ทีมวิจัยวัสดุและระบบเพื่อสิ่งแวดล้อม
ภารกิจ บทบาท
ทีมวิจัยวัสดุและระบบเพื่อสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นการวิจัยพัฒนาองค์ความรู้ด้านการออกแบบระบบและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีวัสดุเพื่อติดตามและฟื้นฟูสภาพแวดล้อม (เน้นงานวิจัยเกี่ยวกับการเรื่องน้ำ) รวมทั้งมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีรักษ์สิ่งแวดล้อม ที่มีกรรมวิธีที่ไม่ซับซ้อน ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม และลดเลี่ยงการใช้สารเคมี เพื่อแปรสภาพวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรหรือจากโรงงานอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้า (เช่น เถ้าแกลบ เถ้าถ่านหิน) ให้สามารถใช้ประโยชน์ หรือนำมาเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการทำผลิตภัณฑ์ทดแทนวัตถุดิบที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้
1. การวิจัยและพัฒนาแนวทางการจัดการและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (Solutions for better Resources Utilization)
• การจัดการขยะ (Waste management)
• การตรวจวัด บำบัดและฟื้นฟูน้ำ อากาศ และการลดของเสีย (Water/ Air management / abatement)
• การจัดการมลพิษในอาคาร ที่ทำงานหรือที่พักอาศัย (Indoor pollutants management)
2. การวิจัยและพัฒนาเพื่อออกแบบระบบและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีวัสดุเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
• การสังเคราะห์และแปรสภาพวัสดุเหลือทิ้งหรือของเสียที่มีปริมาณมากเพื่อใช้ประโยชน์ และการขยายผลเตรียมพร้อมสู่การผลิตปริมาณมากสำหรับเชิงพาณิชย์
1. การพัฒนาวิธีการทดสอบสารปนเปื้อน (NonCl-POPs) ในแหล่งน้ำ เป็นการพัฒนาอิเล็กโทรดวัสดุไฮบริด เพื่อการตรวจคัดกรองเบื้องต้นของการมีอยู่ของสารปนเปื้อน (non-Cl POPs) ในน้ำ
2. การวิเคราะห์ขั้วไฟฟ้าสำหรับเซ็นเซอร์ตรวจวัดสารกำจัดแมลง
3. การศึกษาค่าการนำไฟฟ้า (cation conductivity) ของน้ำหม้อน้ำและไอน้ำโรงไฟฟ้าแม่เมาะ
4. การพัฒนาอุปกรณ์ต้นแบบเพื่อลด dissolved oxygen ในน้ำบริสุทธิ์ด้วยวิธี electrophotocatalysis
5. เม็ดหินเบา (Lightweight aggregate) มีโครงสร้างเป็นรูพรุนทั่วทั้งเม็ด เนื้อวัสดุเป็นโฟมเซรามิกส์ ใช้แทนหินธรรมชาติในงานก่อสร้างที่ต้องการให้เบาและสามารถรับแรงได้ หรืองานประดับตกแต่งอื่นๆ เช่น ใช้เป็นหินประดับในตู้ปลา เนื่องจากไม่เป็นพิษต่อสัตว์น้ำ
6. วัสดุเพาะปลูกเอ็มเทค (MTEC Hortimedia) ทำจากเถ้าถ่านหิน เถ้าชานอ้อย หรือเถ้าแกลบ เป็นวัสดุมีความพรุนตัวสูง อมน้ำได้ดี มีค่าการนำไฟฟ้า (EC) ต่ำ จึงเหมาะสำหรับใช้ปลูกพืชทั้งแบบไม่ใช้ดิน (hydroponics) หรือใช้ผสมกับวัสดุปลูกชนิดอื่น หรือผสมกับดิน เพื่อลดการยุบตัว และช่วยระบายอากาศ
7. วัสดุรูพรุนจากเถ้าแกลบ หรือไบโอฟิลเตอร์มีเดีย ใช้สำหรับการบำบัดน้ำทางชีวภาพ รูพรุนภายในวัสดุเป็นที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์ ที่ทำหน้าที่ย่อยสลายของเสียในน้ำ วัสดุนี้มีปริมาณรูพรุนมากและมีพื้นที่ผิวสูงสามารถรองรับการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ให้เพียงพอต่อการบำบัด สามารถใช้บำบัดน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม และใช้เป็นมีเดียในระบบที่มีการปลูกพืชควบคู่กับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (aquaponics)
ทีมวิจัยในกลุ่มวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม