การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง
การวิเคราะห์ความเสียหายทางโลหะวิทยา ครั้งที่ 7
The 7th Workshop on Metallurgical Failure Analysis
วันที่ 1 – 5 สิงหาคม 2565
สถานที่ ห้องฮอลล์ ออฟ เฟม เอ โรงแรมฮาร์ดร็อค โฮเทล พัทยา จ.ชลบุรี (คลิ๊กดูแผนที่)
ดาวโหลดไฟล์เอกสารรายละเอียดการอบรมในรูปแบบ PDF ได้ที่นี่
จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
ร่วมกับ
ทีมวิจัยเทคโนโลยีการผลิตและซ่อมบำรุง
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและขนส่งสมัยใหม่
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
หลักการและเหตุผล
ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับชิ้นส่วนอุปกรณ์ของเครื่องจักรและโครงสร้างทางวิศวกรรมเป็นสิ่งที่มักพบเห็นได้เสมอในชีวิตประจำวันของเรา แม้ว่าในปัจจุบันจะมีเครื่องมือ/อุปกรณ์ที่ดีช่วยในการออกแบบ ผลิตหรือประกอบติดตั้ง และมีการใช้เทคนิคในการซ่อมบำรุงที่ทันสมัยเพื่อช่วยในการตรวจสอบสภาพการใช้งานของเครื่องจักรมากขึ้นก็ตาม แต่สภาวะการทำงานจริงของชิ้นส่วนมักไม่เป็นไปตามที่ออกแบบไว้ ทำให้มีโอกาสที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของโครงสร้างหรืออุปกรณ์จะรับภาระกรรมเกินขีดจำกัด ซึ่งนำไปสู่การแตกหักเสียหายหรือเสื่อมสภาพในที่สุด ความเสียหายที่เกิดขึ้นทำให้เกิดผลเสียต่อสังคม เศรษฐกิจ ชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นความสามารถในการวิเคราะห์การเสียหายของวัสดุได้อย่างถูกต้องแม่นยำนั้น ถือเป็นเป้าหมายสูงสุดอย่างหนึ่งในวิชาชีพวิศวกรรม เนื่องจากข้อมูลรายละเอียดที่ได้จากกระบวนการวิเคราะห์และผลการวิเคราะห์ จะเป็นประสบการณ์อันมีค่าที่จะทำให้เราเข้าใจธรรมชาติได้ดีขึ้น นอกจากนั้นยังจะเพิ่มขีดความสามารถในการออกแบบและวิศวกรรมให้สูงขึ้น และจะเป็นประโยชน์ในการป้องกันและลดการเสียหายของชิ้นส่วนในอนาคต สาเหตุของการเกิดความเสียหายมีหลายประเด็น และการวิเคราะห์ทดสอบเพื่อหารากของปัญหานั้นมีเทคนิคและขั้นตอนที่หลากหลาย
ดังนั้นการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ จึงได้เน้นให้ผู้เข้าร่วมได้พัฒนาทักษะและความรู้ด้านการวิเคราะห์ความเสียหายของโลหะอย่างเป็นระบบและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานที่ดูแลรับผิดชอบได้โดยตรง ทั้งนี้มีการเรียนรู้ทั้งด้านทฤษฎีและการลงมือปฏิบัติอย่างใกล้ชิดจากทีมวิทยากรที่มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี ทั้งจากสถาบันวิจัยและภาคเอกชน นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมสัมมนายังมีโอกาสได้ประเมินความรู้ของตนเอง และได้รับประกาศนียบัตรรับรองสำหรับผู้ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินทดสอบความรู้
วัตถุประสงค์
การสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา
1. เข้าใจสาเหตุที่นำไปสู่การเสียหายของวัสดุและความสำคัญของการวิเคราะห์ฯ
2. ทราบความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุและผลกระทบที่สำคัญของการเสียหายของชิ้นส่วนทางวิศวกรรม
3. ทราบแนวทางในการวิเคราะห์ความเสียหายตามหลักปฏิบัติที่เป็นสากล
4. ได้เรียนรู้เทคนิคและเครื่องมือสำหรับการตรวจสอบความเสียหายเบื้องต้น
5. ได้เรียนรู้หลักการเป็นผู้ตรวจสอบเบื้องต้นและผู้ควบคุมการวิเคราะห์ความเสียหาย
6. สามารถสื่อสารและถ่ายทอดข้อมูลให้กับผู้เชี่ยวชาญด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะในกรณีที่ความเสียหายมีความซับซ้อน
7. สามารถถ่ายทอดรู้ที่ได้ให้กับพนักงานภายในองค์กรหรือโรงงาน ทั้งนี้เพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่าย
8. ได้รับความรู้ด้านเทคนิคและข้อมูลเชิงลึกในการหลีกเลี่ยงความเสียหายของชิ้นส่วนทางวิศวกรรม
9. ได้ลงมือปฏิบัติในการวิเคราะห์ความเสียหายและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับองค์กรหรืองาน
10. ได้สร้างเครือข่ายนักวิเคราะห์ความเสียหายเพื่อนำไปแลกเปลี่ยนกันในอนาคต
รูปแบบกิจกรรม
– อบรมเชิงปฏิบัติการเน้นการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ
– มีการสาธิตภาคปฏิบัติจากผู้เชี่ยวชาญ
– มีการแสดงและสาธิตเครื่องมือจากบริษัทเอกชน
– มีการลงมือปฏิบัติเพื่อวิเคราะห์ความเสียหายและนำเสนอเป็นรายกลุ่ม
– มีการทดสอบและประเมินความรู้ของผู้เข้าร่วมการอบรมและมอบประกาศนียบัตรสำหรับผู้ที่ผ่านเกณฑ์
คุณสมบัติของผู้สมัครเข้ารับการอบรม
– ช่างหรือวิศวกรที่มีความรู้พื้นฐานด้านวิศวกรรมวัสดุ เครื่องกล อุตสาหการ โลหการ ที่หรือสาขาที่ใกล้เคียง
– ผู้ที่สนใจทั่วไป
ผู้มีสิทธิ์ได้รับประกาศนียบัตรรับรอง
– ผ่านเกณฑ์การประเมินความรู้ที่ระดับคะแนนสูงกว่าร้อยละ 70
– มีเวลาเข้าการอบรมสะสมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
วิทยากร
กำหนดการ
วันจันทร์ ที่ 1 สิงหาคม 2565
บทปริทัศน์และกระบวนการทางโลหะวิทยาและจุดบกพร่อง
08:00 น. – 08:30 น. ลงทะเบียน
08:30 น. – 09:00 น. พิธีเปิดการสัมมนา (แจ้งกำหนดการ แนะนำวิทยากรและผู้เข้าร่วมสัมมนา)
(ดร.เอกรัตน์ ไวยนิตย์)
09:00 น. – 09:45 น. บทปริทัศน์การวิเคราะห์ความเสียหายและการป้องกัน
(Introduction to failure analysis and prevention)
(ดร.เอกรัตน์ ไวยนิตย์)
09:45 น. – 10:00 น. พักรับประทานอาหารว่าง เครื่องดื่ม และพบปะพูดคุยกัน
10:00 น. – 12:00 น. กระบวนการผลิตทางโลหะวิทยาและจุดบกพร่อง
– จุดบกพร่องจากการหล่อ (Casting defects)
– จุดบกพร่องจากการแปรรูป (Processing defects)
– จุดบกพร่องจากกระบวนการทางความร้อน (Heat treating defects)
– จุดบกพร่องจากการเชื่อม (Welding defects)
(ดร.เอกรัตน์ ไวยนิตย์)
12:00 น. – 13:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 น. – 14:45 น. การเสียหายของชิ้นส่วนโลหะเนื่องจากการเชื่อม (Failure of materials in welding)
(ดร.เอกรัตน์ ไวยนิตย์)
14:45 น. – 15:00 น. พักรับประทานอาหารว่าง เครื่องดื่ม และพบปะพูดคุยกัน
15:00 น. – 17:00 น. ภาคปฏิบัติ : การจำแนกชนิดของจุดบกพร่อง
สถานีที่ 1. จุดบกพร่องจากการหล่อ
สถานีที่ 2. จุดบกพร่องจากการแปรรูป
สถานีที่ 3. จุดบกพร่องจากการอบชุบ
สถานีที่ 4. จุดบกพร่องจากการเชื่อม
สถานีที่ 5. จุดบกพร่องจากการเคลือบผิว
17.00 น. – 17:30 น. สรุปภาคปฏิบัติการจำแนกชนิดของจุดบกพร่อง
(อ.นิรุช บุญชู และ อ.โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว)
17:30 น. – 18:00 น. พักผ่อนตามอัธยาศัย
18:00 น. – 21:00 น. รับประทานอาหารค่ำและทำกิจกรรมร่วมกัน
วันอังคาร ที่ 2 สิงหาคม 2565
การวิเคราะห์ความเสียหายและการวิเคราะห์ผิวหน้าแตกหัก
08:30 น. – 10:15 น. การวิเคราะห์ความเสียหาย
– ขั้นตอนการวิเคราะห์ความเสียหาย (Failure analysis procedure)
– เครื่องมือและเทคนิคในการวิเคราะห์ความเสียหาย (Tools and techniques in failure analysis)
(อ.โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว)
10:15 น. – 10:30 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
10:30 น. – 12:00 น. กรณีตัวอย่างการวิเคราะห์ความเสียหายของชิ้นส่วนที่เสียหายจากการรับแรงทางกล
(อ.นิรุช บุญชู)
12:00 น. – 13:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 น. – 14.45 น. การวิเคราะห์ผิวหน้าแตกหัก (Fractography)
– ลักษณะทางมหภาคและจุลภาคของผิวหน้าแตกหัก
– การแตกหักจากการล้า (Fatigue fracture)
– กรณีตัวอย่างการวิเคราะห์ความเสียหายจากการแตกหักแบบล้า
(อ.สยาม แก้วคำไสย์)
14:45 น. – 15:00 น. พักรับประทานอาหารว่าง เครื่องดื่ม และพบปะพูดคุยกัน
15:00 น. – 17:00 น. ภาคปฏิบัติ: การเก็บข้อมูล การรักษาตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่าง และการวิเคราะห์ผิวหน้าแตกหัก แบ่งเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 20 นาที/ตัวอย่าง เวียนจนครบทั้ง 5 สถานี
สถานีที่ 1. ผิวหน้าแตกหักของเพลาที่มีจุดเริ่มหลายจุด (Multiple crack origin)
สถานีที่ 2. ผิวหน้าแตกหักของเพลาจากการรับแรงแบบ unidirectional bending
สถานีที่ 3. ผิวหน้าแตกหักของเพลาจากการรับแรงแบบ reversed bending
สถานีที่ 4. ผิวหน้าแตกหักแบบ corrosion fatigue
สถานีที่ 5. ผิวหน้าแตกหักแบบเหนียว/เปราะ
17.00 น. – 17:30 น. สรุปภาคปฏิบัติการวิเคราะห์ผิวหน้าแตกหัก
(อ.วิษณุพงษ์ คนแรง และ อ.โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว)
17:30 น. – 18:00 น. พักผ่อนตามอัธยาศัย
18:00 น. รับประทานอาหารค่ำ
วันพุธ ที่ 3 สิงหาคม 2565
การเสียหายจากการกัดกร่อนและการป้องกัน
08:30 น. – 10:15 น. การกัดกร่อนและการป้องกัน
– การกัดกร่อนแบบทั่วผิวหน้า (Uniform corrosion)
– การกัดกร่อนแบบกัลวานิก (Galvanic corrosion)
– การกัดกร่อนแบบใต้รอยซ้อน (Crevice corrosion)
– การกัดกร่อนแบบรูเข็ม (Pitting corrosion)
(ดร.วนิดา พงศ์ศักดิ์สวัสดิ์)
10:15 น. – 10:30 น. พักรับประทานอาหารว่าง เครื่องดื่ม และพบปะพูดคุยกัน
10:30 น. – 12:00 น. การกัดกร่อนและการป้องกัน (ต่อ)
– การสึกกร่อน-กัดกร่อน (Erosion-corrosion)
– การแตกร้าวเนื่องจากความเค้นร่วมกับการกัดกร่อน (Stress corrosion cracking)
– การแตกร้าวเนื่องจากความล้าร่วมกับการกัดกร่อน (Corrosion fatigue cracking)
– การแตกร้าวจากการเหนี่ยวนำของไฮโดรเจน (Hydrogen induced cracking)
(ดร.วนิดา พงศ์ศักดิ์สวัสดิ์)
12:00 น. – 13:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 น. – 14:15 น. กรณีตัวอย่างการวิเคราะห์ความเสียหายของชิ้นส่วนที่เสียหายจากการกัดกร่อน
(อ.ศิริวรรณ อ่วมปาน และ อ.โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว)
14:15 น. – 14:30 น. พักรับประทานอาหารว่าง เครื่องดื่ม และพบปะพูดคุยกัน
14:30 น. – 16:30 น. ภาคปฏิบัติ: การวิเคราะห์ความเสียหายของชิ้นส่วนจากการกัดกร่อน
แบ่งกลุ่มเป็น 5 กลุ่ม โดยให้แต่ละกลุ่มทำการศึกษารูปแบบการกัดกร่อนกับชิ้นส่วนที่กำหนดให้
สถานีที่ 1. การทดลอง galvanic corrosion และศึกษาชิ้นส่วนส่วนที่เสียหายแบบ galvanic
สถานีที่ 2. การรั่วของท่อเหล็กกล้าไร้สนิมด้วยรูปแบบ pitting corrosion
สถานีที่ 3. การเสียหายของเฮดเดอร์ด้วยรูปแบบ SCC
สถานีที่ 4. การเสียหายของชิ้นส่วนด้วยกลไก corrosion fatigue cracking
สถานีที่ 5. การเสียหายของชิ้นส่วนด้วยรูปแบบ blistering/filiform corrosion
16.30 น. – 17:00 น. สรุปภาคปฏิบัติการวิเคราะห์ความเสียหายของชิ้นส่วนจากการกัดกร่อน
(อ.ศิริวรรณ อ่วมปาน และ อ.โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว)
17:00 น. – 18:00 น. พักผ่อนตามอัธยาศัย
18:00 น. รับประทานอาหารค่ำ
วันพฤหัสบดี ที่ 4 สิงหาคม 2565
การเสียหายของโลหะจากการใช้งานที่อุณหภูมิสูง
08:30 น. – 10:45 น. การเสียหายของชิ้นส่วนโลหะจากการใช้งานที่อุณหภูมิสูง
– การเสียหายด้วยรูปแบบคาร์บูไรเซชั่น (Carburization)
– การเสียหายด้วยรูปแบบซัลฟิเดชัน (Sulfidation)
– การเสียหายด้วยรูปแบบออกซิเดชัน (Oxidation)
– การเสียหายจากการคืบ (Creep)
(ดร.ปนัดดา เช็พเพิร์ด)
10:45 น. – 11:00 น. พักรับประทานอาหารว่าง เครื่องดื่ม และพบปะพูดคุยกัน
11:00 น. – 12:00 น. กรณีตัวอย่างการเสียหายของชิ้นส่วนจากการใช้งานที่อุณหภูมิสูง
(อ.ศิริวรรณ อ่วมปาน)
12:00 น. – 13:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 น. – 13:30 น. การตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคภาคสนาม (Field metallography)
(อ.นิรุช บุญชู)
13:30 น. – 14:00 น. สาธิตการตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคภาคสนาม (อ.วิษณุพงษ์ คนแรง)
14:00 น. – 16:30 น. ภาคปฏิบัติ: การเสื่อมสภาพของโลหะจากการใช้งานที่อุณหภูมิสูง (แบ่งเป็น 5 กลุ่ม)
สถานีที่ 1. การเสียหายด้วยรูปแบบคาร์บูไรเซชั่น
สถานีที่ 2. การตกตะกอนของคาร์ไบด์ตามขอบเกรนของ SS 304H
สถานีที่ 3. การเกิด Slip bands จาก Thermal fatigue และแตกร้าวตามขอบเกรนของ SS321
สถานีที่ 4. การขยายตัวของเกรนและการตกตะกอนของคาร์ไบด์ตามขอบเกรนของ Incoly 800H
สถานีที่ 5. การเกิดช่องว่างจากการคืบ (Creep voids) ของโลหะผสมทนความร้อนสูง
16.30 น. – 17:00 น. สรุปภาคปฏิบัติการตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคของชิ้นส่วนโลหะที่ผ่านการใช้งานที่อุณหภูมิสูง
(อ.นิรุช บุญชู และ อ.โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว)
17:00 น. – 18:00 น. พักผ่อนตามอัธยาศัย
18:00 น. รับประทานอาหารค่ำ
วันศุกร์ ที่ 5 สิงหาคม 2565
กรณีตัวอย่างและภาคปฏิบัติการวิเคราะห์ความเสียหาย
08:30 น. – 11:00 น. ภาคปฏิบัติ: การวิเคราะห์ความเสียหาย (แบ่งเป็น 5 กลุ่ม)
วิทยากรแจกชิ้นส่วนที่เสียหายให้กลุ่มละ 1 ตัวอย่าง โดยจะจัดเตรียมข้อมูลให้บางส่วน เช่น
ภาพถ่าย SEM และ EDS spectra เป็นต้น และแต่ละกลุ่มจะมีพี่เลี้ยงจากทีมวิทยากร
11.00 น. – 12:00 น. สอบประเมินผล
12:00 น. – 13:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 น. – 17:00 น. นำเสนอผลการวิเคราะห์ความเสียหายเป็นรายกลุ่ม กลุ่มละ 25 นาที
17:00 น. – 18:00 น. สรุปผลและมอบใบประกาศนียบัตร
18:00 น. รับประทานอาหารค่ำ
รายละเอียดการลงทะเบียน
ค่าลงทะเบียนอบรม
– บุคคลทั่วไป 30,000 บาท /ท่าน
– สมาชิกสมาคมการกัดกร่อนโลหะและวัสดุไทย 27,000 บาท /ท่าน
หมายเหตุ
– อัตราค่าลงทะเบียน รวมค่าอาหารว่าง 2 มื้อ, อาหารกลางวัน, อาหารเย็น ในทุกวันที่อบรม / เอกสารประกอบการอบรม และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
– ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%
– รับจำนวนจำกัดเพียง 35 ท่านเท่านั้น
การลงทะเบียนเพื่อสำรองที่นั่ง
· ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ที่
https://www2.mtec.or.th/eventnstda/user/regisnow.aspx?EventID=S22017
**เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่นั่งในการอบรมเต็ม โปรดทำการลงทะเบียนตามช่องทางดังกล่าวเพื่อสำรองที่นั่งเอาไว้ก่อน แล้วค่อยดำเนินการโอนเงินชำระค่าลงทะเบียนในภายหลัง**
การชำระค่าลงทะเบียน
ทำเช็คสั่งจ่าย หรือโอนเงินเข้าบัญชี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์ สาขาย่อยอุทยานวิทยาศาสตร์
เลขที่บัญชี 080-000001-0 ภายในวันที่ 23 ก.ค. 2565
(กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินพร้อมระบุชื่อ, หน่วยงาน และหลักสูตรที่สมัครมาที่อีเมล ponlathw@mtec.or.th)
ที่พักระหว่างการอบรม
– ศูนย์ฯ ได้อำนวยความสะดวกให้กับผู้สมัครเข้าอบรมที่ต้องการที่พัก ท่านสามารถเข้าพักได้ที่ ฮาร์ดร็อค โฮเทล พัทยา (สถานที่จัดอบรม) ในราคาพิเศษ 1,800 บาท/ห้อง/คืน (Single/Twin, include breakfast) โดยท่านสามารถติดต่อจองห้องพักได้ภายในวันที่ 21 ก.ค. 2565 โปรดใช้แบบฟอร์มการจองห้องพัก (คลิ๊กที่นี่เพื่อดาวโหลดแบบฟอร์ม) กรอกแล้วส่งให้กับ
คุณวราพร นิมิตศุภชัยสิน
Hard Rock Hotel Pattaya
โทร 0815808098
Email: waraporn.n@hardrockhotels.net
– ดูข้อมูลของโรงแรม Hard Rock Hotel Pattaya ได้ทางเว็บไซต์ https://pattaya.hardrockhotels.net/th/
สมัครและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีวัสดุเพื่ออุตสาหกรรม
(คุณพลธร เวณุนันท์ หรือคุณบุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4675, 4677
E-mail : bdd-hmi@mtec.or.th