หลักการและเหตุผล
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้โดยสารหรือผู้ใช้บริการระบบการขนส่งทางราง เป็นสิ่งสำคัญที่ให้ผู้บริการระบบขนส่งทางรางจำเป็นต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก ความปลอดภัยของการขนส่งทางรางนั้นมีส่วนที่เกี่ยวข้องในหลายมิติ คุณภาพของรางที่ใช้ในการขนส่งก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับความปลอดภัยของผู้โดยสาร การซ่อมบำรุงรางรถไฟให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในการสร้างความปลอดภัยและความเชื่อมั่นให้กับผู้โดยสาร
อย่างไรก็ตามด้วยระยะทางของรางรถไฟในประเทศไทยกว่า 4,000 กิโลเมตร ที่กระจายตัวในพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการใช้งานภายใต้สภาวะอากาศ สภาพแวดล้อม ตลอดจนมีลักษณะพื้นที่มีความลาดชัน และ ความโค้งที่แตกต่างกัน ทำให้ความเสียหายของรางรถไฟซึ่งแม้จะมีลักษณะความเสียหายภายนอกใกล้เคียงกันแต่อาจเป็นผลมาจากปัจจัยที่แตกต่างกัน การซ่อมบำรุงรางรถไฟด้วยวิธีเดียวการเดียวจึงอาจะไม่เหมาะสมกับปัญหาที่เกิดขึ้นในบางพื้นที่
กระบวนการเก็บข้อมูลความเสียหายของรางรถไฟจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการสร้างฐานของมูลความเสียหายของรางรถไฟที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ฐานข้อมูลดังกล่าวจะนำไปสู่การวางแผนการซ่อมบำรุงให้มีความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ รวมถึงสามารถนำไปสู่การคาดการณ์อายุการใช้งานของรางรถไฟที่มีความแม่นยำ ซึ่งจะทำให้สามารถวางแผนคาดการณ์การซ่อมบำรุง (Predictive Maintenance) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด นอกจากนี้กระบวนการเก็บข้อมูลความเสียหายของรางรถไฟที่ถูกต้องตามหลักของกระบวนการทางวิศวกรรมจะทำให้มีข้อมูลมากพอที่จะสามารถบ่งชี้รากความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรางรถไฟ และนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ในการป้องกันความเสียหายของรางที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
วัตถุประสงค์
การอบรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้เพื่อสร้างมาตรฐานสำหรับเก็บข้อมูลความเสียหายของรางรถไฟที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
- สร้างความตระหนักถึงความสำคัญในการวิเคราะห์ความเสียหายของรางที่นำไปสู่การระบุสาเหตุราก
- เพิ่มขีดความสามารถในการซ่อมบำรุงและป้องกันการเสียหายรางรถไฟของประเทศไทย
- ทราบถึงแนวทางในการวิเคราะห์รางรถไฟที่เกิดความเสียหายตามหลักปฏิบัติสากล
รูปแบบกิจกรรม
บรรยายทฤษฎีและมีการสาธิตภาคปฏิบัติจากผู้เชี่ยวชาญในรูปแบบออนไลน์
คุณสมบัติของผู้สมัครเข้ารับการอบรม
ผู้ที่มีความรู้พื้นฐานด้านรางของรถไฟ ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับรางรถไฟ หรือผู้ที่สนใจทั่วไป
28 มิถุนายน 2564
เวลา | หัวข้อ |
09.00-9.30 | ความสำคัญของการเก็บข้อมูลและกระบวนการวิเคราะห์ความเสียหายอย่างเป็นระบบสำหรับรางรถไฟ โดย ดร. เอกรัตน์ ไวยนิตย์ ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่ |
9.30-10.30 | ตัวอย่างความเสียหายของรางรถไฟที่พบบ่อยครั้งในเขตพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย โดย ว่าที่ร้อยตรี จรัสพงษ์ ไพยราช วิศวกร 8 กองบำรุงทางเขตลำปาง ศูนย์บำรุงทางภาคเหนือ การรถไฟแห่งประเทศไทย |
10.30 -10.45 | พัก |
10.45-12.00 | เทคนิคการวิเคราะห์ทางโลหะวิทยาและสภาพผิวแตกของรางรถไฟที่เกิดความเสียหายรุนแรง โดย คุณ สยาม แก้วคำไสย์ วิศวกรอาวุโส |
12.00-13.00 | พักรับประทานอาหารกลางวัน |
13.00-14.30 | เทคนิคการวิเคราะห์ทางโลหะวิทยาและสภาพผิวแตกของรางรถไฟที่เกิดความเสียหายรุนแรง (ต่อ) โดย คุณ สยาม แก้วคำไสย์ วิศวกรอาวุโส และคุณ วิษณุพงษ์ คนแรง วิศวกรอาวุโส ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
14.30 -14.45 | พัก |
14.45-16.30 | การสาธิต: การตรวจสอบผิวแตกของรางรถไฟ โดย ทีมวิจัย เทคโนโลยีการผลิตและการซ่อมบำรุง ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
29 มิถุนายน 2564
เวลา | หัวข้อ |
09.00-10.30 | นโยบายและการส่งเสริมความปลอดภัยของโครงสร้างพื้นฐานของระบบการขนส่งทางราง โดย ดร. ทยากร จันทรางศุ ผู้อำนวยการ กองมาตรฐานความปลอดภัยและบำรุงทาง กรมการขนส่งทางราง |
10.30-10.45 | พัก |
10.45 -12.00 | การพัฒนาข้อกำหนดปฏิบัติงานมาตรฐานสำหรับเก็บข้อมูลความเสียหายของรางรถไฟ โดย คุณ โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว วิศวกรอาวุโส ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
12.00-13.00 | พักรับประทานอาหารกลางวัน |
13.00-13.45 | กระบวนการและเทคนิควิเคราะห์ความเสียหายของรางรถไฟ โดย คุณ นิรุช บุญชู วิศวกรอาวุโส |
13.45-15.00 | การสาธิต: การวิเคราะห์ทางโลหะวิทยาและสภาพผิวแตกของรางรถไฟที่เกิดความเสียหายรุนแรง ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
15.00 -15.15 | พัก |
15.15-16.00 | กรณีศึกษา ความเสียหายของรางรถไฟที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
16.00-16.30 | ถาม– ตอบ |
วิทยากรการอบรม
ดร.เอกรัตน์ ไวยนิตย์
ผู้อำนวยการ
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ว่าที่ร้อยตรี จรัสพงษ์ ไพยราช
วิศวกร 8 ศูนย์บำรุงภาคเหนือ
ฝ่ายการช่างโยธา
การรถไฟแห่งประเทศไทย
ดร.ทยากร จันทรางศุ
ผู้อำนวยการ
กองมาตรฐานความปลอดภัยและบำรุงทาง
กรมการขนส่งทางราง
คุณสยาม แก้วคำไสย์
วิศวกรอาวุโส
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
คุณโฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว
วิศวกรอาวุโส
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
คุณวิษณุพงษ์ คนแรง
วิศวกรอาวุโส
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
คุณนิรุช บุญชู
วิศวกรอาวุโส
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ลงทะเบียนฟรีโดยสแกน QR Code หรือคลิกที่นี่
https://qrgo.page.link/n3suW
Event number: 184 292 8973
Event password: mtec
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่ (คุณสุวภัทร รักเสรี)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
โทรศัพท์ 021176435 ต่อ 6435
E-mail: suwaphat.ruksaree@nstda.or.th
งานพัฒนากำลังคนเทคโนโลยีวัสดุ (คุณอัครพล สร้อยสังวาลย์)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4679
E-mail : akrapols@mtec.or.th