รายงานประจำปี ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ 2564 https://www.mtec.or.th/annual-report2021 MTEC annual report 2021 Thu, 30 Dec 2021 06:29:31 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.9.10 https://www.mtec.or.th/annual-report2021/wp-content/uploads/2020/08/cropped-arrow_y-32x32.png รายงานประจำปี ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ 2564 https://www.mtec.or.th/annual-report2021 32 32 กระบวนการการวินิจฉัยพฤติกรรมของกังหันก๊าซด้วยการวิเคราะห์การสั่นสะเทือน https://www.mtec.or.th/annual-report2021/th/gas-turbine/ Tue, 28 Dec 2021 01:14:31 +0000 https://www.mtec.or.th/annual-report2021/?p=2936 "กระบวนการการวินิจฉัยพฤติกรรมของกังหันก๊าซด้วยการวิเคราะห์การสั่นสะเทือน"]]> 1,488 Views

> ต้นแบบเชิงพาณิชย์

ความผิดปกติเพียงเล็กน้อยของเครื่องจักรหากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงทีอาจนำไปสู่ความเสียหายใหญ่กับเครื่องจักรได้ การเฝ้าระวังเครื่องจักร (condition monitoring) เป็นแนวทางปฏิบัติหนึ่งที่สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดความเสียหายใหญ่ในเครื่องจักร ทั้งนี้การวิเคราะห์การสั่นสะเทือนเป็นวิธีหนึ่งที่นิยมใช้ในการตรวจจับการทำงานของเครื่องจักร เนื่องจากมีประสิทธิภาพดีและสามารถประยุกต์ได้กับเครื่องจักรหลายประเภทด้วย

การวิเคราะห์พฤติกรรมของเครื่องจักรโดยใช้การสั่นสะเทือนสามารถทำได้โดยวิธีTime-Frequency-Analysis กล่าวคือการนำสัญญาณการสั่นสะเทือนหรือสัญญาณที่บ่งชี้ลักษณะการทำงานของเครื่องจักร (operational signals) มาศึกษาแอมพลิจูด การสั่นสะเทือนและพลังงานของการสั่นสะเทือนของแต่ละย่านความถี่ในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งความเข้มของสัญญาณในช่วงเวลาต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปสามารถนำมาใช้ระบุพฤติกรรมของเครื่องจักรและ การวิเคราะห์ช่วงความถี่ที่ผิดปกติสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการระบุหาต้นเหตุของความผิดปกติได้

Continuous Wavelet Transform เป็นวิธีที่ดีที่ให้ผลลัพธ์ในช่วงความถี่กว้างและมีความละเอียดที่เหมาะสม แต่การวิเคราะห์ผลของ time-frequency-analysis มีความซับซ้อนต้องใช้ความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ  เช่น ด้านการสั่นสะเทือน และความรู้ในการตรวจสอบเครื่องจักร ดังนั้น เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจการแปรผลได้ง่าย ค่าที่ได้จากการประมวลผลจะถูกนำไปแปลงเป็นค่าลักษณะเฉพาะ (characteristic values) ที่มีลักษณะเป็นปริมาณสเกลาร์สามารถใช้ในการเปรียบเทียบแต่ละช่วงเวลาได้ คือ Application Force Level โดย Heider และ Tooth Force Level โดย Müller โดยค่าดังกล่าวมีจุดเด่นในการปรับแต่งขอบเขตของการวิเคราะห์ เช่น ช่วงของความถี่ เพื่อรองรับการวิเคราะห์หลากหลายรูปแบบ ซึ่งกระบวนการนี้สามารถทำได้ทั้งในส่วนของการวินิจฉัยอย่างคร่าว ๆ เพื่อความรวดเร็วในการวินิจฉัยสามารถบอกพฤติกรรมของเครื่องจักรได้แบบกึ่งเรียลไทม์ และในส่วนของการวินิจฉัยแบบละเอียดที่ใช้ในการศึกษาการสั่นสะเทือนของเครื่องจักรแบ่งแยกตามการสั่นสะเทือนในช่วงคลื่นความถี่ต่าง ๆ เพื่อการวิเคราะห์ต่อไป

การวิเคราะห์ผลด้วย CWT และใช้ Application Force Level acc. Heider ในการประมวลผล
ต้นแบบกระบวนการวินิจฉัยการสั่นสะเทือนในรูปแบบโปรแกรมอิเล็กทรอนิกส์ MPULS

หลักการวินิจฉัยพฤติกรรมของกังหันก๊าซดังกล่าวได้ถูกนำไปสร้างซอฟต์แวร์ MPULS เพื่อใช้วินิจฉัยพฤติกรรมของกังหันก๊าซสำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้า ณ โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ก่อนหน้านี้มีการประยุกต์ใช้เครื่องมือเพื่อตรวจจับปัญหา rubbing โดยการวัดกระแสไฟที่ปล่อยเข้าไปในกังหันก๊าซ โดยปัญหาดังกล่าวเป็นการเสียดสีของใบพัดกับตัวเสื้อ ทำให้เกิดความเสียหายโดยเครื่องมือที่มีอยู่เดิมมีการแสดงถึงสัญญาณที่อาจเป็นการบ่งบอกถึงปัญหา rubbing ในแต่ละช่วงเวลา การวินิจฉัยพฤติกรรมของกังหันก๊าซด้วยการวิเคราะห์การสั่นสะเทือนสามารถใช้ในการยืนยันถึงการทำงานของเครื่องจักรที่ยังคงปกติ และยังสามารถใช้ในการระบุตำแหน่งของสาเหตุการสั่นสะเทือนในแต่ละชิ้นส่วนของกังหันก๊าซได้ จุดเด่นของ MPULS คือ สามารถนำไปปรับแต่งใช้งานสำหรับการตรวจวิเคราะห์การสั่นสะเทือนของเครื่องจักรอื่น ๆ ได้อย่างไม่จำกัด ทั้งในด้านของกระบวนการวิเคราะห์ และตัวซอฟต์แวร์เองที่มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน

ทีมวิจัย

ดร. ฉัตรชัย ศรีสุรางค์กุล, ดร. ศราวุธ เลิศพลังสันติ, ธนรรค อุทกะพันธ์, ธีระพงษ์ บุญมา และฝอยฝน ศรีสวัสดิ์

]]>
การพัฒนาของผสมฐานมอลโตเดกซ์ตรินเพื่อปรับความหนืดของอาหารสำหรับผู้ที่มีภาวะกลืนลำบาก https://www.mtec.or.th/annual-report2021/th/maltodextrin/ Tue, 21 Dec 2021 07:41:59 +0000 https://www.mtec.or.th/annual-report2021/?p=2918 "การพัฒนาของผสมฐานมอลโตเดกซ์ตรินเพื่อปรับความหนืดของอาหารสำหรับผู้ที่มีภาวะกลืนลำบาก"]]> 2,721 Views

ที่มา

ภาวะกลืนลำบาก (dysphagia) คือภาวะที่มีความผิดปกติในการส่งผ่านอาหารจากช่องปากไปยังอวัยวะในระบบทางเดินอาหารส่วนอื่นๆ ทำให้ไม่สามารถกลืนอาหารได้เหมือนคนปกติ และมักนำไปสู่การสำลักขณะกลืนอาหารได้ ภาวะนี้อาจทำให้เกิดการขาดน้ำและสารอาหาร อันนำไปสู่ภาวะทุพโภชนาการ และเกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ เช่น ปอดอักเสบติดเชื้อจากการสำลักจนอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ 

บริษัท สยาม มอดิฟายด์ สตาร์ช จำกัด เป็นบริษัทผู้นำในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สตาร์ชมันสําปะหลังแปรรูปที่สำคัญของประเทศไทยและของโลก ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร/เครื่องดื่มสำหรับผู้ที่มีภาวะกลืนลำบากในรูปแบบผงปรับความหนืด เพื่อรองรับความต้องการของผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบากและผู้สูงอายุที่จะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นตามสภาวการณ์สังคมผู้สูงวัย (aged society) ของประเทศไทยในปัจจุบัน 

บริษัทฯ ได้จ้างศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติให้ศึกษาและวิเคราะห์สมบัติต่างๆ โดยเฉพาะสมบัติเชิงรีโอโลยีของของผสมฐานมอลโตเดกซ์ตริน ที่ระดับความหนืด 3 ระดับ ได้แก่ Nectar-like, Honey-like และ Pudding-like ตามเกณฑ์ National Dysphagia Diet (NDD) เพื่อใช้เป็นผงปรับความหนืด (thickening powder) สำหรับผู้ที่มีภาวะกลืนลำบาก โดยมีเป้าหมายให้ผลปรับความหนืดนี้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับผลิตภัณฑ์ทางการค้าที่บริษัทฯ สนใจ 

เป้าหมาย

สูตรผลิตภัณฑ์ผงปรับความหนืดจากของผสมฐานมอลโตเดกซ์ตริน

ทีมวิจัยทำอย่างไร

  • วิเคราะห์สมบัติต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ผงปรับความหนืดทางการค้า
  • วิเคราะห์สมบัติพื้นฐานของสารไฮโดรคอลลอยด์ต่างๆ
  • พัฒนาสูตรต้นแบบผงปรับความหนืดและวิเคราะห์สมบัติต่างๆ โดยเน้นสมบัติรีโอโลยี
  • ศึกษาอิทธิพลของความเป็นกรด-ด่าง อุณหภูมิ และเอนไซม์อะไมเลสต่อสมบัติรีโอโลยีของสูตรต้นแบบ
  • ทดสอบคุณภาพเชิงประสาทสัมผัส
ผงปรับความหนืดสำหรับผสมกับน้ำหรือเครื่องดื่ม
เพื่อปรับระดับความหนืดให้เหมาะสมตามความต้องการ
ของผู้ที่มีภาวะกลืนลำบาก
ต้นแบบผงปรับความหนืดที่พัฒนาขึ้น
สามารถนำไปใช้ปรับความหนืดของเครื่องดื่ม
ได้หลากหลายตามมาตรฐาน NDD

ผลงานวิจัย

สูตรของผสมฐานมอลโตเดกซ์ตรินที่เมื่อนำมาละลายในน้ำแล้วมีสมบัติรีโอโลยี และคุณภาพเชิงประสาทสัมผัสคล้ายคลึงกับผลิตภัณฑ์ผงปรับความหนืดทางการค้า 2 ชนิด

สถานภาพการวิจัย

ดำเนินงานวิจัยเสร็จสิ้น และส่งมอบผลงานให้แก่บริษัทฯ เพื่อการผลิตและจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ต่อไป

แผนงานวิจัยในอนาคต

บูรณาการความรู้และทักษะที่ใช้ในการออกแบบและสร้างระบบทำความสะอาดฯ ร่วมกับพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณเพื่อจำลองสนามการไหล (flow field simulation) ของการถ่ายเทความร้อนและปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence, AI)

รายชื่อทีมวิจัย

นายเอกพงษ์ คงเจริญ, ดร. ชัยวุฒิ กมลพิลาส, ดร. ศิริกาญจน์ วิเศษสุวรรณภูมิ, ดร. นิสภา ศีตะปันย์, ดร. ภาวดี เมธะคานนท์, และ ดร. อศิรา เฟื่องฟูชาติ 

ติดต่อ

ดร. ชัยวุฒิ กมลพิลาส 
กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีโพลิเมอร์ขั้นสูง 
โทรศัพท์ 02 564 6500 ต่อ 4447
อีเมล chaiwutg@mtec.or.th

]]>
Thermoplastic starch จากกระบวนการอัดรีดแบบสกรูคู่ https://www.mtec.or.th/annual-report2021/th/thermoplastic-starch/ Mon, 20 Dec 2021 07:43:40 +0000 https://www.mtec.or.th/annual-report2021/?p=3070 "Thermoplastic starch จากกระบวนการอัดรีดแบบสกรูคู่"]]> 2,471 Views

ที่มา

ยางรถฟอร์คลิฟท์เป็นผลิตภัณฑ์ยางตันขนาดใหญ่ซึ่งใช้กับรถยกของตามโรงงานต่าง ๆ เนื่องจากรถฟอร์คลิฟท์ต้องรับน้ำหนักสูงและอาจถูกใช้งานอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ยางรถโฟล์คลิฟท์จึงต้องมีความแข็งแรงสูง ทนทานต่อการสึกหรอได้ดี และมีความร้อนสะสมที่เกิดจากการใช้งานต่ำเพื่อหลีกเลี่ยงการระเบิดที่อาจเกิดขึ้นในสภาวะที่ใช้งานหนักและต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ ยางรถฟอร์คลิฟท์จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องผลิตจากยางธรรมชาติเพราะยางธรรมชาติมีสมบัติเชิงกลดีเยี่ยม มีความยืดหยุ่นสูง และมีความร้อนสะสมต่ำ อย่างไรก็ดี เนื่องจากความแตกต่างทางด้านเทคโนโลยีการผลิต ส่งผลทําให้ยางรถโฟล์คลิฟท์ของแต่ละบริษัทมีต้นทุนและคุณภาพที่แตกต่างกัน  บริษัทสยามไพโอเนียร์รับเบอร์ จํากัด เป็นบริษัทฯ ผู้ผลิตยางล้อตันสําหรับใช้กับรถฟอร์คลิฟท์ภายใต้เครื่องหมายการค้า PIO-TYRE, BIG-TYRES และ JR-TYRES ที่เริ่มทําการผลิตและจําหน่ายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 โดยได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้ จากกระแสความห่วงใยในเรื่องสิ่งแวดล้อมที่มีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบัน ดังนั้น บริษัทฯ จึงว่าจ้างทีมวิจัยเอ็มเทควิจัยและพัฒนายางล้อตันให้มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสูงขึ้น 

เป้าหมาย

(1) องค์ความรู้ด้านกระบวนการผลิตและต้นแบบเทอร์โมพลาสติกสตาร์ชจากกระบวนการอัดรีดแบบสกรูคู่ในระดับกึ่งอุตสาหกรรม 

(2) คอมพาวด์หรือพลาสติกผสมระหว่างเทอร์โมพลาสติกสตาร์ชกับโพลิเมอร์ย่อยสลายได้ที่พร้อมนำไปขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้

ทีมวิจัยทำอย่างไร

ทีมวิจัยใช้องค์ความรู้ด้านกระบวนการอัดรีดแบบสกรูคู่ โดยออกแบบสกรู รวมถึงกระบวนการหลอมผสมและควบคุมระบบสุญญากาศในการดึงน้ำออก เพื่อแปรเปลี่ยนวัตถุดิบแป้งมันสำปะหลังให้เป็นเทอร์โมพลาสติกสตาร์ช รวมถึงกระบวนการเตรียมพลาสติกผสมหรือคอมพาวด์ที่พร้อมใช้งาน โดยในขั้นตอนสุดท้าย ทีมวิจัยได้สาธิตการเตรียมผลิตภัณฑ์ฟิล์มบางด้วยกระบวนการเป่า (blown film process)

แป้งมันสำปะหลัง
ฟิล์มเป่าขึ้นรูปจากวัตถุดิบคอมพาวด์ระหว่าง TPS
กับวัตถุดิบพอลิเมอร์ย่อยสลายได้

ผลงานวิจัย

  • สร้างองค์ความรู้ด้านกระบวนการผลิตและต้นแบบเม็ดพลาสติกเทอร์โมพลาสติกสตาร์ช
  •  
  • สามารถผลิตต้นแบบเม็ดพลาสติกผสมหรือคอมพาวด์ระหว่างเทอร์โมพลาสติกสตาร์ชกับโพลิเมอร์ย่อยสลายได้
  • ผลิตต้นแบบฟิล์มเป่าขึ้นรูปที่สามารถย่อยสลายได้ เนื่องจากมีองค์ประกอบของแป้งในปริมาณสูง

สถานภาพการวิจัย

เสร็จสมบูรณ์

แผนงานวิจัยในอนาคต

นำเทคนิคและองค์ความรู้ไปต่อยอดพัฒนาสูตรหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ต่อไป

รายชื่อทีมวิจัย

ดร.นพดล เกิดดอนแฝก, ดร.ศุภณัฐ ภัทรธีรา และ นายปราโมทย์ คุ้มสังข์

ติดต่อ

ชนิต วานิกานุกูล 
งานประสานธุรกิจและอุตสาหกรรม ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ 
โทรศัพท์ 02 564 6500 ต่อ 4788
อีเมล chanitw@mtec.or.th

]]>
ต้นแบบโครงสร้างตัวถังรถโดยสารชั้นเดียว (12 เมตร) ที่ผ่านมาตรฐานความแข็งแรงตามเงอื่นไขการทดสอบพลิกคว่ำ UN R66 https://www.mtec.or.th/annual-report2021/th/%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b8%9a%e0%b9%82%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%a3%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%95%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b8%96%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%a3/ Mon, 20 Dec 2021 07:43:40 +0000 https://www.mtec.or.th/annual-report2021/?p=5618 "ต้นแบบโครงสร้างตัวถังรถโดยสารชั้นเดียว (12 เมตร) ที่ผ่านมาตรฐานความแข็งแรงตามเงอื่นไขการทดสอบพลิกคว่ำ UN R66"]]> 1,204 Views

ที่มา

กรมการขนส่งทางบกมีนโยบายเหน็ ชอบกับแบบโครงสร้างตัวถังรถโดยสารที่มีความสูงตั้งแต่ 3.60 เมตรขึ้นไปจะต้องผ่านเกณฑ์การทดสอบความแข็งแรงตามมาตรฐาน UN R66 ซึ่งว่าด้วยการทดสอบพลิกคว่ำของโครงสร้างรถขนาดใหญ่ อย่างไรก็ดีเนื่องจากผู้ผลิตและผู้ประกอบรถโดยสารในประเทศไทยส่วนใหญ่ยังขาดองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมในการออกแบบโครงสร้างตัวถังรถโดยสาร กรมการขนส่งทางบกจึงให้ความสำคัญกับการศึกษาและการออกแบบโครงสร้างตัวถังรถโดยสารให้มีความแข็งแรงเป็นไปตามหลักมาตรฐานสากลดังกล่าว เพื่อให้ผู้ผลิตในประเทศสามารถนำ แบบที่ได้จากโครงการไปศึกษาและใช้เป็นแนวทางในการผลิตโครงสร้างตัวถังสำหรับยื่นขอความเห็นชอบแบบตัวถัง และยื่นขอจดทะเบียนจากกรมฯ ต่อไป แนวทางดังกล่าวนี้ยังมีส่วนช่วยยกระดับมาตรฐานวิศวกรรมยานยนต์ของประเทศสำหรับกลุ่มรถโดยสารขนาดใหญ่ที่มีใช้งานอยู่ในปัจจุบัน

เป้าหมาย

วิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างตัวถังรถโดยสาร 12 เมตร ทีมี่ความสูงตั้งแต่ 3.60 เมตรขึ้นไป ให้มีความแข็งแรงเป็นไปตามหลักมาตรฐานยานยนต์สากล UN R66 ทั้งนี้สาระสำคัญคือ จะต้องไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของโครงสร้างยุบตัวล้ำเข้าไปในพื้นที่ปลอดภัย (residual space) ระหว่างการทดสอบพลิกคว่ำ  

ทีมวิจัยทำอย่างไร

1. วิเคราะห์พฤติกรรมการเสียรูปของโครงสร้างตัวถังรถโดยสารในการทดสอบพลิกคว่ำตามมาตรฐาน UN R66 ด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์

2. พิสูจน์ความถูกต้องของกระบวนการวิเคราะห์ (validation) และดำเนินการปรับแบบ (redesign) เพื่อให้ได้แบบที่มีความแข็งแรง

3. ทดสอบพลิกคว่ำจริงกับโครงสร้างโดยสมบูรณ์ของต้นแบบรถโดยสารที่ได้ออกแบบมา

ผลวิเคราะห์การเสียรูปของโครงสร้างตัวถังรถโดยสารที่ Gross Vehicle Weight 16.5 ตัน ณ เวลาที่เสียรูปมากที่สุด
ภาพรวมรายละเอียดโครงสร้างตัวถังรถโดยสารขนาด 12 เมตร

ผลงานวิจัย

  • ต้นแบบมาตรฐานโครงสร้างตัวถังรถโดยสาร ที่มีความแข็งแรงผ่านเกณฑ์ตามประกาศกรมการขนส่งทางบก
  • แบบเชิงวิศวกรรม (engineering drawing)
  • คู่มือและข้อควรระวังในการผลิต และแนวทางการตรวจสอบความถูกต้องของโครงสร้างที่ผลิตตามแบบมาตรฐาน

สถานภาพการวิจัย

เสร็จสมบูรณ์

แผนงานวิจัยในอนาคต

ศึกษาและปรับปรุงแบบโครงสร้างในขั้นต่อไป โดยพิจารณาถึงการเลือกใช้กลุ่มวัสดุน้ำหนักเบาเพื่อให้สามารถออกแบบโครงสร้างตัวถังที่มีความแข็งแรงผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานทดสอบ UN R66 แต่มีน้ำหนักที่เบาลง ศึกษากระบวนการผลิตสมัยใหม่เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการเสริมความแข็งแรงให้กับโครงสร้างน้ำหนักเบารวมถึงการผลักดันให้เกิดการนำเทคโนโลยีการวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์ไปเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ ให้ความเห็นชอบแบบโครงสร้างตัวถังรถโดยสารขนาดต่าง ๆ โดยกรมการขนส่งทางบก

รายชื่อทีมวิจัย

ดร.ชินะ เพ็ญชาติ, นายปิยพงศ์ เปรมวรานนท์, นายเจนวิทย์ โสภารัตน์, นางสาวปิยมาภรณ์ อุตมัง, นายอภิชาติ ตีระลาภสุวรรณ, นายวุฒิพงษ์ ศรีธรรม, นายประพันธ์ ปัญญาวัน, นายภาสยภูริณฐ์ พรมประไพ, ดร.ศราวุธ เลิศพลังสันติ, ดร.ฉัตรชัย ศรีสุรางค์กุล, นายเศรษฐลัทธ์ แปงเครื่อง

ติดต่อ

ดร.ชินะ เพ็ญชาติ (นักวิจัย)
ทีมวิจัยวิศวกรรมน้ำหนักเบา
กลุ่มวิจัยการออกแบบเชิงวิศวกรรมและการคำนวณ
โทรศัพท์ 02 564 6500 ต่อ 4382
อีเมล chinab@mtec.or.th

]]>
เทคโนโลยีการออกแบบโครงสร้างรถโดยสารขนาดใหญ่เพื่อความปลอดภัยด้วย CAE ในการทดสอบพลิกคว่ำ https://www.mtec.or.th/annual-report2021/th/bus-structure/ Sun, 19 Dec 2021 08:17:37 +0000 https://www.mtec.or.th/annual-report2021/?p=2831 "เทคโนโลยีการออกแบบโครงสร้างรถโดยสารขนาดใหญ่เพื่อความปลอดภัยด้วย CAE ในการทดสอบพลิกคว่ำ"]]> 1,274 Views

> ต้นแบบเชิงพาณิชย์

สถิติการเกิดอุบัติเหตุของรถโดยสารทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศระบุว่า อัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถโดยสารพลิกคว่ำทำให้ผู้โดยสารเสียชีวิตมากที่สุดเมื่อเทียบกับอุบัติเหตุรูปแบบอื่น ๆ ดังนั้นเพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของรถโดยสารในประเทศให้สอดคล้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบแบบตัวถังตามประกาศของกรมการขนส่งทางบกที่กำลังจะกำหนดบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2566 จึงมีโครงการการศึกษาแนวทางการออกแบบโครงสร้างตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีความสูงตั้งแต่ 3.60 เมตรขึ้นไปภายใต้เงื่อนไขการพลิกคว่ำตามมาตรฐานการทดสอบสากล UN R66 

โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อกำหนดแบบทางวิศวกรรมของโครงสร้างตัวถังรถโดยสารที่มีมาตรฐานความปลอดภัยโดยผ่านการทดสอบพลิกคว่ำจริง การดำเนินงานมีเนื้อหาหลักคือ การวิเคราะห์จำลองปรากฏการณ์การพลิกคว่ำของแบบจำลองโครงสร้างตัวถังด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วย โดยใช้แบบตั้งต้นในการศึกษาที่เลือกมาจากแบบที่ใช้ประกอบของตัวแทนผู้ประกอบการกลุ่มต่าง ๆ เนื้อหาสำคัญอีกส่วนคือการตรวจสอบความถูกต้อง (validate) ของกระบวนการวิเคราะห์ที่ใช้ในงานนี้ ซึ่งทำด้วยการทดสอบโครงสร้างตัวถังแบบสมบูรณ์จริง ณ สนามทดสอบยานยนต์กรมการขนส่งทางบก ภายหลังจากที่ได้ตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการวิเคราะห์แล้วจึงได้ดำเนินการปรับแก้รายละเอียดของชิ้นส่วนโครงสร้างส่วนต่าง ๆ ในแบบสามมิติและวิเคราะห์ทั้งหมดอย่างน้อย 14 แบบจนได้แบบโครงสร้างตัวถังที่มีความแข็งแรงสามารถผ่านการทดสอบ UN R66 ตามที่ต้องการ

ต้นแบบโครงสร้างที่เลือกมาสร้างและทดสอบเป็นโครงสร้างตัวถังรถโดยสารแบบสมบูรณ์ขนาดความยาว 11.84 เมตร ความกว้าง 2.48 เมตร มีความสูงจากหลังคาถึงพื้น 3.76 เมตร มีน้ำหนักโครงสร้างที่ 3,334 กิโลกรัม หรือน้ำหนักตัวรถ 13.77 ตันเมื่อไม่มีผู้โดยสาร มีลักษณะเด่นที่เสาโครงรถในแผงข้างปรับรูปแบบหน้าตัดเป็นแบบสองเสาประกบและมีขนาดหน้าตัดที่ต่างกันสลับกันไปตามแนวยาวของตัวรถ โครงมุมหลังคาและเสาข้างมีการเสริมความแข็งแรงด้วยเหล็กแผ่นหนามีการเสริมชิ้นส่วนเข้ามุมที่บริเวณช่วงต่อระหว่างแผงข้างและพื้นรถ รวมไปถึงการเพิ่มชิ้นส่วนเหล็กโครงสร้างที่บริเวณหน้ารถและหลังรถ 

ผลการทดสอบพลิกคว่ำพบว่า โครงสร้างที่ออกแบบมาในโครงการนี้สามารถผ่านการทดสอบโดยยืนยันผ่านภาพจากกล้องความเร็วสูงว่าไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของโครงสร้างตัวถังรถเสียรูปล้ำเข้าไปในพื้นที่ปลอดภัยของผู้โดยสารขณะกระแทกพื้นตามมาตรฐาน UN R66 และเป็นโครงสร้างตัวถังที่สามารถผลิตได้จริงโดยผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์ในการต่อโครงรถโดยสาร 

ต้นแบบนี้พัฒนาขึ้นมาภายใต้เงื่อนไขสำคัญ ได้แก่ วัสดุที่มีใช้งานอยู่ ณ ปัจจุบัน รวมไปถึงขีดความสามารถในการผลิตของผู้ประกอบการ ทั้งนี้ กรมการขนส่งทางบกสามารถนำแบบทางวิศวกรรมที่ได้ไปใช้เป็นข้อมูลประกอบในการประกาศเกณฑ์การจดทะเบียนรถโดยสารใหม่ หรือรถที่มีการเปลี่ยนตัวถังที่มีความสูงตั้งแต่ 3.60 เมตรขึ้นไปได้ในอนาคตอันใกล้

ทีมวิจัย

ดร.ชินะ เพ็ญชาติ, ดร. ศราวุธ เลิศพลังสันติ, ดร. ฉัตรชัย ศรีสุรางค์กุล, เจนวิทย์ โสภารัตน์, ปิยพงศ์ เปรมวรานนท์, ปิยมาภรณ์ อุตมัง, อภิชาติ ตีระลาภสุวรรณ, ประพันธ์ ปัญญาวัน, ภาสยภูริณฐ์ พรมประไพ, วุฒิพงษ์ ศรีธรรม และเศรษฐลัทธ์ แปงเครื่อง

]]>
กรวยกั้นจราจรยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก https://www.mtec.or.th/annual-report2021/th/tpnr/ Sun, 19 Dec 2021 07:03:38 +0000 https://www.mtec.or.th/annual-report2021/?p=2795 "กรวยกั้นจราจรยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก"]]> 1,524 Views

> ต้นแบบสาธาณประโยชน์​

โมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy Model) เป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาประเทศ ในส่วนของยางพาราหรือยางธรรมชาติซึ่งเป็นวัสดุสีเขียว (green material) และเป็นผลผลิตที่สำคัญก็มีนโยบายส่งเสริมการแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้จริง เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

ในงานวิจัยและพัฒนาชิ้นนี้ ทีมวิจัยได้ร่วมมือกับภาคเอกชนในการพัฒนาต้นแบบกรวยกั้นจราจรที่ผลิตจากยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก (thermoplastic natural rubber traffic cones หรือ TPNR traffic cones) และมีการถ่ายทอดต้นแบบดังกล่าวในระดับอุตสาหกรรม โดยครอบคลุมกรรมวิธีการเตรียมยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติกด้วย 

ยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic Natural Rubber, TPNR) เป็นโพลิเมอร์ที่ได้จากการผสมยางธรรมชาติและพลาสติกเข้าด้วยกันในเครื่องผสม ซึ่งในงานวิจัยนี้คือ เครื่องอัดรีดแบบสกรูคู่ในระดับอุตสาหกรรม (industrial-scale twin screw extruder) โดยใช้เทคนิคไดนามิกวัลคาไนเซชัน (dynamic vulcanization) วัตถุดิบ TPNR ที่ได้มีสมบัติคล้ายยางแต่สามารถขึ้นรูปและนำกลับมาใช้ใหม่ได้เหมือนพลาสติก ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy) 

กรวยกั้นจราจรยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติกที่ผลิตขึ้นได้ผ่านการทดสอบสมบัติต่าง ๆ และการใช้งานจริงเบื้องต้น (รูปที่ 2) เอ็มเทคถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้แก่ บริษัท ธนัทธร จำกัด ซึ่งในปี พ.ศ. 2564 บริษัทฯ ได้ดำเนินการผลิตในระดับอุตสาหกรรมและจัดจำหน่ายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว (รูปที่ 3) กรวยกั้นจราจรที่ได้มีความทนทานต่อการฉีกขาด และความทนทานต่อการแตกหักสูงเหมือนยาง ในขณะที่ขึ้นรูปได้สะดวก รวดเร็ว แกะชิ้นงานออกจากแม่พิมพ์ฉีดได้ง่าย ส่งผลให้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น และเกิดของเสียในกระบวนการผลิตน้อยลง ประเด็นสำคัญคือ กรวยกั้นจราจรยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติกจากงานวิจัยนี้มีสมบัติแตกต่างจากกรวยกั้นจราจรที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน จึงเป็นการเพิ่มโอกาสในการแข่งขันให้แก่บริษัท และเพิ่มปริมาณการใช้งานยางธรรมชาติในประเทศอีกด้วย

ทีมวิจัย

ดร.ภาสรี เล้ากิจเจริญ และนายธงศักดิ์ แก้วประกอบ

]]>
เคเบิลสเปเซอร์ต้นแบบผิวเรียบกัน UV https://www.mtec.or.th/annual-report2021/th/hdpe-cable-spacer/ Wed, 08 Dec 2021 04:31:35 +0000 https://demo.themefreesia.com/cocktail/?p=1 "เคเบิลสเปเซอร์ต้นแบบผิวเรียบกัน UV"]]> 2,459 Views

ปัญหาเกี่ยวกับอายุการใช้งานของเคเบิลสเปเซอร์ชนิดโพลิเอทีลีนได้ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของระบบจ่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จึงเกิดโครงการวิจัยเพื่อปรับปรุงคุณภาพเคเบิลสเปเซอร์ชนิดโพลิเอทีลีน โดยออกแบบเคเบิลสเปเซอร์ขึ้นมาใหม่ เลือกวัสดุที่เหมาะสม และปรับปรุงกระบวนการผลิตเคเบิลสเปเซอร์ เพื่อสร้างต้นแบบของเคเบิลสเปเซอร์จากนั้นจึงทดสอบการใช้งานจริงเป็นระยะเวลา 480 วัน ในพื้นที่สามแห่ง ได้แก่ พื้นที่ที่มีไอเกลือและแดดจัด บริเวณเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี พื้นที่ที่มีฝุ่นมลภาวะสูง บริเวณอำเภอหน้าพระลาน จังหวัดสระบุรี และพื้นที่ที่มีความชื้นสูงบริเวณอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ 

ผลการวิจัยพบว่าหลังจากติดตั้งใช้งานเป็นเวลา 360 วัน สมบัติทางกลของเคเบิลสเปเซอร์แบบเดิมชนิดที่ใช้อยู่ในระบบของ กฟภ. มีค่าลดลง และเกิดการเสื่อมสภาพจากแสงแดดอย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่เคเบิลสเปเซอร์ต้นแบบไม่พบการเสื่อมสภาพจากแสงแดด การรับแรงดึงสูงสุดของเคเบิลสเปเซอร์ต้นแบบมีค่าคงที่ ส่วนอัตราการลามไฟได้มีการปรับปรุงสมบัติของวัสดุที่ใช้ทำให้เคเบิลสเปเซอร์ต้นแบบมีอัตราการลามไฟลดลง 16% เมื่อเปรียบเทียบกับเคเบิลสเปเซอร์แบบเดิม   ทั้งนี้สมบัติทางไฟฟ้าหลังจากการใช้งานจริง 360 วันของเคเบิลสเปเซอร์ทุกชนิดที่ทดสอบ ยังคงผ่านเกณฑ์ที่กำหนดในทุกพื้นที่ที่ทำการทดสอบ

ทีมวิจัย

ดร.วุฒิพงษ์ รังษีสันติวานนท์, ดร. ปิยวิทย์ คุ้มพงษ์, ดร. บรรพต ไม้งาม, ดร. ฤทธิรงค์ พฤฑฒิกุล, ดร. บงกช หะรารักษ์, ดำรงค์ ถนอมจิตร, ณัชชา ประกายมรมาศ และสัญญา แก้วเกตุ

]]>
บริษัท จรัญธุรกิจ 52 จำกัด https://www.mtec.or.th/annual-report2021/th/onep/ Sat, 04 Dec 2021 04:11:26 +0000 https://www.mtec.or.th/annual-report2021/?p=3147 "บริษัท จรัญธุรกิจ 52 จำกัด"]]> 2,566 Views

บริษัท จรัญธุรกิจ 52 จำกัด เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายแผ่นพื้นสำเร็จรูป และเป็นกลุ่มธุรกิจต่อเนื่องในเครือบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) (ไทยเบฟ) ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุรา เบียร์ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์และอาหาร  โดยมีโรงงานในกลุ่มอาหารและสุราจำนวน 18 โรงงาน ซึ่งยังไม่รวมโรงงานในเครือเสริมสุข บริษัทฯ ให้ความสำคัญใน 3 ด้าน ได้แก่  เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม  ทั้งนี้ในแต่ละปีมีของเสียจากกระบวนการผลิตในปริมาณมาก บริษัทฯ จึงมีนโยบายในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุด และพัฒนาของเสียดังกล่าวให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น เพื่อให้การดำเนินธุรกิจมีความยั่งยืน  ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียพึงพอใจ และส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมโดยรวม

คุณอัญชลี อัจจิมาธร รักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัท จรัญธุรกิจ 52 จำกัด ผู้ดูแลภาพรวมเรื่องของเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตของบริษัทในเครือไทยเบฟ กล่าวถึงโจทย์ด้านสิ่งแวดล้อมนี้ว่า “ไทยเบฟเล็งเห็นว่าเรื่องของเสียยังมีคนทำน้อย และต้องการทราบว่าจะพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ปลายน้ำ (downstream) ได้อย่างไร จึงได้ส่งบุคลากรของบริษัทฯ เข้าร่วมอบรมและหาความรู้เพิ่มเติมในโครงการของ สวทช. ในแต่ละปีไทยเบฟมีกากข้าวมอลต์ที่เป็นของเหลือจากโรงงานผลิตเบียร์ในปริมาณมาก พบว่าเราสามารถนำมาพัฒนาเพิ่มมูลค่าเพื่อตอบโจทย์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านอาหารสัตว์และสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนในระบบได้ ส่วนขี้เถ้าปริมาณมากที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตของโรงงานสุราจำนวน 18 โรงงาน ก็มีโรงงานที่บางยี่ขันเพียงแห่งเดียวที่ลงทุนไปมากเรื่องระบบเผาเถ้า แต่ขี้เถ้าก็ยังคงเป็นของเสียที่ยังไม่ถูกพัฒนาต่อ”

คุณอัญชลี กล่าวถึงจุดเริ่มต้นการทำงานร่วมกับเอ็มเทคว่า “บริษัทฯ ได้ค้นหาแนวทางการนำขี้เถ้าไปใช้ประโยชน์ ซึ่งมีข้อมูลค่อนข้างมาก จนกระทั่งมาพบและเลือกใช้งานวิจัยวัสดุมวลเบาสังเคราะห์จากของเสียอุตสาหกรรมของเอ็มเทค ซึ่งพัฒนาโดย ดร.พิทักษ์ เหล่ารัตนกุล และเป็นผลงานที่ได้รับรางวัลงานวิจัยดีเด่นของ สวทช. บริษัทฯ จึงได้ขอรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี และได้ต่อยอดไปสู่การสร้างโรงงานผลิตจริงที่มีมูลค่าเกือบ 100 ล้านบาท ซึ่งไทยเบฟเองก็ยังไม่เคยลงทุนวิจัยผลิตภัณฑ์ด้วยเงินทุนที่สูงขนาดนี้ ก็ต้องขอบคุณผู้บริหารไทยเบฟที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของงานวิจัยและการพัฒนาต่อยอดในเชิงพาณิชย์ นับเป็นความท้าทายทั้งระบบจากของที่ไม่มีเป็นของที่ต้องมี และจะพัฒนาไปได้มากกว่านั้น นับเป็นการก้าวกระโดดที่เอ็มเทคได้ช่วยเหลือดูแลเราด้วยดีมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลานานกว่า 4 ปีแล้ว” 

คุณอัญชลี กล่าวถึงความมุ่งมั่นของบริษัทฯ และการเตรียมความพร้อมเพื่อต่อยอดไปสู่การสร้างโรงงานผลิตจริงว่า “ต้องประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ คือ หนึ่ง-ต้องเริ่มจากความเชื่อว่างานวิจัยนี้จะมีความสมบูรณ์แบบและสามารถรองรับผลิตภัณฑ์สีเขียวได้  สอง-ต้องเปลี่ยนนิยามและวิสัยทัศน์ใหม่ว่าจะทำผลิตภัณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อม และ สาม-ต้องเตรียมความพร้อมในด้านเครื่องจักรและบุคลากรที่จะมารับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากทีมเอ็มเทคที่ให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหามาโดยตลอด”

คุณอัญชลีมีบทบาทสำคัญในการผลักดันโครงการนี้ให้เกิดขึ้นและทำให้ผู้บริหารเห็นชอบในการลงทุน ได้ให้แนวคิดในเรื่องนี้ว่า “ถ้าเราไม่เริ่มตั้งแต่วันนี้ แล้วมัวแต่เรียนรู้ทฤษฎีโดยไม่ลงมือปฎิบัติจริง เราจะไม่มีทางรู้เลยว่า วิสัยทัศน์ที่เราจะไปนั้นจะไปได้จริงตามที่ DJSI (ดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์) บอกหรือไม่ เราเป็นบริษัทใหญ่จึงต้องเริ่มให้เร็ว ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้กล้าดำเนินการและพร้อมรับผลที่จะเกิดขึ้นไม่ว่าจะสำเร็จหรือไม่ก็ตาม ต้องขอขอบคุณคุณโฆสิต สุขสิงห์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุดกลุ่มธุรกิจต่อเนื่องของไทยเบฟที่ให้โอกาสและช่วยเหลือจนสามารถดำเนินโครงการที่ต่อยอดไปสู่การผลิตจริงได้สำเร็จ”

“การทำโครงการนี้ทำให้เราสามารถสร้างทีมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมขึ้นมาได้สำเร็จ ทั้งยังก้าวหน้าไปอีกขั้น คือสามารถสร้างฐานข้อมูลของเสีย (waste database) สำหรับดูแลข้อมูลให้กับบริษัททั้งหมดในเครือไทยเบฟ”

“ปัจจุบันบริษัทฯ สามารถต่อยอดองค์ความรู้ที่ได้รับถ่ายทอดจากเอ็มเทค ในการนำไปผลิตเป็นวัสดุเม็ดมวลเบาสังเคราะห์ หรือ หินเบา ในระดับอุตสาหกรรม ภายใต้ชื่อ “Green Rock” ซึ่งสามารถตอบโจทย์ของอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างในการเพิ่มคุณสมบัติทางด้านความเป็นฉนวนความร้อน มีน้ำหนักเบา แต่ยังคงความแข็งแรงเทียบเท่ามาตรฐานการใช้งาน โดยวัสดุก่อสร้างที่มีส่วนผสม “Green Rock” นี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งผนังสำเร็จรูป คอนกรีตบล็อกมวลเบาหรือหินเทียม เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการก่อสร้างในด้านการใช้แรงงานน้อยลง การเก็บเสียงได้ดี การลดอุณหภูมิภายในบ้าน ช่วยประหยัดพลังงาน ลดค่าไฟ และยังเป็นการตอบโจทย์นวัตกรรมสีเขียวด้านที่อยู่อาศัยอีกด้วย”

คุณอัญชลี กล่าวทิ้งท้ายว่า “ขอขอบคุณผู้บริหารของ สวทช. และเอ็มเทค ทีมวิจัยและทีมงานสนับสนุนที่ให้การช่วยเหลือดูแลมาโดยตลอด ถือเป็นการร่วมงานที่สมบูรณ์แบบมาก” และ “ในฐานะที่ สวทช. เป็นหน่วยงานหลักที่ดูแลด้าน BCG ก็อยากให้ช่วยประชาสัมพันธ์ผลงาน Green Rock ให้เป็นที่รู้จักและรับรู้มากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจสีเขียว และช่วยผลักดันกระบวนการขึ้นบัญชีนวัตกรรมของผลงานให้ใช้เวลาสั้นลงและมีเครื่องมือช่วย โดยบริษัทฯ ยินดีที่จะเข้ามามีส่วนร่วมและสนับสนุนให้เกิดเศรษฐกิจสีเขียว”

]]>
กรมการขนส่งทางบก https://www.mtec.or.th/annual-report2021/th/sb-design-square/ Sat, 04 Dec 2021 04:03:12 +0000 https://www.mtec.or.th/annual-report2021/?p=3143 "กรมการขนส่งทางบก"]]> 1,284 Views

กรมการขนส่งทางบก มีภารกิจเกี่ยวกับการจัดระบบและระเบียบการขนส่งทางบก โดยการกำกับ ดูแล  ตรวจสอบ ตรวจตรา ให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ การประสานและวางแผนให้มีการเชื่อมต่อกับระบบการขนส่งอื่นๆ เพื่อให้ระบบการขนส่งทางบกเกิดความคล่องตัว สะดวก รวดเร็ว ทั่วถึง และปลอดภัย โดยมีวิสัยทัศน์ คือ “เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมในการควบคุม กำกับ ดูแลระบบการขนส่งทางถนน ให้มีคุณภาพและปลอดภัย”

ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก กล่าวว่า “สำนักวิศวกรรมยานยนต์ มีหน้าที่หลัก คือ เรื่องมาตรฐานยานยนต์ โดยอ้างอิงมาตรฐานของสหประชาชาติ (UN) เป็นแนวทางในการพัฒนามาตรฐานยานยนต์ในประเทศไทย รวมถึงการพัฒนาผู้ประกอบการขนส่งในประเทศไทยให้มีความรู้ตามหลักวิชาการ  กรมการขนส่งทางบกจึงต้องมีความร่วมมือกับหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขา ด้านมาตรฐานยานยนต์และการทดสอบ”

เกี่ยวกับความร่วมมือกับเอ็มเทค ผู้อำนวยการฯ ให้ข้อมูลว่า “กรมการขนส่งทางบกมีนโยบายพัฒนามาตรฐานยานยนต์ของรถบรรทุกและรถโดยสารเป็นการเร่งด่วนเพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น ประกอบกับข้อมูลเชิงสถิติและหลักฐานเชิงประจักษ์จากสื่อเกี่ยวกับการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นรายวัน ไม่ว่าจะเป็นรถบรรทุกจอดอยู่แล้วมีรถเก๋ง รถจักรยานยนต์ชนด้านท้าย การเกิดการพลิกคว่ำของรถโดยสารซึ่งโครงสร้างรถไม่สามารถปกป้องผู้โดยสารที่นั่งด้านในได้ พอเกิดอุบัติเหตุขึ้นครั้งหนึ่งก็จะเกิดเป็นเป็นโศกนาฎกรรมที่เป็นแบบนี้ก็เพราะรถบรรทุกไม่มีอุปกรณ์ป้องกันและลดความรุนแรงด้านข้างและด้านท้าย รวมถึงโครงสร้างรถยังไม่มีมาตรฐาน  สำนักวิศวกรรมยานยนต์จึงร่วมมือกับเอ็มเทคจัดทำโครงการ “การจัดทำแบบมาตรฐานของอุปกรณ์ป้องกันด้านข้างและด้านท้ายของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ” และโครงการ “การศึกษาออกแบบโครงสร้างตัวถังรถโดยสารให้มีความแข็งแรงเป็นไปตามหลักมาตรฐานความปลอดภัย” โดยศึกษาและใช้ข้อกำหนดของสหประชาชาติเป็นแนวทางดำเนินงาน”

 

เมื่อถามถึงกระบวนการทำงานและการผลักดันให้เกิดการบังคับใช้กฎหมาย ผู้อำนวยการฯ กล่าวว่า “การบังคับใช้กฎหมายให้สู่การปฏิบัติจริงนั้น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น สำหรับรายงานการศึกษาฯ ทั้งสองโครงการที่ดำเนินการร่วมกับเอ็มเทค กรมการขนส่งทางบกได้เชิญผู้แทนสมาคมของอู่ต่อตัวถัง ผู้ประกอบการขนส่งและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาเป็นกรรมการโครงการ เพื่อสื่อสารข้อมูลต่างๆ ให้สมาชิกทราบ รวมถึงให้ข้อมูลสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อโครงการและการประกาศใช้กฎหมาย” ทั้งนี้กฎหมายอุปกรณ์ป้องกันด้านข้างและด้านท้ายของรถบรรทุก และมาตรฐานโครงสร้างตัวถังรถโดยสารคาดว่าจะประกาศใช้ปี พ.ศ. 2566

 “เอ็มเทค เป็นหน่วยงานที่มีความรู้มีผลงานที่เป็นที่ประจักษ์และทีมงานมีความเชี่ยวชาญเป็นที่ยอมรับตรงกับความต้องการของสำนักฯ จึงร่วมจัดทำโครงการและจะขยายต่อยอดบังคับใช้กฎหมายเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน โดยได้มอบหมายให้ทีมวิศกรที่รับผิดชอบโดยตรงร่วมดำเนินงานและเรียนรู้ร่วมกับทีมวิจัยของเอ็มเทค มีการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด ได้รับความร่วมมืออย่างดีมาก งานทั้งสองโครงการเป็นไปตามแผน มีติดขัดบ้างเนื่องจากวิกฤตการณ์โควิด-19 แต่ทีมงานร่วมกันแก้ปัญหาเพื่อให้โครงการไปถึงผลสำเร็จได้” ผู้อำนวยการฯ กล่าวเสริม

 “อยากให้เอ็มเทคช่วยประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันด้านข้างและด้านท้ายของรถบรรทุก และมาตรฐานโครงสร้างตัวถังรถโดยสารที่ได้ดำเนินการร่วมกันนี้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการเป็นหน่วยทดสอบด้านยานยนต์ในหัวข้อต่างๆ ตามมาตรฐานสากล เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของกรมการขนส่งทางบกในด้านการบังคับใช้กฎหมาย นอกจากนี้กรมการขนส่งทางบกยังมีแผนงานที่สนใจศึกษาในอนาคตในเรื่องยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงรถยนต์ดัดแปลง ด้านข้อกฎหมายและเครื่องมือตรวจสอบสภาพรถ เพื่อรองรับการจดทะเบียนรถใหม่ และการตรวจสภาพรถประเภทดังกล่าวต่อไปอีกด้วย” ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์ กล่าวทิ้งท้าย

]]>
บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) https://www.mtec.or.th/annual-report2021/th/egat/ Sat, 04 Dec 2021 04:00:13 +0000 https://www.mtec.or.th/annual-report2021/?p=3139 "บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)"]]> 3,204 Views

บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการท่าอากาศยานเพื่อตอบสนองต่อนโยบายด้านการขนส่งทางอากาศของประเทศ บริษัทฯ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลด้านการบินของประเทศ 

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2549 โดยรัฐบาลได้กำหนดให้เป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศไทยแทนท่าอากาศยานดอนเมืองและตั้งเป้าให้เป็นศูนย์กลางการบินในทวีปเอเชีย  ทั้งนี้ พื้นที่ในบริเวณท่าอากาศยานและพื้นที่โดยรอบย่อมได้รับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมา ได้แก่ มลภาวะทางเสียง และมลภาวะทางอากาศ รวมทั้งมีประเด็นเกี่ยวกับความปลอดภัยทางด้านการบิน  

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้มีการก่อสร้างสถานีทดสอบเครื่องยนต์อากาศยานภาคพื้น (Ground  Run-up Enclosures: GRE) เพื่อทดสอบการทำงานของเครื่องยนต์ไอพ่นหลังจากที่อากาศยานผ่านการซ่อมบำรุง และตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ขณะใช้งานปกติและขณะใช้กำลังสูงสุดขณะบินขึ้น

ในการศึกษาผลกระทบต่างๆ ของการใช้งาน GRE ที่มีต่อความปลอดภัยทางด้านการบิน ทอท. จึงได้ร่วมมือกับเอ็มเทคดำเนินโครงการศึกษาผลกระทบทางด้านความปลอดภัยการใช้งานสถานีทดสอบเครื่องยนต์อากาศยานภาคพื้น โดยประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการวิเคราะห์ทางวิศวกรรมด้านพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณมาเป็นเครื่องมือช่วยในการจำลองพฤติกรรมการไหลของอากาศขณะดำเนินการทดสอบเครื่องบินไอพ่น 

ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กล่าวถึงมุมมองต่องานวิจัยและพัฒนาในอนาคตว่า “ธุรกิจการบินมุ่งเน้นเรื่องความปลอดภัยและความยั่งยืน มีองค์ความรู้หลายเรื่องที่ประเทศไทยควรพัฒนาเพื่อลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ บางเรื่องสามารถพัฒนาเทคโนโลยีได้ภายในประเทศ บางเรื่องอาจซื้อลิขสิทธิ์มาแล้วต่อยอดพัฒนาเป็นองค์ความรู้ของเรา และมีบางเรื่องที่มองว่าเอ็มเทคสามารถให้การสนับสนุนได้คือ การศึกษาเรื่องความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม โดย ทอท. มีแผนที่จะพัฒนาเป็น “Green Airport” ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นแนวโน้มในอนาคตของโลกทั้งสิ้น”

“ทอท. มีความพึงพอใจในการทำงานร่วมกับเอ็มเทค เนื่องจากมีการรายงานผลเป็นระยะและผลงานสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย ทำให้เราสามารถพัฒนาองค์ความรู้ของตนเอง และอยากให้เอ็มเทคสนับสนุนเพิ่มเติมในเรื่องข้อมูลเชิงวิชาการ โดยเฉพาะเกี่ยวกับสถานีทดสอบ” ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กล่าวทิ้งท้าย

]]>