การบรรยายหัวข้อ
ชิ้นส่วนพลาสติกเพื่ออุตสาหกรรม
เทคโนโลยีน้ำหนักเบา เพื่อลดต้นทุน และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
เพิ่มศักยภาพขีดความสามารถในการแข่งขันอุตสาหกรรม
(Lightweight Plastic Parts Technology to Reduce Costs,
Environment Awareness and Increase Industrial Competitiveness)
จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
วันที่ 22 มิถุนายน 2565 เวลา 13:00-16:00 น.
ห้องMR215 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
(ภายในงาน Manufacturing Expo 2022)
หลักการและเหตุผล
อุตสาหกรรมพลาสติกและผู้ประกอบการตลอดห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์พลาสติกเป็นหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจอย่างทวีคูณ (Economic multiplier) ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ก่อให้เกิดรายได้ถึงร้อยละ 7.3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศและกำลังก้าวเข้าสู่แผนการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 4 ที่จะมีการขยายการลงทุนเพื่อสร้างเศรษฐกิจใหม่ให้ประเทศอีก 300,000 ล้านบาท โดยพลาสติกถูกใช้งานในอุตสาหกรรม เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ บรรจุภัณฑ์ สิ่งทอ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วัสดุก่อสร้าง การเกษตร และอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ เป็นต้น พลาสติกถูกนำมาใช้แทนที่วัสดุอื่นๆ เช่น โลหะ ในหลากหลายอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์และอากาศยาน ที่ต้องการชิ้นส่วนน้ำหนักเบาแต่ยังคงให้ความแข็งแรงที่ตอบโจทย์การทำงานได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญคือทำให้ต้นทุนการผลิตชิ้นส่วนดังกล่าวลดลงเมื่อเทียบกับการใช้วัสดุอื่น การใช้วัสดุทดแทนจากพลาสติกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตามในยุคปัจจุบันการแข่งขันและแรงกดดันทางธุรกิจที่รุนแรง การดำเนินธุรกิจเพียงอาศัยแนวทางการลดต้นทุนเพียงอย่างเดียว ไม่อาจนำมาซึ่งความสำเร็จในทางธุรกิจที่ยั่งยืนได้ แต่หากธุรกิจใดที่ให้ความสำคัญและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยลดการใช้ทรัพยากร วัตถุดิบ และพลังงาน ลดการปล่อยมลสารและของเสีย จากกระบวนการผลิตหลักของตนสู่สิ่งแวดล้อม บริษัทนั้นจะสามารถนำพาธุรกิจให้ดำรงอยู่ทั้งในเวทีการค้าระดับประเทศและระดับโลกได้อย่างยั่งยืน
จากเหตุผลดังกล่าว บริการวิจัย หรือ เทคโนโลยีด้านการออกแบบวัสดุทดแทนจากพลาสติกเพื่อน้ำหนักเบาแต่คงความแข็งแรง หรือวัสดุที่มีส่วนผสมของวัสดุจากธรรมชาติสำหรับชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมต่างๆ จึงจำเป็นต้องมีทั้งความรู้ในด้านวัสดุ แนวทางการออกแบบและแนวทางการผลิตชิ้นงาน การใช้เครื่องจักรในการผลิตที่เหมาะสม และการปรับตั้งพารามิเตอร์ที่ควบคุมในกระบวนการที่เหมาะสม ความรู้ทางด้านสมบัติของวัสดุสามารถช่วยให้เห็นถึงความแตกต่างของวัสดุเดิมกับวัสดุทดแทน เนื่องจากการเลือกใช้วัสดุได้อย่างเหมาะสมต้องพิจารณาจากองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น ความแข็งแรง การรับแรง สภาวะการใช้งาน การกัดกร่อน ความสวยงามของผิว เป็นต้น การทดสอบเพื่อหาสมบัติเบื้องต้นของวัสดุก็เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยเปรียบเทียบสมบัติของวัสดุได้อย่างชัดเจน การออกแบบรูปร่างของชิ้นงานขึ้นอยู่กับข้อจำกัดทางด้านขนาด รูปร่าง ตำแหน่งในการติดตั้ง รวมถึงการออกแบบเพื่อเสริมความแข็งแรงของวัสดุ ดังนั้นเครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบสมัยใหม่ ดังเช่น คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบและวิเคราะห์ก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้น แต่ต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ในเชิงการผลิต ความรู้ทางด้านกระบวนการผลิตก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้การออกแบบรูปร่างชิ้นงานสามารถนำมาผลิตได้จริง นอกจากนั้นแล้วกระบวนการผลิตก็อาจส่งผลต่อคุณภาพและความแข็งแรงของชิ้นงานได้เช่นกัน
กำหนดการ
12:30-13:00 น. ลงทะเบียน
13:00-13:20 น. การพัฒนาและใช้งานพลาสติกในยุคเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ
(ดร.พัชรี ลาภสุริยกุล)
13:20-14.00 น. Lightweight plastic material and technology
ทางเลือกสำหรับการลดต้นทุนการผลิตชิ้นส่วนพลาสติก
(ดร.พัชรี ลาภสุริยกุล)
14:00-14:15 น. ร่วมทำแบบสอบถามด้าน Lightweight Plastic เพื่อรับของที่ระลึก
14.15-14.35 น. การพัฒนาวัสดุนาโนคอมโพสิตประสิทธิภาพสูงจากวัสดุชีวมวล
(High performance nanocomposites from lignocellulosic biomass
(ดร.บงกช หาระรักษ์)
14.40-15.00 น. การพัฒนากระบวนการขึ้นรูป Micro-pattern ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์
เพื่อตอบโจทย์เศรษฐกิจหมุนเวียน
(ดร.ชาริณี วิโนทพรรษ์)
15.05-15.30 น. Success Case
– การวิเคราะห์การไหลและการจำลองกระบวนการขึ้นรูปของวัสดุในอุตสาหกรรมพลาสติก
(ดร.พงษ์พิศณุ เมืองเจริญ)
วิทยากร
ดร.พัชรี ลาภสุริยกุล
นักวิจัย, ทีมวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติก
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
ดร.บงกช หาระรักษ์
นักวิจัย, ทีมวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติก
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
ดร.ชาริณี วิโนทพรรษ์
นักวิจัย, ทีมวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติก
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
ดร.พงษ์พิศณุ เมืองเจริญ
นักวิจัย, ทีมวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติก
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
การลงทะเบียน (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
https://www2.mtec.or.th/eventnstda/user/regisnow.aspx?EventID=S22023
– สำหรับผู้ที่เคยลงทะเบียนไว้แล้ว ให้ใส่ User Name และ Password และทำตามขั้นตอนใน website จนเสร็จสมบูรณ์
– สำหรับผู้ลงทะเบียนที่ยังไม่มี Username และ Password ต้องทำการลงทะเบียนก่อน ในช่อง New Registration และกรอก First name / Last name / E-mail Address แล้วกด submit จากนั้นให้กรอกข้อมูลส่วนตัวให้ครบถ้วน และทำตามขั้นตอนใน website โดยเมื่อท่านลงทะเบียนสำเร็จสมบูรณ์จะมีอีเมล์แจ้งกลับไปหาท่าน
หมายเหตุ
– กรณีที่ท่านสมัครแล้วแต่ติดภาระกิจไม่สามารถเข้าร่วมได้ ต้องการยกเลิกการสำรองที่นั่ง กรุณาแจ้งยกเลิกมายังผู้จัดทาง email: ponlathw@mtec.or.th ก่อนการอบรมอย่างน้อย 2 วันทำการ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สนใจท่านอื่นได้เข้าฟังการบรรยาย มิฉะนั้น ศูนย์ฯ จะเรียกเก็บค่าเตรียมการสำรองที่นั่งจากท่าน 1,000 บาท
– กรณีการยกเลิกหลักสูตร ผู้จัดงานฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกการจัดหลักสูตร โดยจะติดต่อแจ้งให้ผู้สมัครอบรมทราบ (ภายใน 1 สัปดาห์ก่อนการอบรม)
สมัครและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีวัสดุเพื่ออุตสาหกรรม (คุณพลธร เวณุนันท์)
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4677
E-mail : ponlathw@mtec.or.th