เทคโนโลยีกักเก็บพลังงานสำหรับระบบไฟฟ้าและพลังงานทดแทน
จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วันพุธที่ 21 มีนาคม 2561
เวลา 13:00 – 16:00 น.
สถานที่: ห้อง MR211-213 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ
ภายใน งานมหกรรมพลังงานเทคโนโลยีที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย (SETA 2018)
หลักการและเหตุผล
จากแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก และแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยปี 2558-2579 จัดทำโดยกระทรวงพลังงาน ที่มีเป้าหมายให้พลังงานทดแทนมีสัดส่วน 20% ภายในปี 2579 ส่งผลให้ในช่วงที่ผ่านมา มีการเพิ่มขึ้นของกำลังการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานสะอาดเช่น พลังงานทดแทนเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก การเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญของพลังงานทดแทน เช่นพลังงานแสงอาทิตย์ หรือพลังงานลมเหล่านี้แม้จะเป็นพลังงานสะอาด และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หากอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อเสถียรภาพและความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า เนื่องจากแหล่งพลังงานเหล่านี้มีความไม่แน่นอน ไม่สามารถพยากรณ์ หรือควบคุมได้ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันผลกระทบที่เกิดขึ้นของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนต่อระบบไฟฟ้าแบบโครงข่ายขนาดใหญ่จะยังไม่เห็นปัญหาชัดเจนมากนัก แต่การเพิ่มขึ้นนี้ส่งผลให้การไฟฟ้า ต้องทำการเพิ่มกำลังไฟฟ้าสำรอง โดยการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนเพิ่มเติม หรือจำกัดกำลังการติดตั้งสูงสุดของหน่วยผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนที่ติดตั้งได้ ซึ่งเป็นการจำกัดการเติบโตของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือกที่เป็นพลังงานสะอาด ระบบกักเก็บพลังงานเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่มีเป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาดังกล่าว
หน่วยวิจัยวัสดุเพื่อพลังงาน ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เล็งเห็นความสำคัญในการเผยแพร่ความรู้ที่จะช่วยพัฒนาภาคส่วนต่างๆให้มีองค์ความรู้ด้านหน่วยกักเก็บพลังงานที่อาจจะมีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้นในอนาคต จึงได้ทำการจัดอบรมในหัวข้อเทคโนโลยีกักเก็บพลังงานสำหรับระบบไฟฟ้าและพลังงานทดแทน ให้แก่ภาครัฐ ภาคเอกชนและบุคคลทั่วไปที่เกี่ยวข้องและสนใจ
วัตถุประสงค์
เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านเทคโนโลยีกักเก็บพลังงาน ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยีที่เป็นแบตเตอรี่และไม่ใช่แบตเตอรี่ องค์ประกอบที่สำคัญ หลักการทำงาน ตัวอย่างการใช้งานประเภทต่างๆ สำหรับระบบไฟฟ้าและพลังงานทดแทน
ผู้เข้าร่วมอบรม
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมและธุรกิจเทคโนโลยีกักเก็บพลังงาน ทั้งระดับผู้บริหาร ช่างเทคนิค วิศวกร บุคคลากรด้านการศึกษาทางวิศวกรรมและเทคโนโลยี ตลอดจนบุคคลทั่วไปที่สนใจ
วิทยากร
ดร.พิมพา ลิ้มทองกุล
นักวิจัยอาวุโส และหัวหน้าห้องปฏิบัติการวัสดุและงานระบบเพื่อใช้ประโยชน์ทางพลังงานไฟฟ้าเคมี
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
ค่าลงทะเบียน
1,000 บาท/ท่าน (รวม VAT 7%) *** หากลงทะเบียนและชำระเงินภายในวันที่ 7 มีนาคม 2561 ได้ส่วนลด 20% เหลือ 800 บาท/ท่าน (รวม VAT 7%)
การลงทะเบียน
**เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่นั่งในการอบรมเต็ม โปรดทำการลงทะเบียนตามช่องทางดังกล่าว เพื่อสำรองที่นั่งเอาไว้ก่อน และดำเนินการโอนเงินค่าลงทะเบียนในภายหลัง**
การชำระค่าลงทะเบียน (ดำเนินการแล้วเสร็จ ภายในวันที่ 19 มี.ค. 61 เท่านั้น)
โอนเงินเข้าบัญชี ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์ สาขาย่อยอุทยานวิทยาศาสตร์ เลขที่บัญชี 080-0-00084-6
กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินพร้อมระบุชื่อ หน่วยงาน มาทางอีเมล boonrkk@mtec.or.th
หมายเหตุ
1. ผู้จัดขอสงวนสิทธิ์ให้ผู้ที่สำรองที่นั่งมา ได้รับสิทธิ์เข้าร่วมก่อนเท่านั้น และไม่รับลงทะเบียนหน้างาน
2. กรณีการยกเลิกสำรองที่นั่ง เมื่อท่านสำรองที่นั่งแต่ไม่สามารถเข้าร่วมอบรมได้ กรุณาแจ้งยกเลิกมายังผู้จัดทาง email: boonrkk@mtec.or.th ก่อนการอบรมอย่างน้อย 5 วันทำการ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สนใจท่านอื่นได้เข้ารับการอบรม มิฉะนั้น ศูนย์ฯ จะเรียกเก็บค่าเตรียมการสำรองที่นั่งจากท่าน 1000 บาท
3. กรณีการยกเลิกหลักสูตร ผู้จัดงานฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกการจัดหลักสูตร โดยจะติดต่อแจ้งให้ผู้สมัครอบรมทราบ (ภายใน 1 สัปดาห์ก่อนการอบรม)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีวัสดุเพื่ออุตสาหกรรม (คุณบุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์/คุณพลธร เวณุนันท์)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
โทรศัพท์ 0 2564 6500 ต่อ 4675, 4677 โทรสาร 0 2564 6339
E-mail : boonrkk@mtec.or.th