามารถทำงานร่วมกับเครื่องจับตัวน้ำยางกึ่งอัตโนมัติเพื่อผลิตยางแผ่น ซึ่งตอบสนองความต้องการของกลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และสหกรณ์ยางพาราที่ผลิตยางแผ่น และช่วยลดปัญหาที่พบ เช่น ความแห้งของยางแผ่นดิบ เชื้อราที่เกิดขึ้นบนแผ่นยาง และระยะเวลาที่ใช้ในการอบแห้งนาน  โอกาสทางการตลาด: ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางธรรมชาติมากเป็นอันดับหนึ่งของโลกคิดเป็นร้อยละ 40 ของปริมาณการส่งออกยางทั้งหมดและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี แม้ว่ายางพาราจะเป็นที่ต้องการของตลาด แต่กลับพบว่า เกษตรกรผู้ปลูกยางพารายังประสบปัญหาราคายางตกต่ำ ที่เกิดจากปริมาณยางล้นตลาด คุณภาพที่ลดลงของน้ำยางระหว่างการขนส่ง หรือกระบวนการเก็บรักษา และที่สำคัญการแข่งขันทางการตลาดสูงขึ้นจากการปลูกยางพาราในประเทศต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น และการใช้ยางสังเคราะห์มาทดแทนยางพาราในบางผลิตภัณฑ์ด้วย  การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการใช้งานยางพาราให้ครบตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ด้วยกิจกรรมเพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บรักษาหลังการกรีดจากต้น การแปรรูปก่อนส่งเข้ากระบวนการผลิต รวมถึงการเก็บรักษายางให้มีคุณภาพดีและคงที่ นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางเลือกอื่น ๆ เพื่อขยายฐานการใช้งานยางพาราให้เพิ่มมากขึ้น โดยมุ่งหวังให้เกษตรกรที่เป็นหน่วยการผลิตที่เล็กที่สุดและมักได้รับผลกระทบจากปัญหาของการผลิตก่อนเสมอมีโอกาสผลิตยางพาราอย่างยั่งยืนได้ในอนาคต หนึ่งในกิจกรรมที่จะมาช่วยตอบโจทย์ความต้องการได้ คือ การพัฒนาออกแบบโรงอบแบบใหม่ที่สามารถอบแห้งยางแผ่นได้ในระยะเวลาที่รวดเร็วขึ้น  โรงอบแบบใหม่นี้ช่วยลดต้นทุนในการผลิตยางแผ่น เพิ่มคุณภาพ สร้างความหลากหลายของชนิดยางดิบ และเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกยาง อ้างอิง : บทคัดย่อข้อเสนอโครงการ “การพัฒนาการแปรรูปน้ำยางสดด้วยเทคโนโลยีที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม”, MTEC   ขอบเขตเทคโนโลยีที่จะถ่ายทอด: ถุงมือยางทางการแพทย์ เช่น ถุงมือยางสำหรับตรวจโรค และถุงมือยางสำหรับผ่าตัด กลุ่มผู้ใช้ผลิตภัณฑ์: 1. วิสาหกิจชุมชน 2. […]

ถุงมือยางธรรมชาติโปรตีนต่ำ

จุดเด่นของผลิตภัณฑ์: ถุงมือยางธรรมชาติโปรตีนต่ำ ซึ่งมีการลดปริมาณโปรตีนทั้งหมด (Total protein) และ ลดโปรตีนที่ก่อให้เกิดการแพ้ (Allergenic protein) เหมาะสำหรับผู้ใช้งานทั่วไปและผู้ที่มีอาการแพ้โปรตีนในยางธรรมชาติ โอกาสทางการตลาด: ตลาดถุงมือยางมีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามสถานการณ์โรคระบาด Covid-19 ซึ่ง MARGMA คาดการณ์ปริมาณการใช้ถุงมือยางโลกในปี 2564 มีแนวโน้มอยู่ที่ 420,000 ล้านชิ้น ขยายตัว 17% จากปีก่อนหน้า ประเทศไทยมีอุตสาหกรรมผลิตถุงมือยางจากทั้งยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ ซึ่งในปี 2563 มีการส่งออก 49,806 ล้านชิ้น แต่ถุงมือยางธรรมชาติจะติดข้อจำกัดของผู้ซื้อในบางประเทศเนื่องจากปัญหาการแพ้โปรตีนในถุงมือยาง ขอบเขตเทคโนโลยีที่จะถ่ายทอด: ถุงมือยางทางการแพทย์ เช่น ถุงมือยางสำหรับตรวจโรค และถุงมือยางสำหรับผ่าตัด กลุ่มผู้ใช้ผลิตภัณฑ์: โรงพยาบาล สถานพยาบาล และ บุคลากรทางการแพทย์ กลุ่มผู้รับถ่ายทอดเทคโนโลยี: ผู้ผลิตถุงมือทางการแพทย์จากยางธรรมชาติ เช่น ถุงมือยางสำหรับตรวจโรค และถุงมือยางสำหรับผ่าตัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเคมียาง ทรัพย์สินทางปัญญา: คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่ 2003001903 ชื่อคำขอ “กรรมวิธีการลดปริมาณโปรตีนละลายน้ำและโปรตีนที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ในผลิตภัณฑ์ยางธรรมชาติ” สนใจติดต่อ: งานประสานธุรกิจและอุตสาหกรรมเนตรชนก ปิยฤทธิพงศ์Email: […]

เครื่องช่วยจับตัวน้ำยางสดแบบกึ่งอัตโนมัติสำหรับการผลิตยางแผ่น

เครื่องจักรต้นแบบผลิตแผ่นยางจับตัวจากน้ำยางสด ด้วยเทคโนโลยีเครื่องจักรกลและระบบกึ่งอัตโนมัติ ปฎิรูปกระบวนการผลิตยางแผ่นคุณภาพดี สม่ำเสมอ เพิ่มคุณภาพสินค้าเกษตร และลดปัญหาสิ่งแวดล้อม จุดเด่น:  มีระบบควบคุมแบบกึ่งอัตโนมัติ ซึ่งควบคุมการทำงานในแต่ละส่วนให้ต่อเนื่องกันด้วยระบบโปรแกรมควบคุมแบบเงื่อนไขสั่งการ (Programmable Logic Controller PLC) สามารถปรับตั้งค่าการทำงานต่างๆ ได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน สามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดในการทำงาน และแจ้งเตือนให้ผู้ใช้งานทราบจึงมีความปลอดภัยในการใช้งาน สามารถควบคุมปริมาณน้ำยางและน้ำกรดได้คงที่และสม่ำเสมอทำให้ยางมีคุณภาพดี ซ่อมบำรุงและดูแลรักษาเครื่องจักรได้ง่าย โอกาสทางการตลาด: การผลิตยางแผ่นส่วนใหญ่เป็นการผลิตระดับชุมชน ซึ่งกระบวนการผลิตยางแผ่น โดยเฉพาะขั้นตอนการจับตัวน้ำยางยังคงใช้แรงงานคนเป็นหลัก จึงมีความเสี่ยงทั้งในเรื่องการขาดแคลนแรงงาน และการควบคุมคุณภาพการผลิตให้สม่ำเสมอ  โอกาสในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากการลดต้นทุนในกระบวนการผลิตยางแผ่นจับตัวแบบเดิม ทั้งจาก แรงงาน สารเคมีจับตัวน้ำยาง ค่าบริหารจัดการน้ำใช้ และสารเคมีบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น รวมไปถึงการสร้างโอกาสในการแข่งขันด้านธุรกิจที่เน้นคุณภาพและภาพลักษณ์ในด้านความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตโดยอาศัยระบบอัตโนมัติ จะสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้นได้ ตลอดจนลดของเสียในกระบวนการ นำไปสู่การปฏิรูปการผลิตอุตสาหกรรมยางพาราได้อย่างยั่งยืน รูปแบบความร่วมมือ: แบบในการผลิตและการประกอบเครื่องช่วยจับตัวน้ำยางสดแบบกึ่งอัตโนมัติสำหรับการผลิตยางแผ่น กลุ่มผู้ใช้ผลิตภัณฑ์: เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ ผู้ผลิตยางแผ่น กลุ่มผู้รับถ่ายทอดเทคโนโลยี: ผู้ผลิตเครื่องจักร (การเกษตร) การถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ดำเนินการอยู่/แล้วเสร็จ:  ดำเนินการร่วมทดสอบกับสหกรณ์การเกษตรบ้านค่าย จ.ระยอง ทรัพย์สินทางปัญญา: สิทธิบัตรออกแบบ เลขที่คำขอ 20020009964 เครื่องผลิตแผ่นยางจับตัว […]

เทคโนโลยีการลดกลิ่นบูดเน่าในการเตรียมยางก้อนถ้วยและยางแท่งโดยใช้สาร enR/3S

สารจับตัวน้ำยางพาราชนิดใหม่ เพื่อผลิตยางก้อนถ้วยไร้กลิ่น ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์และปรับปรุงโครงสร้างของโปรตีนให้ใหญ่ขึ้น ซึ่งช่วยลดกลิ่นจากการเน่าเสียได้ ปลอดภัยต่อผู้ใช้งานและสิ่งแวดล้อม  จุดเด่น: ช่วยแก้ไขปัญหากลิ่นเหม็นได้ตั้งแต่สวนยางพาราจนถึงโรงงานผลิตยางแท่งและโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ยาง มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานและสิ่งแวดล้อม โอกาสทางการตลาด: ไทยเป็นผู้ผลิตยางธรรมชาติมากที่สุดในโลก และผลผลิตส่วนใหญ่ของประเทศอยู่ในรูปแบบของยางแท่ง หนึ่งในวัตถุดิบต้นทางที่สำคัญของการผลิตยางแท่ง คือ ยางก้อนถ้วย แต่ปัญหาคือ กลิ่นเหม็นของยางก้อนถ้วยที่เกิดขึ้นจากจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนตามธรรมชาติเข้าไปย่อยสลายโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมันที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของยางพารา ทำให้เกิดสารระเหยที่มีกลิ่นหลายชนิดจะถูกส่งต่อไปยังยางแท่ง STR 10/STR 20 ด้วย การแก้ปัญหาตั้งแต่การผลิตยางก้อนถ้วยจึงเป็นแนวทางการที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน เพราะสามารถป้องกันการเกิดกลิ่นเหม็นได้ตั้งแต่สวนยางพาราจนถึงโรงงานผลิตยางแท่งและโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ยาง รูปแบบความร่วมมือ:  การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการใช้ประโยชน์ผลงาน (กระบวนการผลิต) กลุ่มผู้ใช้ผลิตภัณฑ์:  เกษตรกรผู้ผลิตยางก้อนถ้วย ผู้ผลิตยางแท่ง ทรัพย์สินทางปัญญา:  คำขอสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เลขที่ 2101000358 เรื่อง วิธีการเตรียมยางก้อนถ้วย สำหรับนำไปใช้เตรียมเป็นยางแท่งที่มีความหนืดคงที่ และวิธีการเตรียมยางแท่งที่มีความหนืดคงที่ วันที่ยื่น 2 มกราคม 2564 โดย  สวทช. เป็นผู้ทรงสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา  สนใจติดต่อ: งานประสานธุรกิจและอุตสาหกรรมเนตรชนก ปิยฤทธิพงศ์Email: netchanp@mtec.or.thโทรศัพท์: 0 2564 6500 ext. 4301

ยางปูคอกปศุสัตว์

ยางปูคอกปศุสัตว์  เป็นแผ่นยางพาราที่มีความเป็นพิษต่ำสำหรับใช้ในฟาร์มโคนม ช่วยลดการบาดเจ็บของโคนมจากการกดทับของน้ำหนักตัวทำให้น้ำนมที่ผลิตได้มีปริมาณและคุณภาพดี จุดเด่น: มีพื้นผิวที่ไม่ลื่น มีน้ำหนักไม่มากเกินไป ทำความสะอาดง่ายด้วยคนเพียง 1 คน ทนทาน รับน้ำหนักโคนมได้ดี ไม่เกิดการฉีกขาด หรือเสียรูปได้ง่าย มีอายุการใช้งานไม่ต่ำกว่า 2 ปี ผ่านมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแผ่นยางปูพื้นคอกสัตว์ (มอก. 2584-2556) เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากน้ำล้างแผ่นยางผ่านมาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภค (มอก.257-2549) โอกาสทางการตลาด: การเลี้ยงโคนมบนพื้นปูนซีเมนต์ “มักส่งผลเสีย” ต่อสุขภาพของโคนม ทำให้น้ำนมที่ได้มีปริมาณและคุณภาพลดลง การใช้แผ่นยางปูบนพื้นซีเมนต์เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหานี้ได้ แต่แผ่นยางปูพื้นคอกที่มีจำหน่ายในท้องตลาดอาจมีสารเคมีที่ใช้ในการผลิตตกค้างส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและตัวโคนมเอง การใช้แผ่นยางพาราสำหรับปูพื้นคอกปศุสัตว์ความเป็นพิษต่ำที่มีคุณภาพดีไม่เพียงส่งผลในเชิงบวกต่อสุขภาพของแม่โคนมและผู้บริโภคน้ำนมโค แต่ยังช่วยลดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราในประเทศอีกด้วย ผลิตภัณฑ์เทียบเคียง คือ แผ่นยางปูคอก และแผ่นปูคอก EVA รูปแบบความร่วมมือ:  ปรับสูตรการผลิตให้เหมาะสมกับกระบวนการขึ้นรูป กลุ่มผู้ใช้ผลิตภัณฑ์:  เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ทรัพย์สินทางปัญญา:   อนุสิทธิบัตรต้นแบบ เลขที่116291 – องค์ประกอบในการเตรียมยางวัลคาไนซ์ที่มีความใส และวิธีการเตรียมยางดังกล่าว สนใจติดต่อ: งานประสานธุรกิจและอุตสาหกรรมเนตรชนก ปิยฤทธิพงศ์Email: netchanp@mtec.or.thโทรศัพท์: 0 2564 6500 ext. 4301

1 2