เอ็มเทค ร่วมกับสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในโครงการพัฒนาสร้างเครื่องจักรเครื่องมือและอุปกรณ์ต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า จัดสัมมนาและเสวนาวิชาการ เรื่อง เทคโนโลยีเครื่องมือและเครื่องจักรเพื่อชุมชน โอกาสและข้อจำกัดในการขยายผลสู่ระดับอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2560 ณ โรงแรมสยามอัมรา กรุงเทพฯ ภายในงานครั้งนี้ มีการบรรยายหัวข้อ “ผลงานด้านเทคโนโลยีเครื่องจักรและเครื่องมือเพื่อชุมชุนและเกษตรกรรม” ที่พัฒนาขึ้นภายในชุดโครงการการส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาเครื่องจักรต้นแบบ สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย อ.ไพรีพินาศ พิมพิสาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และการเสวนาเรื่อง “โอกาสและข้อจำกัดในการขยายผลเทคโนโลยีเครื่องจักรและเครื่องมือเพื่อชุมชุน โดยวิทยากรในสายงานด้านเทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรและประดิษฐกรรมเครื่องมือกลเพื่อชุมชน ได้แก่ รศ. ดร. ชัชพล ชังชู มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ / ผศ. สุวิทย์ บุณยวานิชกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมและเครื่องจักรกลการเกษตร / คุณชัชนันท์ ถนอมวรสิน กรรมการสมาคมเครื่องจักรกลไทย และผู้บริหาร บริษัท ไทยเอเย่นซี เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด / คุณดุสิต ตั้งพิสิษฐ์โยธิน วิศวกรด้านการออกแบบเครื่องจักรกลการเกษตร ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ / ดำเนินการเสวนาโดย นายธนาภรณ์ โกราษฎร์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการงานพัฒนาเครื่องจักรกลและการแปรรูปปาล์มน้ำมัน ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมงานครั้งนี้ 68 คน โดยเอ็มเทค และสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คาดหวังว่าประโยชน์ที่ได้รับจากการเสวนาในครั้งนี้จะช่วยกระตุ้นการขยายผลทางด้านเทคโนโลยีเครื่องจักรและเครื่องมือไปสู่ชุมชนได้ รวมทั้งกระตุ้นให้ภาควิชาการหันมาร่วมพัฒนางานวิจัยในสายงานดังกล่าวมากขึ้น
สนใจติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: งานพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีวัสดุเพื่ออุตสาหกรรม 0 2564 6500 ext. 4675, 4677
สัมมนาและเสวนาวิชาการ เรื่อง เทคโนโลยีเครื่องมือและเครื่องจักรเพื่อชุมชน
โอกาสและข้อจำกัดในการขยายผลสู่ระดับอุตสาหกรรม
จัดโดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ร่วมกับสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ในโครงการพัฒนาสร้างเครื่องจักรเครื่องมือและอุปกรณ์ต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า
และสมาคมเครื่องจักรกลไทย
การผลิตในภาคเกษตรกรรมในระดับชุมชนที่เน้นการเพิ่มปริมาณการผลิต การปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานจากการใช้แรงงานไปสู่การใช้เครื่องทุ่นแรง เป็นความพยายามและเป้าหมายของงานพัฒนาวิจัยและออกแบบเครื่องมือโดยนักพัฒนา นักวิศวกรและนักวิชาการด้านเครื่องจักรกลในสถาบันการศึกษาและหน่วยงานส่งเสริมด้านการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อชุมชนมาเป็นระยะเวลานานหลายสิบปี ตั้งแต่การพัฒนาแนวคิดอย่างง่ายในด้านการใช้เครื่องทุ่นแรงแทนแรงงานคน การออกแบบเครื่องมือที่ช่วยทดแรงได้มากกว่าเครื่องมือที่ใช้อยู่ การออกแบบเครื่องมือที่มีความทันสมัยมากขึ้น มีความทนทานด้วยการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมขึ้น กลไกมีความซับซ้อนด้วยการปรับเปลี่ยนแหล่งให้พลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ไปจนถึงการประยุกต์ใช้เทคนิคการออกแบบและการนำผสมผสานเครื่องมือในระดับอุตสาหกรรมให้เข้ามามีบทบาทในงานผลิตในระดับเกษตรกรรมและชุมชนจนเป็นที่ยอมรับถึงความได้เปรียบ การยกระดับทางเทคโนโลยีและเสริมสร้างภูมิปัญหาให้กับนักพัฒนาในชุมชนจะได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อเนื่องไปในรูปแบบอื่น ๆ ที่มากไปกว่าเพียงการผลิตสินค้าเพื่อจำหน่าย
แต่ด้วยปัจจัยในความเป็นชุมชนและความเป็นอุตสาหกรรมในระดับชุมชนหรือในรูปแบบของเครื่องมือที่เน้นสำหรับการทำงานด้านเกษตรกรรม เป็นหลัก การกำหนดราคาจำหน่ายที่สูง ความซับซ้อนที่ส่งผลให้การบำรุงรักษาต้องมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น และการเพิ่มความต้องการเครื่องที่ 2 และ 3 หรือเครื่องสำรองในยามที่เครื่องมือหลักต้องปลดระวางหรือซ่อมบำรุงและกระบวนการผลิตที่ชุมชนรับผิดชอบนั้นกลายเป็นการผลิตแบบต้องเร่งทำยอดตามคำสั่งซื้อ การลงทุนเช่นนี้ เป็นข้อจำกัดที่พบอยู่เสมอและเป็นปัญหาหลักที่ทำให้โครงการในแนวทางการพัฒนาจากชุมชนไปเป็นผู้ประกอบการนั้นไม่ประสบผลสำเร็จ นับตั้งแต่ทีมีการส่งเสริมให้มีการนำเครื่องจักรเครื่องมือที่ทันสมัยเข้าไปและได้รับการยอมรับจากชุมชน ในขณะที่พื้นฐานของชุมชน วิสาหกิจ การรวมกลุ่มเพื่อวัตถุประสงค์ใดก็ตาม ในความเป็นจริงนั้น สมาชิกเหล่านั้นคือเกษตรกร หรือผู้ดำเนินการ หรือเป็นเพียงตัวแทนในการรับการสนับสนุน พร้อมทั้งการสนับสนุนนั้น มีการประเมินหรือไม่ว่าควรสนับสนุน จำเป็นต้องสนับสนุน คุ้มค่าที่จะให้การสนับสนุน เหมาะสมที่จะสนับสนุน หรือกระทั้งกลุ่มผู้รับการสนับสนุนนั้นมีความสามารถหรือความเข้าใจในกลไกการสนับสนุนเพียงพอหรือไม่ ซึ่งด้วยการผลักดันทางนโยบายส่งเสริมอาชีพหรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในระดับตำบลให้สามารถขยายตลาดได้กว้างไกล การสนับสนุนด้านเงินลงทุนในการติดตั้งเครื่องจักรเครื่องมือเหล่านี้ในชุดแรก ๆ มักเป็นไปได้ด้วยงบประมาณจากภาครัฐอยู่เสมอ และผลงานที่ให้การสนับสนุนไปจำนวนมาก เป็นเพียงการมอบให้เนื่องจากต้องการระบายผลงานการพัฒนาจากภาครัฐให้เข้าสู่ภาคผู้ใช้ ซึ่งจะใช้ได้เต็มประสิทธิภาพ ใช้ได้นาน ใช้ได้ดี หรือใช้ให้เป็นนั้น ไม่มีกระบวนการใด ๆ ติดตามตรวจสอบเลย การส่งมอบแต่ละครั้งจึงเป็นเพียงขั้นตอนสุดท้ายของการปิดโครงการ เพื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้เริ่มต้นดำเนินโครงการใหม่ เท่านั้นหรือ
กระนั้น แม้ในแง่มุมของการพัฒนาโจทย์ที่เหมาะสม มีที่มาที่ชัดเจน เมื่อพิจารณาในแนวทางที่ไม่มีภาครัฐคอยผลักดัน หากเป็นความต้องการจัดหาเครื่องจักรโดยชุมชนเอง การลงขันหรือการใช้ช่องทางเงินกู้เพื่อการลงทุนเช่นเดียวกันกับวิสาหกิจทั่วไปแทบไม่ปรากฏขึ้นเลย แม้ในบางชุมชุนที่มีการขยายขนาดของกำลังการผลิตผลิตภัณฑ์ในระดับชุมชนที่เพิ่มขึ้นเพื่อการจำหน่ายได้ถึงในระดับต่างประเทศ แต่ในการขยายผลในภาพรวม กลับยังพบว่าเครื่องจักร เครื่องมือจำนวนมาก ยังเป็นการเช่าใช้และการยืมทดลองใช้โดยไม่คิดมูลค่าหรือคิดในระดับที่ถูกมาก แม้เครื่องจักรเครื่องมือเหล่านั้นจะมีมาตรฐานที่มีการผลิตจำหน่ายจำนวนมากและมีตัวเลือก ตัวแทนจำหน่ายและมีการแข่งขันพอสมควร รวมทั้งผลงานการพัฒนาของไทยก็ไม่ได้มีขั้นของการพัฒนาที่ชัดเจนนักในเชิงคุณค่าของการขยับขั้นจากการส่งเสริมการใช้จากภายในประเทศไปสู่ระดับภูมิภาค ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้คือส่วนหนึ่งของข้อจำกัดในการขยายผลด้านการพัฒนาเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ให้เข้าสู่ภาคเกษตรและชุมชม
ในมุมมองของนักพัฒนา วิศวกรและนักวิชาการในสายงานการพัฒนาเครื่องจักรกลและเครื่องมือ อุปกรณ์เพื่องานในระดับชุมชน มีประสบการณ์และแนวคิดที่เกี่ยวข้องมานำเสนอ ผ่านเวทีกิจกรรมการสัมมนาและเสวนาวิชาการ เรื่องเทคโนโลยีเครื่องมือและเครื่องจักรเพื่อชุมชน โอกาสและข้อจำกัดในการขยายผลสู่ระดับอุตสาหกรรม
กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วยการ
o สัมมนาผลงานด้านเทคโนโลยีเครื่องจักรและเครื่องมือเพื่อชุมชุนและเกษตรกรรมที่พัฒนาขึ้นภายในชุดโครงการ การส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาเครื่องจักรต้นแบบ สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
o เสวนาวิชาการโดยวิทยากรในสายงานด้านเทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตร
กำหนดการและหัวข้อบรรยาย
08:00 น. ลงทะเบียน
08:00 – 08:30 น. การเปิดงาน
กล่าวต้อนรับและกล่าวรายงานโดยผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
กล่าวเปิดโดยประธานการจัดการ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
8:30 – 9:45 น. ผลงานด้านเทคโนโลยีเครื่องจักรและเครื่องมือเพื่อชุมชุนและเกษตรกรรมที่พัฒนาขึ้น
ภายในชุดโครงการการส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาเครื่องจักรต้นแบบ สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โดย อ.ไพรีพินาศ พิมพิสาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
9:45 – 10:00 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10:00 – 12:30 น. การเสวนาเรื่องโอกาสและข้อจำกัดในการขยายผลเทคโนโลยีเครื่องจักรและเครื่องมือ
เพื่อชุมชุน
โดยวิทยากรในสายงานด้านเทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรและประดิษฐกรรมเครื่องมือ กลเพื่อชุมชน ได้แก่
• รศ. ดร. ชัชพล ชังชู มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
• ผศ. สุวิทย์ บุณยวานิชกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมและเครื่องจักรกลการเกษตร
• คุณชัชนันท์ ถนอมวรสิน กรรมการสมาคมเครื่องจักรกลไทย และผู้บริหาร บริษัท
ไทยเอเย่นซี เอ็นจิเนียริ่งจำกัด
• คุณดุสิต ตั้งพิสิษฐ์โยธิน วิศวกรด้านการออกแบบเครื่องจักรกลการเกษตรศูนย์เทคโนโลยี โลหะและวัสดุแห่งชาติ
• ดำเนินการเสวนาโดย นายธนาภรณ์ โกราษฎร์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการงานพัฒนาเครื่องจักร กลและการแปรรูปปาล์มน้ำมัน ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
12:30 – 13:30 น. จบการเสวนา และรับประทานอาหารกลางวัน
ลงทะเบียนออนไลน์เท่านั้น
ไม่มีค่าใช้จ่าย (จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วม 100 ท่าน)
สำรองที่นั่งลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ได้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีวัสดุเพื่ออุตสาหกรรม (นายพลธร เวณุนันท์)
โทร. 02-564-6500 ต่อ 4677
อีเมล์ ponlathw@mtec.or.th