MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ https://www.mtec.or.th/ National Metal and Materials Technology Center Wed, 19 Mar 2025 14:37:19 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.7.2 https://www.mtec.or.th/wp-content/uploads/2019/03/favicon.ico MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ https://www.mtec.or.th/ 32 32 เอ็มเทค สวทช. ร่วมกับ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ จัดสัมมนา “หนุนอุตสาหกรรมโลหะสู่อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ” https://www.mtec.or.th/mtec-carbon-industry/ Wed, 19 Mar 2025 14:17:17 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=35865 วันที่ 17 มีนาคม 2568ณ ห้องกมลทิพย์ 2 โรงแรมเดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ           สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ... Read more

The post เอ็มเทค สวทช. ร่วมกับ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ จัดสัมมนา “หนุนอุตสาหกรรมโลหะสู่อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ” appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

วันที่ 17 มีนาคม 2568
ณ ห้องกมลทิพย์ 2 โรงแรมเดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ

          สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ร่วมกับ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ จัดงานสัมมนาในหัวข้อ “เส้นทางสู่อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ: การส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมพื้นฐานอย่างยั่งยืน”  มุ่งเน้นที่กลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมโลหะที่ไม่ใช่เหล็กหรือเหล็กกล้า (Non-ferrous Metal Industries) เช่น อะลูมิเนียม ตะกั่ว ทองเหลือง ดีบุก ทองแดง โดยมี ดร.ศราวุธ เลิศพลังสันติ รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) กล่าวต้อนรับ และแนะนำโครงการ พร้อมทั้ง ได้รับเกียรติจาก นางสาวอารยา ไสลเพชร รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนาในครั้งนี้ 

         ภายในงานมีการบรรยายให้ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญหลายท่าน โดยเริ่มต้นด้วยพิธีเปิดและการแนะนำโครงการ “ส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมพื้นฐานเข้าสู่อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ”  จากนั้น ดร.จิตติ มังคละศิริ และ คุณวันวิศา ฐานังขะโน จากทีมวิจัย TIIS ได้อัปเดตสถานการณ์และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พร้อมผลกระทบที่มีต่ออุตสาหกรรมโลหะที่ไม่ใช่เหล็กหรือเหล็กกล้าของประเทศ

          ต่อด้วย ดร.นฤเทพ เล็กศิวิไล ผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ บรรยายในหัวข้อแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์โลหะที่ไม่ใช่เหล็กหรือเหล็กกล้า และ ดร.ฤทธิไกร สิริชัยเวชกุล หัวหน้าโครงการ  ได้นำเสนอแนวทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมดังกล่าว พร้อมทั้งแนะนำวิธีการสมัครเข้าร่วมโครงการ

         งานสัมมนาในครั้งนี้เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับสถานการณ์และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญในปัจจุบัน รวมถึงแนวโน้มในอนาคต ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมสัมมนาและสมัครเข้าร่วมโครงการจะได้รับการคัดเลือก จำนวน 10 บริษัท เพื่อรับการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และจะคัดเลือกสถานประกอบการจำนวน 3 ราย เพื่อเข้าไปให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกในการดำเนินกิจกรรมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยผู้เชี่ยวชาญ

ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นางสาววรกนก มั่นสกุล และ นางสาวรัตนสุดา แนวเงินดี 
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4305, 74389 หรืออีเมล worakanok.man@mtec.or.th / rattanan@mtec.or.th

The post เอ็มเทค สวทช. ร่วมกับ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ จัดสัมมนา “หนุนอุตสาหกรรมโลหะสู่อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ” appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
สวทช. โดย เอ็มเทค จับมือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยคณะแพทยศาสตร์ ผลักดันการพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมวัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและยกระดับอุตสาหกรรมการแพทย์ในประเทศไทย https://www.mtec.or.th/mtec-erp/ Mon, 17 Mar 2025 08:20:27 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=35826 (วันที่ 7 มีนาคม 2568) ณ ห้องประชุมหนองแวง สำนักงานคณบดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) พร้อมด้วย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ... Read more

The post สวทช. โดย เอ็มเทค จับมือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยคณะแพทยศาสตร์ ผลักดันการพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมวัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและยกระดับอุตสาหกรรมการแพทย์ในประเทศไทย appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

(วันที่ 7 มีนาคม 2568)
ณ ห้องประชุมหนองแวง สำนักงานคณบดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

          สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) พร้อมด้วย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) โดยคณะแพทยศาสตร์ จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงทางวิชาการด้านการวิจัยและพัฒนา “โครงการผลักดันและพัฒนาผลิตภัณฑ์วัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์ไปสู่เชิงพาณิชย์” โดยมี รองศาสตราจารย์เติมศักดิ์ ศรีคิรินทร์ ผู้อำนวยการ เอ็มเทค และ รองศาสตราจารย์ นพ.ภัทรพงษ์ มกรเวส คณบดี คณะแพทยศาสตร์ มข. ร่วมลงนามความร่วมมือ พร้อมกันนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ นพ.ภพ โกศลารักษ์ ผู้อำนวยการสถานบริหารจัดการงานวิจัยคลินิก (Advanced Clinical Research Organization: ACRO) ดร.นฤภร มนต์มธุรพจน์ หัวหน้าทีมวิจัยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ เอ็มเทค รองศาสตราจารย์ พญ.ศิริรัตน์ อนุตระกูลชัย รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มข. คณะผู้บริหารและนักวิจัยทั้งสองหน่วยงาน เข้าร่วมงาน โดยวัตถุประสงค์ความร่วมมือครั้งนี้ เพื่อผลักดันและพัฒนาผลิตภัณฑ์วัสดุทดแทนกระดูกกลุ่มแคลเซียมฟอสเฟต สำหรับงานทางด้านการแพทย์ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์

          รศ.เติมศักดิ์ ศรีคิรินทร์ กล่าวว่า “พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงในวันนี้ถือได้ว่าเป็นก้าวสำคัญของความร่วมมือระหว่างสองหน่วยงานอย่างเป็นรูปธรรม สะท้อนถึงวิสัยทัศน์ร่วมกันในการส่งเสริมความก้าวหน้าทางการวิจัย การพัฒนาวัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ผ่านการทดสอบทางคลินิกตามมาตรฐานสากล ภายใต้ความร่วมมือนี้จะเป็นกลไกหนึ่งที่จะช่วยผลักดันให้เกิดโครงการความร่วมมือในด้านอื่นๆ ในอนาคต อันจะนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมและเพิ่มคุณค่าทางวิชาการของทั้งสองหน่วยงานในอีกหลายปีต่อจากนี้ ตลอดจนการสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมเทคโนโลยีวัสดุทางด้านการแพทย์ในประเทศให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก”

          รศ. นพ.ภัทรพงษ์ มกรเวส กล่าวว่า “พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงในวันนี้ถือเป็นหมุดหมายสำคัญที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของทั้งสองหน่วยงานในการสร้างระบบนิเวศอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ไทย โดยมุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาวัสดุและอุปกรณ์การแพทย์ เพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าและสร้างศักยภาพการแข่งขันของประเทศไทยในตลาดโลก จากการทำงานร่วมกันที่ผ่านมา เอ็มเทค ได้แสดงบทบาทสำคัญในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีวัสดุและอุปกรณ์การแพทย์ ซึ่งช่วยส่งเสริมให้เกิดการผลิตเครื่องมือแพทย์ที่มีประสิทธิภาพสูงภายในประเทศ ลดต้นทุน และเพิ่มขีดความสามารถของนักวิจัยไทยให้ก้าวสู่ระดับนานาชาติ ในขณะเดียวกัน เอ็มเทค ยังได้ส่งต่อองค์ความรู้และต้นแบบจากห้องปฏิบัติการให้กับ ACRO ซึ่งมีบทบาทสำคัญในฐานะแกนกลางของการวิจัยทางคลินิก เพื่อสนับสนุนการพัฒนาและผลิตเครื่องมือแพทย์ให้ได้ตามมาตรฐานสากล


         ความร่วมมือในครั้งนี้จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติวงการการแพทย์ไทย ที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบสาธารณสุข และปูทางให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางด้านนวัตกรรมชีววัสดุและอุปกรณ์การแพทย์ในระดับสากลอย่างแท้จริง”

          ในโอกาสนี้ ศ. นพ.ภพ โกศลารักษ์ ผู้อำนวยการ ACRO ได้นำคณะฯ เยี่ยมชมหน่วยงาน โดยมีเจ้าหน้าที่ของACRO ให้การต้อนรับและแลกเปลี่ยนข้อมูลการดำเนินงาน ตลอดจนการดำเนินงานต่างๆ ที่จำเป็นต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์วัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยเฉพาะการวิจัยทางด้านคลินิกตามมาตรฐานสากล เพื่อนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมทางการแพทย์ของไทยสู่สากล

The post สวทช. โดย เอ็มเทค จับมือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยคณะแพทยศาสตร์ ผลักดันการพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมวัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและยกระดับอุตสาหกรรมการแพทย์ในประเทศไทย appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
“Knowledge Fest 2025” เปิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้ เต็มอิ่มกับเทศกาลหนังสือสุดสร้างสรรค์! https://www.mtec.or.th/mtec-knowledge-fest-2025/ Mon, 17 Mar 2025 02:20:51 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=35814 “แป้งโดยางพารา” นวัตกรรมจาก เอ็มเทค สวทช. สร้างสีสันให้เด็กๆ ในเทศกาลหนังสือที่ทุกคนรอคอย เสียงหัวเราะ รอยยิ้ม และความรู้ผสมผสานกันอย่างลงตัวในบรรยากาศอบอุ่นของ “Knowledge Fest 2025 เทศกาลอ่านเต็มอิ่ม”  ที่ยกระดับความสนุกของการอ่านหนังสือให้มีชีวิตชีวายิ่งขึ้น ณ มิวเซียมสยาม ... Read more

The post “Knowledge Fest 2025” เปิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้ เต็มอิ่มกับเทศกาลหนังสือสุดสร้างสรรค์! appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

          “แป้งโดยางพารา” นวัตกรรมจาก เอ็มเทค สวทช. สร้างสีสันให้เด็กๆ ในเทศกาลหนังสือที่ทุกคนรอคอย เสียงหัวเราะ รอยยิ้ม และความรู้ผสมผสานกันอย่างลงตัวในบรรยากาศอบอุ่นของ “Knowledge Fest 2025 เทศกาลอ่านเต็มอิ่ม”  ที่ยกระดับความสนุกของการอ่านหนังสือให้มีชีวิตชีวายิ่งขึ้น ณ มิวเซียมสยาม เมื่อวันที่ 8-9 มีนาคมที่ผ่านมา

ปีนี้นับเป็นปีที่ 3 ของการจัดงานโดยสำนักพิมพ์มติชนและพันธมิตรในวงการหนังสือ ที่สร้างสรรค์พื้นที่แห่งการเรียนรู้ที่เต็มไปด้วยสีสัน ไม่ใช่แค่หนังสือดีๆ แต่ยังมีงานเสวนา Book Club และกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย เติมเต็มด้วยอาหารรสเลิศและดนตรีสนุกสนานที่ช่วยสร้างบรรยากาศให้การอ่านเป็นเรื่องสนุกที่ใครๆ ก็เข้าถึงได้ ไฮไลท์พิเศษของงานในปีนี้คือ นย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้นำผลงานวิจัย “Paradough” แป้งโดจากยางพารา มาจัดกิจกรรม workshop สร้างสรรค์ ซึ่งได้รับความสนใจจากทั้งเด็ก เยาวชน และผู้ปกครอง

          “เราอยากเห็นการผสมผสานระหว่างวิทยาศาสตร์กับการอ่าน เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กๆ ได้รักการเรียนรู้ในทุกมิติ” นายพีระพงษ์ พิณวานิช ผู้จัดการฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลยีวัสดุ เอ็มเทค สวทช. ผู้แทนที่ร่วมในพิธีเปิดงาน กล่าว บรรยากาศภายในงานคึกคักด้วยผู้คนหลากหลายวัยที่แวะเวียนมาเติมเต็มความรู้ ไม่ว่าจะเป็นนักอ่านตัวยง เด็กๆ ที่มากับผู้ปกครอง หรือกลุ่มเพื่อนที่มาหาแรงบันดาลใจ ต่างได้สัมผัสประสบการณ์การอ่านในมิติใหม่ที่สนุกสนานและมีชีวิตชีวา

The post “Knowledge Fest 2025” เปิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้ เต็มอิ่มกับเทศกาลหนังสือสุดสร้างสรรค์! appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
เปลี่ยน ‘กากถั่วเหลือง’ เป็นวัตถุดิบ ‘อาหารในอนาคต’ เพื่อลดการใช้ทรัพยากร https://www.mtec.or.th/soyfiber/ Tue, 11 Mar 2025 02:37:22 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=35765 การใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด การเพิ่มสัดส่วนการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน การรักษาคุณค่าของทรัพยากรในระบบให้คงอยู่นานที่สุด รวมทั้งการลดการปล่อยของเสียให้ต่ำที่สุด ล้วนเป็นวิธีการที่ช่วยให้การผลิตและการบริโภคเป็นไปอย่างยั่งยืน

The post เปลี่ยน ‘กากถั่วเหลือง’ เป็นวัตถุดิบ ‘อาหารในอนาคต’ เพื่อลดการใช้ทรัพยากร appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

เปลี่ยน ‘กากถั่วเหลือง’ เป็นวัตถุดิบ ‘อาหารในอนาคต’ เพื่อลดการใช้ทรัพยากร

เรียบเรียงโดย
งานสื่อสารและขับเคลื่อนความรู้ ฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลยีวัสดุ

การใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด การเพิ่มสัดส่วนการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน การรักษาคุณค่าของทรัพยากรในระบบให้คงอยู่นานที่สุด รวมทั้งการลดการปล่อยของเสียให้ต่ำที่สุด ล้วนเป็นวิธีการที่ช่วยให้การผลิตและการบริโภคเป็นไปอย่างยั่งยืน เป็นทิศทางที่พึงประสงค์ของการพัฒนาเศรษฐกิจในทุกระดับ

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. ดำเนินโครงการส่งเสริมการออกแบบตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Design for Circular Economy) เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน

โครงการนี้ส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้ประกอบการนำหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ กระบวนการผลิต การเลือกใช้วัตถุดิบ การใช้งาน การจัดการเมื่อสิ้นอายุการใช้งานหรือไม่ใช้แล้ว ในปัจจุบันมีผู้ประกอบการจากอุตสาหกรรมต่างๆ สนใจเข้าร่วมโครงการ

บริษัท กรีนสปอต จำกัด ผู้ผลิตน้ำนมถั่วเหลืองบรรจุขวดและกล่อง ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ภายใต้แบรนด์ไวตามิ้ลค์ วีซอย ไวตามิ้ลค์แชมป์ และกรีนสปอต โดยมีผลิตภัณฑ์หลากหลายกว่า 30 ชนิด สำหรับจำหน่ายในประเทศและส่งออก บริษัทฯ ได้เข้าร่วมโครงการนี้เนื่องจากขยายโรงงานใหม่ ทำให้ยอดการผลิตของโรงงานเดิมลดลง 50% ส่งผลให้การใช้พลังงานและต้นทุนต่อหน่วยเพิ่มขึ้น

ทีมวิจัยของเอ็มเทคจึงได้ประเมินตัวชี้วัดการดำเนินการตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน Circularity Performance ISO 59020 เพื่อนำไปสู่การออกแบบโซลูชันเพื่อปรับปรุงตัวชี้วัดที่สำคัญ ได้แก่

การปรับปรุงกระบวนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและทรัพยากร
ทีมวิจัยได้ออกแบบการบริหารจัดการกระบวนการผลิตที่ไม่ส่งผลกระทบกับสูตรของผลิตภัณฑ์ แต่เพิ่มกำลังการผลิตต่อวันให้สูงที่สุด โดยใช้น้ำหมุนเวียนมากขึ้นและใช้พลังงานลดลง

ทั้งนี้ได้ดำเนินการวัดผลอย่างเป็นระบบและชัดเจนตามหลัก Resource Stewardship ซึ่งเป็นหนึ่งในหลักการสำคัญของเศรษฐกิจหมุนเวียนที่คำนึงถึงการคงคุณค่าของทรัพยากรและหมุนเวียนใช้ให้นานที่สุด

การเพิ่มมูลค่ากากถั่วเหลือง
กากถั่วเหลืองที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตน้ำนมถั่วเหลืองมีปริมาณกว่า 100 ตันต่อวัน แต่เดิมจะถูกขายเป็นอาหารสัตว์ บริษัทจึงต้องการเพิ่มมูลค่ากากถั่วเหลืองโดยออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ตามหลักการ Value Creation ของแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน

เนื่องจากกากถั่วเหลืองมีโปรตีนและเส้นใยที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สามารถพัฒนาเป็นเส้นใยถั่วเหลือง ( soy fiber) เพื่อเป็นวัตถุดิบสำหรับอาหารฟังก์ชัน (functional ingredient) ได้ จึงสามารถใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารหลายชนิด เช่น ใช้เป็นตัวปรับเนื้อสัมผัสในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์เทียม นับเป็นผลพลอยได้จากการผลิตที่ทำให้ใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่า

การประยุกต์ใช้หลักการออกแบบตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนในโครงการนี้ได้สร้างประโยชน์โดยตรงทั้งด้านสิ่งแวดล้อม คือ ช่วยลดการใช้ทรัพยากร พลังงาน และลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ด้านเศรษฐกิจ คือช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบ และด้านสังคม คือทำให้ผู้บริโภคได้ใช้สินค้าที่ปลอดภัย นับเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศมุ่งสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเป็นรูปธรรม

ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ:
นายณัฐกร กีรติไพบูลย์ และนางสาวภารดี บุญรอง
โทรศัพท์ 0 2564 6500 ต่อ 4122, 4303
อีเมล DE4CE@mtec.or.th

The post เปลี่ยน ‘กากถั่วเหลือง’ เป็นวัตถุดิบ ‘อาหารในอนาคต’ เพื่อลดการใช้ทรัพยากร appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
มาตรฐานแนะนำการตรวจรับรางรถไฟ และการจัดเก็บรางใหม่ https://www.mtec.or.th/rail/ Tue, 11 Mar 2025 02:23:40 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=35758 ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทยเลือกใช้รางที่มีโครงสร้างแบบเพิร์ลลิติก (Pearlitic Rails) เป็นหลักในการก่อสร้างทางรถไฟและได้กำหนดให้มีการทดสอบรางเพื่อการยอมรับ (Acceptance Test) ทั้งระหว่างและหลังการผลิตตามข้อกำหนดของ EN 13674-1

The post มาตรฐานแนะนำการตรวจรับรางรถไฟ และการจัดเก็บรางใหม่ appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

มาตรฐานแนะนำการตรวจรับรางรถไฟ และการจัดเก็บรางใหม่

เรียบเรียงโดย
งานสื่อสารและขับเคลื่อนความรู้ ฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลยีวัสดุ

ระบบขนส่งทางรางของประเทศไทยกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ระบุว่าภายในปี 2570 การก่อสร้างระบบรถไฟทางคู่จะแล้วเสร็จ รวมระยะทางประมาณ 8,000 กิโลเมตร นอกจากนี้ รฟท. มีแผนเพิ่มความเร็วของรถไฟจากเดิมที่ 60 กม./ชม. เป็น 100-140 กม./ชม. ซึ่งการเพิ่มความเร็วนี้อาจนำไปสู่การเพิ่มอัตราการเกิดจุดบกพร่องบนผิวราง หากรางไม่มีสมบัติเชิงกลที่เหมาะสม อาจเกิดความเสียหายและการแตกหักของชิ้นส่วนรางได้อย่างรวดเร็ว

รางรถไฟเป็นชิ้นส่วนสำคัญที่ต้องมีความปลอดภัยสูงและทนทานต่อสภาวะการใช้งาน เพราะต้องรองรับแรงจากล้อรถไฟที่ถ่ายทอดจากตู้โดยสารและโบกี้ อีกทั้งยังช่วยบังคับทิศทางและทำให้การเคลื่อนที่ราบรื่น รางจึงต้องมีคุณสมบัติต้านทานการเสื่อมสภาพ มีความแข็งแรงในระดับที่เหมาะสม และมีสมบัติที่สม่ำเสมอตามมาตรฐานการออกแบบ

ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทยเลือกใช้รางที่มีโครงสร้างแบบเพิร์ลลิติก (Pearlitic Rails) เป็นหลักในการก่อสร้างทางรถไฟและได้กำหนดให้มีการทดสอบรางเพื่อการยอมรับ (Acceptance Test) ทั้งระหว่างและหลังการผลิตตามข้อกำหนดของ EN 13674-1 เช่น การทดสอบในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ การตรวจสอบส่วนผสมทางเคมี การตรวจสอบปริมาณไฮโดรเจนและออกซิเจน การตรวจสอบโครงสร้างจุลภาค ฯลฯ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม รางใหม่มักเกิดชั้นสูญเสียคาร์บอนที่ผิว (Decarburization Layer) หลังการผลิต ถ้าบริเวณผิวหน้าสัมผัสของรางมีชั้นดังกล่าวที่ผิวลึกมากเท่าไร ยิ่งเพิ่มอัตราการเสียรูปถาวร (Plastic Deformation) และการสึกหรอ (Wear) มากขึ้นเท่านั้น และเป็นข้อบกพร่องที่มักนำไปสู่การขยายตัวของรอยแตกด้วยกลไกการล้าแบบกลิ้งสัมผัส (Rolling Contact Fatigue) หากไม่มีการตรวจสอบและทำการเจียรออกก่อนใช้งาน จะทำให้พื้นผิวสัมผัสของรางมีความแข็งและความแข็งแรงลดลง ส่งผลให้เกิดการสึกหรอ การเสียรูป และการเกิดลอนคลื่น (Corrugation) ได้ง่าย

จากงานวิเคราะห์ความเสียหายของรางที่แตกหักพบชั้นสูญเสียคาร์บอนที่ผิวและรอยร้าวล้าแบบกลิ้งสัมผัส และจากการวิเคราะห์ทางโลหะวิทยาของรางใหม่ที่ยังไม่ผ่านการใช้งานพบชั้นสูญเสียคาร์บอนที่ผิวและร่องหลุมการกัดกร่อน ทำให้ทีมวิจัยสามารถเสนอข้อกำหนดมาตรฐานแนะนำของกระบวนการตรวจรับรางใหม่ เช่น จำนวนและตำแหน่งในการสุ่มตรวจสอบโครงสร้างจุลภาค การตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคบริเวณผิวหน้าสัมผัสราง การวัดความแข็งที่ผิวสันรางและหน้าตัดราง การตรวจสอบส่วนผสมทางเคมีบริเวณหัวราง และการกำหนดความลึกของชั้นที่มีการสูญเสียคาร์บอนและเสื่อมสภาพบนผิวรางใหม่ โดยพิจารณาร่วมกันระหว่างการตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคและการวัดความแข็งแบบโปรไฟล์และ/หรือการตรวจสอบส่วนผสมทางเคมี การป้องกันการกัดกร่อนและการจัดเก็บรางใหม่ โดยระบุข้อแนะนำทางเทคนิค ขั้นตอนการปฏิบัติ และอ้างอิงมาตรฐานที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งผู้ประกอบการด้านการขนส่งทางรางสามารถนำไปอ้างอิงในการปฏิบัติงานได้

ปัจจุบันทีมวิจัยกำลังจัดทำร่างมาตรฐานการตรวจรับราง และการจัดเก็บรางใหม่ โดยได้รับความร่วมมือจากกรมการขนส่งทางราง และการรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม เพื่อให้กองมาตรฐานความปลอดภัยและบำรุงทาง และหน่วยงานที่ให้บริการระบบขนส่งทางรางในประเทศไทยสามารถนำมาตรฐานดังกล่าวไปใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ทั้งนี้เพื่อให้รางที่จะนำมาติดตั้งมีความปลอดภัย และมีอายุการใช้งานเป็นไปตามที่ออกแบบไว้

บทสรุป
มาตรฐานที่กำลังพัฒนานี้จะช่วยยกระดับคุณภาพและความปลอดภัยของระบบขนส่งทางรางในประเทศไทย ซึ่งสอดคล้องกับการเติบโตของโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ใช้งานในอนาคต

ข้อมูลเพิ่มเติม
ทีมวิจัยการวิเคราะห์ความเสียหายและวิศวกรรมการเชื่อถือ กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
โทรศัพท์ 02 564 6500 ต่อ 4735-8

The post มาตรฐานแนะนำการตรวจรับรางรถไฟ และการจัดเก็บรางใหม่ appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
XCT: เครื่องมือตรวจสอบโครงสร้างแบบละเอียดและแม่นยำโดยไม่ทำลายตัวอย่าง https://www.mtec.or.th/post-knowledges-68725/ Tue, 11 Mar 2025 01:53:37 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=35748 เทคนิคเอกซเรย์คอมพิวโทโมกราฟี (X-ray Computed Tomography: XCT) เป็นเครื่องมือวิเคราะห์โครงสร้างของวัสดุที่นักวิจัยและนักอุตสาหกรรมนิยมใช้เพื่อตรวจสอบโครงสร้างภายในของชิ้นส่วนตัวอย่าง

The post XCT: เครื่องมือตรวจสอบโครงสร้างแบบละเอียดและแม่นยำโดยไม่ทำลายตัวอย่าง appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

XCT: เครื่องมือตรวจสอบโครงสร้างแบบละเอียดและแม่นยำโดยไม่ทำลายตัวอย่าง

เทคนิคเอกซเรย์คอมพิวโทโมกราฟี (X-ray Computed Tomography: XCT) เป็นเครื่องมือวิเคราะห์โครงสร้างของวัสดุที่นักวิจัยและนักอุตสาหกรรมนิยมใช้เพื่อตรวจสอบโครงสร้างภายในของชิ้นส่วนตัวอย่าง

ในการทดสอบด้วยเทคนิค XCT จะใช้รังสีเอกซ์ฉายไปที่ตัวอย่างที่ติดตั้งบนแท่น โดยแท่นสามารถหมุนรอบตัวเอง 360° รังสีเอกซ์ที่ทะลุผ่านตัวอย่างจะได้รับการตรวจวัดโดยอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณ (dectector) จากนั้นสัญญาณจะได้รับการประมวลผลให้กลายเป็นชุดภาพสองมิติ (2D) และซอฟต์แวร์ขั้นสูง จะประกอบสร้างชุดภาพสองมิติให้กลายเป็นภาพสามมิติ (3D) ซึ่งสามารถนำไปวิเคราะห์ผลด้วยโปรแกรมวิเคราะห์ทดสอบสำหรับภาพสามมิติต่อไป

จุดเด่นของการวิเคราะห์โครงสร้างภายในด้วยเทคนิค XCT ได้แก่

  • ชิ้นงานที่ต้องการทดสอบไม่ต้องผ่านการเตรียมตัวอย่าง 
  • XCT ช่วยให้มองเห็นลักษณะภายนอกและภายในของวัสดุ โดยไม่ทำลายหรือเปลี่ยนแปลงชิ้นส่วนที่ได้รับการตรวจสอบ (Non-Destructive Testing: NDT)
  • XCT สามารถใช้วิเคราะห์วัสดุหลากหลายประเภทที่ประกอบเป็นชิ้นงาน ไม่ว่าจะเป็นโลหะ โพลิเมอร์ เซรามิก คอมโพสิท วัสดุชีวภาพ รวมถึงของเหลว ของแข็ง และสิ่งที่มีชีวิต (ที่ผ่านการเตรียมตัวอย่างที่เหมาะสม)
  • ภาพสามมิติที่ได้สามารถนำมาวิเคราะห์ผลผ่านโปรแกรมที่มีโมดูลสำหรับการวิเคราะห์ เช่น โปรแกรมวิเคราะห์ข้อบกพร่องภายใน ความพรุน จุดบกพร่อง สารเติม/สารปนเปื้อน (inclusion) การเรียงตัวของเส้นใยในวัสดุผสม และวิศวกรรมย้อนรอย
  • ผลการวิเคราะห์สามารถส่งออกในหลากหลายรูปแบบ เช่น ไฟล์ภาพสองมิติ (2D)/Stacked Images ไฟล์ข้อมูลผลการวิเคราะห์ (เช่น .CSV) ไฟล์วีดีโอ (เช่น .AVI, .wmv) ไฟล์ออกแบบ (เช่น CAD, .stl) ไฟล์ Surface Mesh และ Volume Mesh รวมทั้งรายงานผลการวิเคราะห์ตามความต้องการของผู้รับบริการ

อย่างไรก็ตาม มีข้อควรพิจารณาในการเลือกใช้งานเทคนิค XCT เช่น ความเหมาะสมของวัสดุที่ใช้ ความละเอียดของภาพ และความซับซ้อนในการประมวลผลข้อมูล รวมถึงขีดจำกัดของเครื่องมือประกอบด้วยเช่นกัน

ปัจจุบันศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) เปิดให้บริการเพื่อวิเคราะห์โครงสร้างของชิ้นงาน/ วัสดุ ด้วยเทคนิค XCT และมีบุคลากรด้านเทคนิคที่มีความชำนาญพร้อมให้คำปรึกษา

ทั้งนี้การให้บริการเทคโนโลยีการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค XCT เป็นส่วนหนึ่งของการมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านวัสดุศาสตร์ของ MTEC เพื่อสนับสนุนความก้าวหน้าทางการวิจัยและเชิงนวัตกรรมอุตสาหกรรมของประเทศ เป็นประโยชน์ในเชิงลึกสำหรับใช้งาน และหวังว่าจะสามารถช่วยต่อยอดนวัตกรรมในสาขาและงานของผู้สนใจได้ในอนาคต

ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม
เจ้าหน้าที่ XCT หรือ คุณพิชญานิน คำลือ
โทรศัพท์ 02 564 6500 ต่อ 4136
Email : XCT@mtec.or.th หรือ phitchayanin.kha@ncr.nstda.or.th

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.mtec.or.th/technical-service-2-xct/

The post XCT: เครื่องมือตรวจสอบโครงสร้างแบบละเอียดและแม่นยำโดยไม่ทำลายตัวอย่าง appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
ทำไมจึงกล่าวว่านรกใช้กระทะ ‘ทองแดง’? มุมมองเชิงวัสดุศาสตร์ https://www.mtec.or.th/post-knowledges-68724/ Tue, 11 Mar 2025 01:35:58 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=35734 สภาพการนำความร้อน เป็นแง่มุมแรกที่เราต้องพิจารณาในการใช้งาน เพราะหากโลหะที่เลือกใช้มีสมบัติการนำความร้อนที่ต่ำ ก็อาจจะส่งผลให้อุณหภูมิในแต่ละตำแหน่งของกระทะแตกต่างกันได้ ดังนั้น กระทะที่เหมาะสมจึงต้องนำความร้อนได้ดี

The post ทำไมจึงกล่าวว่านรกใช้กระทะ ‘ทองแดง’? มุมมองเชิงวัสดุศาสตร์ appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

ทำไมจึงกล่าวว่านรกใช้กระทะ ‘ทองแดง’? มุมมองเชิงวัสดุศาสตร์

ดัดแปลงและเรียบเรียงจากบทความ “บรรลัยวิทยา”
โดย โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว วิศวกรอาวุโส
ทีมวิจัยการวิเคราะห์ความเสียหายและวิศวกรรมการเชื่อถือ
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)

บางท่านอาจเคยเห็นคำว่า ‘โลหกุมภีนรก’ จากหนังสือไตรภูมิพระร่วง ซึ่งแปลตรงตัวหมายถึง นรกหม้อโลหะ แต่หลายคนมักเรียกว่า ‘นรกกระทะทองแดง’

ประเด็นความเชื่อในเชิงวัฒนธรรมนี้มีแง่มุมทางวิชาการที่น่าขบคิดว่า เหตุใดจึงต้องเป็นกระทะ ‘ทองแดง’ บทความนี้จะให้มุมมองในเชิงวัสดุศาสตร์และเกร็ดน่าสนใจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

สภาพการนำความร้อน เป็นแง่มุมแรกที่เราต้องพิจารณาในการใช้งาน เพราะหากโลหะที่เลือกใช้มีสมบัติการนำความร้อนที่ต่ำ ก็อาจจะส่งผลให้อุณหภูมิในแต่ละตำแหน่งของกระทะแตกต่างกันได้ ดังนั้น กระทะที่เหมาะสมจึงต้องนำความร้อนได้ดี

หากพิจารณาสภาพการนำความร้อนของโลหะ (thermal conductivity) จะพบว่าโลหะเงินมีค่าสภาพการนำความร้อนสูงสุด แต่ทว่าโลหะเงินบริสุทธิ์มีสมบัติทางกลที่ไม่ดี เนื่องจากมีความแข็งแรงต่ำ จึงนิ่มและเสียรูปได้ง่ายเมื่อได้รับความร้อน

เนื่องจากกระทะต้องถูกใช้เป็นเวลานาน อีกสมบัติหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ ความต้านทานการกัดกร่อน (corrosion resistance)

หากพิจารณาโลหะที่ได้รับความนิยมในการทำกระทะอย่างเหล็กจะพบว่าแม้เหล็กมีสภาพการนำความร้อนดีในระดับหนึ่ง แต่ข้อด้อยสำคัญคือเกิดการกัดกร่อนง่าย (ภาษาพูดเรียกว่าเกิดสนิมง่าย)

นอกจากนี้ ยังน่ารู้ด้วยว่าเหล็กสามารถชะละลายและเจือปนในน้ำต้มได้ ดังนั้นเราจึงไม่ใช้กระทะเหล็กทำอาหารหรือขนมที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก เนื่องจากจะทำให้สีและรสชาติอาหารเปลี่ยนแปลงไป

แล้วอะลูมิเนียมล่ะ? แม้ว่าโลหะอะลูมิเนียมมีสภาพการนำความร้อนที่ดี แต่ก็เกิดการกัดกร่อนได้ง่ายหากสัมผัสกับเกลือหรืออยู่ในสภาวะที่เป็นกรดสูง ในทางปฏิบัติเราจึงไม่ควรใช้ภาชนะอะลูมิเนียมสัมผัสกับอาหารที่มีรสเปรี้ยวเป็นระยะเวลานาน

ส่วนเหล็กกล้าไร้สนิมหรือสเตนเลสสตีล (stainless steel) แม้ว่าสเตนเลสเกรด 304 ที่เราคุ้นชินจะทนต่อการกัดกร่อนได้ดี แต่ก็มีค่าการนำความร้อนต่ำ ตำแหน่งที่อยู่ใกล้เปลวไฟจะร้อนกว่าบริเวณอื่น ซึ่งอาจทำให้บริเวณกลางกระทะเกิดรอยไหม้ได้

สุดท้ายหากคิดถึงทองเหลืองซึ่งทนการกัดกร่อนและนำความร้อนที่ดีใกล้เคียงทองแดง แต่เนื่องจากทองเหลืองเป็นโลหะผสมของทองแดงกับสังกะสี ดังนั้นหากใช้งานนานเข้าก็จะเกิดการกัดกร่อนชนิดดีอัลลอยอิง (dealloying) ซึ่งจะทำให้เกิดรูพรุนขนาดเล็กที่ผิวของโลหะได้

โดยสรุป กระทะทองแดงจึงนับว่าเหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด เนื่องจากทองแดงนำความร้อนดีและยังสามารถสร้างฟิล์มออกไซด์ที่ทนต่อการกัดกร่อนได้ และนี่คือเหตุผลหลักที่ทำให้มีการพูดถึง ‘กระทะทองแดง’ ในความเชื่อเชิงวัฒนธรรม เช่น นรก

The post ทำไมจึงกล่าวว่านรกใช้กระทะ ‘ทองแดง’? มุมมองเชิงวัสดุศาสตร์ appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
เอ็มเทค ร่วมกับ สภาเกษตรกรจังหวัดลำปาง และ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง เยี่ยมชม PL Wood Factory พัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปไม้และไผ่อย่างยั่งยืน https://www.mtec.or.th/mtec-pl-wood-factory/ Thu, 06 Mar 2025 03:20:08 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=35654 วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) นำโดย ดร.ทิพย์จักร ณ ลำปาง หัวหน้าทีมวิศวกรรมไม้เพื่อความยั่งยืน ร่วมกับ สภาเกษตรกรจังหวัดลำปาง และ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง  ... Read more

The post เอ็มเทค ร่วมกับ สภาเกษตรกรจังหวัดลำปาง และ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง เยี่ยมชม PL Wood Factory พัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปไม้และไผ่อย่างยั่งยืน appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 

            ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) นำโดย ดร.ทิพย์จักร ณ ลำปาง หัวหน้าทีมวิศวกรรมไม้เพื่อความยั่งยืน ร่วมกับ สภาเกษตรกรจังหวัดลำปาง และ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง  และหน่วยงานพันธมิตร เข้าเยี่ยมชม บริษัท PL Wood Factory จำกัด และ บริษัท เจริญแสง จำกัด โรงงานแปรรูปไม้และไผ่ชั้นนำของจังหวัดลำปาง

การเยี่ยมชมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการผลิตเครื่องใช้ในครัวเรือนจากไม้ (Kitchenware) และการแปรรูปไม้และไผ่ในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการพัฒนาแนวทางเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาการเกษตรกรรม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2568 – 2573) ซึ่งมุ่งเน้นการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและยกระดับรายได้ของเกษตรกร

นอกจากนี้คณะผู้แทนยังได้หารือแนวทางการแปรรูปไผ่เป็นวัสดุไม้บอร์ดสำหรับ Kitchenware และงานโครงสร้าง เพื่อพัฒนานวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและตอบโจทย์อุตสาหกรรมสมัยใหม่ ความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการส่งเสริมศักยภาพของอุตสาหกรรมแปรรูปไม้และไผ่ของลำปาง โดยผสานองค์ความรู้จากภาคอุตสาหกรรม เทคโนโลยี และภาคเกษตรกรรม เพื่อสร้างความยั่งยืนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการในพื้นที่

โดย เอ็มเทค มีบทบาทในการให้คำปรึกษาและสนับสนุนเทคโนโลยี เพื่อช่วยยกระดับอุตสาหกรรมแปรรูปไม้และไผ่ให้มีมูลค่าเพิ่ม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสอดรับกับแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน

รูปประกอบ และ แหล่งที่มาของข่าว : https://www.facebook.com/share/p/15bG9Vxv2e/

The post เอ็มเทค ร่วมกับ สภาเกษตรกรจังหวัดลำปาง และ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง เยี่ยมชม PL Wood Factory พัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปไม้และไผ่อย่างยั่งยืน appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
เอ็มเทค จัดกิจกรรมภายใต้การสนับสนุนทุนจากสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) โดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) https://www.mtec.or.th/mtec-nxpo-pmuc/ Mon, 03 Mar 2025 05:13:00 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=35586 เอ็มเทค โดย ดร. อัญชลี มโนนุกุล หัวหน้าทีมวิจัยโลหะผสมและการผลิตอัจฉริยะ กลุ่มวิจัยกระบวนการทางวัสดุและการผลิตอัตโนมัติ และหัวหน้าโครงการ จัดกิจกรรมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยหัวข้อ “การพัฒนาฟิลาเมนต์เหล็กกล้าไร้สนิมเกรด 316L สำหรับกระบวนการพิมพ์ขึ้นรูปโลหะสามมิติระบบเส้นใช้ผลิตชิ้นงานรูปร่างซับซ้อนและใกล้รูปร่างสุทธิ” ภายใต้การสนับสนุนทุนจาก สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ ... Read more

The post เอ็มเทค จัดกิจกรรมภายใต้การสนับสนุนทุนจากสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) โดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

          เอ็มเทค โดย ดร. อัญชลี มโนนุกุล หัวหน้าทีมวิจัยโลหะผสมและการผลิตอัจฉริยะ กลุ่มวิจัยกระบวนการทางวัสดุและการผลิตอัตโนมัติ และหัวหน้าโครงการ จัดกิจกรรมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยหัวข้อ “การพัฒนาฟิลาเมนต์เหล็กกล้าไร้สนิมเกรด 316L สำหรับกระบวนการพิมพ์ขึ้นรูปโลหะสามมิติระบบเส้นใช้ผลิตชิ้นงานรูปร่างซับซ้อนและใกล้รูปร่างสุทธิ” ภายใต้การสนับสนุนทุนจาก สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) โดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) โดยในระหว่างวันที่ 17-21 กุมภาพันธ์ 2568 คณะผู้ร่วมโครงการวิจัยจาก Montanuniversitaet Leoben ประเทศออสเตรีย ซึ่งเป็นทีมวิจัยภายใต้โครงการได้เดินทางมาประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าร่วมหารือแนวทางการดำเนินโครงการ ศึกษาดูงานห้องปฏิบัติการเอ็มเทค และเยี่ยมชมบริษัทที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการขึ้นรูปสามมิติด้วยการอัดวัสดุชนิดเส้น

          โดยในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ห้องบุษกร อาคารเนคเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ทางโครงการได้มีการจัดงานสัมมนาพิเศษหัวข้อ “Advancements in Polymer and Metal 3D printing”  การสัมมนาครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร. เติมศักดิ์ ศรีคิรินทร์ ผู้อำนวยการเอ็มเทค เป็นประธานในการกล่าวเปิดงาน โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติด้วยวัสดุเส้นเข้าร่วมเป็นวิทยากรและบรรยายใน 7 หัวข้อหลัก ได้แก่

• Additive Manufacturing of highly-filled polymers at the Institute of Polymer Processing
โดย Dr. Christian Kukla, Research and Innovation Service, Montanuniversitaet Leoben ประเทศออสเตรีย

• Challenges in Material Extrusion Additive Manufacturing
โดย Dr. Stephan Schuschnigg, Institute of Polymer Processing, Montanuniversitaet Leoben ประเทศออสเตรีย 

• Development of Polymer Blends and Composites for Fused Filament Fabrication: Balancing Mechanical Properties and Printability
โดย ดร.บงกช หะรารักษ์ นักวิจัยจาก ทีมวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติก กลุ่มวิจัยกระบวนการทางวัสดุและการผลิตอัตโนมัติ เอ็มเทค 

• Bio-Based Composites in 3D Printing: Trends Challenges and Opportunities
โดย ดร.ชวนชม อ่วมเนตร จาก สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

• Personalised Orthotic Fabrication System using 3D Printing Technology
โดย ดร.บุญล้อม ถาวรยุติการต์ นักวิจัยจาก ทีมวิจัยนวัตกรรมการออกแบบและผลิตกายอุปกรณ์เสริม กลุ่มวิจัยวัสดุและอุปกรณ์เฉพาะทางชีวภาพ 

• Environmental impacts of 3D printing through life cycle assessment 
โดย ดร. กาญจนาวดี สิงขรอาจ นักวิจัยจาก ทีมวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติก กลุ่มวิจัยกระบวนการทางวัสดุและการผลิตอัตโนมัติ เอ็มเทค 

• Recent developments in sinter-based metal 3D printing
โดย ดร. ชนันฐ์ สุวรรณปรีชา นักวิจัยจากทีมวิจัยโลหะผสมและการผลิตอัจฉริยะ กลุ่มวิจัยกระบวนการทางวัสดุและการผลิต เอ็มเทค 

 การสัมมนาครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมจากภาครัฐและเอกชนรวมทั้งสิ้น 47 คน
กิจกรรมการเยี่ยมชมบริษัทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการขึ้นรูปสามมิติด้วยการอัดวัสดุชนิดเส้น
Taisei Kogyo (Thailand) Co., Ltd. จังหวัดปทุมธานี 
IRPC Public Co., Ltd. จังหวัดระยอง
Labtech Engineering Co., Ltd.จังหวัดสมุทรปราการ

The post เอ็มเทค จัดกิจกรรมภายใต้การสนับสนุนทุนจากสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) โดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
หลักสูตรอบรมเนื้อสัตว์เทียมจากโปรตีนพืช: แนวโน้มปัจจุบัน เทคโนโลยีการผลิต และความก้าวหน้า (วันที่ 21-22 พฤษภาคม 2568 ) https://www.mtec.or.th/general-training-courses-74404-3/ Thu, 27 Feb 2025 09:01:57 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=35550 หลักสูตรอบรม เนื้อสัตว์เทียมจากโปรตีนพืช: แนวโน้มปัจจุบัน เทคโนโลยีการผลิต และความก้าวหน้า (วันที่ 21-22 พฤษภาคม 2568) หลักสูตรอบรม เนื้อสัตว์เทียมจากโปรตีนพืช: แนวโน้มปัจจุบัน เทคโนโลยีการผลิต และความก้าวหน้า(Plant-based meat ... Read more

The post หลักสูตรอบรมเนื้อสัตว์เทียมจากโปรตีนพืช: แนวโน้มปัจจุบัน เทคโนโลยีการผลิต และความก้าวหน้า (วันที่ 21-22 พฤษภาคม 2568 ) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

หลักสูตรอบรม เนื้อสัตว์เทียมจากโปรตีนพืช: แนวโน้มปัจจุบัน เทคโนโลยีการผลิต และความก้าวหน้า (วันที่ 21-22 พฤษภาคม 2568)

หลักสูตรอบรม

เนื้อสัตว์เทียมจากโปรตีนพืช: แนวโน้มปัจจุบัน เทคโนโลยีการผลิต และความก้าวหน้า
(Plant-based meat alternatives: Current trends, manufacturing technologies and advancements)

จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

วันที่ 21 – 22 พฤษภาคม 2568 เวลา 9.00-16.00 น.
ห้องประชุม M120 (ชั้น1) อาคารเอ็มเทค
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ. ปทุมธานี

วัตถุประสงค์
เพื่อสร้างความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีเอ็กซ์ทรูชัน วัตถุดิบโปรตีนพืช กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์เนื้อเทียมจากโปรตีนพืช รวมถึงการทดสอบสมบัติเนื้อสัมผัสเนื้อเทียมจากโปรตีนพืช โดยวิทยากรจาก MTEC ร่วมกับตัวแทนจาก the Good Food Institute Asia Pacific (GFI Asia Pacific) และบริษัท โคพีเรียน จำกัด ผู้ผลิตเครื่องเอ็กซ์ทรูเดอร์รายใหญ่จากประเทศเยอรมันนี

หัวข้อการบรรยาย

  1. แนวโน้มของตลาดอาหารจากพืชในปัจจุบัน
  2. การแนะนำบริษัท โคพีเรียน จำกัด และเทคโนโลยีเอ็กซ์ทรูชันในอุตสาหกรรมอาหาร
  3. การแนะนำวัตถุดิบโปรตีนพืช
  4. การผลิตเนื้อเทียมจากพืชด้วยเทคโนโลยีสับผสม และเทคโนโลยีเอ็กซ์ทรูชันความชื้นต่ำและความชื้นสูง
  5. การวิเคราะห์เนื้อสัมผัสของผลิตภัณฑ์เนื้อเทียม
  6. การสาธิตกระบวนการผลิตเนื้อเทียมความชื้นต่ำ และความชื้นสูงด้วยเครื่องเอ็กซ์ทรูเดอร์
  7. การสาธิตการทดสอบเนื้อสัมผัสผลิตภัณฑ์เนื้อเทียมด้วยเทคนิคเชิงกล

กำหนดการและหัวข้อบรรยาย

วันที่ 21 พฤษภาคม 2568

8.30-9.00 น.        ลงทะเบียน

9.00-9.30 น.        แนวโน้มของตลาดอาหารจากพืชในปัจจุบัน (GFI)

9.30-10.15 น.      วัตถุดิบโปรตีนพืช (MTEC)

10.15-10.30 น.    พักการบรรยาย 15 นาที

10.30-11.15 น.    การผลิตเนื้อเทียมจากพืชด้วยเทคโนโลยีสับผสม (MTEC)

11.15-12.00 น.    การแนะนำบริษัท โคพีเรียน และพื้นฐานเทคโนโลยีเอ็กซ์ทรูชัน (Coperion, บรรยายภาษาอังกฤษ)

12.00-13.00 น.    พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.45 น.    เทคโนโลยีเอ็กซ์ทรูชันความชื้นต่ำและความชื้นสูง (MTEC)

14.45-15.00 น.    พักการบรรยาย 15 นาที

15.00-16.00 น.    การสาธิตเทคโนโลยีการผลิตเนื้อเทียมความชื้นต่ำด้วยเครื่องเอ็กซ์ทรูเดอร์ (MTEC และ Coperion)

16.00-16.30 น.    ถาม-ตอบ

วันที่ 22 พฤษภาคม 2568

9.00-10.30 น.      ความก้าวหน้าของการผลิตเนื้อเทียมจากพืช (Coperion, บรรยายภาษาอังกฤษ)

10.30-10.45 น.    พักการบรรยาย 15 นาที

10.45-12.00 น.    การวิเคราะห์เนื้อสัมผัสของผลิตภัณฑ์เนื้อเทียมด้วยเทคนิคเชิงกล (MTEC)

12.00-13.00 น.    พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.30 น.    การสาธิตเทคโนโลยีการผลิตเนื้อเทียมความชื้นสูงด้วยเครื่องเอ็กซ์ทรูเดอร์ (MTEC และ Coperion)

14.30-14.45 น.    พักการบรรยาย 15 นาที

14.45-16.00 น.    การสาธิตการทดสอบเนื้อสัมผัสผลิตภัณฑ์เนื้อเทียมด้วยเทคนิคเชิงกล (MTEC)

16.00-16.30 น.    ถาม-ตอบ

วิทยากร

Mr. Christian Hüttner
Process engineer,
Coperion GmbH, Germany

ดร. วรรษมน  นุตกุล
Good Food Institute Asia Pacific (GFI Asia Pacific)

ดร.นิสภา ศีตะปันย์
นักวิจัยอาวุโส
ทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

ดร.ชัยวุฒิ กมลพิลาส
นักวิจัยอาวุโส
ทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

ดร.กมลวรรณ อิศราคาร
นักวิจัย
ทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

ค่าลงทะเบียน
บุคคลทั่วไป/ ภาคเอกชน 8,560 บาท/ท่าน (รวม Vat7%)
ข้าราชการ-พนักงานองค์กรรัฐ 8,000 บาท/ท่าน (ไม่มี Vat7%)
**รับสมัครจำนวนจำกัด และจะแจ้งผลการเข้าร่วมทางอีเมล ภายในวันที่ 9 พฤษภาคม 2568 นี้**

หมายเหตุ
– ค่าลงทะเบียนรวมค่าอาหารว่าง อาหารกลางวัน และเอกสารประกอบการอบรม
– สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%

การลงทะเบียน

ลงทะเบียนผ่าน Google Form >>>คลิ๊กที่นี่!!
https://forms.gle/Mi2EVKuDsM76TfkW8

**เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่นั่งในการอบรมเต็ม โปรดทำการลงทะเบียนตามช่องทางดังกล่าวเพื่อสำรองที่นั่งเอาไว้ก่อน แล้วค่อยดำเนินการโอนเงินชำระค่าลงทะเบียนในภายหลัง**

การชำระค่าลงทะเบียน
• โอนเงิน/ เช็ค สั่งจ่าย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์ สาขาย่อยอุทยานวิทยาศาสตร์ เลขที่บัญชี 080-000001-0
• กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินพร้อมระบุชื่อมาที่อีเมล kobkula@mtec.or.th

สมัครและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คุณกอบกุล อมรมงคล / คุณบุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4676, 4675
E-mail : kobkula@mtec.or.th / boonrkk@mtec.or.th

The post หลักสูตรอบรมเนื้อสัตว์เทียมจากโปรตีนพืช: แนวโน้มปัจจุบัน เทคโนโลยีการผลิต และความก้าวหน้า (วันที่ 21-22 พฤษภาคม 2568 ) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>