การอบรมหลักสูตร
การชุบแข็งชิ้นส่วนยานยนต์และเครื่องจักรกล
(Hardening of Automotive and Machine Parts)
วันที่ 9-10 กันยายน 2564
บรรยายออนไลน์ผ่านโปรแกรม Cisco WebEx
จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ร่วมกับ
สมาคมการอบชุบทางความร้อนไทย
หลักการและเหตุผล
การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และเครื่องจักรกล นับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญมากสาขาหนึ่งของประเทศ แม้ว่าปัจจุบันจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของโลก แต่ก็ยังเป็นอุตสาหกรรมหลักด้านการผลิตของประเทศ การชุบแข็งมักจะเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และเครื่องจักรกล โดยเฉพาะชิ้นส่วนที่ต้องรับแรงหรือต้องรับการเสียดสีสูง กระบวนการชุบแข็งจึงนับว่าเป็นกระบวนการสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพของชิ้นส่วนโดยตรง ดังนั้นการเข้าใจถึงหลักการ และขั้นตอนการดำเนินการจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ผลิต
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการการชุบแข็งวิธีต่าง ๆ รวมถึงกลุ่มเหล็กกล้า และการตรวจสอบคุณภาพงานชุบแข็ง ที่ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และเครื่องจักรกล
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมด้านการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์รวมถึงชิ้นส่วนเครื่องจักรกลทั่วไป ทั้งระดับช่างเทคนิค วิศวกร ด้านการผลิต วางแผนการผลิต รวมถึงด้านการประกันคุณภาพ บุคคลากรด้านการศึกษาทางวิศวกรรมและเทคโนโลยี รวมถึงบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจ
กำหนดการและหัวข้อที่บรรยาย
วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน 2564
09:00 น. – 12:00 น. – โลหะวิทยาเบื้องต้น (Introduction to Metallurgy )
– แผ่นภาพสมดุลย์เหล็กคาร์บอน (Iron – Carbon Equilibrium Diagram)
– อิทธิพลของคาร์บอนและสารเจือในเหล็กกล้า (Influence of Carbon and Alloys in Steels)
– การแบ่งเกรดเหล็กกล้า (Steel Classification)
13:00 น. – 16:00 น. – การชุบแข็งเหล็กกล้า (Hardening of Steels)
1. ชุบแข็งทั้งชิ้น (Full Hardening)
2. ชุบแข็งแบบมาร์เทมเปอริ่ง (Martempering)
3. ชุบแข็งแบบออสเทมเปอริ่ง (Austempering)
วันศุกร์ที่ 10 กันยายน 2564
09:00 น. – 12:00 น. – การชุบผิวแข็ง (Surface Hardening)
1. การชุบผิวแข็งอินดักชั่น (Induction Hardening)
2. การชุบผิวแข็งแบบคาร์บุไรซิ่ง (Carburizing)
3. การชุบผิวแข็งแบบคาร์โบไนไตรดิ่ง (Carbonitriding)
13:00 น. – 16:00 น. – เตาชุบแข็งรูปแบบต่าง ๆ (Type of Furnaces)
– การตรวจสอบคุณภาพงานชุบแข็ง (Quality Test of Hardened Work Piece)
1. การวัดความแข็ง (Hardness Test) HB, HV, HRC, HRA, Micro Vickers
2. การตรวจสอบโครงสร้างจุลภาค (Micro Structure Examination)
3. การตรวจหารอยร้าว (Inspection for Surface Crack)
– Q&A
หมายเหตุ – พักการบรรยายช่วงเช้า 15 นาที เวลา 10:15 น. – 10:30 น.
– พักการบรรยายตอนเที่ยง 1 ชั่วโมง เวลา 12.00 น. – 13.00 น.
– พักการบรรยายช่วงบ่าย 15 นาที เวลา 14.30 น. – 15.00 น.
วิทยากร
รศ.สมนึก วัฒนศรียกุล
• นายกสมาคมการอบชุบทางความร้อนไทย
• ข้าราชการบำนาญ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมการผลิต
คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ผศ.ดร.อุษณีย์ กิตกำธร
• เลขาธิการ สมาคมการอบชุบทางความร้อนไทย
• อาจารย์ประจำสาขาวิชาโลหการ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
รายละเอียดการลงทะเบียน
ค่าลงทะเบียนบุคคลทั่วไป 5,350 บาท /ท่าน
สมาชิกสมาคมการอบชุบทางความร้อนไทย 5,350 บาท /ท่าน
หมายเหตุ
– อัตราค่าลงทะเบียนรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
– ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%
– มีเอกสารประกอบการอบรม ให้กับผู้เข้ารับการอบรม
– รับจำนวนจำกัดเพียง 20 ท่านเท่านั้น
กรณีที่ทางศูนย์ขอยกเลิกการจัดอบรม
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงการจัดอบรม อันเนื่องจากมีจำนวนผู้ลงทะเบียนเข้าอบรมจำนวนน้อยเกินไปหรือมีเหตุฉุกเฉินอื่นที่ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ โดยไม่ต้องชดเชยค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้สมัครในทุกกรณี
อย่างไรก็ตามผู้สมัครจะได้รับเงินคืนเต็มจำนวนสำหรับค่าอบรมที่ได้ชำระไว้ล่วงหน้า
ช่องทางการลงทะเบียน
ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ที่
https://www2.mtec.or.th/eventnstda/user/regisnow.aspx?EventID=S21028
**เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่นั่งในการอบรมเต็ม โปรดทำการลงทะเบียนตามช่องทางดังกล่าวเพื่อสำรองที่นั่งเอาไว้ก่อน แล้วค่อยดำเนินการโอนเงินชำระค่าลงทะเบียนในภายหลัง**
**โปรดดำเนินการชำระค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 1 กันยายน 2564 เท่านั้น หากท่านไม่ชำระภายในระยะเวลาที่กำหนด ศูนย์ฯขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกการสำรองที่นั่งอบรมของท่าน**
การชำระค่าลงทะเบียน
สามารถทำได้ 2 ช่องทาง ดังนี้
1 ทำเช็ค สั่งจ่ายในนาม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ แล้วนำเช็คฝากเข้าบัญชี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์ สาขาย่อยอุทยานวิทยาศาสตร์ เลขที่บัญชี 080-000001-0 ภายในวันที่ 1 กันยายน 2564 เท่านั้น (กรุณาส่งหลักฐานการฝากเช็คเข้าบัญชีพร้อมระบุชื่อ, หน่วยงาน และหลักสูตรที่สมัครมาทางอีเมล ponlathw@mtec.or.th)
2. โอนเงินเข้าบัญชี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์ สาขาย่อยอุทยานวิทยาศาสตร์ เลขที่บัญชี 080-000001-0 ภายในวันที่ 1 กันยายน 2564 (กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินพร้อมระบุชื่อ, หน่วยงาน และหลักสูตรที่สมัครมาทางอีเมล ponlathw@mtec.or.th)
สมัครและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีวัสดุเพื่ออุตสาหกรรม (คุณพลธร เวณุนันท์ / คุณบุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4677, 4675 โทรสาร 0 2564 6369
E-mail : ponlathw@mtec.or.th