หลักการและเหตุผล
การใช้โครงสร้างเหล็กในบรรยากาศร้อนชื้นของประเทศไทย จำเป็นต้องมีแนวทางการป้องกันการกัดกร่อนที่เหมาะสม เพื่อลดความเสียหายรุนแรงจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมและลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง ระบบแสดงแผนที่การกัดกร่อนได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยทีมวิจัยเทคโนโลยีการผลิตและซ่อมบำรุง (SMM) ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่ (RMT) สวทช. สำหรับคาดการณ์อัตราการกัดกร่อนในพื้นที่ต่าง ๆ ของไทย
งานสัมมนาออนไลน์ (Webinar Series) ที่จัดขึ้นนี้ จะนำเสนอข้อมูลการกัดกร่อนของเหล็กโครงสร้าง และแนะนำการประยุกต์ใช้งาน ในรูปแบบการบรรยาย เสวนา และการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อการออกแบบโครงสร้างเหล็กให้เหมาะสมตามสภาพแวดล้อมของไทย ในอนาคตการพัฒนาฐานข้อมูล และการผลักดันการใช้ข้อมูลประกอบการร่างมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง จำเป็นต้องอาศัยการขับเคลื่อนของกลุ่มเครือข่ายอุตสาหกรรมร่วมกันต่อไป
วัตถุประสงค์
- เพื่อแนะนำระบบแสดงแผนที่การกัดกร่อนโครงสร้างเหล็กและการประยุกต์ใช้ข้อมูล
- เพื่อให้ผู้ร่วมสัมมนาสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการออกแบบโครงสร้างเหล็ก
- เพื่อริเริ่มการจัดตั้งกลุ่มเครือข่ายอุตสาหกรรมสำหรับขับเคลื่อนการใช้ข้อมูลจากระบบแสดงแผนที่การกัดกร่อน
รูปแบบกิจกรรมทั้งหมด
จัดในรูปแบบออนไลน์ 3 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 เป็นการบรรยายภาคทฤษฎี, ครั้งที่ 2 มีการสาธิตภาคปฏิบัติจากผู้เชี่ยวชาญและแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมตัวอย่าง, ครั้งที่ 3 เป็นการประชุมระดมสมองเพื่อจัดตั้งภาคีเครือข่ายเทคโนโลยีการกัดกร่อน
คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าร่วมกิจกรรม
ผู้ที่มีความรู้พื้นฐานด้านการกัดกร่อน ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับงานโครงสร้างเหล็ก หรือผู้ที่สนใจทั่วไป
ครั้งที่ 3: การประชุมออนไลน์ระดมสมองเพื่อจัดตั้งภาคีเครือข่ายเทคโนโลยีการกัดกร่อนในบรรยากาศและการป้องกัน Consortium Initiative
วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม 2564 เวลา 9:00 – 12:00 น.
– การสร้างเครือข่ายกลุ่มผู้ใช้งานข้อมูล พัฒนาฐานข้อมูล และผลักดันการร่างมาตรฐานวัสดุที่เหมาะสมกับบรรยากาศประเทศไทย
– การระดมสมองแนวทางการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มเครือข่าย
– เพื่อร่วมดำเนินงานก่อตั้งภาคีเครือข่ายเทคโนโลยีการกัดกร่อนในบรรยากาศและการป้องกันให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในประเทศไทย
– เป็นเวทีสำหรับบูรณาการองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และรวบรวมข้อมูล ที่จะช่วยส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา การนำไปใช้ประโยชน์ และการอัพเดทข้อมูลเทคโนโลยีการกัดกร่อนในบรรยากาศและการป้องกันให้มีความทันสมัยอย่างต่อเนื่อง
– เพื่อยกระดับการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการกัดกร่อนในบรรยากาศและการป้องกันให้มีความทันสมัยทัดเทียมกับนานาชาติ อันจะนำไปสู่การเพิ่มความปลอดภัยของโครงสร้างเหล็กให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น
กำหนดการ
09:00 – 09:20 ความสำคัญและประโยชน์ในการจัดตั้งภาคีเครือข่าย
09:00 – 09:20 เทคโนโลยีการกัดกร่อนในบรรยากาศและการป้องกัน
09:00 – 09:20 โดย ดร.เอกรัตน์ ไวยนิตย์
09:00 – 09:20 ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่ สวทช.
09:20 – 09:30 การกัดกร่อนในบรรยากาศ
09:00 – 09:20 โดย ดร.วนิดา พงศ์ศักดิ์สวัสดิ์
09:00 – 09:20 ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่ สวทช.
09:30 – 12:00 กิจกรรมระดมสมอง
09:30 – 12:00 1. ระบุปัญหาการกัดกร่อนในบรรยากาศ
09:30 – 12:00 2. จัดกลุ่มปัญหาตามประเภท
09:30 – 12:00 3. จัดกลุ่มปัญหาตามลำดับความสำคัญ
09:30 – 12:00 4. วางแผนการดำเนินการ
09:30 – 12:00 5. สรุปผลการระดมสมอง
วิทยากรหลัก
ดร.เอกรัตน์ ไวยนิตย์
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่ สวทช.
– ลงทะเบียนผ่าน mobile โปรดคลิ๊กปุ่ม Register เพื่อเข้าสู่หน้าลงทะเบียน –
ลงทะเบียนฟรีโดยสแกน QR Code หรือคลิกที่นี่
Event link: https://bit.ly/3DctHVb
Event number: 2516 389 4444
Event password: mtec
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานพัฒนากำลังคนเทคโนโลยีวัสดุ (คุณอัครพล สร้อยสังวาลย์)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4679
E-mail : akrapols@mtec.or.th
ครั้งที่ 1: การอบรมออนไลน์ Informative Session on Corrosion Map Applications
วันอังคารที่ 12 ตุลาคม 2564 เวลา 09:00 – 12:00 น. [ดาวน์โหลดโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์]
• แนะนำระบบแสดงแผนที่การกัดกร่อนโครงสร้างเหล็ก
• การเลือกใช้ระบบสีกันสนิมตามระดับความรุนแรงของการกัดกร่อน (ISO 12944)
• เสวนา การออกแบบงานโครงสร้างเหล็กโดยใช้ข้อมูลแผนที่การกัดกร่อน
ครั้งที่2: การอบรมเชิงปฏิบัติการออนไลน์ Hands-on Workshop on Corrosion Map Web Application
วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2564 เวลา 9:30 – 11:30 น.
• เรียนรู้การประยุกต์ใช้ข้อมูลจาก Thai corrosion map web application
• การจัดสัมมนาแบบแบ่งห้องย่อย และทำโจทย์ case study