การเตรียมพลาสติกคอมพาวด์ด้วย
กระบวนการอัดรีดแบบสกรูคู่และการแก้ปัญหา
(Plastics compounding: twin screw extrusion process and troubleshooting)
หลักการและเหตุผล
กระบวนการผลิตพลาสติกคอมพาวด์เป็นกระบวนการผลิตที่สำคัญกระบวนการหนึ่งในอุตสาหกรรมพลาสติก โดยในกระบวนการจะทำการหลอมเม็ดพลาสติกด้วยความร้อน ร่วมกับพอลิเมอร์ชนิดอื่นๆ สารเติมแต่ง (Additive) พลาสติไซเซอร์ (Plasticizer) สารตัวเติม (Filler) หรือสารอื่นๆ ที่สามารถช่วยพัฒนาและปรับปรุงสมบัติของพลาสติก เช่น ความแข็งแรง ความยืดหยุ่น สมบัติทางความร้อน สี รวมถึงต้นทุนในการผลิตให้เหมาะสมกับการใช้งานและความต้องการของผู้ใช้
อย่างไรก็ตามในการเตรียมพลาสติกคอมพาวด์นั้นผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้และความเข้าใจกระบวนการผลิตทั้งในส่วนของเครื่องจักรและอุปกรณ์ การตั้งสภาวะในกระบวนการผลิต รวมถึงสมบัติของพลาสติกที่ใช้ เพื่อทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการ และลดปัญหาการเกิดของเสีย รวมถึงสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการผลิตได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
การฝึกอบรมในหัวข้อ “การเตรียมพลาสติกคอมพาวด์ด้วยกระบวนการอัดรีดแบบสกรูคู่และการแก้ปัญหา” จะช่วยให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการผลิตพลาสติกคอมพาวด์ ทั้งในส่วนของเครื่องอัดรีดแบบสกรูคู่ การออกแบบสกรูที่เหมาะสม การตั้งสภาวะการผลิตที่เหมาะสมและการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิตพลาสติกคอมพาวด์ด้วยเครื่องอัดรีดแบบสกรูคู่
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้รับการฝึกอบรมมีความรู้พื้นฐานทางด้านการเตรียมพลาสติกคอมพาวด์ด้วยเครื่องอัดรีดแบบสกรูคู่ โดยเน้นให้เกิดความเข้าใจสมบัติสำคัญของพลาสติกที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอัดรีด เช่น สมบัติทางความร้อน และสมบัติการไหล และเข้าใจกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในเครื่องอัดรีดแบบสกรูคู่ การออกแบบสกรูคู่ รวมถึงวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการเตรียมพลาสติกคอมพาวด์
กลุ่มเป้าหมาย
บุคลากรในอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกคอมพาวด์และกระบวนการอัดรีดแบบสกรูคู่ และบุคคลทั่วไปที่สนใจ
วิทยากร
คุณ จารีนุช โรจน์เสถียร
ผู้ช่วยวิจัย
ทีมวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติก
กลุ่มวิจัยกระบวนการทางวัสดุและการผลิตอัตโนมัติ
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
ดร.พัชรี ลาภสุริยกุล
นักวิจัย
ทีมวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติก
กลุ่มวิจัยกระบวนการทางวัสดุและการผลิตอัตโนมัติ
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
หัวข้อที่บรรยาย
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับพลาสติกและสมบัติที่สำคัญ
กระบวนการผลิตพลาสติกคอมพาวด์
องค์ประกอบและอุปกรณ์ของเครื่องอัดรีดแบบสกรูคู่
พฤติกรรมของพลาสติกในเครื่องอัดรีดแบบสกรูคู่
หลักการออกแบบสกรูสำหรับเครื่องอัดรีดแบบสกรูคู่
การปรับตั้งสภาวะในกระบวนการผลิตพลาสติกคอมพาวด์ด้วยเครื่องอัดรีดแบบสกรูคู่
ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหากระบวนการผลิตพลาสติกคอมพาวด์ด้วยเครื่องอัดรีดแบบสกรูคู่
สาธิตกระบวนการผลิตพลาสติกคอมพาวด์ด้วยเครื่องอัดรีดแบบสกรูคู่ (Workshop)
กำหนดการอบรมในแต่ละวัน
วันจันทร์ที่ 3 เมษายน 2566
8.30 – 9.00 – ลงทะเบียน (เฉพาะวันแรก)
9.00 – 10.30 – เวลาในการบรรยาย
10.30 – 10.45 – พักรับประทานอาหารว่าง
10.45 – 12.00 – เวลาในการบรรยาย
12.00 – 13.00 – พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.30 – เวลาในการบรรยาย
14.30 – 14.45 – พักรับประทานอาหารว่าง
14.45 – 16.30 – เวลาในการบรรยาย
วันอังคารที่ 4 เมษายน 2566
9.00 – 10.30 – เวลาในการบรรยาย
10.30 – 10.45 – พักรับประทานอาหารว่าง
10.45 – 12.00 – เวลาในการบรรยาย
12.00 – 13.00 – พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.30 – เวลาในการทำ Workshop
14.30 – 14.45 – พักรับประทานอาหารว่าง
14.45 – 16.30 – เวลาในการทำ Workshop และสรุป
ค่าลงทะเบียน
แบ่งตามประเภทผู้เข้าอบรม ดังนี้
บุคคลทั่วไป/เอกชน ราคาจ่ายสุทธิรวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว 8,025 บาท/ท่าน
ข้าราชการ/พนักงานองค์กรของรัฐ ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม จ่ายสุทธิ 7,000 บาท/ท่าน
โปรดชำระค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 28 มีนาคม 2566
รับสมัครจำนวนจำกัดเพียง 30 ท่านเท่านั้น
หมายเหตุ
• อัตราค่าลงทะเบียนรวมค่าอาหารว่าง อาหารกลางวัน เอกสารประกอบการอบรม แล้ว
• ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%
การลงทะเบียน
ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์
https://www2.mtec.or.th/eventnstda/user/regisnow.aspx?EventID=S23005
การชำระค่าลงทะเบียน
โอนเงินเข้าบัญชี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์
สาขาย่อยอุทยานวิทยาศาสตร์ เลขที่บัญชี 080-000001-0
(กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินพร้อมระบุชื่อ, หน่วยงาน และหลักสูตรที่สมัครมาทางอีเมล ponlathw@mtec.or.th )
สมัครและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีวัสดุเพื่ออุตสาหกรรม (คุณพลธร / คุณบุญรักษ์)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
โทรศัพท์ 0 2564 6500 ต่อ 4677, 4675 โทรสาร 0 2564 6369
E-mail: ponlathw@mtec.or.th