หลักสูตรอบรม การวิเคราะห์เชิงความร้อน: หลักการพื้นฐาน วิธีการ และการประยุกต์ใช้งาน (วันที่ 24 มกราคม 2568)

หลักสูตรอบรม
การวิเคราะห์เชิงความร้อน: หลักการพื้นฐาน วิธีการ และการประยุกต์ใช้งาน
(Thermal Analysis: Fundamentals, Methods, and Practical Use)

จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

วันศุกร์ที่ 24 มกราคม 2568 เวลา 9.00-16.00 น.
จัดอบรมแบบคู่ขนาน (Hybrid Training)
รูปแบบที่ 1 อบรมออนไลน์ผ่านโปรแกรม Cisco Web Ex
รูปแบบที่ 2 อบรมที่อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี

หลักการและเหตุผล
       การวิเคราะห์เชิงความร้อนเป็นเทคนิคที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการวิจัยและพัฒนาในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น พอลิเมอร์ เซรามิกซ์ อาหาร และ ยา เทคนิคนี้ช่วยในการศึกษาสมบัติของวัสดุ การควบคุมคุณภาพ และการปรับปรุงกระบวนการผลิต อย่างไรก็ตาม ผู้ปฏิบัติงานจำนวนมากยังขาดความรู้พื้นฐานและทักษะในการใช้เทคนิคนี้อย่างมีประสิทธิภาพ การเข้าใจและใช้เทคนิควิเคราะห์เชิงความร้อนนี้อย่างถูกต้องจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดต้นทุน และสร้างนวัตกรรมในองค์กร ซึ่งจะส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกต่อไป

วัตถุประสงค์
       สัมมนาครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะด้านการวิเคราะห์เชิงความร้อนแก่ผู้เข้าร่วม โดยครอบคลุมทั้งหลักการพื้นฐาน เทคนิคสำคัญ และการประยุกต์ใช้งานจริง ผ่านการบรรยาย และนำเสนอกรณีศึกษา

กลุ่มเป้าหมาย
       ผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพอลิเมอร์ เซรามิกซ์ อาหาร และ ยา ทั้งด้านการผลิต วางแผนการผลิต รวมถึงด้านการประกันคุณภาพ บุคลากรด้านการศึกษาและนักวิจัยสาขาวัสดุศาสตร์

กำหนดการและหัวข้อบรรยาย
วันที่ 24 มกราคม 2568
    8.30 – 9.00 น.  ลงทะเบียน/ เปิดห้องออนไลน์
  9.00 – 10.30 น.  การวิเคราะห์เชิงความร้อนและความสำคัญในการวิจัยและอุตสาหกรรม
                            (Overview of thermal analysis and its importance in research and industry)
                            หลักการพื้นฐานของพอลิเมอร์และสมบัติทางความร้อน
                             (Basic Principles of Polymer and Thermal Properties)
                            หลักการพื้นฐานของการวิเคราะห์เชิงความร้อน
                             (Basic Principles of Thermal Analysis)
10.30 – 10.45 น.  พักการบรรยาย 15 นาที
10.45 – 12.00 น.  หลักการทำงานของ DSC
                             (Introduction to Differential Scanning Calorimetry, DSC)
                            การประยุกต์ใช้งาน DSC ในงานวิจัยด้านวัสดุ และ อุตสาหกรรม
                             (Practical Applications of DSC)
12.00 – 13.00 น.  พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.30 น.  หลักการทำงานของ TGA
                             (Introduction to Thermogravimetric Analysis, TGA)
                            การประยุกต์ใช้งาน TGA ในงานวิจัยด้านวัสดุ และ อุตสาหกรรม
                             (Practical Applications of DSC)
14.30 – 14.45 น.  พักการบรรยาย 15 นาที
14.45 – 16.00 น.  วิธีการใช้งานจริงของ DSC และ TGA
                              1. ขั้นตอนการวิเคราะห์ด้วย DSC และ TGA
                              2. แนวปฏิบัติที่ดีในการเตรียมตัวอย่างเพื่อทดสอบ
                              3. วิธีการอ่านและวิเคราะห์ข้อมูล DSC และ TGA
14.45 – 16.00 น.  แนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับ TMA (Thermomechanical Analysis), DMA (Dynamic Mechanical Analysis), TCA (Thermal Conductivity Analysis) และ Dilatometry
                            กรณีศึกษา: ตัวอย่างจริงของการใช้การวิเคราะห์เชิงความร้อนในอุตสาหกรรมเพื่อแก้ปัญหาและปรับปรุงกระบวนการ
                            Q & A

วิทยากร

อ.ปิยวรรณ ปนิทานเต
ผู้เชี่ยวชาญเทคนิค
ประสบการณ์ด้านวิเคราะห์สมบัติทางความร้อนของวัสดุมากกว่า 15 ปี
ฝ่ายสนับสนุนเทคนิคด้านวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะของวัสดุ
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

รายละเอียดการลงทะเบียน

ค่าลงทะเบียน
บุคคลทั่วไป/เอกชน 3,745 บาท/ท่าน (ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ข้าราชการ/หน่วยงานรัฐ 3,500 บาท/ท่าน (ไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม)

หมายเหตุ
– อัตราค่าลงทะเบียนรวมค่าอาหารว่าง อาหารกลางวัน เอกสารประกอบการอบรม
– สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%

การลงทะเบียน
ลงทะเบียนผ่าน Google form ที่ https://forms.gle/d6mH7rjft6wiE32g7
**เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่นั่งในการอบรมเต็ม โปรดทำการลงทะเบียนตามช่องทางดังกล่าวเพื่อสำรองที่นั่งเอาไว้ก่อน แล้วค่อยดำเนินการโอนเงินชำระค่าลงทะเบียนในภายหลัง**

การชำระค่าลงทะเบียน
       โอนเงินเข้าบัญชี/ ทำเช็ค สั่งจ่ายในนาม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์ สาขาย่อยอุทยานวิทยาศาสตร์ เลขที่บัญชี 080-000001-0 (กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินพร้อมระบุชื่อ, หน่วยงาน และหลักสูตรที่สมัครมาทางอีเมล boonrkk@mtec.or.th)

สมัครและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีวัสดุเพื่ออุตสาหกรรม (คุณบุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4675
E-mail : boonrkk@mtec.or.th