การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง
การวิเคราะห์ผิวหน้าแตกหักโลหะ
(Workshop on Fractography of Metals)
หลักการและเหตุผล
เมื่อชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ทางวิศวกรรมได้รับความเสียหายจากการกระทำของแรงทางกลจนนำไปสู่การแตกหัก การศึกษาผิวหน้าแตกหัก (Fractography) จึงเป็นอีกศาสตร์หนึ่งที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ความเสียหายของชิ้นส่วนร่วมกับศาสตร์อื่นๆ เนื่องจากผิวหน้าแตกหักของชิ้นงานมีประโยชน์อย่างมากสำหรับนักวิเคราะห์ความเสียหาย โดยบนผิวหน้าแตกหักมีรายละเอียดมากมายที่สามารถบ่งบอกถึงสาเหตุของการเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นจุดเริ่มต้น ทิศทางการขยายตัวของรอยแตก ระยะเวลา แรงและทิศทางที่กระทำกับชิ้นงาน และจากข้อมูลที่ได้มีการรวบรวมกันไว้ในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันพบว่าการแตกหักเสียหายจากการล้า (Fatigue Failure) เป็นรูปแบบการเสียหายที่เกิดขึ้นกับเครื่องจักรกลและโครงสร้างต่างๆ ประมาณ 80-90 เปอร์เซ็นต์ของการเสียหายจากการแรงทางกล ดังนั้นผิวหน้าแตกหักจากการล้าจึงเป็นหัวข้อที่น่าศึกษาอย่างยิ่ง
หลักสูตรการอบรมนี้ได้การออกแบบมาเพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้เกิดความเข้าใจเชิงปฏิบัติเกี่ยวกับศาสตร์ของการวิเคราะห์ผิวหน้าแตกหัก ผ่านการบรรยายทางทฤษฎีและกรณีตัวอย่างจากอุตสาหกรรมต่างๆ โดยทีมวิทยากรที่มีประสบการณ์ตรงมากกว่า 15 ปี และมีภาคปฏิบัติเพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริง
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนามีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเสียหายของโลหะที่มีการแตกหักเกิดขึ้น
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาทราบความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุและผลกระทบที่สำคัญของการแตกหักของโลหะ
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะผิวหน้าแตกหักกับสาเหตุการแตกหักของโลหะ
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาทราบแนวทางในการวิเคราะห์ผิวหน้าแตกหักตามหลักปฏิบัติที่เป็นสากล
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาสามารถแยกแยะรูปแบบผิวหน้าแตกหักจากลักษณะที่ปรากฏบนผิวหน้าแตกหัก
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาสามารถถ่ายทอดความรู้ที่ได้ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องภายในองค์กรได้
รูปแบบกิจกรรม
อบรมภาคทฤษฏีเชิงประยุกต์
คุณสมบัติของผู้สมัครเข้ารับการอบรม
– ผู้ที่มีความรู้พื้นฐานด้านวิศวกรรมวัสดุ เครื่องกล โลหการ ที่หรือสาขาที่ใกล้เคียง
– ผู้ที่ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมต่างๆ และผู้ที่สนใจทั่วไป
วิทยากร
อ. สยาม แก้วคำไสย์
วิศวกรอาวุโส,
ทีมวิจัยการวิเคราะห์ความเสียหายและเทคโนโลยีการกัดกร่อน,
กลุ่มวิจัยโลหะและกระบวนการผลิต, เอ็มเทค
M. Eng (Metallurgical Engineering)
อ. โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว
วิศวกรอาวุโส,
ทีมวิจัยการวิเคราะห์ความเสียหายและเทคโนโลยีการกัดกร่อน,
กลุ่มวิจัยโลหะและกระบวนการผลิต, เอ็มเทค
M. Eng (Metallurgical Engineering)
อ. นิรุช บุญชู
วิศวกรอาวุโส,
ทีมวิจัยการวิเคราะห์ความเสียหายและเทคโนโลยีการกัดกร่อน,
กลุ่มวิจัยโลหะและกระบวนการผลิต, เอ็มเทค
M. Eng (Metallurgical Engineering)
อ. ศิริวรรณ อ่วมปาน
วิศวกรอาวุโส,
ทีมวิจัยการวิเคราะห์ความเสียหายและเทคโนโลยีการกัดกร่อน,
กลุ่มวิจัยโลหะและกระบวนการผลิต, เอ็มเทค
B. Eng (Metallurgical Engineering)
อ. วิษณุพงษ์ คนแรง
วิศวกรอาวุโส,
ทีมวิจัยการวิเคราะห์ความเสียหายและเทคโนโลยีการกัดกร่อน,
กลุ่มวิจัยโลหะและกระบวนการผลิต, เอ็มเทค
B. Eng (Metallurgical Engineering)
กำหนดการและหัวข้อการอบรม
วันอังคาร ที่ 13 สิงหาคม 2562
วิทยากร อ.สยาม แก้วคำไสย์
08:00 น. – 08:30 น. ลงทะเบียน
08:30 น. – 08:45 น. พิธีเปิดการสัมมนา (แจ้งกำหนดการ แนะนำวิทยากรและผู้เข้าร่วมสัมมนา)
08:45 น. – 09:00 น. การเสียหายของชิ้นส่วนทางวิศวกรรม
09:00 น. – 10:30 น. การวิเคราะห์ผิวหน้าแตกหัก (Fractography)
– การแตกหักและการวิเคราะห์ผิวหน้าแตกหัก
– ประวัติความเป็นมา
– การดูแลรักษาผิวหน้าแตกหัก
– การตัดผิวหน้าแตกหัก
– การถ่ายภาพผิวหน้าแตกหักแบบมหภาค
– การทำความสะอาดผิวหน้าแตกหัก
– การถ่ายภาพผิวหน้าแตกหักแบบจุลภาค
10:30 น. – 10:45 น. พักรับประทานอาหารว่าง เครื่องดื่ม และพบปะพูดคุยกัน
10:45 น. – 12:00 น. การวิเคราะห์ผิวหน้าแตกหัก (Fractography)
– รูปแบบการแตกหักและลักษณะทางมหภาคของผิวหน้าแตกหัก (Ductile & Brittle)
– กลไกการแตกหักและลักษณะทางจุลภาคของผิวหน้าแตกหัก
– การระบุจุดเริ่มต้นรอยแตก ด้วย Chevron mark, Radial mark, River mark,
และ beach mark
12:00 น. – 13:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 น. – 14:30 น. ภาคปฏิบัติการศึกษาผิวหน้าแตกหัก
– การศึกษาผิวหน้าแตกหักระดับมหภาค
– การวิเคราะห์ผิวหน้าแตกหักระดับจุลภาคด้วย SEM (Hands on SEM Workshop)
(อ.โฆษิต, อ.วิษณุพงษ์, อ.ศิริววรณ, อ.สยาม และ อ.นิรุช)
14:30 น. – 14:45 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
14:45 น. – 16:30 น. ภาคปฏิบัติการศึกษาผิวหน้าแตกหัก (ต่อ)
– การศึกษาผิวหน้าแตกหักระดับมหภาค
– การวิเคราะห์ผิวหน้าแตกหักระดับจุลภาคด้วย SEM (Hands on SEM Workshop)
(อ.โฆษิต, อ.วิษณุพงษ์, อ.ศิริววรณ, อ.สยาม และ อ.นิรุช)
16:30 น. – 17:00 น. สรุปภาคปฏิบัติการศึกษาผิวหน้าแตกหัก
(อ.โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว และ อ.วิษณุพงษ์ คนแรง)
วันพุธ ที่ 14 สิงหาคม 2562
09:00 น. – 10:15 น. การแตกหักจากการล้า (Fatigue Fracture)
(อ.สยาม แก้วคำไสย์)
10:15 น. – 10:30 น. พักรับประทานอาหารว่าง เครื่องดื่ม และพบปะพูดคุยกัน
10:30 น. – 12:00 น. กรณีตัวอย่างการวิเคราะห์ผิวหน้าแตกหักในงานวิเคราะห์ความเสียหาย
(อ. ศิริวรรณ อ่วมปาน)
12:00 น. – 13:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 น. – 15:00 น. ภาคปฏิบัติการวิเคราะห์ผิวหน้าแตกหัก
(อ.วิษณุพงษ์, อ.โฆษิต, อ.ศิริววรณ, อ.สยาม และ อ.นิรุช)
15:00 น. – 15:15 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
15:15 น. – 16:45 น. นำเสนอการวิเคราะห์ผิวหน้าแตกหัก
16:45 น. – 17:00 น. สรุปผลและมอบใบประกาศนียบัตร
ค่าลงทะเบียน
บุคคลทั่วไป
ราคา 6,000 บาท/ท่าน
สมาชิกสมาคมการกัดกร่อนโลหะและวัสดุไทย
ราคา 5,500 บาท/ท่าน
โปรดชำระค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 7 สิงหาคม 2562
หมายเหตุ
• อัตราค่าลงทะเบียนรวมค่าอาหารว่าง อาหารกลางวัน เอกสารประกอบการอบรม และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
• ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%
การชำระค่าลงทะเบียน
สามารถเลือกชำระได้ 3 ช่องทางที่ท่านสะดวกที่สุด ดังนี้
• เงินสด / เช็ค สั่งจ่าย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
• โอนเงินเข้าบัญชี ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์
สาขาย่อยอุทยานวิทยาศาสตร์ เลขที่บัญชี 080-0-000846
(กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินพร้อมระบุชื่อ, หน่วยงาน และหลักสูตรที่สมัครมาทางอีเมล ponlathw@mtec.or.th )
• บัตรเครดิต โดยทำรายการผ่านหน้าเว็บไซต์ลงทะเบียน (เลือกวิธีชำระเป็นบัตรเครดิต)
สมัครและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีวัสดุเพื่ออุตสาหกรรม (คุณพลธร / คุณบุญรักษ์)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
โทรศัพท์ 0 2564 6500 ต่อ 4677, 4675 โทรสาร 0 2564 6369
E-mail: ponlathw@mtec.or.th