หลักสูตรอบรม
การใช้โปรแกรมจำลองในกระบวนการหล่อความดันสูง
(Simulation in Aluminum High pressure Die casting process)
จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
วันที่ 21-23 กันยายน 2565
เวลา 9.00-16.00 น.
อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี
หลักการและเหตุผล
การนำโปรแกรมจำลองกระบวนการหล่อความดันสูงมาใช้งาน สามารถลดเวลาและค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น เวลาในการออกแบบขั้นตอนการฉีดโลหะเหลวเข้าสู่แม่พิมพ์ (Filling) การแข็งตัวของโลหะเหลว (Solidification) ช่วยวิเคราะห์อุณหภูมิบริเวณต่างๆ ของแม่พิมพ์ (Die temperature) หรือวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาการฉีดชิ้นงานไม่เต็ม การเกิดโพรงในชิ้นงาน เป็นต้น นอกจากนี้ยังช่วยลดเวลาการลองผิดลองถูก (trial and error) ในช่วงการ setup แม่พิมพ์
การใช้โปรแกรมจำลองกระบวนการหล่อ ผู้ใช้จำเป็นต้องมีความเข้าใจในปัจจัยทางด้านกายภาพของกระบวนการหล่อความดันสูง ค่าคุณสมบัติต่างๆ ของวัสดุ (material properties) รวมถึงวิธีการสร้าง mesh และกำหนดเงื่อนไขเริ่มต้นต่างๆ (Initial condition) ในโปรแกรมจำลองกระบวนการหล่อ ซึ่งตัวแปรเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง การกำหนดค่าตัวแปรอย่างเหมาะสมสามารถช่วยให้ผลการคำนวณที่ได้จากโปรแกรมจำลองกระบวนการหล่อสอดคล้องกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสภาวะการหล่อที่หน้างานจริง
หมายเหตุ : เนื้อหาหลักสูตรเน้นให้ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจกระบวนการหล่อ high pressure die casting, ความเข้าใจในการ setup ค่าต่างๆ (mesh and parameter) ให้กับโปรแกรม simulation ไม่ได้สอนวิธีการใช้งานโปรแกรมจำลองกระบวนการหล่อ
วัตถุประสงค์
1. สร้างความเข้าใจในภาพรวมของการใช้งานโปรแกรมจำลองกระบวนการหล่อ HPDC
2. เข้าใจหลักการป้อนค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมในโปรแกรมจำลองกระบวนการหล่อ
3. เพื่อเพิ่มทักษะจากการนำความรู้จากส่วนที่ 1 และ 2 มาประยุกต์ใช้
กำหนดการ
วันที่ 21 กันยายน 2565
08.30 น. – 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 น. – 10.30 น. ความรู้เรื่องปัญหาคุณภาพชิ้นงานหล่อด้วย high pressure die casting
10.30 น. – 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.45 น. – 12.00 น. ความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะของกระบวนการหล่อความดันสูง
12.00 น. – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 14.30 น. 4 พฤติกรรมทางกายภาพที่ส่งผลกระทบต่องานหล่อ
14.30 น. – 14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
14.45 น. – 16.00 น. 4 พฤติกรรมทางกายภาพที่ส่งผลกระทบต่องานหล่อ (ต่อ)
วันที่ 22 กันยายน 2565
09.00 น. – 10.30 น. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ CAE (product design & process simulation)
10.30 น. – 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.45 น. – 12.00 น. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ CAE (product design & process simulation) (ต่อ)
12.00 น. – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 14.30 น. Workshop การนำ CAE มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการหล่อความดันสูง
14.30 น. – 14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
14.45 น. – 16.00 น. Parameter งานหล่อในโปรแกรม simulation และการอ่านผลจาก simulation
วันที่ 23 กันยายน 2565
09.00 น. – 10.30 น. การวิเคราะห์ปัญหาชิ้นงานเสีย (NG) ในกระบวนการหล่อความดันสูง
10.30 น. – 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.45 น. – 12.00 น. แนวทางการวิเคราะห์หาสาเหตุและวิธีแก้ไขปัญหาชิ้นงานหล่อ (1)
12.00 น. – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 14.30 น. แนวทางการวิเคราะห์หาสาเหตุและวิธีแก้ไขปัญหาชิ้นงานหล่อ (2)
14.30 น. – 14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
14.45 น. – 16.00 น. แนวทางการวิเคราะห์หาสาเหตุและวิธีแก้ไขปัญหาชิ้นงานหล่อ (3)
วิทยากร
ดร.พงษ์ศักดิ์ ดุลยประพันธ์
ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีกระบวนการหล่อความดันสูง
อดีตนักวิจัยด้านเทคโนโลยีการหล่อโลหะ
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
ดร.เสฏฐวรรธ สุจริตภวัตสกุล
วิศวกรอาวุโส
ทีมวิจัยวิศวกรรมยางขั้นสูง
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
คุณเอกชัย กิติแก้วทวีเสริฐ
วิศวกร
ทีมวิจัยเทคโนโลยีการผลิตอะลูมิเนียม
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
ค่าลงทะเบียน
บุคคลทั่วไป-เอกชน 9,500 บาท/ท่าน (รวม Vat7%)
ข้าราชการ-หน่วยงานรัฐ 8,878.50 บาท/ท่าน (ไม่มี Vat7%)
**รับสมัครจำนวน 15 ท่าน เท่านั้น**
หมายเหตุ
– ค่าลงทะเบียนรวมค่าอาหารว่าง อาหารกลางวัน เอกสารประกอบการอบรม และการเช่าเครื่อง Notebook
– สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%
การลงทะเบียน
ลงทะเบียนผ่านลิงค์เว็บไซต์ >>> https://www2.mtec.or.th/eventnstda/user/regisnow.aspx?EventID=S22033
**เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่นั่งในการอบรมเต็ม โปรดทำการลงทะเบียนตามช่องทางดังกล่าวเพื่อสำรองที่นั่งเอาไว้ก่อน แล้วโอนเงินชำระค่าลงทะเบียนในภายหลัง**
การชำระค่าลงทะเบียน
• โอนเงิน/ เช็ค สั่งจ่าย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์ สาขาย่อยอุทยานวิทยาศาสตร์ เลขที่บัญชี 080-000001-0
• กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินพร้อมระบุชื่อมาที่อีเมล boonrkk@mtec.or.th
สมัครและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คุณบุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์/ คุณพลธร เวณุนันท์
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4675, 4677
E-mail : boonrkk@mtec.or.th