การอบรมเชิงปฏิบัติการเทคโนโลยีการออกสูตรเคมียาง
(Workshop on Rubber Compounding Technology)
จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับ
เครือข่ายนวัตกรรมยางพารา
(การยางแห่งประเทศไทย (กยท.),
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.),
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)
และ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
วันที่ 24-26 เมษายน 2561
สถานที่อบรม: ฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาง การยางแห่งประเทศไทย
เลขที่ 50 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ
หลักการและเหตุผล
เป็นที่ทราบกันดีว่ายางดิบมีขีดจำกัดในการใช้งานเนื่องจากมีสมบัติเชิงกลต่ำและมีลักษณะทางกายภาพที่ไม่เสถียร นอกจากนี้ สมบัติต่าง ๆ ของยางดิบยังแปรผันตามการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิได้ง่าย ดังนั้น การใช้ประโยชน์จากยางจึงจำเป็นต้องมีการผสมยางกับสารเคมีต่าง ๆ ซึ่งยางผสมที่ได้เรียกว่ายางคอมพาวด์ (rubber compound) พร้อมทั้งจำเป็นต้องทำการขึ้นรูปยางคอมพาวด์ในแม่พิมพ์ภายใต้ความร้อนและความดันซึ่งเรียกว่ากระบวนการคงรูปยางหรือกระบวนการวัลคาไนซ์เซชั่น (vulcanization) เพื่อเปลี่ยนยางจากยางคอมพาวด์ให้เป็นยางคงรูปซึ่งมีสมบัติที่เสถียรไม่เปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิมากนักรวมถึงมีสมบัติเชิงกลดีขึ้น
การออกแบบปริมาณและขั้นตอนการผสมยางกับสารเคมีต่าง ๆ เรียกว่าการออกสูตรเคมียางเป็นหัวใจสำคัญที่มีผลต่อสมบัติหรือคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ซึ่งในการออกสูตรเคมียางนั้น นอกจากผู้ออกสูตรจะต้องเลือกชนิดของยางให้ถูกต้องเหมาะสมกับการใช้งานแล้ว ยังจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับสมบัติและหน้าที่ของสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบ ตลอดจนลำดับขั้นตอนของการผสมเคมียางเป็นอย่างดีด้วย เพราะแม้ว่าผู้ออกสูตรจะเลือกใช้ชนิดของยางได้อย่างถูกต้อง แต่หากมีการเลือกใช้สารเคมีผิดชนิดหรือผิดกลุ่มหรืออาจเติมสารเคมีเหล่านั้นลงไปในปริมาณหรือในลำดับที่ไม่เหมาะสมก็อาจส่งผลทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีสมบัติที่ไม่ตรงตามความต้องการ โดยทั่วไป การออกสูตรเคมียางที่ดีนั้นนอกจากจะต้องทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ยางที่มีคุณภาพสูงแล้ว ยังจำเป็นต้องทำให้ต้นทุนในการผลิตต่ำเพียงพอที่จะสามารถแข่งขันในตลาดได้ ด้วยเหตุนี้ ในการออกสูตรการผสมเคมียางผู้ผลิตจึงจำเป็นต้องพิจารณาถึงเรื่องราคาของสารเคมีแต่ละชนิดที่จะนำมาใช้ในการผลิต ยิ่งไปกว่านั้น การออกสูตรเคมียางยังจำเป็นต้องคำนึงถึงกรรมวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์ด้วย เนื่องจาก ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดอาจมีขั้นตอนกระบวนการผลิตที่แตกต่างกันซึ่งสมบัติของยางคอมพาวด์ที่เหมาะสมต่อกระบวนการผลิตแต่ละประเภทนั้นก็อาจแตกต่างกันตามไปด้วย
นอกจากการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยาง สารเคมียาง และ การออกสูตรเคมียางที่ดีแล้วทักษะความชำนาญของผู้ปฏิบัติการในขั้นตอนต่าง ๆ ของกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ยางยังส่งผลอย่างมากต่อความสมบูรณ์ทางกายภาพหรือลักษณะรวมถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างความยั่งยืนในการพัฒนาคุณภาพและผลิตภาพของผลิตภัณฑ์ ผู้ปฏิบัติการจึงควรได้รับการส่งเสริมทักษะเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับเทคโนโลยีการออกสูตรเคมียางเพื่อให้สามารถผลิตยางคอมพาวด์ที่มีสมบัติต่าง ๆ ตรงตามความต้องการในการใช้งานได้มากที่สุด
วัตถุประสงค์
เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านเทคโนโลยีการออกสูตรเคมียางแก่บุคลากรหรือผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางให้สามารถนำความรู้และทักษะที่ได้ไปปรับใช้ในการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการผลิตรวมถึงการพัฒนาคุณภาพและผลิตภาพของผลิตภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสม
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง บุคลากรฝ่ายวิจัยและพัฒนาหรือสายการผลิต ที่มีพื้นฐานความรู้หรือประสบการณ์เกี่ยวกับยาง สารเคมียาง กระบวนการผลิต และ ทดสอบยาง
จำนวนผู้เข้าอบรม
รับจำนวนจำกัด 20 ท่านเท่านั้น
ลักษณะการอบรม
อบรมภาคทฤษฎี และ ภาคปฏิบัติ
เนื้อหาหลักสูตร
ภาคทฤษฎี
- เทคโนโลยียาง: ชนิด สมบัติและการใช้งาน
- การใช้งานยางรีไซเคิล
- สารเคมียางและเทคโนโลยีการผสมยาง
- เทคโนโลยีการทดสอบสมบัติของยางในภาคอุตสาหกรรม
- เทคโนโลยีการออกสูตรเคมียาง
ภาคปฏิบัติ
- แบบฝึกหัดการออกสูตรเคมียางตามโจทย์ที่กำหนด (สำหรับผลิตภัณฑ์ยางที่ต้องการสมบัติเด่นในด้าน ความกระเด้งกระดอน, ความต้านทานต่อแรงดึง, ความต้านทานต่อการชัดถู, การสะสมความร้อนต่ำ เป็นต้น)
- การคำนวณและเตรียมสารเคมียางสำหรับการผสม
- การผสมเคมียางหรือการเตรียมยางคอมพาวด์
- การทดสอบสมบัติต่าง ๆ ของยางคอมพาวด์ ได้แก่ ความหนืดมูนนี่ และ ลักษณะการคงรูปของยาง
- การขึ้นรูปและคงรูปยาง
- การเตรียมชิ้นทดสอบและการทดสอบสมบัติต่าง ๆ ของยางคงรูป
- สรุป-วิเคราะห์ผล ตามโจทย์ที่ได้รับ และ ถาม-ตอบ
วิทยากร
- ดร. วราภรณ์ ขจรไชยกูล การยางแห่งประเทศไทย (กยท.)
- คุณ นพดล ทองเลี่ยมนาค การยางแห่งประเทศไทย (กยท.)
- คุณ ราตรี สีสุข การยางแห่งประเทศไทย (กยท.)
- คุณ สุมนา แจ่มเหมือน การยางแห่งประเทศไทย (กยท.)
- คุณสุภาพร เกิดศิริ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.)
- ดร.บัญชา ชุณหสวัสดิกุล สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.)
- ดร. ซิตีไซยีดะห์ สายวารี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.)
- ดร. พงษ์ธร แซ่อุย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
- ดร. ภุชงค์ ทับทอง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
- น.ส. กรรณิกา หัตถะปะนิตย์ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
กำหนดการและหัวข้อบรรยาย
วันที่ 24 – 26 เมษายน 2561
เวลา | กิจกรรม |
วันที่ 24 เมษายน 2561 | |
8:30-9:00 | ลงทะเบียน |
ภาคทฤษฎี | |
9:00-10:30 | เทคโนโลยียาง: ชนิด สมบัติและการใช้งาน (ดร.วราภรณ์ ขจรไชกูล – กยท.) |
10:30-10:45 | รับประทานอาหารว่าง |
10:45-12:15 | สารเคมียาง (ดร. ภุชงค์ ทับทอง – MTEC) |
12:15-13:00 | รับประทานอาหารกลางวัน |
13:00-14:00 14:00 – 15:00 | เทคโนโลยีการผสมยาง (ดร. ภุชงค์ ทับทอง – MTEC) การใช้ประโยชน์จากยางรีไซเคิล (ดร.ซิตีไซยีดะห์ สายวารี – มอ.ปัตตานี) |
15:00 – 15:15 15:15 – 16:15 | รับประทานอาหารว่าง เทคโนโลยีกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง (ดร.บัญชา ชุณหสวัสดิกุล – สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) |
วันที่ 25 เมษายน 2561 | |
8:30-9:00 | ลงทะเบียน |
ภาคทฤษฎี(ต่อ) | |
9:00-10:30 | เทคโนโลยีการออกสูตรเคมียาง (น.ส.กรรณิกา หัตถะปะนิตย์ – MTEC) |
10:30-10:45 | รับประทานอาหารว่าง |
ภาคปฏิบัติ | |
10:45-12:15 | แบบฝึกหัดการออกสูตรเคมียาง (ทีมวิทยากรจาก MTEC) (แบ่งเป็นกลุ่มย่อย เพื่อปรับปรุงสมบัติของยางตามโจทย์ที่กำหนด) |
12:15-13:00 | รับประทานอาหารกลางวัน |
13:00-14:30 | การคำนวณและเตรียมสารเคมียางสำหรับการผสม (ทีมวิทยากรจาก MTEC) (แบ่งเป็นกลุ่มย่อย) |
14:30-14:45 | รับประทานอาหารว่าง |
14:45-16:45 | การผสมเคมียางหรือการเตรียมยางคอมพาวด์ (ทีมวิทยากรจาก MTEC และ กยท.) (แบ่งเป็นกลุ่มย่อย) |
วันที่ 26 เมษายน 2561 | |
8:30-9:00 | ลงทะเบียน |
ภาคปฏิบัติ(ต่อ) | |
9:00-10:30 | การขึ้นรูปและคงรูปยาง (ทีมวิทยากรจาก MTEC และ กยท.) (แบ่งเป็นกลุ่มย่อย) |
10:30-10:45 | รับประทานอาหารว่าง |
10:45-12:15 | สาธิตการทำงานของเครื่องทดสอบ (Mooney, MDR, Hardness, Tensile, Abrasion, Resilience, Heat build-up) (ทีมวิทยากรจาก MTEC และ กยท.) (แบ่งเป็นกลุ่มย่อย) |
12:15-13:00 | รับประทานอาหารกลางวัน |
13:00-15:00 | การเตรียมชิ้นทดสอบและการทดสอบสมบัติของยางคงรูป (ทีมวิทยากรจาก MTEC และ กยท.) (แบ่งเป็นกลุ่มย่อย) |
15:00-15:15 | รับประทานอาหารว่าง |
15:15-16:45 | สรุป-วิเคราะห์ผล ตามโจทย์ที่ได้รับ และ ถาม-ตอบ (ทีมวิทยากรจาก MTEC) |
ค่าลงทะเบียน
ราคา 5,000 บาท/ท่าน (ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
**รับสมัครจำนวน 20ท่าน เท่านั้น**
**โปรดชำระค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 19 เมษายน 2561 เท่านั้น**
หมายเหตุ
– อัตราค่าลงทะเบียนรวมค่าอาหารว่าง อาหารกลางวัน เอกสารประกอบการอบรม และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
– ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%
**เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่นั่งในการอบรมเต็ม โปรดทำการลงทะเบียนตามช่องทางดังกล่าวเพื่อสำรองที่นั่งเอาไว้ก่อน แล้วค่อยดำเนินการโอนเงินชำระค่าลงทะเบียนในภายหลัง**
การชำระค่าลงทะเบียน
· โอนเงินเข้าบัญชี ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์ สาขาย่อยอุทยานวิทยาศาสตร์ เลขที่บัญชี 080-0-000846 ก่อนวันที่ 19 เม.ย. 61 เท่านั้น (กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินพร้อมระบุชื่อ, หน่วยงาน และหลักสูตรที่สมัครมาทางอีเมล ponlathw@mtec.or.th หรือ โทรสาร 0 2564 6369)
· ชำระโดยบัตรเครดิต ทางหน้าเว็บไซต์ลงทะเบียนนี้ โดยใช้ตัวเลือกการชำระทางบัตรเครดิต ระบบจะนำท่านสู่หน้าเว็บการชำระเงินของทางธนาคาร เมื่อชำระสำเร็จ กรุณาสั่งพิมพ์หลักฐานการชำระเก็บไว้ โดยทางเจ้าหน้าที่เอ็มเทคจะติดต่อกลับไปยังท่านเพื่อยืนยันและประสานงานออกใบเสร็จให้ท่าน
· เช็ค สั่งจ่าย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์ สาขาย่อยอุทยานวิทยาศาสตร์ เลขที่บัญชี 080-0-000846 โดยนำส่งเช็คให้เอ็มเทคก่อนวันที่ 19 เม.ย. 61 เท่านั้น
สมัครและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีวัสดุเพื่ออุตสาหกรรม
(คุณพลธร เวณุนันท์ / คุณบุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์)
โทรศัพท์ 025646500ต่อ 4677
E-mail : ponlathw@mtec.or.th