หลักสูตรอบรม
อิทธิพลของ Parameters ในเครื่องฉีด High Pressure Die Casting
ที่ส่งผลต่อคุณภาพของชิ้นงานหล่อ
(Effect of Parameters on High pressure Die Casting Machine to Casting Quality)
จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม 2565 เวลา 9:00-16:00 น.
ห้องM120 อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี
หลักการและเหตุผล
กระบวนการหล่อโลหะความดันสูงเป็นกระบวนการที่ผลิตชิ้นงานโดยการฉีดโลหะให้ไหลเข้าสู่แม่พิมพ์ภายใต้แรงดันที่สูงและเวลาที่สั้น ทำให้สามารถผลิตชิ้นงานจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว ปัญหาคุณภาพของชิ้นงานที่มักพบในกระบวนการหล่อความดันสูงคือ (1) ปัญหาที่ผิวของชิ้นงาน เช่นชิ้นงานไม่เต็ม, เกิด flow line, เกิด cold shut เป็นต้น และ (2) ปัญหาในเนื้อชิ้นงาน เช่น โพรงอากาศ (gas porosity), โพรงหดตัว (shrinkage porosity) เป็นต้น หนึ่งในตัวแปรที่สำคัญคือค่าพารามิเตอร์ต่างๆของเครื่องฉีด การปรับตั้งค่าพารามิเตอร์ต่างๆของเครื่องฉีดให้เหมาะสม จะช่วยลดหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชิ้นงานหล่อได้
หมายเหตุ : ค่าพารามิเตอร์ต่างๆ และตัวอย่างส่วนใหญ่จะเป็นของ Cold chamber die casting
วัตถุประสงค์
1. สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับค่าพารามิเตอร์ต่างๆในเครื่องฉีด high pressure die casting
2. ผลกระทบของค่าพารามิเตอร์ที่ส่งผลต่อคุณภาพชิ้นงานหล่อ
3. ตัวอย่างกรณีศึกษาจากการนำความรู้จากส่วนที่ 1 และ 2 มาประยุกต์ใช้
หัวข้อบรรยาย
1. ข้อบกพร่องของชิ้นงานหล่อที่พบในกระบวนการหล่อไดคาสติ้ง
a. ลักษณะของข้อบกพร่องบนชิ้นงานหล่อไดคาสติ้งและการจัดกลุ่มของปัญหาข้อบกพร่องที่พบในกระบวนการหล่อไดคาสติ้ง
b. ข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในระหว่างขั้นตอนการฉีด
c. ข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในระหว่างขั้นตอนการแข็งตัวของโลหะ
2. ตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพของชิ้นงานหล่อไดคาสติ้ง
a. ตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพชิ้นงานหล่อในขั้นตอนการฉีด
b. ตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพชิ้นงานหล่อในขั้นตอนการแข็งตัวของโลหะ
3. การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาข้อบกพร่อง
a. การเก็บข้อมูลของปัญหาข้อบกพร่องบนชิ้นงานหล่อ
b. การเก็บข้อมูลการผลิตเพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์หาสาเหตุปัญหาข้อบกพร่อง
4. แนวทางการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาข้อบกพร่อง
a. ขั้นตอนการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาข้อบกพร่อง
b. การกำหนดขอบเขตปัญหาข้อบกพร่องที่ต้องการ
c. การนำข้อมูลปัญหาข้อบกพร่องบนชิ้นงานหล่อและข้อมูลกระบวนการผลิตมาใช้กำหนดสมมุติฐานของสาเหตุการเกิดข้อบกพร่องบนชิ้นงานหล่อ
d. การใช้ผลการคำนวณจากโปรแกรม Simulation ทดสอบสมมุติฐานของสาเหตุข้อบกพร่อง
5. การกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาข้อบกพร่อง
a. การกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องที่เป็นไปได้
b. การประเมินหาแนวทางการแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องที่เหมาะสมโดยพิจารณาจากข้อจำกัดที่มีอยู่ในกระบวนการผลิตจริง
6. กรณีศึกษาการวิเคราะห์หาสาเหตุปัญหาข้อบกพร่องและการแก้ไข
กำหนดการอบรม
8.30 – 9.00 – ลงทะเบียน
9.00 – 10.30 – เวลาในการบรรยาย
10.30 – 10.45 – พักเบรค
10.45 – 12.00 – เวลาในการบรรยาย
12.00 – 13.00 – พักกลางวัน
13.00 – 14.30 – เวลาในการบรรยาย
14.30 – 14.45 – พักเบรค
14.45 – 16.00 – เวลาในการบรรยาย
วิทยากร
ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่าน
ที่มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปีทางด้านงานวิจัยและพัฒนา
รวมถึงงานให้บริการทางด้านเทคนิค การให้คำปรึกษา ทางด้านเทคโนโลยีการหล่อโลหะ
จำนวนหลายโครงการในหลายบริษัทฯ
ดร.พงษ์ศักดิ์ ดุลยประพันธ์
– ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีกระบวนการหล่อความดันสูง
– อดีตนักวิจัยด้านเทคโนโลยีการหล่อโลหะ
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
คุณ เอกชัย กิติแก้วทวีเสริฐ
วิศวกร
ทีมวิจัยเทคโนโลยีการผลิตอะลูมิเนียม
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
รายละเอียดการลงทะเบียน
ค่าลงทะเบียน
บุคคลทั่วไป-เอกชน 3,000 บาท /ท่าน (รวม Vat7%)
ข้าราชการ-หน่วยงานรัฐ 2,803.74 บาท/ท่าน (ไม่มี Vat7%)
ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ที่
https://www2.mtec.or.th/eventnstda/user/regisnow.aspx?EventID=S22038
หมายเหตุ
– ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%
– มีเอกสารประกอบการอบรม ให้กับผู้เข้ารับการอบรม
– รับจำนวนจำกัดเพียง 20 ท่านเท่านั้น
กรณีที่ทางศูนย์ฯ ขอยกเลิกการจัดอบรม
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงการจัดอบรม อันเนื่องจากมีจำนวนผู้ลงทะเบียนเข้าอบรมจำนวนน้อยเกินไปหรือมีเหตุฉุกเฉินอื่นที่ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ โดยไม่ต้องชดเชยค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้สมัครในทุกกรณี
อย่างไรก็ตามผู้สมัครจะได้รับเงินคืนเต็มจำนวนสำหรับค่าอบรมที่ได้ชำระไว้ล่วงหน้า
**เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่นั่งในการอบรมเต็ม โปรดทำการลงทะเบียนตามช่องทางดังกล่าวเพื่อสำรองที่นั่งเอาไว้ก่อน แล้วค่อยดำเนินการโอนเงินชำระค่าลงทะเบียนในภายหลัง**
**โปรดดำเนินการชำระค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 22 ตุลาคม 2565 หากท่านไม่ชำระภายในระยะเวลาที่กำหนด ศูนย์ฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกการสำรองที่นั่งอบรมของท่าน**
การชำระค่าลงทะเบียน
ทำเช็คสั่งจ่าย/ โอนเงินเข้าบัญชี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์
สาขาย่อยอุทยานวิทยาศาสตร์ เลขที่บัญชี 080-000001-0
(กรุณาส่งหลักฐานการฝากเช็ค/ โอนเงินเข้าบัญชีมาทางอีเมล ponlathw@mtec.or.th)
สมัครและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีวัสดุเพื่ออุตสาหกรรม
(คุณพลธร เวณุนันท์ / คุณบุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4677, 4675
E-mail : ponlathw@mtec.or.th