หลักสูตรอบรม
พอลิเมอร์และพอลิเมอร์คอมพอสิตที่มีคุณสมบัติการนำไฟฟ้า
(Electrically Conductive Polymers and Polymer Composites)
จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม 2563
ห้อง M120 อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี
หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันพอลิเมอร์และพอลิเมอร์คอมพอสิตที่นำไฟฟ้า มีบทบาทสำคัญต่อเศษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยอุตสาหกรรมต้นน้ำที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในส่วนของการผลิตพอลิเมอร์ อุตสาหกรรมพอลิเมอร์คอมเปาด์หรือคอมพอสิต ในส่วนของการผสมพอลิเมอร์กับสารเติมแต่งที่นำไฟฟ้า และอุตสาหกรรมการขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อการนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมปลายน้ำที่เกี่ยวข้อง เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเซมิคอนดักเตอร์ อุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ อุตสาหกรรมอุปกรณ์และเครื่องใช้ทางไฟฟ้า อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมพลังงาน และอุตสาหกรรมทางการแพทย์ เป็นต้น หลักสูตรนี้รวบรวมความรู้พื้นฐาน หลักการ และการใช้งาน ที่เกี่ยวข้องกับพอลิเมอร์และพอลิเมอร์คอมพอสิตที่นำไฟฟ้า ในด้านต่างๆ เช่น คุณสมบัติการนำไฟฟ้าของวัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือและวิธีการวัดค่าการนำไฟฟ้า ปัจจัยที่มีผลต่อการนำไฟฟ้า ชนิดของสารตัวเติมที่นำไฟฟ้าประเภทคาร์บอน เช่น คาร์บอนนาโนทิวบ์ กราฟีน คาร์บอนแบล็ก คาร์บอนไฟเบอร์ คาร์บอนด็อต เป็นต้น และการใช้งานด้านต่างๆ เช่น เซนเซอร์ ตัวนำไฟฟ้ายิ่งยวด แบตเตอรี่ การป้องกันไฟฟ้าสถิตและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น โดยมุ่งหวังที่จะเพิ่มพูนความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ของนักวิจัย ที่ทำงานวิจัยด้านนี้โดยตรงตั้งแต่งานวิจัยพื้นฐาน ถึงงานวิจัยระดับอุตสาหกรรม ให้แก่ผู้เข้าอบรม เพื่อเป็นประโยชน์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
วัตถุประสงค์:
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้พื้นฐานทางด้านพอลิเมอร์และพอลิเมอร์คอมพอสิตที่นำไฟฟ้า โดยเน้นให้เกิดความเข้าใจประเด็นหลักเกี่ยวกับประเภทและโครงสร้างทางเคมีของพอลิเมอร์ที่นำไฟฟ้า โครงสร้างและคุณสมบัติของสารเติมแต่งที่นำไฟฟ้าประเภทคาร์บอนชนิดต่างๆ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการนำไฟฟ้า คุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานด้านต่างๆ และการวิเคราะห์ทดสอบ โดยเนื้อหาสาระเป็นความรู้ที่สามารถเข้าใจได้ง่ายและนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริง
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีการผลิตพอลิเมอร์ กลุ่มอุตสาหกรรมพอลิเมอร์คอมเปาด์และคอมพอสิต กลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเซมิคอนดักเตอร์ กลุ่มอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงาน กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนงานวิจัย การผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการตรวจสอบคุณภาพ ตั้งแต่ระดับวิศวกร นักวิจัย ผู้ช่วยวิศวกรหรือนักวิจัย ช่างเทคนิค เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการหรืองานวิเคราะห์ทดสอบ นอกจากนี้รวมถึงบุคลากรด้านการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมและเทคโนโลยี และบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจ
วิทยากร
ดร.ดรุณี อัศวเสถียร
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
ดร.ณิชาพัฒน์ ทองใส (วิทยากรพิเศษ เกี่ยวกับ คาร์บอนด็อต)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
กำหนดการ
8.30-9.00 น. ลงทะเบียน
9.00-10.30 น. คุณสมบัติการนำไฟฟ้าของวัสดุ (Electrical properties of materials)
การวัดคุณสมบัติการนำไฟฟ้า (Electrical property measurement)
การจำแนกชนิดของวัสดุจากคุณสมบัติทางไฟฟ้า (Classification of materials based on electrical properties)
พอลิเมอร์ที่นำไฟฟ้า (Intrinsically conducting polymers (ICPs))
– การสังเคราะห์ (Synthesis)
– การนำไฟฟ้าโดยโครงสร้างโมเลกุล (Molecular basis of electrical conductivity)
– การใช้งาน (Applications)
– ข้อจำกัดในการใช้งาน (Barriers to applications)
10.30-10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.45-12.00 น. พอลิเมอร์คอมพอสิตที่นำไฟฟ้า (Electrically conductive polymer composites)
– สารตัวเติมคาร์บอนที่นำไฟฟ้า (Carbon based conductive fillers)
*** คาร์บอนแบล็ก (Carbon black)
*** คาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon fiber)
*** แกรไฟต์ (Graphite)
*** คาร์บอนนาโนทิวบ์ (Carbon nanotube)
*** กราฟีน (Graphene)
*** คาร์บอนดอต (Carbon dot)
– กลไกการนำไฟฟ้า (Mechanism of electrical conduction)
– ปรากฏการณ์เปอร์โคเลชั่น (Percolation phenomena)
12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.30 น. – ปัจจัยที่มีผลต่อคุณสมบัติการนำไฟฟ้าของพอลิเมอร์-สารตัวเติมคอมพอสิต (Factors affecting electrical properties of polymer-filler composites)
*** ผลของการกระจายตัวของสารตัวเติม (Effect of filler dispersion)
*** ผลของความดันแม่พิมพ์ (Effect of mold pressure)
*** ผลของการทำวัลคาร์ไนเซชั่น (Effect of vulcanization)
*** ผลของพอลิเมอร์เมทริกซ์ต่อการเกิดโครงสร้างเชื่อมโยงการนำไฟฟ้า (Effects of polymer matrices on conductive network formation)
*** ผลของชนิด รูปร่าง และลักษณะของสารตัวเติม (Effects of types of fillers, their geometry and morphology)
*** ผลของการเสียรูปของโครงสร้างต่อความต้านทานไฟฟ้า (Effect of structural deformation on electrical resistivity)
*** ผลของความดันที่หยุดนิ่งต่อความต้านทานไฟฟ้า (Hydrostatic pressure effect on electrical resistivity)
*** ผลของอุณหภูมิต่อความต้านทานไฟฟ้า (Temperature effects on electrical resistivity)
– คุณสมบัติด้านแม่เหล็กไฟฟ้าของคอมพอสิตที่นำไฟฟ้า (Galvanomagnetic properties of conductive composites)
14.30-14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
14.45-16.00 น. การปล่อยประจุไฟฟ้าสถิต (Electrostatic discharge (ESD))
*** ฟิสิกส์ที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยประจุไฟฟ้าสถิต (ESD physics)
*** ผลของชนิดวัสดุต่อการปล่อยประจุไฟฟ้าสถิต (Effects of material types on ESD)
*** การกำเนิดของประจุไฟฟ้าสถิต (Electrostatic charge generation)
*** ชนิดของความเสียหายที่เกิดจากการปล่อยประจุไฟฟ้าสถิต (Types of ESD failures)
*** การควบคุมและป้องกันการปล่อยประจุไฟฟ้าสถิต (ESD control and protection)
*** เครื่องมือสำหรับการควบคุมการปล่อยประจุไฟฟ้าสถิต (Devices for ESD control)
*** พอลิเมอร์คอมพอสิตและวัสดุสำหรับการใช้งานด้านการปล่อยประจุไฟฟ้าสถิต (Polymer composites and materials for ESD application)
*** ข้อกำหนดจำเพาะของการวัดการปล่อยประจุไฟฟ้าสถิตและความสะอาด (Specifications of ESD and cleanliness measurement)
การบดบังการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagetic interference (EMI) shielding)
*** ธรรมชาติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (The nature of EMI)
*** กลไกของประสิทธิภาพการบดบังการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Mechanisms of EMI shielding effectiveness)
*** ประสิทธิภาพการบดบังการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของพอลิเมอร์คอมพอสิตที่นำไฟฟ้า (EMI shielding effectiveness of conductive polymer composites)
ค่าลงทะเบียน
ราคา 3,000 บาท/ท่าน
**รับสมัครจำนวน 20 ท่าน เท่านั้น**
หมายเหตุ
– อัตราค่าลงทะเบียนรวมค่าอาหารว่าง อาหารกลางวัน เอกสารประกอบการอบรม และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
– ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%
การลงทะเบียน
ลงทะเบียนออนไลน์ >>> https://www2.mtec.or.th/eventnstda/user/regisnow.aspx?EventID=S20020
การชำระค่าลงทะเบียน
โอนเงินเข้าบัญชี ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์ สาขาย่อยอุทยานวิทยาศาสตร์ เลขที่บัญชี 080-0-000846
กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินพร้อมระบุชื่อ, หน่วยงาน และหลักสูตรที่สมัครมาที่อีเมล boonrkk@mtec.or.th
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีวัสดุเพื่ออุตสาหกรรม (คุณบุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์/ คุณพลธร เวณุนันท์)
โทรศัพท์ 025646500ต่อ 4675, 4677
E-mail : boonrkk@mtec.or.th