หลักสูตรอบรม
การกัดกร่อนของโลหะที่อุณหภูมิสูงและกรณีศึกษา
(High Temperature Corrosion of Metals and Case Studies)
จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
ร่วมกับ
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
วันที่ 20-21 เมษายน 2566 เวลา 9.00-16.45 น.
ห้อง CC306 ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ. ปทุมธานี
หลักการและเหตุผล
โลหะผสมที่ใช้ในที่อุณหภูมิสูงในสภาพแวดล้อมที่ไม่เฉื่อย มักมีความเสี่ยงต่อการกัดกร่อนที่อุณหภูมิสูง โดยความเสี่ยงไม่ได้จำกัดในสิ่งแวดล้อมที่เป็นก๊าซเท่านั้น แต่รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เป็นของแข็งที่อยู่ในรูปเถ้าและตะกรันเกลือ และในสถานะของเหลว เช่น โลหะที่หลอมเหลวและเกลือที่หลอมละลาย การเสื่อมสภาพและการเสียหายของชิ้นส่วนโลหะจากการใช้งานที่อุณหภูมิสูงเป็นปัญหาสำคัญที่สามารถเกิดในหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ผลิตไฟฟ้า กลั่นน้ำมัน การบินและอวกาศ การแปรรูปโลหะ ยานยนต์ และการเผาขยะ เป็นต้น เนื่องจากการใช้งานที่สภาวะอุณหภูมิสูง สมบัติของโลหะมีแนวโน้มลดต่ำลงนอกจากนี้ยังเร่งให้เกิดปฏิกิริยากับสิ่งแวดล้อม จนนำไปสู่การเสื่อมสภาพของชิ้นส่วนโลหะง่ายขึ้นด้วยรูปแบบที่หลากหลาย เช่น ออกซิเดชัน คาร์บูไรเซชัน ฝุ่นโลหะ ไนไตรเดชัน คาร์บอนไนไตรเดชัน ซัลฟิเดชัน และคลอริเดชัน เป็นต้น
หลายอุตสาหกรรมในประเทศไทยพบปัญหานี้ข้างมาก เพราะการกัดกร่อนสามารถเกิดในสภาพแวดล้อมต่างๆ มากมาย และมีหลายปัจจัยเกี่ยวข้อง เช่น เกรดของโลหะผสม อุณหภูมิ ส่วนผสมในโลหะผสมและชั้นเคลือบ ความเค้น เวลา และองค์ประกอบของบรรยากาศ ดังนั้นการเพิ่มทักษะและพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการกัดกร่อนที่อุณหภูมิสูง เครื่องมือและเทคนิคในการวิเคราะห์ความเสียหายที่อุณภูมิสูงพร้อมกรณีตัวอย่างการวิเคราะห์ฯ ตลอดจนการเลือกใช้งานโลหะผสมที่เหมาะสม จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผู้ปฏิบัติงาน และ/หรือผู้เกี่ยวข้องในอุตสหากรรมดังกล่าวข้างต้น เพื่อป้องกันความเสียหายของชิ้นส่วนโลหะที่เกิดขึ้นในระหว่างการใช้งาน ซึ่งมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ จึงเน้นให้ผู้เข้าร่วมหลักสูตรเรียนรู้ความรู้ด้านการกัดกร่อนที่อุณหภูมิสูงอย่างเป็นระบบ เพื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบโดยตรง โดยมีการเรียนรู้ทั้งด้านทฤษฎีและการลงมือปฏิบัติอย่างใกล้ชิดจากทีมวิทยากรที่มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี
วัตถุประสงค์
1. เข้าใจความสำคัญของความเสียหายของโลหะที่อุณหภูมิสูง
2. ทราบหลักการ กลไก และสาเหตุความเสียหายของโลหะที่อุณหภูมิสูง
3. ทราบรูปแบบการเสียหายของชิ้นส่วนโลหะเมื่อใช้งานที่อุณหภูมิสูง
4. รู้เทคนิคและเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ความเสียหายของโลหะที่อุณหภูมิสูง
5. สามารถเลือกใช้โลหะและวัสดุที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานที่อุณหภูมิสูง
6. สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริง
กำหนดการและหัวข้อบรรยาย
วันที่ 20 เมษายน 2566
08.30 น. – 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 น. – 10.30 น. – ความรู้เบื้องต้น นิยามของความเสียหายที่อุณหภูมิสูง
– รูปแบบของความเสียหายที่อุณหภูมิสูง
โดย ดร.ปนัดดา เช็พเพิร์ด
10.30 น. – 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.45 น. – 12.00 น. รูปแบบของความเสียหายที่อุณหภูมิสูง (ต่อ)
โดย ดร.ปนัดดา เช็พเพิร์ด
12.00 น. – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 14.15 น. เครื่องมือและเทคนิคในการวิเคราะห์ความเสียหายที่อุณภูมิสูง
โดย อ.โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว
14.15 น. – 14.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
14.30 น. – 16.45 น. ภาคปฏิบัติ: การประยุกต์ใช้เทคนิคทางโลหะวิทยาในการตรวจสอบความเสียหายที่อุณหภูมิสูง (แบ่งเป็น 5 กลุ่ม)
สถานีที่ 1: เทคนิคการตรวจสอบผลิตภัณฑ์การกัดกร่อนและคราบออกไซด์ด้วย XRF และ XRD
สถานีที่ 2: เทคนิคการตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคเพื่อตรวจสอบการตกตะกอนของคาร์ไบด์ ตามขอบเกรนของ SS304H และการเสียหายด้วยรูปแบบคาร์บูไรเซชั่นของ SS310
สถานีที่ 3: เทคนิคการตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคด้วย SEM เพื่อตรวจสอบการเกิด Slip bands จาก Thermal fatigue และแตกร้าวตามขอบเกรนของ SS321 รวมทั้งเทคนิค SEM Mapping และ Line scanning
สถานีที่ 4: เทคนิคการตรวจสอบผิวหน้าแตกแบบจุลภาคด้วย SEM เพื่อตรวจสอบการขยายตัวของเกรนและการตกตะกอนของคาร์ไบด์ตามขอบเกรนของ Incoloy 800H
สถานีที่ 5: เทคนิคการลอกลายเพื่อตรวจสอบช่องว่างจากการคืบ (Creep voids) ของโลหะผสม
วันที่ 21 เมษายน 2566
09.00 น. – 10.30 น. การเลือกใช้วัสดุสำหรับใช้งานที่อุณหภูมิสูง
โดย ผศ.ดร.ธนพร โรจน์หิรัญสกุล
10.30 น. – 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.45 น. – 12.00 น. การเลือกใช้วัสดุสำหรับใช้งานที่อุณหภูมิสูง (ต่อ)
โดย ผศ.ดร.ธนพร โรจน์หิรัญสกุล
12.00 น. – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 14.30 น. กรณีศึกษาความเสียหายของโลหะที่อุณหภูมิสูง
โดย อ.ศิริวรรณ อ่วมปาน
14.30 น. – 14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
14.45. น. – 16.30 น. กรณีศึกษาความเสียหายของโลหะที่อุณหภูมิสูง (ต่อ)
โดย อ.ศิริวรรณ อ่วมปาน
16.30. น. – 16.45 น. ถาม-ตอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
วิทยากร
ดร.ปนัดดา เช็พเพิร์ด
ทีมวิจัยเทคโนโลยีการผลิตและซ่อมบำรุง
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่
ผศ.ดร.ธนพร โรจน์หิรัญสกุล
คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
อ.โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว
ทีมวิจัยเทคโนโลยีการผลิตและซ่อมบำรุง
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่
อ.ศิริวรรณ อ่วมปาน
ทีมวิจัยเทคโนโลยีการผลิตและซ่อมบำรุง
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่
ค่าลงทะเบียน
บุคคลทั่วไป/เอกชน ราคา 8,453 บาท/ท่าน (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ข้าราชการ/พนักงานองค์กรรัฐ ราคา 7,900 บาท/ท่าน (ไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม)
**รับสมัครจำนวน 20 ท่าน เท่านั้น**
หมายเหตุ
– อัตราค่าลงทะเบียนรวมค่าอาหารว่าง อาหารกลางวัน เอกสารประกอบการอบรม และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
– สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%
การลงทะเบียน
ลงทะเบียนออนไลน์
**เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่นั่งในการอบรมเต็ม โปรดทำการลงทะเบียนตามช่องทางดังกล่าวเพื่อสำรองที่นั่งเอาไว้ก่อน แล้วค่อยดำเนินการโอนเงินชำระค่าลงทะเบียนในภายหลัง**
การชำระค่าลงทะเบียน
• โอนเงิน/ เช็ค สั่งจ่าย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์ สาขาย่อยอุทยานวิทยาศาสตร์ เลขที่บัญชี 080-000001-0
• กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินพร้อมระบุชื่อมาที่อีเมล boonrkk@mtec.or.th
สมัครและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คุณบุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์/ คุณพลธร เวณุนันท์
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4675, 4677
E-mail : boonrkk@mtec.or.th