หลักสูตร
แพ็กแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า
จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ
ร่วมกับ
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
และ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
วันที่ 14-15 ธันวาคม 2563
ห้อง M120 อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี
หลักการและเหตุผล
อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนเป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่ทำรายได้เป็นอันดับต้นๆ ให้แก่ประเทศไทยในกว่าสิบปีที่ผ่านมา จากแนวโน้มของโลกที่จะก้าวไปสู่สังคมที่สะอาดมากขึ้น ระบบการขนส่งและการพัฒนาด้านยานยนต์ได้ถูกมีแนวทางที่จะพัฒนาไปสู่ระบบไฟฟ้าเป็นส่วนใหญ่ในอนาคต ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ เล็งเห็นความสำคัญในการเผยแพร่ความรู้ที่จะช่วยพัฒนาภาคอุตสาหกรรม ให้มีองค์ความรู้ด้านยานยนต์ไฟฟ้าสำหรับการสร้างศักยภาพในการพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต จึงร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ จัดอบรมในหัวข้อแพ็คแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อเผยแพร่ความรู้พื้นฐานแก่ภาคการผลิตและบุคคลทั่วไปที่เกี่ยวข้องและสนใจ
วัตถุประสงค์
เพื่อเผยแพร่ความรู้พื้นฐานผ่านการอบรมภาคทฤษฏีและการสาธิต ในหัวข้อด้านแบตเตอรี่และหน่วยกักเก็บพลังงานอื่นๆ ที่ใช้สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า องค์ประกอบที่สำคัญ หลักการทำงาน หลักคิดในการออกแบบ และกระบวนการออกแบบแพ็คแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ให้แก่ภาคอุตสาหกรรมที่สนใจและมีโอกาสที่จะนำความรู้ไปต่อยอดสำหรับการผลิตต่อไป
สมบัติของผู้เข้าร่วมอบรม
1. ภาคอุตสาหกรรมที่มีความสนใจด้านการพัฒนาชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า
2. ภาคอุตสาหกรรมที่มีความสนใจด้านการพัฒนาแบตเตอรี่/แพ็คแบตเตอรี่
3. นักวิจัย และวิศวกรจากหน่วยงานภาคการวิจัย
กำหนดการ
วันที่ 14 ธันวาคม 63
08.30-09.00 ลงทะเบียน
09:00-09:15 Pre-test
09:15-09:45 ยานยนต์ไฟฟ้า/แหล่งพลังงานสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า
โดย ดร.พิมพา ลิ้มทองกุล
09:45-10:15 หลักการทำงาน, คำสำคัญ, คุณลักษณะที่สำคัญ
โดย ดร.พิมพา ลิ้มทองกุล
10:15-10:30 พักรับประทานอาหารว่าง
10:30-12:00 ประเภทของแบตเตอรี่, แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน, การใช้งาน ห่วงโซ่คุณค่าของแบตเตอรี่
โดย ดร.ธัญญา แพรวพิพัฒน์
12:00-13:00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00-14:30 การชาร์จ/ดิสชาร์จ, voltage profile, การประเมินระดับพลังงานของแบตเตอรี่
โดย ดร. จิราวรรณ มงคลธนทรรศ
14:30-15:00 พักรับประทานอาหารว่าง
15:00-16:00 มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง และการกำจัด
โดย ดร.พิมพา ลิ้มทองกุล
วันที่ 15 ธันวาคม 2563
08.30-09.00 ลงทะเบียน
09:00-10:15 การออกแบบและการผลิตแพ็กแบตเตอรี่โครงสร้างทางกายภาพและทางกล
โดย ดร. มานพ มาสมทบ
10:15-10:30 พักรับประทานอาหารว่าง
10:30-12:00 การออกแบบและการผลิตแพ็กแบตเตอรี่โครงสร้างทางกายภาพและทางกล (ต่อ)
โดย ดร. มานพ มาสมทบ
12:00-13:00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14:30 ระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่
โดย คุณภัทรกร รัตนวรรณ์
14:30-14:45 พักรับประทานอาหารว่าง
15:00-16:00 ระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ (ต่อ)
โดย คุณภัทรกร รัตนวรรณ์
วิทยากร
ค่าลงทะเบียน
ราคา 6,000 บาท/ท่าน
**รับสมัครจำนวน 20 ท่าน เท่านั้น**
หมายเหตุ
– อัตราค่าลงทะเบียนรวมค่าอาหารว่าง อาหารกลางวัน เอกสารประกอบการอบรม และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
– ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%
การลงทะเบียน
การชำระค่าลงทะเบียน
โอนเงินเข้าบัญชี ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์ สาขาย่อยอุทยานวิทยาศาสตร์ เลขที่บัญชี 080-0-000846
กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินพร้อมระบุชื่อ, หน่วยงาน และหลักสูตรที่สมัครมาที่อีเมล boonrkk@mtec.or.th
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีวัสดุเพื่ออุตสาหกรรม (คุณบุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์/ คุณพลธร เวณุนันท์)
โทรศัพท์ 025646500ต่อ 4675, 4677
E-mail : boonrkk@mtec.or.th