หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ
การวิเคราะห์ไฟไนต์เอลิเมนต์และพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณพร้อมกรณีศึกษา
(Finite Element Analysis and Computational Fluid Dynamics with Case Studies)
จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
วันที่ 5 – 6 พฤศจิกายน 2563
เวลา 9.00 – 16.00 น.
ห้อง M120 อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี
หลักการและเหตุผล
คอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณทางวิศวกรรมหรือ CAE (Computer-Aided Engineering) เช่น การวิเคราะห์ไฟไนต์เอลิเมนต์ (Finite Element Analysis: FEA), พลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ (Computational Fluid Dynamics: CFD) เป็นต้น คือ การใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์มาช่วยจำลองปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในงานทางวิศวกรรม เทคโนโลยีนี้ช่วยให้วิศวกรสามารถประเมินสมรรถนะของสิ่งที่ออกแบบไว้ได้เบื้องต้นก่อนที่จะนำไปสร้างต้นแบบ ยกตัวอย่างเช่น วิศวกรผู้ออกแบบสามารถใช้ซอฟต์แวร์ CAE เพื่อระบุตำแหน่งที่เป็นจุดอ่อนของล้ออัลลอยของรถยนต์ก่อนที่จะนำไปสร้างเป็นล้อต้นแบบ นอกจากนั้นเทคโนโลยี CAE ยังสามารถใช้ในการยืนยันและเพิ่มประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์และกระบวนการต่าง ๆ ได้
การใช้งานเทคโนโลยี CAE อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมีความสำคัญมากเนื่องจากผลการคำนวณจะมีผลต่อการตัดสินใจในการออกแบบทางวิศวกรรม การใช้งานเทคโนโลยี CAE ที่ไม่ถูกต้อง เช่น การเลือกใช้แบบจำลองและ/หรือค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ อย่างไม่เหมาะสม เป็นต้น จะทำให้ผลการคำนวณที่ได้ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง หรือในบางกรณีอาจจะไม่สามารถคำนวณผลออกมาได้ ดังนั้นผู้ใช้งานซอฟต์แวร์ CAE ควรศึกษาเรียนรู้ในศาสตร์ด้านนี้อย่างถูกต้องครบถ้วนเพื่อให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นเพียงพอต่อการใช้งาน สำหรับการเรียนรู้ CAE มักประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ได้แก่ 1. ส่วนทฤษฎีการคำนวณด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์และระเบียบวิธีไฟไนต์วอลุม และ 2. ส่วนการใช้งานซอฟต์แวร์ CAE
หลักสูตรนี้เป็นการบรรยายปูพื้นฐานการวิเคราะห์ FEA และ CFD โดยมีการยกตัวอย่างงานจริงจากประสบการณ์ของวิทยากรมาประกอบ พร้อมด้วยการลงมือฝึกใช้ซอฟต์แวร์ด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ด้านการวิเคราะห์ไฟไนต์เอลิเมนต์และพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ เพื่อไปใช้ในงานที่เกี่ยวข้องได้
เนื้อหาหลักประกอบด้วย
- เทคโนโลยี CAE กับงานอุตสาหกรรม
- การวิเคราะห์ไฟไนต์เอลิเมนต์และไฟไนต์วอลุม
- การใช้งานซอฟต์แวร์ไฟไนต์เอลิเมนต์และไฟไนต์วอลุมเบื้องต้น
- ปัญหาโครงสร้าง
- ปัญหาการถ่ายเทความร้อน
- ปัญหาการสั่นสะเทือน
- ปัญหาการไหล
- ปัญหาที่เกี่ยวข้องหลายฟิสิกส์
- กรณีศึกษาการวิเคราะห์งานในอุตสาหกรรม
กลุ่มเป้าหมาย
วิศวกร เจ้าหน้าที่เทคนิค พนักงาน ผู้บริหารของบริษัทหรือองค์กร นักศึกษา อาจารย์มหาวิทยาลัย นักวิจัย
วิทยากร
ดร.สมบูรณ์ โอตรวรรณะ
นักวิจัย (Senior Researcher) และหัวหน้าทีมวิจัย
ทีมวิจัยคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณทางวิศวกรรม
ดร.ยศกร ประทุมวัลย์
วิศวกรอาวุโส (Senior Engineer)
ทีมวิจัยคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณทางวิศวกรรม
การลงทะเบียน
การลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ที่ >>>
ค่าลงทะเบียน
ราคา 6,000 บาท/ท่าน
หากชำระค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 22 ตุลาคม 2563 รับส่วนลด 500 บาท/ท่าน!
**รับสมัครจำนวน 20 ท่าน เท่านั้น**
ผู้เข้าร่วมหลักสูตรรับหนังสือ
คอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณทางวิศวกรรม
(COMPUTER-AIDED ENGINEERING (CAE))
มูลค่า 350.- บาท ฟรี
หมายเหตุ
• อัตราค่าลงทะเบียนรวมค่าอาหารว่าง อาหารกลางวัน เอกสารประกอบการอบรม และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
• ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%
• ผู้เข้าร่วมหลักสูตรอบรมต้องเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ Notebook มาใช้ในการอบรมเอง
หมายเหตุ
• อัตราค่าลงทะเบียนรวมค่าอาหารว่าง อาหารกลางวัน เอกสารประกอบการอบรม และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
• ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%
• ผู้เข้าร่วมหลักสูตรอบรมต้องเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ Notebook มาใช้ในการอบรมเอง
การชำระค่าลงทะเบียน
โอนเงินเข้าบัญชี ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์
เลขที่บัญชี 080-0-00084-6
สาขาอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
(กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินพร้อมระบุชื่อ, หน่วยงาน และหลักสูตรที่สมัครมาทางอีเมล boonrkk@mtec.or.th)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีวัสดุเพื่ออุตสาหกรรม (นายบุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
โทรศัพท์ 0 2564 6500 ต่อ 4675
E-mail: boonrkk@mtec.or.th