หลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง
“แพ็คแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า”
จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
ศูนย์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ร่วมกับ
สถาบันยานยนต์ อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ
กระทรวงอุตสาหกรรม
วันที่ 31 พฤษภาคม 2560 และวันที่ 24-25 สิงหาคม 2560
สถานที่ ห้องประชุม CO-113 อาคาร สวทช (NSTDA)
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี
หลักการและเหตุผล
อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนเป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่ทำรายได้เป็นอันดับต้นๆให้แก่ประเทศไทยในกว่าสิบปีที่ผ่านมา จากแนวโน้มของโลกที่จะก้าวไปสู่สังคมที่สะอาดมากขึ้น ระบบการขนส่งและการพัฒนาด้านยานยนต์ได้ถูกมีแนวทางที่จะพัฒนาไปสู่ระบบไฟฟ้าเป็นส่วนใหญ่ในอนาคต ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติและศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติร่วมกับสถาบันยานยนต์ เล็งเห็นความสำคัญในการเผยแพร่ความรู้ที่จะช่วยพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้มีองค์ความรู้ด้านยานยนต์ไฟฟ้าสำหรับการสร้างศักยภาพในการพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต จึงได้ทำการจัดอบรมในหัวข้อแพ็คแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ให้แก่ภาคการผลิตและบุคคลทั่วไปที่เกี่ยวข้องและสนใจ
วัตถุประสงค์
เพื่อเผยแพร่ความรู้ผ่านการอบรมภาคทฤษฏีและการสาธิต ในหัวข้อด้านแบตเตอรี่และหน่วยกักเก็บพลังงานอื่นๆที่ใช้สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า องค์ประกอบที่สำคัญ หลักการทำงาน หลักคิดในการออกแบบ และกระบวนการออกแบบแพ็คแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ให้แก่ภาคอุตสาหกรรมที่สนใจและมีโอกาสที่จะนำความรู้ไปต่อยอดสำหรับการผลิตต่อไป
สมบัติของผู้เข้าร่วมอบรม
1. ภาคอุตสาหกรรมที่มีความสนใจด้านการพัฒนาชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า
2. ภาคอุตสาหกรรมที่มีความสนใจด้านการพัฒนาแบตเตอรี่/แพ็คแบตเตอรี่
3. นักวิจัย และวิศวกรจากหน่วยงานภาคการวิจัย
กำหนดการ
วันพุธที่ 31 พฤษภาคม 2560: สัมมนาเรื่อง หน่วยกักเก็บพลังงานสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า
รับสมัครเพียง 100 ท่านเท่านั้น!
08.30-09.00 ลงทะเบียน
09:00-09:30 ยานยนต์ไฟฟ้า/แหล่งพลังงานสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า
09:30-10:15 แบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า
(หลักการทำงาน, คำสำคัญ, คุณลักษณะที่สำคัญ, ประเภทของแบตเตอรี่)
10:15-10:30 พักรับประทานอาหารว่าง
10:30-12:30 แบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (ต่อ)
(กรดตะกั่ว, ลิเทียมไอออน, การชาร์จ/ดิสชาร์จ, voltage profile, state of charge, state of health)
12:30-13:30 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:30-14:45 คาปาซิเตอร์และซุปเปอร์คาปาซิเตอร์
14:45-15:00 พักรับประทานอาหารว่าง
15:00-16:00 การใช้งานร่วมกันของแบตเตอรี่และคาปาซิเตอร์, Hybrid energy system ในยานยนต์ไฟฟ้า
“การอบรมเชิงปฏิบัติการวันที่ 24-25 สิงหาคม 2560 พิจารณาเฉพาะผู้ที่เข้าอบรมในวันที่ 31 พฤษภาคม 2560 จำนวน 20 ท่านเท่านั้น”
วันที่ 24 สิงหาคม 2560: การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การออกแบบแพ็คแบตเตอรี่ ระบบบริหารจัดการพลังงานและการออกแบบโครงสร้าง (ภาคทฤษฎี)
08.30-09.00 ลงทะเบียน
09:00-10:15 ลักษณะและขนาดของยานยนต์ไฟฟ้า การคำนวณหาค่าพลังงานและกำลังไฟฟ้า
10:15-10:30 พักรับประทานอาหารว่าง
10:30-12:00 review คุณสมบัติของแบตเตอรี่ การเลือกชนิดและรูปแบบการเชื่อมต่อทางไฟฟ้าของแบตเตอรี่ ระบบบริหารจัดการพลังงานแบตเตอรี่ ระบบความปลอดภัยทางกล และไฟฟ้า
12:00-13:00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14:30 การออกแบบเชิงวิศวกรรม (ทางกลและทางไฟฟ้า)
14:30-14:45 พักรับประทานอาหารว่าง
15:00-16:30 การผลิตและการประกอบ การประยุกต์การใช้งาน และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
วันที่ 25 สิงหาคม 2560: การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การออกแบบแพ็คแบตเตอรี่ ระบบบริหารจัดการพลังงานและการออกแบบโครงสร้าง (ภาคปฏิบัติ – ทดลองประกอบ submodule และการทดลองออกแบบอุปกรณ์บริหารจัดการพลังงานเช่น circuit balancing, monitoring และ protection circuit, ระบบสื่อสาร)
08.30-09.00 ลงทะเบียน
09:00-10:00 ภาคปฏิบัติทางกลกลุ่มที่ 1/ ภาคปฏิบัติทางไฟฟ้า กลุ่มที่ 2
10:00-10:15 พักรับประทานอาหารว่าง
10:15-12:00 ภาคปฏิบัติทางกลกลุ่มที่ 1/ ภาคปฏิบัติทางไฟฟ้า กลุ่มที่ 2
12:00-13:00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14:45 ภาคปฏิบัติทางกลกลุ่มที่ 2/ ภาคปฏิบัติทางไฟฟ้า กลุ่มที่ 1
14:45-15:00 พักรับประทานอาหารว่าง
15:00-16:00 ภาคปฏิบัติทางกลกลุ่มที่ 2/ ภาคปฏิบัติทางไฟฟ้า กลุ่มที่ 1
วิทยากร
1. ดร.พิมพา ลิ้มทองกุล ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
2. ดร.จิราวรรณ มงคลทรรศ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
3. ดร.ธัญญา แพรวพิพัฒน์ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
4. ดร.วรวริศ กอปรสิริพัฒน์ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
5. ดร.มานพ มาสมทบ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
6. ดร.ธีระ ภัทราพรนันท์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
7. นายภัทรกร รัตนวรรณ์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
8. นายวิเศษ ลายลักษณ์ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
การลงทะเบียน
…ไม่มีค่าใช้จ่าย!!…
*ผู้สนใจเข้าอบรมโปรดลงทะเบียนออนไลน์ และกรอกแบบสอบถาม ส่งกลับมาที่อีเมล boonrkk@mtec.or.th หรือทางโทรสาร 02 564 6369 ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2560
**ผู้จัดงานขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาผู้เข้าอบรม โดยจะแจ้งให้ผู้ลงทะเบียนทราบภายในวันที่ 19 พ.ค. 2560
ดาวน์โหลดแบบสอบถาม (MS.WORD) (PDF)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่
งานพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีวัสดุเพื่ออุตสาหกรรม (คุณบุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์/ คุณพลธร เวณุนันท์ )
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
โทรศัพท์ 0 2564 6500 ต่อ 4675 หรือ 4677 โทรสาร 0 2564 6369
E-mail: boonrkk@mtec.or.th