Techtransfer

กระบวนการผลิตหมอนยางพาราที่มีระดับความนิ่มแข็งแตกต่างกัน

เป็นกระบวนการที่ควบคุมตัวแปรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต ได้แก่ สูตรในการผสมน้ำยาง ปริมาณน้ำยางต่อแบตช์ เวลาในการตีฟอง ตลอดจนสภาวะแวดล้อมในโรงงานให้มีความสมดุล  จุดเด่นของต้นแบบผลงานวิจัย:      • ผลิตหมอนยางพาราให้มีระดับความนิ่มแข็งที่แตกต่างกันได้ถึง 7 ระดับ     • ประยุกต์ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ยางฟองน้ำอื่นๆ ที่มีระดับความแข็งแตกต่างจากหมอนได้     • ต่อยอดไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มีความเฉพาะกับบุคคลได้ เช่น การออกแบบหมอนสำหรับผู้มีปัญหาหยุดหายใจชณะนอนหลับ การทำเต้านมเทียมจากยางฟองน้ำ โอกาสทางการตลาด: สามารถผลิตหมอนที่มีระดับความแข็งแตกต่างกันได้เป็นการเพิ่มความหลากหลายให้แก่ผลิตภัณฑ์ ขอบเขตเทคโนโลยีที่จะถ่ายทอด: สูตรและกระบวนการผลิต  กลุ่มผู้ใช้ผลิตภัณฑ์: ผู้บริโภคทั่วไป กลุ่มผู้รับถ่ายทอดเทคโนโลยี: กลุ่มสหกรณ์ เกษตรกร และผู้ประกอบการรายย่อย ความต้องการในการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการใช้ประโยชน์: การให้คำปรึกษา การแก้ปัญหากระบวนการผลิต การรับจ้างวิจัย และการออกแบบแม่พิมพ์ ทรัพย์สินทางปัญญา: องค์ความรู้ สนใจติดต่อ: งานประสานธุรกิจและอุตสาหกรรมเนตรชนก ปิยฤทธิพงศ์Email: netchanp@mtec.or.thโทรศัพท์: 0 2564 6500 ext. 4301

Magik Growth ผลิตภัณฑ์นอนวูฟเวนสำหรับการเพาะปลูกพืช

Magik Growth หรือนอนวูฟเวนสำหรับการเพาะปลูกพืชช่วยให้ระบบรากพืชเจริญเติบโตได้ดี ดูดซึมอาหารได้มากขึ้น ทำให้ปริมาณและคุณภาพของผลผลิตสูงขึ้น จุดเด่นของต้นแบบผลงานวิจัย: มีโครงสร้าง 3 มิติในลักษณะที่เส้นใยสานกันไปมา ทำให้มีรูพรุนและความหนาที่ถ่ายเทน้ำและอากาศได้ดี มีความแข็งแรงพอที่จะนำกลับมาใช้งานซ้ำได้ คัดเลือกช่วงแสงที่พืชต้องการ สามารถออกแบบให้มีลักษณะตามการใช้งานได้ เช่น ถุงปลูก ถุงห่อผลไม้ได้ วัสดุคลุมดิน สามารถผลิตด้วยเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่อุตสาหกรรมไทยมีอยู่แล้ว โอกาสทางการตลาด: ประเทศไทยมีศักยภาพทางด้านเกษตรกรรมเนื่องจากมีความได้เปรียบทางสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศ แต่ระบบการปลูกพืชส่วนใหญ่ยังคงอาศัยสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ เช่น ดิน น้ำ และภูมิอากาศ เป็นปัจจัยหลัก อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันความต้องการของผู้บริโภคมีเพิ่มขึ้น ในขณะที่พื้นที่การเพาะปลูกลดลง ทำให้เทคโนโลยีด้านการเกษตรจึงมีความสำคัญและจำเป็นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการผลิต ตลอดจนการเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตผลทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น ถุงปลูกพืช ถุงห่อผลไม้ และวัสดุคลุมดิน นับเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิต โดยเฉพาะกับพืช ผักและผลไม้ที่มีมูลค่าสูง ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรดังกล่าวที่ผลิตและจำหน่ายภายในประเทศส่วนใหญ่ทำจากวัสดุพลาสติก ที่ไม่มีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มเติม ซึ่งแม้จะมีราคาถูกแต่ไม่ได้ส่งเสริมคุณภาพผลผลิต เนื่องจากการถ่ายเทของอากาศและความชื้นภายในถุงมีน้อย ทำให้รากพืชขดงอแผ่ขยายไม่เต็มที่ ส่งผลให้การเจริญเติบโตของพืชไม่ดีเท่าที่ควร ผลิตภัณฑ์ฟิล์มพลาสติกที่เป็นถุงปลูกและวัสดุคลุมดิน ถุงห่อผลไม้ชนิดกระดาษเคลือบคาร์บอน ผลิตภัณฑ์นอนวูฟเวนเพื่อการเกษตรจากต่างประเทศ ขอบเขตเทคโนโลยีที่จะถ่ายทอด: สูตรและกระบวนการผลิต ผลการทดสอบการเพาะปลูกพืชชนิดต่างๆ กลุ่มผู้ใช้ผลิตภัณฑ์: เกษตรกรรมสมัยใหม่ เกษตรกร เกษตรกรแปลงใหญ่ เกษตรอินทรีย์ […]

Telecare อุปกรณ์ช่วยวินิจฉัยโรคเส้นเลือดสมองแบบทางไกล

Telecare อุปกรณ์ช่วยวินิจฉัยโรคเส้นเลือดสมองแบบทางไกล  สำหรับให้แพทย์เฉพาะทางด้านสมองและระบบประสาทตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยแบบทางไกล จุดเด่นของต้นแบบผลงานวิจัย: สามารถสื่อสารกับผู้ป่วยได้โดยตรง  เห็นการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายและใบหน้าได้พร้อมๆ กัน  สามารถตรวจการตอบสนองของม่านตาได้อย่างชัดเจน  โอกาสทางการตลาด: ปัจจุบันยังไม่มีอุปกรณ์ที่ช่วยให้แพทย์สามารถสื่อสารด้วยเสียง ภาพวีดิทัศน์ทั้งมุมกว้างและมุมแคบได้พร้อมๆ กัน แต่กล้องของอุปกรณ์ช่วยวินิจฉัยโรคเส้นเลือดสมองแบบทางไกลนี้สามารถปรับเปลี่ยนแสงและการรับภาพ เพื่อให้แพทย์ที่อยู่ทางไกลเห็นการตอบสนองของม่านตาผู้ป่วยได้อย่างชัดเจน  กลุ่มผู้ใช้ต้นแบบผลงานวิจัย: บุคลากรทางการแพทย์ที่อยู่พื้นที่ห่างไกล, บุคลากรทางการแพทย์ฉุกเฉิน, แพทย์เฉพาะทางด้านสมองและระบบประสาท, สถานดูแลผู้สูงอายุ (nursing home) กลุ่มเป้าหมายผู้ใช้งาน: ผู้ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ ความต้องการในการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการใช้ประโยชน์ :   อนุญาตสิทธิให้แก่ผู้ผลิตเพื่อการผลิตเชิงพาณิชย์และผู้ร่วมวิจัย/ศึกษาโอกาสทางการตลาด การใช้ประโยชน์เชิงสาธารณะ: สถาบันประสาทวิทยา ทรัพย์สินทางปัญญา: องค์ความรู้และต้นแบบผลิตภัณฑ์ รูปด้านหน้าของอุปกรณ์ Telecare รูปด้านหลังของอุปกรณ์ Telecare สนใจติดต่อ: งานประสานธุรกิจและอุตสาหกรรม คุณกัณฐมณี กลกานนท์ โทรศัพท์ 0 2564 6500 ต่อ 4782โทรสาร 0 2564 6369 E-mail: BDD@mtec.or.th

รถส่งของบังคับทางไกล “อารี”

Remote control CART หรือ รถส่งของบังคับทางไกล “อารี” เพื่อบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอุปกรณ์ขนส่งสัมภาระที่ควบคุมด้วยรีโมทคอนโทรล สำหรับให้บุคลากรทางการแพทย์ใช้ส่งสิ่งของให้แก่ผู้ป่วยโควิด-19 ที่พักภายในหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ จุดเด่นของต้นแบบผลงานวิจัย: มีอุปกรณ์ขับเคลื่อนและควบคุมทั้งหมดอยู่ภายในตู้ไฟกันน้ำบริเวณด้านล่างของรถเข็นมีถาดรองรับสัมภาระ 2 ชั้น สามารถขับเคลื่อนด้วยความเร็วไม่เกิน 2 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีรัศมีวงเลี้ยวต่ำสุด 0 cm (หมุนอยู่กับที่ได้) สามารถควบคุมให้เดินหน้า-ถอยหลัง เลี้ยวซ้าย-เลี้ยวขวาด้วยรีโมทคอนโทรล มีแบตเตอรี่ชาร์จซ้ำได้อยู่ภายใน โดยมีระยะทางวิ่งประมาณ 3 กิโลเมตรต่อการชาร์จ 1 ครั้ง สามารถรับน้ำหนักสัมภาระได้ 5 กิโลกรัม โดยที่ความเร็วไม่ลดลง สามารถฉีดน้ำยาทำความสะอาดลงบนตัวต้นแบบได้ โอกาสทางการตลาด: ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 โรงพยาบาลหลายแห่งจำเป็นต้องจัดตั้งหอผู้ป่วยเฉพาะกิจเพื่อให้การดูแลกลุ่มผู้ป่วยโดยเฉพาะ และทุกครั้งที่บุคลากรทางการแพทย์เข้าไปปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยเฉพาะกิจก็ต้องใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (Personal Protection Equipment; PPE) ซึ่งจำเป็นต้องกำจัดทิ้งหลังการเข้าหอผู้ป่วยเฉพาะกิจทุกครั้งทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก การใช้ Remote control CART ในการขนส่งสัมภาระแทนบุคลากรทางการแพทย์ก็จะช่วยลดค่าใช้จ่าย รวมถึงลดความเสี่ยงในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรทางการแพทย์อีกด้วย ขอบเขตเทคโนโลยีที่จะถ่ายทอด: เน้นการถ่ายทอดในเชิงสาธารณประโยชน์ กลุ่มเป้าหมายผู้ใช้งาน: บุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น เชื้อโควิด-19 กลุ่มผู้รับถ่ายทอดเทคโนโลยี: โรงพยาบาลและสถานพยาบาลต่างๆ […]

เนื้อหมูนุ่มที่ผ่านกระบวนการปรับเนื้อสัมผัสให้บดเคี้ยวง่ายสำหรับผู้สูงวัยและผู้มีปัญหาการเคี้ยว

เนื้อหมูนุ่ม คือ ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการปรับเนื้อสัมผัสให้บดเคี้ยวง่าย เหมาะสำหรับผู้สูงวัยและผู้มีปัญหาการเคี้ยว จุดเด่นของผลิตภัณฑ์: มีรูปร่างเหมือนชิ้นเนื้อ แต่มีเนื้อสัมผัสที่นุ่ม บดเคี้ยวและกลืนง่าย มีความฉ่ำน้ำ มีรสชาติและลักษณะปรากฏเหมือนเมนูที่เตรียมจากเนื้อหมูปกติ ปรับระดับความนุ่มได้ตามต้องการ นำไปประกอบเมนูอาหารไทยได้หลายประเภท โอกาสทางการตลาด: เนื้อสัตว์เป็นแหล่งโปรตีนที่ประกอบด้วยธาตุอาหารต่างๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่มีเนื้อสัมผัสที่บดเคี้ยวและย่อยยากทำให้ผู้บริโภคบางกลุ่มหลีกเลี่ยงที่จะรับประทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้สูงอายุและผู้มีปัญหาการเคี้ยว จึงนำไปสู่ภาวะการขาดสารอาหารและโรคต่างๆ ตามมา ดังนั้น เนื้อหมูนุ่มที่พัฒนาขึ้นน่าจะช่วยให้ผู้สูงวัยและผู้มีปัญหาการเคี้ยวมีทางเลือกในการบริโภคเนื้อสัตว์มากขึ้น อาหารที่ใช้วิธีการตุ๋นหรือทำให้เปื่อย อาหารปั่น อาหารปรับเนื้อสัมผัส อาหารขึ้นรูปแบบพูเร (puree) จากต่างประเทศ ขอบเขตเทคโนโลยีที่จะถ่ายทอด: สูตรและกระบวนการผลิต กลุ่มผู้ใช้ผลิตภัณฑ์: ผู้สูงวัยและผู้มีปัญหาการเคี้ยว กลุ่มผู้รับถ่ายทอดเทคโนโลยี: ผู้ผลิตอาหารแปรรูป อาหารสำหรับผู้สูงอายุ ความต้องการในการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการใช้ประโยชน์: การขยายขนาดการผลิตให้แบชใหญ่ขึ้น หรือมีกระบวนการผลิตต่อเนื่อง ทรัพย์สินทางปัญญา: อนุสิทธิบัตร 112697 องค์ประกอบการเตรียมและวิธีการเตรียมเนื้อสัตว์นุ่มบดเคี้ยวง่าย ความลับทางการค้า 115282 กระบวนการปรับเนื้อสัมผัสด้วยการควบคุมโครงสร้างของเนื้อสัตว์บดเคี้ยวง่าย สนใจติดต่อ: งานประสานธุรกิจและอุตสาหกรรม คุณชนิต วานิกานุกูล โทรศัพท์ 0 2564 6500 ต่อ 4788 โทรสาร […]