เอ็มเทค ร่วมกับสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในโครงการพัฒนาสร้างเครื่องจักรเครื่องมือและอุปกรณ์ต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า จัดสัมมนาวิชาการ เรื่อง แผนการพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมระบบขนส่งทางราง เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2560 ภายในงาน Intermach2017 ณ ไบเทค บางนา กรุงเทพฯ ภายในงานครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก คุณวัฒนา สมานจิตร, ผู้อำนวยการ, โปรแกรมการคมนาคมขนส่งระบบราง, ฝ่าบริหารคลัสเตอร์และโปรแกรมวิจัย, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มาเป็นวิทยากรผู้ให้ความรู้ในหลักสูตรนี้ โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมฟังบรรยาย 43 ท่าน โดยเอ็มเทค และสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คาดหวังว่าประโยชน์ที่ได้รับจากการสัมมนาวิชาการในครั้งนี้จะช่วยกระตุ้นการขยายผลทางด้านเทคโนโลยีระบบราง รวมทั้งกระตุ้นให้ภาควิชาการหันมาร่วมพัฒนางานวิจัยในสายงานดังกล่าวมากขึ้น
สนใจติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: งานพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีวัสดุเพื่ออุตสาหกรรม 0 2564 6500 ext. 4675, 4677
รายละเอียดหลักสูตร
จัดโดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ร่วมกับสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ในโครงการพัฒนาสร้างเครื่องจักรเครื่องมือและอุปกรณ์ต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า
ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีในยุคอุตสาหกรรม 4.0 และการพัฒนาใช้งานจริงในอุตสาหกรรมภายในประเทศไทย
จึงจัดกิจกรรมการสัมมนาเชิงวิชาการ เพื่อพัฒนาความพร้อมและสร้างความตระหนักในการติดตามและเรียนรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัยให้กับประเทศไทย
หัวข้อ: แผนการพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมระบบขนส่งทางราง
(ภายในงาน Intermach2017; http://www.intermachshow.com)
สถานที่
ห้องประชุม MR214 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา (คลิ๊กดูคำแนะนำในการเดินทาง)
วันที่จัดงาน
วันที่ 18 พ.ค. 2560 เวลา 13:00-16:30 น.
หลักการและเหตุผล
จากความสนใจในกิจการรถไฟในประเทศไทยที่เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2398 เมื่อคณะราชทูตจากสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย สมเด็จพระราชินีแห่งประเทศอังกฤษ ได้นำเครื่องราชบรรณาการเป็นรถจักรไอน้ำ และรถพ่วงครบขบวน ซึ่งเป็นรถไฟจำลองย่อส่วนที่สามารถแล่นบนรางด้วยแรงไอน้ำแบบเดียวกับรถไฟที่ใช้อยู่ในเกาะอังกฤษมาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้ทรงมีพระราชดำริที่จะสถาปนากิจการรถไฟขึ้นในประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2429 รัฐบาลไทยได้อนุมัติสัมปทานเพื่อสร้างทางรถไฟสายแรกขึ้นในประเทศไทย ระหว่าง กรุงเทพฯ-สมุทรปราการ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยืมทุนทรัพย์ไปสมทบการก่อสร้าง และได้เสด็จพระราชดำเนินแซะดินเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2434 ทางรถไฟสายแรกได้เปิดให้บริการเดินรถในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2476 โดยใช้รถจักรไอน้ำลากจูง ซึ่งต่อมาภายหลังเปลี่ยนใช้เป็นรถไฟฟ้าและยุบเลิกกิจการไป เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2503
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2533 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งกรมรถไฟหลวงขึ้น อยู่ในสังกัดของกระทรวงโยธาธิการ โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์เป็นเสนาบดี และมีนาย เค. เบธเก ชาวเยอรมัน เป็นเจ้ากรมรถไฟ มีการสัมปทานก่อสร้างเปิดการเดินรถไฟระหว่างสถานีกรุงเทพฯ-อยุธยา เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2539 และได้มีการก่อสร้างระยะที่ 2 และ 3 ต่อไปที่แก่งคอยและนครราชสีมาแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2433 จากนั้นได้มีการก่อสร้างทางรถไฟสายเหนือจากชุมทางบ้านภาชีถึงเชียงใหม่ ทางรถไฟสายใต้จากธนบุรี-สุไหงโก-ลก สายตะวันออกเฉียงเหนือจากสถานีขอนแก่นถึงสถานีหนองคาย สายตะวันออกจากสถานีจิตรลดาถึงสถานีมักกะสัน และโครงการอื่นๆต่อมา จนถึงปี พ.ศ. 2494 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์การรถไฟขึ้น เรียกว่า “การรถไฟแห่งประเทศไทย” โดยให้โอนกิจการของกรม รถไฟให้องค์การนี้ทั้งหมด
รถไฟฟ้าบีทีเอสเป็นระบบขนส่งมวลชนแบบรางไฟฟ้าเต็มรูปแบบสายแรกของประเทศไทย เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดย บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ภายใต้สัมปทานของกรุงเทพมหานคร หลังจากนั้นอีก 5 ปี ได้เปิดให้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงินระหว่างสถานีหัวลำโพง ถึง สถานีบางซื่อในวันที่ 3 กรกฎาคม 2547 รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นสายทางที่ 3 เปิดให้บริการในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ทำหน้าที่รับส่งผู้โดยสารระหว่างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-พญาไท และเส้นทางรถไฟฟ้าสายที่ 4 คือรถไฟฟ้ามหานครสายฉลองรัชธรรมหรือรถไฟฟ้าสายสีม่วงซึ่งเรียกชื่อตามสีที่กำหนดในแผนแม่บทโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2559 โดยปัจจุบันมีโครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้างและอยู่ในแผนกระทรวงคมนาคมปี 2558-2564 ในส่วนของการพัฒนาทางด้านระบบราง ประกอบด้วยเส้นทางไฟฟ้าในพื้นที่ กทม 10 สายทางอาทิเช่นสายสีแดง เหลือง ชมพู ส้ม และส่วนต่อขยายเขียว น้ำเงิน ฯลฯ เส้นทางรถไฟเชื่อมต่อ 3 สนามบิน โครงการรถไฟทางคู่ที่จะขยายเส้นทางรถไฟไปในทั่วทุกภูมิภาค และแผนการพัฒนาระบบรางตามหัวเมืองต่างๆทั่วประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยจะมีควมต้องการในการใช้ชิ้นส่วนอุปกรณ์ประกอบระบบรถไฟและโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนการเดินรถไฟอีกเป็นจำนวนมาก ที่ควรจะมีการพิจารณาในเรื่องการเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตและและบริการทั้งในส่วนของธุรกิจรถไฟและธุรกิจต่อเนื่องสนับสนุนการให้บริการเดินรถและการใช้รถไฟของประชาชนอีกเป็นจำนวนมาก
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับแผนการพัฒนาของประเทศ จึงได้ตั้งโครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาเทคโนโลยระบบขนส่งทางรางแห่งชาติ และโปรแกรมการคมนาคมขนส่งระบบรางขึ้นทำหน้าที่ในการบริหารจัดการการพัฒนาบุคลากรและองค์ความรู้ การวิจัยพัฒนานวัตกรรม และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการพัฒนาอุตสาหกรรมและการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางของประเทศ จากผลการดำเนินงานเกิดให้มีเครือข่าย วศร และสมาคมวิศกรรมระบบขน่สงทางรางไทย ที่ประกอบด้วยบุคลากรจาก 4 ภาคส่วนหลักจากห่วงโซ่คุณค่าของระบบรางในประเทศ ได้แก่หน่วยงานนโยบายภาครัฐ ผู้ให้บริการเดินรถ ภาคการศึกษาและวิจัย และภาคอุตสาหกรรม โดยเครือข่าย วศร ได้ร่วมกันพัฒนาฐานระบบขนส่งทางรางที่มั่นคง โดยการขยายเครือข่ายผู้มีความรู้ทางด้านระบบรางไปสู่ภาคการศึกษา การพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานภาครัฐและอุตสาหกรรม การวิจัยมุ่งเป้าเพื่อการขยายผลต่อเนื่องต่อผู้ใช้ประโยชน์ การวิจัยและพัฒนาต้นแบบเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานการเรียนรู้และวิจัย และความร่วมมือเครือข่ายในการผลักดันนโยบาย Industrial collaboration program สำหรับการใช้อุปสงค์การพัฒนาระบบรางเป็นเครื่องมือในการเพิ่มขีดความสามารถทางด้านเทคโนโลยีมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผู้ผลิตสู่อุตสาหกรรม เพื่อให้ประเทศไทยมีองค์ความรู้ บุคลาการผู้เชี่ยวชาญ เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ สำหรับการพัฒนาระบบขนส่งทางรางอย่างยั่งยืนของประเทศ
โครงการพัฒนาสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า โดยความร่วมมือระหว่างสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช. มีกิจกรรมด้านการส่งเสริมให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้อันจะเกิดประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประเทศไทยในยุคไทยแลนด์ 4.0 รัฐบาลมีการเสริมสร้างศักยภาพทางอุตสาหกรรมด้านต่าง ๆ เพื่อความคาดหวังให้ประเทศมีความเจริญรุดหน้าด้วยสังคมแห่งการเรียนรู้ และเทคโนโลยีระบบรางคือปัจจัยหลักที่จะเกิดประโยชน์อย่างมากทั้งปัจจุบันและอนาคตต่อการพัฒนาประเทศ จึงได้จัดการบรรยายนี้ขึ้นมา
หัวข้อบรรยาย
1. แผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบรางของประเทศ
2. แผนการพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมระบบขนส่งทางราง
• การดำเนินงานโครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางราง
• กลยุทธ์โปรแกรมการคมนาคมขนส่งระบบราง
• แผนการพัฒนาศูนย์วิจัยระบบราง สวทช
3. เครือข่ายพัฒนาระบบขนส่งทางรางไทย
4. องค์ความรู้พื้นฐานระบบราง
• ประเภทของรถไฟ
• องค์ประกอบระบบราง
• รายการชิ้นส่วนระบบราง
5. ตัวอย่างการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางต่างประเทศ
• สถานะอุตสาหกรรมระบบรางไทยในปัจจุบัน
• กรณีศึกษาสาธารณรัฐประชาชนจีน
• กรณีศึกษาสาธารณรัฐเกาหลี
• กรณีศึกษาสหพันธรัฐมาเลเซีย
• แนวทางการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศ
6. ถามตอบ
วิทยากร
คุณวัฒนา สมานจิตร
ผู้อำนวยการ
โปรแกรมการคมนาคมขนส่งระบบราง
ฝ่าบริหารคลัสเตอร์และโปรแกรมวิจัย
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
และ
วิศวกรอาวุโส งานนโยบายและแผน
โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ค่าลงทะเบียน
พิเศษ!! ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น รับสมัครเพียง 50 ท่าน เท่านั้น
การบรรยายในหัวข้อนี้ ทางผู้จัดขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกผู้เข้าฟังการบรรยาย
เพื่อให้ได้กลุ่มเป้าหมายตรงกับที่คาดหวังไว้ โดยจะทำการแจ้งผลการคัดเลือก
ส่งไปยังอีเมลของท่านภายใน 15 พฤษภาคม 2560
การลงทะเบียน
แผนการพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมระบบขนส่งทางราง
– สำหรับผู้ที่เคยลงทะเบียนไว้แล้ว ให้ใส่ User Name และ Password และทำตามขั้นตอนใน website
– สำหรับผู้ลงทะเบียนที่ยังไม่มี Username และ Password ต้องทำการลงทะเบียนก่อน ในช่อง New Registration
และกรอก First name / Last name / E-mail Address แล้วทำการ submit ให้กรอกข้อมูลส่วนตัวและทำการเลือก Next หลังจากนั้นจะมีอีเมล์แจ้งกลับไปหาท่าน
หมายเหตุ
ผู้จัดขอสงวนสิทธิ์คัดเลือกผู้เข้าฟังบรรยาย และไม่รับลงทะเบียนหน้างาน
กรณีที่ท่านได้รับการคัดเลือกให้เข้าฟังการบรรยาย แล้วไม่สามารถเข้าร่วมได้ ต้องการยกเลิกการสำรองที่นั่ง กรุณาแจ้งยกเลิกมายังผู้จัดทาง email: ponlathw@mtec.or.th ก่อนการอบรมอย่างน้อย 5 วันทำการ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สนใจท่านอื่นได้เข้าฟังการบรรยาย มิฉะนั้น ศูนย์ฯ อาจจะเรียกเก็บค่าเตรียมการสำรองที่นั่งจากท่าน 500 บาท
กรณีการยกเลิกหลักสูตร ผู้จัดงานฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกการจัดหลักสูตร โดยจะติดต่อแจ้งให้ผู้สมัครอบรมทราบ (ภายใน 1 สัปดาห์ก่อนการอบรม)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีวัสดุเพื่ออุตสาหกรรม (คุณพลธร เวณุนันท์)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
โทรศัพท์ 0 2564 6500 ต่อ 4677 โทรสาร 0 2564 6369 E-mail : ponlathw@mtec.or.th