หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ
การป้องกันการกัดกร่อนแบบแคโทดิก
(Cathodic Protection)
จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
วันที่ 24-25 กันยายน 2563
ห้องประชุมบุญปิยทัศน์ ชั้น 4 อาคารกรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน กรุงเทพฯ
หลักการและเหตุผล
การป้องกันการกัดกร่อนแบบแคโทดิก (Cathodic Protection) เป็นวิธีป้องกันการกัดกร่อนโดยทำให้โครงสร้างที่ต้องการป้องกันมีสถานะเป็นขั้วแคโทด การป้องกันการกัดกร่อนแบบแคโทดิกสามารถทำได้สองแนวทาง ได้แก่ การใช้วัสดุกันกร่อน (Sacrificial anode) ที่มีศักย์ไฟฟ้ากัดกร่อนต่ำกว่ามาต่อกับโครงสร้างหลักและอาศัยหลักการการกัดกร่อนแบบกัลวานิกทำให้วัสดุกันกร่อนถูกกัดกร่อนแทน อีกแนวทางหนึ่งคือการป้อนกระแสบังคับแรงเคลื่อนไฟฟ้า (Impressed current) ให้โครงสร้างที่ต้องการป้องกันมีศักย์ไฟฟ้าสูงกว่าศักย์ไฟฟ้ากัดกร่อน ทั้งสองกรณีควรใช้ควบคู่ไปกับการเคลือบผิว เพื่อป้องกันเฉพาะจุดบกพร่องของผิวเคลือบเท่านั้น วิธีดังกล่าวเป็นที่นิยมใช้ในการป้องกันการกัดกร่อนท่อฝังดิน เรือเดินทะเล โครงสร้างแนวชายฝั่งและกลางทะเล รวมถึงในถังบรรจุน้ำหรือสารเคมี เป็นต้น
การติดตั้งและบำรุงรักษาระบบการป้องกันการกัดกร่อนแบบแคโทดิกจำเป็นต้องอาศัยวิศวกรเฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูง หลักสูตรนี้รวบรวมความรู้พื้นฐาน หลักการ และการใช้งาน ทั้งระบบการป้องกันการกัดกร่อนแบบแคโทดิกควบคู่กับเทคโนโลยีการเคลือบผิวโลหะ โดยมุ่งหวังที่จะเพิ่มพูนความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ และนักวิจัย ให้แก่ผู้เข้าอบรม เพื่อเป็นประโยชน์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องต่อไป และพร้อมกันนี้ผู้เข้าอบรมจะได้เยี่ยมชมศูนย์ทดสอบระบบป้องกันการกัดกร่อนแบบแคโทดิกแห่งแรกของไทย ที่ได้รับการรับรองจาก NACE อีกด้วย
กลุ่มเป้าหมาย
วิศวกรด้านการกัดกร่อน วิศวกรฝ่ายซ่อมบำรุง วิศวกรในอุตสาหกรรมขนส่งก๊าซทางท่อ การประปา การไฟฟ้า อู่ซ่อมเรือ อาจารย์ นิสิต นักศึกษา
วิทยากร
1. น.ท.ดร.พินัย มุ่งสันติสุข
บริษัท ไทยมารีนโพรเทคชั่น จำกัด
2. คุณโกสินธ์ พงศ์ศุภะมงคล
บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (PTTEP)
3. นายศักดิ์สิทธิ์ วงษ์กุหลาบ
บริษัท อั๊คโซ่ โนเบล เพ้นท์ส (ประเทศไทย) จำกัด (Akzo Nobel Paints)
4. ดร.วนิดา พงศ์ศักดิ์สวัสดิ์
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)
กำหนดการและหัวข้อบรรยาย
วันที่ 24 กันยายน 2563
9:00 – 10:30 น. หลักการการป้องกันการกัดกร่อนแบบแคโทดิก โดย น.ท.ดร.พินัย มุ่งสันติสุข
10:30 – 10:45 น. รับประทานอาหารว่าง
10:45 – 12:00 น. การวิจัยและพัฒนาวัสดุกันการกัดกร่อน โดย น.ท.ดร.พินัย มุ่งสันติสุข
12:00 – 13:00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13:00 – 14:30 น. เทคโนโลยีสีเคลือบผิวป้องกันการกัดกร่อนที่ใช้ร่วมกับระบบการป้องกันการกัดกร่อนแบบแคโทดิก
โดย วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ จากบริษัท อั๊คโซ่ โนเบล เพ้นท์ส (ประเทศไทย) จำกัด
14:30 – 14:45 น. รับประทานอาหารว่าง
14:45 – 16:30 น. ตัวแปรที่ต้องคำนึงและการประยุกต์ใช้โปรแกรมวิศวกรรมในการออกแบบระบบการป้องกันการกัด
กร่อนแบบแคโทดิก โดย ดร.วนิดา พงศ์ศักดิ์สวัสดิ์
วันที่ 25 กันยายน 2563
9:00 – 10:30 น. หลักการติดตั้ง คำนวณ และตรวจสอบระบบ CP (Galvanic anode) โดย คุณโกสินธ์ พงศ์ศุภะมงคล
10:30 – 10:45 น. รับประทานอาหารว่าง
10:45 – 12:00 น. การศึกษาภาคสนาม การตรวจสอบระบบ CP (Galvanic anode) โดย คุณโกสินธ์ พงศ์ศุภะมงคล
12:00 – 13:00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13:00 – 14:30 น. หลักการติดตั้งและตรวจสอบระบบ Impress Current โดย คุณโกสินธ์ พงศ์ศุภะมงคล
14:30 – 14:45 น. รับประทานอาหารว่าง
14:45 – 15:30 น. ทดสอบข้อเขียน
15:30 – 16:30 น. สรุปคะแนนและปิดการอบรม
การลงทะเบียน
ลงทะเบียนออนไลน์ >>>
ค่าลงทะเบียน
ราคา 6,000 บาท/ท่าน
การชำระค่าลงทะเบียน
– โอนเงินเข้าบัญชี ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์ สาขาย่อยอุทยานวิทยาศาสตร์ เลขที่บัญชี 080-0-000846
– กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินพร้อมระบุชื่อ หน่วยงาน และหลักสูตรที่สมัครมาทาง Email: boonrkk@mtec.or.th
หมายเหตุ
– อัตราค่าลงทะเบียนรวมค่าอาหารว่าง อาหารกลางวัน เอกสารประกอบการอบรม และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
– ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่
งานพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีวัสดุเพื่ออุตสาหกรรม (นายบุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์/ นายพลธร เวณุนันท์)
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4675, 4677
E-mail : boonrkk@mtec.or.th