ทีมวิจัยคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณ
ทางวิศวกรรม
ทำงานวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณทางวิศวกรรม (Computer-Aided Engineering : CAE) ทั้งในด้านการนำเทคโนโลยี CAE ไปประยุกต์ใช้กับงานวิศวกรรมจริงและในด้านการพัฒนาเทคโนโลยี CAE
- การวิเคราะห์ปัญหาทางวิศวกรรมโดยใช้ซอฟต์แวร์ CAE (ดร. สมบูรณ์ โอตรวรรณะ)
1.1 การวิเคราะห์ความแข็งแรงของระบบท่อในแท่นผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย [pdf file]
1.2 การวิเคราะห์และออกแบบรถยนต์ไฟฟ้า [pdf file 1] [pdf file 2]
1.2.1 การวิเคราะห์ด้านอากาศพลศาสตร์ของรถยนต์ไฟฟ้า (ดร. อธิพงษ์ มาลาทิพย์)
1.2.2 การออกแบบการจัดวางอุปกรณ์ในห้องเครื่องของรถยนต์ไฟฟ้า (ดร. ยศกร ประทุมวัลย์)
1.3 CAE สำหรับงานอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์
1.4 การวิเคราะห์ความแข็งแรงเพื่อออกแบบล้ออัลลอย [pdf file]
1.4.1 การทดสอบความล้าตามแนวรัศมีในเชิงพลวัต (Dynamic Radial Fatigue Test)
บทความ W. Phusakulkajorn, K. Tapracharoen and S. Otarawanna, “Suitable combination of a mean-stress correction method and a stress type for the fatigue analysis of aluminium alloy wheels under radial loading”, International Journal of Materials and Product Technology, 2020, Vol. xx, pp. xx-xx.
1.4.2 การทดสอบการกระแทก (Impact Test) [pdf file]
1.5 การวิเคราะห์ความแข็งแรงและปรับปรุงแบบของถังบรรจุสารไครโอเจน [pdf file] (ดร. สมบูรณ์ โอตรวรรณะ)
2. ซอฟต์แวร์ CAE 3D เพื่อการเรียนรู้ (ดร. สมบูรณ์ โอตรวรรณะ) Website
บทความ S. Otarawanna, K. Ngiamsoongnirn, A. Malatip, P. Eiamaram, S. Phongthanapanich, E. Juntasaro, P. Kowitwarangkul, T. Intarakumthornchai, P. Boonmalert, and C. Bhothikhun, “An educational software suite for comprehensive learning of computer-aided engineering”, Computer Applications in Engineering Education, 2020, pp. 1-27, https://doi.org/10.1002/cae.22285.
บทความ A. Malatip, N. Prasomsuk, C. Siriparu, N. Paoprasert and S. Otarawanna, “An efficient matrix tridiagonalization method for 3D finite element analysis of free vibration”, Mathematics and Computers in Simulation, 2020, Vol. 172, pp. 90-110.3. หนังสือคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณทางวิศวกรรม CAE (ดร. สมบูรณ์ โอตรวรรณะ)
- ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณทางวิศวกรรม (CAE software) เช่น Ansys, Altair HyperWorks, MSC Marc, XFlow, SolidWorks เป็นต้น
- คอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงเพื่อการคำนวณ
บริการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยการจำลองคอมพิวเตอร์
ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณทางวิศวกรรม (Computer-Aided Engineering: CAE) มาช่วยในการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพื่อให้ผลิตภัณฑ์สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทีมวิจัย CAE ของ MTEC มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์การทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรมในการใช้เทคโนโลยี CAE ทั้งการวิเคราะห์ไฟไนต์เอลิเมนต์ (Finite Element Analysis: FEA) และพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ (Computational Fluid Dynamics: CFD) เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถออกแบบเชิงวิศวกรรมของผลิตภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสม โดยอาศัยคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงและซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่ถูกลิขสิทธิ์ เช่น Ansys, XFlow, SolidWorks เป็นต้น
สิ่งที่ลูกค้าจะได้รับ
- ผลการจำลอง CAE พร้อมคำแนะนำในการออกแบบ
- คำปรึกษาในการออกแบบทางวิศวกรรมเพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์ผ่านมาตรฐานการทดสอบต่างๆ
ตัวอย่างรูปแบบงานบริการแบบครบวงจร
- การออกแบบแกลลอนพลาสติก
- การออกแบบชิ้นส่วนยานยนต์ต่างๆ
- การออกแบบระบบระบายความร้อนและอากาศพลศาสตร์ของรถยนต์ไฟฟ้า
- การออกแบบการไหลในระบบเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
- การออกแบบระบบทางวิศวกรรมต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและอายุการใช้งาน
- การออกแบบการระบายอากาศในอาคารและนอกอาคาร (ดูรายละเอียดเพิ่มเติม)
ทีมวิจัยคอมพิวเตอร์ช่วยในการคํานวณทางวิศวกรรม
ดร. สมบูรณ์ โอตรวรรณะ
โทร : 0 2564 6500 ต่อ 4320
อีเมล : somboono@mtec.or.th
ทีมวิจัยในกลุ่มการออกแบบเชิงวิศวกรรมและการคำนวณ