ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ได้เล็งเห็นความสำคัญของการนำองค์ความรู้ และผลงานวิจัยและพัฒนาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งในเชิงพาณิชย์และสาธารณะประโยชน์ และส่งเสริมให้มีการทำงานวิจัยและพัฒนาร่วมกับภาครัฐและเอกชน ให้บริการในรูปแบบต่างๆ เพื่อเชื่อมโยงให้มีการนำผลงานวิจัยและพัฒนาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ให้บริการแก่ทั้งภาครัฐและเอกชนในรูปแบบต่างๆ ดังนี้
1.บริการรับจ้างวิจัย เป็นการดำเนินการตามความต้องการของผู้ขอรับบริการที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ขอรับบริการได้โดยตรง เนื่องจากเป็นโจทย์วิจัย หรือสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง อาทิเช่น งานวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ได้เทคโนโลยีใหม่ วิเคราะห์แก้ไขปัญหา พัฒนาและเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
2.บริการร่วมวิจัยและพัฒนา เป็นความร่วมมือระหว่างเอ็มเทคและผู้รับบริการในการทำงานวิจัยและพัฒนาร่วมกัน จุดประสงค์หลักเพื่อสร้างผลงานวิจัยที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศในระดับสูง มุ่งเน้นงานวิจัยและพัฒนาด้านวัสดุศาสตร์ โดยการดำเนินงานแต่ละฝ่ายจะร่วมมือกันในรูปแบบความร่วมมือต่างๆ เช่น งบประมาณในการดำเนินการ งบบุคลากรวิจัย งบเครื่องมืออุปกรณ์ เป็นต้น
3.บริการเป็นที่ปรึกษา ให้คำปรึกษาตามความต้องการของผู้ขอรับบริการ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรม และในขณะเดียวกันสามารถนำโจทย์ปัญหาที่ต้องการจากอุตสาหกรรมกลับมาสะท้อนต่อทีมวิจัยในการผลิตงานวิจัยที่ตรงกับความต้องการอย่างแท้จริงได้อีกทางหนึ่ง
4.บริการถ่ายทอดเทคโนโลยี ร่วมกับ สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO สวทช.) นำเอาผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ที่คิดค้นโดยนักวิจัยของเอ็มเทค ไปถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่อุตสาหกรรม เพื่อช่วยผลักดันให้อุตสาหกรรมมีโอกาสนำเทคโนโลยีที่พัฒนาโดยนักวิจัยในประเทศไปประยุกต์ใช้ในการผลิตมากขึ้น ช่วยลดการลองผิดลองถูก ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย ลดความเสี่ยง และระยะเวลา ในการทำวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชน
ทีมวิจัย มีความเชี่ยวชาญสาขาวัสดุศาสตร์ในด้านต่างๆ โดยแบ่งความเชี่ยวชาญตามหน่วยวิจัย และให้บริการทั้งในลักษณะของงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ ปรับปรุงคุณสมบัติ ปรับปรุงกระบวนการผลิต ในรูปแบบบริการและความเชี่ยวชาญของเอ็มเทค
1. ติดต่อขอรับบริการ โดยวิธีการ โทรศัพท์หรือ e-mail เพื่อ พูดคุยรายละเอียดโจทย์ วิจัยที่ต้องการกับเจ้าหน้าที่ งานประสานธุรกิจและอุตสาหกรรม | 2. เจ้าหน้าที่ประสานงานกับทีมวิจัย และนัดหมายประชุมระหว่างนักวิจัย และผู้ขอรับบริการเพื่อคุยขอบเขต งานที่ชัดเจน | 3. จัดทำเอกสารการทำงานและ ดำเนินงานตามกิจกรรมการ ทำงานวิจัยที่ตกลงร่วมกัน |
เกษตรและอาหาร
1.ฟิล์มนาโนคอมโพสิทป้องกันการซึมผ่านของออกซิเจน
2.เครื่องผลิตยางแห้งคุณภาพสูงแบบต่อเนื่องและรวดเร็วด้วยเทคนิคอัดรีดสกรูคู่
3.เครื่องสีข้าวขนาดเล็ก สำหรับชุมชน
4.บรรจุภัณฑ์ Active PAKTM BPW50 สำหรับผลิตผลสดที่มีอัตราการหายใจสูง
5.ยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก
6.การพัฒนาตะกร้าบรรจุลำไยที่แข็งแรง น้ำหนักเบา
7.สารจับตัวน้ำล้างเครื่องปั่นน้ำยาง
พลังงานและสิ่งแวดล้อม
1.ชุดทดสอบสำหรับการหาปริมาณเฮกซะวาเลนต์โครเมียม
2.ชุดทดสอบความหนาแน่นและความหนืดของน้ำมัน
3.ระบบผลิตไบโอดีเซล แบบต่อเนื่อง 20,000 ลิตรต่อวัน
4.เครื่องหีบปาล์มระดับชุมชน
5.พลาสติกย่อยสลายได้
6.สูตรเคลือบผลิตภัณฑ์เซรามิกส์แบบไร้สารตะกั่ว
7.ชุดทดสอบค่าความเป็นกรดของน้ำมัน
สุขภาพและการแพทย์
1.ผ้ายืดเคลือบซิลิโคนเจลรักษาแผลเป็น
2.วัสดุทดแทนกระดูก Hydroxyapatite Bone graft substitute
3.อุปกรณ์ทางลาดแบบม้วนสำหรับติดตั้งในรถยนต์
4.อุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบสามส่วน
5.วัสดุเคลือบหลุมร่องฟันชนิดฉายแสง Light-cured Dental Sealant
6.รถเข็นคนพิการแบบปรับยืนได้โดยไม่ต้องใช้มอเตอร์ไฟฟ้า
โพลิเมอร์ สิ่งทอ และเคมี
1.ฝาจุกสำหรับภาชนะบรรจุของเหลวเพื่อช่วยป้องกันการสำลักในระหว่างริน
2.การพิมพ์สกรีนสี ธรรมชาติบนผ้า
3.นวัตกรรมการนำกลับเนื้อยางและสารอนินทรีย์จากกากตะกอนของเสียในอุตสาหกรรมน้ำยางพารา
อุตสาหกรรมการผลิตและบริการ
1.การผลิตโฟมโลหะแบบเซลล์เปิดที่มีต้นทุนต่ำ และสามารถควบคุมความพรุนและขนาดโพรง
2.ถ้วยทนไฟอุณหภูมิสูงผลิตจากกากของเสียอุตสาหกรรมอลูมิเนียม
3.กระเบื้องปูพื้นจีโอโพลิเมอร์ลายหินจากเศษแก้ว
4.จีโอโพลิเมอร์จากดินแดงและของเสียอุตสาหกรรม
5.อิฐมวลเบาคอมโพสิทจากจีโอโพลิเมอร์และวัสดุมวลเบาจากเศษแก้ว
งานประสานธุรกิจและอุตสาหกรรม
โทรศัพท์ : 0 2564 6500ต่อ 4782-4789 โทรสาร 0 2564 6369
E-mail : BDD-IBL@mtec.or.th
ให้บริการแก่ทั้งภาครัฐและเอกชนในรูปแบบต่างๆ ดังนี้
1.บริการรับจ้างวิจัย เป็นการดำเนินการตามความต้องการของผู้ขอรับบริการที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ขอรับบริการได้โดยตรง เนื่องจากเป็นโจทย์วิจัย หรือสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง อาทิเช่น งานวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ได้เทคโนโลยีใหม่ วิเคราะห์แก้ไขปัญหา พัฒนาและเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
2.บริการร่วมวิจัยและพัฒนา เป็นความร่วมมือระหว่างเอ็มเทคและผู้รับบริการในการทำงานวิจัยและพัฒนาร่วมกัน จุดประสงค์หลักเพื่อสร้างผลงานวิจัยที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศในระดับสูง มุ่งเน้นงานวิจัยและพัฒนาด้านวัสดุศาสตร์ โดยการดำเนินงานแต่ละฝ่ายจะร่วมมือกันในรูปแบบความร่วมมือต่างๆ เช่น งบประมาณในการดำเนินการ งบบุคลากรวิจัย งบเครื่องมืออุปกรณ์ เป็นต้น
3.บริการเป็นที่ปรึกษา ให้คำปรึกษาตามความต้องการของผู้ขอรับบริการ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรม และในขณะเดียวกันสามารถนำโจทย์ปัญหาที่ต้องการจากอุตสาหกรรมกลับมาสะท้อนต่อทีมวิจัยในการผลิตงานวิจัยที่ตรงกับความต้องการอย่างแท้จริงได้อีกทางหนึ่ง
4.บริการถ่ายทอดเทคโนโลยี ร่วมกับ สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO สวทช.) นำเอาผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ที่คิดค้นโดยนักวิจัยของเอ็มเทค ไปถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่อุตสาหกรรม เพื่อช่วยผลักดันให้อุตสาหกรรมมีโอกาสนำเทคโนโลยีที่พัฒนาโดยนักวิจัยในประเทศไปประยุกต์ใช้ในการผลิตมากขึ้น ช่วยลดการลองผิดลองถูก ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย ลดความเสี่ยง และระยะเวลา ในการทำวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชน
ทีมวิจัย มีความเชี่ยวชาญสาขาวัสดุศาสตร์ในด้านต่างๆ โดยแบ่งความเชี่ยวชาญตามหน่วยวิจัย และให้บริการทั้งในลักษณะของงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ ปรับปรุงคุณสมบัติ ปรับปรุงกระบวนการผลิต ในรูปแบบบริการและความเชี่ยวชาญของเอ็มเทค
1. ติดต่อขอรับบริการ โดยวิธีการโทรศัพท์หรือ e-mail เพื่อพูดคุยรายละเอียดโจทย์วิจัยที่ต้องการกับเจ้าหน้าที่งานประสานธุรกิจและอุตสาหกรรม
2. เจ้าหน้าที่ประสานงานกับทีมวิจัยและนัดหมายประชุมระหว่างนักวิจัยและผู้ขอรับบริการเพื่อคุยขอบเขตงานที่ชัดเจน
3. จัดทำเอกสารการทำงานและดำเนินงานตามกิจกรรมการทำงานวิจัยที่ตกลงร่วมกัน
เกษตรและอาหาร
1.ฟิล์มนาโนคอมโพสิทป้องกันการซึมผ่านของออกซิเจน
2.เครื่องผลิตยางแห้งคุณภาพสูงแบบต่อเนื่องและรวดเร็วด้วยเทคนิคอัดรีดสกรูคู่
3.เครื่องสีข้าวขนาดเล็ก สำหรับชุมชน
4.บรรจุภัณฑ์ Active PAKTM BPW50 สำหรับผลิตผลสดที่มีอัตราการหายใจสูง
5.ยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก
6.การพัฒนาตะกร้าบรรจุลำไยที่แข็งแรง น้ำหนักเบา
7.สารจับตัวน้ำล้างเครื่องปั่นน้ำยาง
พลังงานและสิ่งแวดล้อม
1.ชุดทดสอบสำหรับการหาปริมาณเฮกซะวาเลนต์โครเมียม
2.ชุดทดสอบความหนาแน่นและความหนืดของน้ำมัน
3.ระบบผลิตไบโอดีเซล แบบต่อเนื่อง 20,000 ลิตรต่อวัน
4.เครื่องหีบปาล์มระดับชุมชน
5.พลาสติกย่อยสลายได้
6.สูตรเคลือบผลิตภัณฑ์เซรามิกส์แบบไร้สารตะกั่ว
7.ชุดทดสอบค่าความเป็นกรดของน้ำมัน
สุขภาพและการแพทย์
1.ผ้ายืดเคลือบซิลิโคนเจลรักษาแผลเป็น
2.วัสดุทดแทนกระดูก Hydroxyapatite Bone graft substitute
3.อุปกรณ์ทางลาดแบบม้วนสำหรับติดตั้งในรถยนต์
4.อุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบสามส่วน
5.วัสดุเคลือบหลุมร่องฟันชนิดฉายแสง Light-cured Dental Sealant
6.รถเข็นคนพิการแบบปรับยืนได้โดยไม่ต้องใช้มอเตอร์ไฟฟ้า
โพลิเมอร์ สิ่งทอ และเคมี
1.ฝาจุกสำหรับภาชนะบรรจุของเหลวเพื่อช่วยป้องกันการสำลักในระหว่างริน
2.การพิมพ์สกรีนสี ธรรมชาติบนผ้า
3.นวัตกรรมการนำกลับเนื้อยางและสารอนินทรีย์จากกากตะกอนของเสียในอุตสาหกรรมน้ำยางพารา
อุตสาหกรรมการผลิตและบริการ
1.การผลิตโฟมโลหะแบบเซลล์เปิดที่มีต้นทุนต่ำ และสามารถควบคุมความพรุนและขนาดโพรง
2.ถ้วยทนไฟอุณหภูมิสูงผลิตจากกากของเสียอุตสาหกรรมอลูมิเนียม
3.กระเบื้องปูพื้นจีโอโพลิเมอร์ลายหินจากเศษแก้ว
4.จีโอโพลิเมอร์จากดินแดงและของเสียอุตสาหกรรม
5.อิฐมวลเบาคอมโพสิทจากจีโอโพลิเมอร์และวัสดุมวลเบาจากเศษแก้ว
งานประสานธุรกิจและอุตสาหกรรม
โทรศัพท์ : 0 2564 6500ต่อ 4782-4789 โทรสาร 0 2564 6369
E-mail : BDD-IBL@mtec.or.th