หลักสูตรอบรม
การวิเคราะห์ความเสียหายจากการกัดกร่อน
“Corrosion Failure Analysis Workshop”
จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
ร่วมกับ
ทีมวิจัยเทคโนโลยีการผลิตและซ่อมบำรุง
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและขนส่งสมัยใหม่
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
วันที่ 29-30 พฤษภาคม 2566
สถานที่ ห้องบรรยาย 1 อาคารบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี
หลักการและเหตุผล
การกัดกร่อนของวัสดุเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเป็นปัญหาที่สามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้มีผลกระทบต่อด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม บางครั้งยังทำให้มีการสูญเสียชีวิต อันเป็นผลมาจากสาเหตุมากมายหลายประการ เช่น การขาดความรู้พื้นฐานของศาสตร์ด้านการกัดกร่อน ขาดความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องในการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมในสภาวะสิ่งแวดล้อมนั้นๆ มีการบำรุงรักษาและการป้องกันที่ไม่ถูกต้องและเหมาะสม นอกจากนั้นยังพบว่าเมื่อเกิดปัญหาแล้วไม่ได้ทำการตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง เป็นต้น
จากข้อมูลที่ได้มีการสำรวจพบว่าต้นทุนการกัดกร่อนทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 2.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเทียบเท่ากับ 3.4% ของ GDP โลก (2013) ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ได้มีการสำรวจมูลค่าการเสียหายเนื่องจากการกัดกร่อน ในปี ค.ศ. 2002 พบว่ามีการสูญเสียงบประมาณที่เกิดจากการกัดกร่อนประมาณ 3.1 % GNP คิดเป็นเงิน 276 พันล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับประเทศไทยนั้นจากการสำรวจต้นทุนการกัดกร่อนในประเทศไทย (Corrosion Cost Survey in Thailand) ในระหว่างปี พ.ศ. 2552-2554 ซึ่งเป็นการสำรวจต้นทุนการกัดกร่อนอย่างเป็นระบบครั้งแรก พบว่ามีมูลค่าราว 466,600 ล้านบาท หรือประมาณ 4.8% GDP ซึ่งจะเห็นได้ว่าต้นทุนการกัดกร่อนนั้นมีมูลค่าสูงมาก
ดังนั้นในประเทศไทยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ศาสตร์ด้านการกัดกร่อนของโลหะ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้วัสดุที่มีมูลค่าสูง เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี โรงไฟฟ้า ชิ้นส่วนยานยนต์ และกระดาษ เป็นต้น เมื่อผู้ที่เกี่ยวข้องมีความรู้และความเข้าใจในศาสตร์ของการกัดกร่อนของโลหะแล้ว จะสามารถนำความรู้เหล่านั้นไปใช้ในการป้องการเสียหายจากการกัดกร่อนในรูปแบบต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกวัสดุที่เหมาะสม การบำรุงรักษาที่ถูกต้อง การวิเคราะห์หาสาเหตุที่เกิดขึ้น เป็นต้น ซึ่งจะทำให้เกิดการคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ลดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม และผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต
หลักสูตรการอบรมนี้ได้การออกแบบมาเพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้เกิดความเข้าใจทั้งเชิงทฤษฎีและปฏิบัติเกี่ยวกับศาสตร์ของการวิเคราะห์ความเสียหายของชิ้นส่วนโลหะจากการกัดกร่อน ผ่านการบรรยายทางทฤษฎีโดยทีมวิทยากรที่มีความรู้และประสบการณ์ตรงมากกว่า 20 ปี และมีภาคปฏิบัติเพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริง
วัตถุประสงค์
1. เข้าใจความสำคัญของการกัดกร่อนที่มีผลต่อเศรษฐกิจและสังคม
2. ทราบถึงหลักการเบื้องต้นของการกัดกร่อน
3. ทราบถึงกลไก สาเหตุ และการป้องกันการกัดกร่อนในรูปแบบต่างๆ
4. ทราบถึงเทคนิคการวิเคราะห์ความเสียหายจากการกัดกร่อน
5. ทราบเทคนิคและเครื่องมือในการศึกษาพฤติกรรมการกัดกร่อน
6. ได้เรียนรู้การเสียหายจากการกัดกร่อนด้วยรูปแบบต่างๆ ผ่านกรณีการวิเคราะห์ความเสียหาย
7. ได้เห็นและสังเกตลักษณะความเสียหายจากการกัดกร่อนที่เกิดขึ้นกับชิ้นงานจริง
8. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริง
รูปแบบกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการเน้นการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ
กลุ่มเป้าหมาย
ทุกอุตสาหกรรมที่ประสบปัญหาด้านการกัดกร่อน และต้องการหาสาเหตุรวมไปถึงวิธีป้องกันอย่างถูกวิธี
วิทยากร
กำหนดการ
วันที่ 29 พฤษภาคม 2566
08:30 น. – 09:00 น. ลงทะเบียน
09:00 น. – 09:30 น. การกัดกร่อนและการป้องกัน (ดร.วนิดา พงศ์ศักดิ์สวัสดิ์)
– หลักการเบื้องต้นของการกัดกร่อน
– จลนศาสตร์และอุณหพลศาสตร์ของการกัดกร่อน
09.30 น. – 10:30 น. รูปแบบการกัดกร่อน (ดร.วนิดา พงศ์ศักดิ์สวัสดิ์)
– การกัดกร่อนแบบทั่วผิวหน้า (Uniform corrosion)
– การกัดกร่อนแบบกัลวานิก (Galvanic corrosion)
– การกัดกร่อนแบบใต้รอยซ้อน (Crevice corrosion)
– การกัดกร่อนแบบรูเข็ม (Pitting corrosion)
– การสึกกร่อน-กัดกร่อน (Erosion-corrosion)
10:30 น. – 10:45 น. พักรับประทานอาหารว่าง เครื่องดื่ม และพบปะพูดคุยกัน
10:45 น. – 12:00 น. รูปแบบการกัดกร่อน (ต่อ)
– การแตกร้าวเนื่องจากความเค้นร่วมกับการกัดกร่อน (Stress corrosion cracking)
– การแตกร้าวเนื่องจากความล้าร่วมกับการกัดกร่อน (Corrosion fatigue cracking)
– การแตกร้าวจากการเหนี่ยวนำของไฮโดรเจน (Hydrogen induced cracking)
12:00 น. – 13:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 น. – 16:30 น. ภาคปฏิบัติ: การศึกษารูปแบบการเสียหายของชิ้นส่วนจากการกัดกร่อน (อ.สยาม แก้วคำไสย์ และ อ.วิษณุพงษ์ คนแรง)
แบ่งกลุ่มเป็น 5 กลุ่ม โดยให้แต่ละกลุ่มทำการศึกษารูปแบบการกัดกร่อนกับชิ้นส่วนที่กำหนดให้
สถานีที่ 1. การทดลอง galvanic corrosion และศึกษาชิ้นส่วนส่วนที่เสียหายแบบ galvanic
สถานีที่ 2. การศึกษาพฤติกรรมการเสียหายของวัสดุด้วยรูปแบบ pitting corrosion
สถานีที่ 3. การศึกษาการเสียหายของใบพัดด้วยรูปแบบ Intergranular corrosion cracking
สถานีที่ 4. การศึกษาการเสียหายของชิ้นส่วนด้วยรูปแบบ SCC และ MIC
สถานีที่ 5. การเสียหายของชิ้นส่วนด้วยรูปแบบ corrosion fatigue cracking และ erosion
16:30 น. – 17:00 น. สรุปภาคปฏิบัติการศึกษารูปแบบการเสียหายของชิ้นส่วนจากการกัดกร่อน
วันที่ 30 พฤษภาคม 2566
09:00 น. – 10:30 น. การวิเคราะห์ความเสียหายของโลหะที่เกิดจากการกัดกร่อน (อ.นิรุช บุญชู)
– ขั้นตอนการวิเคราะห์ชิ้นส่วนที่เสียหายจากการกัดกร่อน
– เครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์ความเสียหายจากการกัดกร่อน
10:30 น. – 10:45 น. พักรับประทานอาหารว่าง เครื่องดื่ม และพบปะพูดคุยกัน
10:45 น. – 12:15 น. การศึกษาและทดสอบพฤติกรรมการกัดกร่อน (อ.ปิยะ คำสุข)
12:15 น. – 13:15 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:15 น. – 14:30 น. กรณีศึกษาการกัดกร่อนของชิ้นส่วนทางวิศวกรรม (อ.โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว)
– การวิเคราะห์ความเสียหายของท่อลำเลียงสารเคมี (Erosion และ Cavitation)
– การวิเคราะห์ความเสียหายของชิ้นส่วนเฮดเดอร์ (Hydrogen Induced Cracking)
– การวิเคราะห์ความเสียหายของท่อลำเลียงน้ำ (Crevice Corrosion และ MIC)
14:30 น. – 14:45 น. พักรับประทานอาหารว่าง เครื่องดื่ม และพบปะพูดคุยกัน
14:45 น. – 16:30 น. กรณีศึกษาการกัดกร่อนของชิ้นส่วนทางวิศวกรรม (อ.ศิริวรรณ อ่วมปาน)
– การวิเคราะห์หาสาเหตุการแตกร้าวของท่อลำเลียงสารเคมี (Intergranular Corrosion)
– การวิเคราะห์ความเสียหายของท่อลำเลียงสารเคมี (CUI, Pitting และ SCC)
– การวิเคราะห์ความเสียหายของท่อลำเลียงน้ำมัน (CO2 Corrosion)
16:30 น. – 16:45 น. มอบใบประกาศนียบัตรและถ่ายรูป
ค่าลงทะเบียน
บุคคลทั่วไป/เอกชน ราคา 8,453 บาท/ท่าน (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ข้าราชการ/พนักงานองค์กรรัฐ ราคา 7,900 บาท/ท่าน (ไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม)
หมายเหตุ
– อัตราค่าลงทะเบียนรวมค่าอาหารว่าง อาหารกลางวัน เอกสารประกอบการอบรม และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
– สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%
– รับจำนวนจำกัดเพียง 25 ท่านเท่านั้น
การลงทะเบียน
ลงทะเบียนออนไลน์ >>>
การชำระค่าลงทะเบียน
โอนเงิน/ เช็ค สั่งจ่าย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์ สาขาย่อยอุทยานวิทยาศาสตร์ เลขที่บัญชี 080-000001-0
สมัครและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีวัสดุเพื่ออุตสาหกรรม (คุณบุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์/ คุณพลธร เวณุนันท์)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4675, 4677 E-mail : boonrkk@mtec.or.th