เอ็มเทค สวทช. จัดการบรรยาย เรื่อง การพัฒนางานโลหะคุณภาพสูงด้วยเทคโนโลยีชุบแข็งสุญญากาศ (High Quality by Vacuum Heat Treatment) ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรม โดยการสนับสนุนจาก สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2560 ณ โรงแรมอมารี วอเตอร์เกต กรุงเทพฯ ภายในงานครั้งนี้ มีการบรรยายเชิงเทคนิคในหัวข้อที่นักอุตสาหกรรมไทย ผู้ประกอบการและผู้เชี่ยวชาญในสาขาเทคโนโลยีการอบชุบและต้องการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถในงานอบชุบ ชุบแข็ง และชุบแข็งผิวโลหะด้วยเทคโนโลยีเตาสุญญากาศ ด้วยวิทยาการผู้มีความเชี่ยวชาญในสายงาน ได้แก่ คุณกืนแท บุช (Günter Busch) และ ดร. โฟลเคอร์ ฮอยเยอร์ (Dr. Volker Heuer) จาก บริษัท เอ แอล ดี แวคคูม เทคโนโลยี ประเทศเยอรมนี (ALD Vacuum Technologies GmbH) ร่วมด้วย ดร. จอห์น เพียร์ส (Dr. John Pearce) อดีตผู้เชี่ยวชาญด้านโลหะวิทยา เอ็มเทค สวทช. ดำเนินการบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ พร้อมการแปลสรุปท้ายการบรรยายแต่ละช่วงโดย คุณธนาภรณ์ โกราษฎร์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการงานพัฒนาเครื่องจักรกลและการแปรรูปปาล์มน้ำมัน เอ็มเทค กิจกรรมในครั้งนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก โดยเอ็มเทค สวทช. และสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คาดหวังว่าประโยชน์ที่ได้รับจากการบรรยายในครั้งนี้จะช่วยกระตุ้นการขยายผลทางด้านเทคโนโลยีสุญญากาศ เทคโนโลยีทางโลหะวิทยา และการพัฒนางานด้านวิศวกรรมโลหการ เพื่อพัฒนางานโลหะคุณภาพสูง รวมทั้งกระตุ้นให้ภาควิชาการหันมาร่วมพัฒนางานวิจัยในสายงานดังกล่าวมากขึ้น
สนใจติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: งานพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีวัสดุเพื่ออุตสาหกรรม 0 2564 6500 ext. 4675, 4677
รายละเอียดการอบรม
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยี เรื่อง
การพัฒนางานโลหะคุณภาพสูงด้วยเทคโนโลยีชุบแข็งสุญญากาศ
(High Quality by Vacuum Heat Treatment)
ภายใต้โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ภาคอุตสาหกรรม
สนับสนุนงบประมาณการจัด โดย
สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
อบรมฟรี ไม่จัดเก็บค่าลงทะเบียน โดยมีเงื่อนไขการสมัครดังนี้
1. รับสมัครเฉพาะผู้ประกอบการและนักวิชาการในสายงาน
2. ขอจำกัดการเข้าอบรมไม่เกินหน่วยงานละ 2 ท่าน
3. ลงทะเบียนทางเว็บไซต์เพื่อสำรองที่นั่งไว้ก่อน และทางผู้จัดจะทำการแจ้งผลว่าได้รับสิทธิ์ให้เข้าร่วมหรือไม่ภายในวันที่ 21 ก.ค. 60 (โปรดนำอีเมลยืนยันมาแสดงในวันอบรมด้วย สามารถ print อีเมลยืนยันมาแสดง หรือ เปิดแสดงจากอีเมลใน Smart Phone ก็ได้)
จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วันที่ 3 สิงหาคม 2560
สถานที่ ห้องวอเตอร์เกต บอลรูม ชั้น6 โรงแรมอมารี วอเตอร์เกต กรุงเทพฯ คลิกดู แผนที่
รูปแบบการอบรม บรรยายเป็นภาษาอังกฤษ และสรุปย่อเป็นภาษาไทยตอนท้ายของแต่ละช่วง
หลักการและเหตุผล
กระบวนการผลิตและปรับปรุงสมบัติของโลหะภายใต้สภาวะสุญญากาศหรือการใช้สุญญากาศ คือกลไกที่สำคัญของการพัฒนาสร้างวัตถุดิบและชิ้นส่วนโลหะที่มีคุณลักษณะและสมรรถนะที่สูงขึ้นและเป็นที่ยอมรับในระดับคุณภาพและมาตรฐานสากลการพัฒนาสร้างระบบสุญญากาศและการผนวกระบบสุญญากาศเข้าเป็นส่วนหนึ่งในสายการผลิตเป็นอีกหัวใจสำคัญในสายงานวิศวกรรมโลหการที่จะทำให้เกิดผลลัพธ์อันเป็นเลิศตรงตามวัตถุประสงค์ของงาน
ภาพที่ 1. แม่พิมพ์ (die) ส่วนสำคัญในกระบวนการผลิตขึ้นรูปโลหะที่จำเป็นต้องผ่านกระบวนการชุบแข็งหรือการอบชุบอย่างมีประสิทธิภาพ และกระบวนการที่มีประสิทธิภาพสูงคือกระบวนการภายใต้สภาวะสุญญากาศ
เริ่มต้นจากกระบวนการผลิตโลหะในระดับวัตถุดิบ โลหะเหลวที่มีความสะอาดปราศจากการปนเปื้อนจากสารประกอบต่าง ๆ การทำความสะอาดด้วยกระบวนการทางเคมีจะเกิดผลพียงส่วนหนึ่ง การกำจัดแก๊สที่ตกค้างด้วยเครื่องมือที่ใช้ระบบสุญญากาศจะช่วยในการดึงสิ่งปนเปื้อนออก ทำให้ช่วยเพิ่มมูลค่าของผลผลิตได้อย่างมาก ในกระบวนขึ้นรูปเช่นกัน เนื่องจากโลหะเป็นธาตุที่ไวต่อการเกิดปฏิกิริยากับแก๊สชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะบรรยากาศปกติภายใต้อุณหภูมิที่สูงขึ้นยิ่งเป็นการเร่งให้เกิดปฏิกิริยาที่รวดเร็วขึ้น การใช้บรรยากาศของแก๊สเฉื่อยสามารถลดปัญหาดังกล่าวได้ในระดับหนึ่ง แต่การดำเนินการในสภาวะที่เริ่มต้นจากการไม่มีแก๊สใด ๆ อยู่เลย ช่วยให้เกิดผลดียิ่งขึ้น กระบวนการทางฟิสิกส์ ปฏิกิริยาทางเคมี ที่ควบคุมได้ภายใต้แรงดันที่กำหนดขึ้นใหม่พร้อมด้วยอุณหภูมิของแก๊สที่ควบคุมได้ทั้งหมด ช่วยให้การแพร่ของอะตอม การเคลื่อนที่ของไอออน และการแต่ตัวของโมเลกุล เป็นไปได้โดยสอดคล้องความต้องการมากที่สุด
ในเชิงรูปธรรม เตาอบสุญญากาศที่ได้ประสิทธิภาพ คืออุปกรณ์และเครื่องจักรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งและเป็นที่ต้องการในอุตสาหกรรมด้านต่าง ๆ ได้แก่ การผลิตโลหะ การออกแบบและผลิตแม่พิมพ์ การหล่อต่อเนื่องเพื่อผลิตเหล็กคุณภาพสูงในอุตสาหกรรมก่อสร้างและอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตและขึ้นรูปโลหะผง อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ การพัฒนาวัสดุเพื่องานด้านการแพทย์และทันตกรรม เป็นต้น
นอกจากกระบวนการสร้างสภาวะสุญญากาศที่เป็นหัวใจสำคัญของเครื่องจักรและอุปกรณ์ กลไกการทำงานเพื่อเสริมให้เครื่องจักรและอุปกรณ์สุญญากาศสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการผลิต การทำวิจัยและพัฒนาได้อย่างเหมาะสม และตรงตามความต้องการของผู้ใช้มากที่สุดคือส่วนที่กระบวนการออกแบบและวิศวกรรมมีการพัฒนามาควบคู่กันในปัจจุบัน
ภาพที่ 2. อุปกรณ์กลุ่มเตาสุญญากาศ จัดเป็นเครื่องมือที่จำเป็นในกระบวนการด้านโลหะวิทยาในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย ซึ่งคุณภาพและประสิทธิภาพของระบบสุญญากาศเตา คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้กระบวนการทางโลหะวิทยาได้ทำงานสมบูรณ์ตามที่ต้องการ
ภาพที่ 3. การทำให้เหล็กมีความสะอาด ปราศจากการปนเปื้อนของแก๊สที่มีผลต่อคุณภาพเหล็ก (vacuum degassing) คือกระบวนการที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งในขั้นตอนการผลิตเหล็กกล้ารูปพรรณ เหล็กกล้าทรงยาวและทรงแบน (steel making processes)ซึ่งกระบวนการสุญญากาศส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการควบคุมคุณภาพในขั้นตอนการหลอม (re-melting process)
กรอบเนื้อหาการบรรยาย
การบรรยายแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก จากวิทยากรที่นำเสนอเนื้อหาที่ลงลึกเชิงทฤษฎีที่แตกต่างกัน ได้แก่ การนำเสนอภาพรวมของอุตสาหกรรมและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสุญญาการเพื่อกระบวนการผลิตเหล็ก เป็นหลัก และกระบวนการทางโลหะวิทยาอื่น ๆ ในเชิงแง่มุมการนำเสนอและส่งเสริมเทคโนโลยี โดย คุณกืนแท บุช (Mr. Günter Busch)หัวหน้าศูนย์ตัวแทน บริษัท เอ แอล ดี ประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถัดมาคือส่วนที่เป็นพื้นฐานทางเทคโนโลยีโลหะวิทยาเชิงลึกที่จำเป็นต้องเข้าใจเพื่อใช้เป็นทฤษฎีขั้นต้น โดยเน้นทฤษฎีทางโลหะวิทยาการเปลี่ยนแปลงเฟสสำหรับการกำหนดคุณสมบัติของงานชุบแข็งเหล็กกล้า โดย ดร. จอห์น เพียส (Dr. John Pearce) ผู้เชี่ยวชาญสมาคมอุตสาหกรรมหล่อโลหะไทย (Thaifoundry Associate)อดีตอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเบอมิงแฮม (University of Birmingham) และนักวิจัยสาขาโลหะในสายการผลิตชิ้นส่วนยายนต์หลายแห่งในประเทศอังกฤษ และผู้เชี่ยวชาญอาวุโสประจำศูนย์เทคโนโลยีโลหะวัสดุแห่งชาติ ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้เชี่ยวชาญอิสระในกิจกรรมที่ปรึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาในงานวิจัยด้านการผลิตเหล็กหล่อให้กับหน่วยงานต่าง ๆ
และส่วนสุดท้ายเป็นการนำเสนอข้อมูลเชิงปฏิบัติที่คัดกรองจากประสบการณ์ของบุคลากรจาก บริษัท เอ แอล ดี ประเทศเยอรมนี โดยเป็นการนำเสนอแบบเจาะจงลงในเรื่องการชุบแข็งด้วยเทคโนโลยีสุญญากาศ อันเป็นหัวข้อของการจัดกิจกรรมการบรรยายในครั้งนี้ ซึ่งนำเสนอโดยนักวิชาการผู้แทนจาก บริษัท เอ แอล ดี ประเทศเยอรมนี
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีสุญญากาศที่ประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเน้นอุตสาหกรรมชุบแข็งโลหะ เป็นหลัก และเพื่อเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เป็นประสบการณ์การทำงานตรงในสายงานโดยผู้เชี่ยวชาญจาก บริษัทฯ ที่มีความเชี่ยวชาญโดยตรงในสายงานโลหะวิทยาที่มีประสบการณ์และข้อมูลเชิงปฏิบัติและนำมาประมวลเป็นการนำเสนอที่จะเกิดประโยชน์อย่างมากต่อเพื่อผู้รับการถ่ายทอดได้นำไปใช้และสร้างผลกระทบต่อการพัฒนาผลงานอย่างเป็นรูปธรรมในภาคอุตสาหกรรม
วิทยากร
1. คุณ กืนแท บุช (Mr. Günter Busch) จากประเทศเยอรมนี
หัวหน้าศูนย์ตัวแทน บริษัท เอ แอล ดี ประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เชี่ยวชาญด้านระบบสุญญากาศ
2. ดร. จอห์น เพียร์ส (Dr. John Pearce) จากประเทศอังกฤษ
อดีตอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเบอมิงแฮม (University of Birmingham)
และนักวิจัยสาขาโลหะในสายการผลิตชิ้นส่วนยายนต์หลายแห่งในประเทศอังกฤษ
และอดีตผู้เชี่ยวชาญอาวุโสประจำศูนย์เทคโนโลยีโลหะวัสดุแห่งชาติ
- ดร. ฮอยเยอร์ โฟลเคอร์ (Dr. Heuer Volker) จากประเทศเยอรมันนี
ผู้เชี่ยวชาญ ผู้แทนจาก บริษัท เอ แอล ดี
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีชุบแข็ง หรือการอบชุบโลหะ (heat treatment) เป็นกลุ่มหลัก
ร่วมด้วย ผู้ประกอบการในเทคโนโลยีการเคลือบผิวโลหะ (surface coating) เทคโนโลยีโลหะผง (powder metallurgy) และเทคโนโลยีการผลิตโลหะกระบวนการหล่อแบบต่อเนื่อง (melt shop/ continuous casting)ภายในประเทศ จากนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นกลุ่มที่สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้งานได้เช่นกัน
จำนวนรวมกันทั้งสิ้น 100 คน
กำหนดการและหัวข้อการอบรม
เวลา | หัวข้อบรรยาย |
9.00-9.10 |
|
9.10-10.15 |
โดยวิทยากร คุณกืนแท บุช บริษัท เอ แอล ดี ประเทศเยอรมนี |
10.15-10.25 | พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม |
10.25-12.15 |
โดยวิทยา ดร. จอห์น เพียร์ส
โดยวิทยากร ดร. ฮอยเยอร์ โฟลเคอร์ บริษัท เอ แอล ดี ประเทศเยอรมนี |
12.15-13.30 | รับประทานอาหารกลางวัน |
13.30-14.15 |
โดยวิทยากร ดร. ฮอยเยอร์ โฟลเคอร์ บริษัท เอ แอล ดี ประเทศเยอรมนี |
14.15-14.25 | พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม |
14.25-16.15 |
โดยวิทยากร ดร. ฮอยเยอร์ โฟลเคอร์ บริษัท เอ แอล ดี ประเทศเยอรมนี (แทรกเวลาอาหารว่างและเครื่องดื่ม 10-15 นาทีในระหว่างช่วงการบรรยาย) |
16.15-16.45 | ถาม/ตอบ |
หมายเหตุ
ดำเนินการบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ การแปลสรุปเป็นภาษาไทยจะดำเนินในช่วงท้ายของแต่ละช่วงเวลาในการบรรยาย ได้แก่ ช่วงก่อนพักรับประทานอาหารว่าง และช่วงก่อนการถาม / ตอบของวิทยากรแต่ละท่าน
การลงทะเบียน
ฟรี ไม่จัดเก็บค่าลงทะเบียน
โดยมีเงื่อนไขการรับสมัคร คือ
1. รับสมัครเฉพาะผู้ประกอบการและนักวิชาการในสายงาน
2. ขอจำกัดการเข้าไม่เกินหน่วยงานละ 2 ท่าน
3. ลงทะเบียนทางเว็บไซต์เพื่อสำรองที่นั่งไว้ก่อน และทางผู้จัดจะทำการแจ้งผลว่าได้รับสิทธิ์ให้เข้าร่วมหรือไม่ภายในวันที่ 21 ก.ค. 60 (โปรดนำอีเมลยืนยันมาแสดงในวันอบรมด้วย สามารถ print อีเมลยืนยันมาแสดง หรือ เปิดแสดงจากอีเมลใน Smart Phone ก็ได้)
สมัครและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานพัฒนากำลังคนด้านวัสดุศาสตร์ (คุณพลธร)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
โทรศัพท์ 0 2564 6500 ต่อ 4677 โทรสาร 0 2564 6369
E-mail: ponlathw@mtec.or.th