การสัมมนาเรื่อง
ถอดบทเรียนงานพัฒนาผลงานเครื่องช่วยหายใจและเครื่องจ่ายออกซิเจน
ท่ามกลางกระแสความต้องการในช่วงการระบาด COVID-19
และแง่มุมเชิงเทคนิคเพื่อรองรับสถานการณ์ในอนาคต
จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ร่วมกับ
โครงการพัฒนาสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า
กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และ
สำนักบริหารงานวิจัยและนวัตกรรมพระจอมเกล้าลาดกระบัง (KRIS)
วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม 2566
จัดสัมมนา Hybrid คู่ขนาน 2 รูปแบบ เวลา 9.00-12.00 น.
ท่านสามารถเลือกเข้าร่วมฟังสัมมนาออนไลน์ผ่านโปรแกรม Cisco WebEx Meeting
หรือฟังสัมมนาที่ห้อง MR222 ศูนย์นิทรรศการฯ ไบเทค กรุงเทพฯ
ภายในงาน INTEMACH 2023
ในช่วงการระบาด COVID-19 หลายหน่วยงานที่รับผิดชอบล้วนพยายามหาหนทางช่วยบรรเทาปัญหาในระหว่างที่กระบวนการปรับตัวของสังคมให้เข้าสู่ภาวะที่ปลอดภัยมากขึ้นนั้น ในขณะที่หน่วยงานด้านการวิจัยและพัฒนา นักวิจัยในสาขาต่าง ๆ จำนวนมากพร้อมใจกันผลักดันแนวทางด้านงานวิจัยในกลุ่มเครื่องมือและอุปกรณ์ให้มาสู่โหมดการพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อการเข้าถึงของผู้ป่วยและผู้ต้องการใช้งานจำนวนมากในสภาวะที่เครื่องมือแพทย์และสถานพยาบาลแออัดไปด้วยผู้ป่วยจาก COVID-19 และภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นหน่วยงานหนึ่งที่พยายามผลักดันการพัฒนาผลงานด้านเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการดูแลผู้ป่วย โดยได้สนับสนุนงบประมาณให้กับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในการพัฒนาเครื่องช่วยหายใจและเครื่องจ่ายออกซิเจน ต่อเนื่องจากที่สถาบันฯ เองประสบผลสำเร็จในการพัฒนาผลงานด้วยต้นทุนต่ำและสามารถผลิตจำนวนมากได้ในสภาวะการณ์ดังกล่าว การพัฒนาต่อเนื่องในรุ่นต่อมาคือการปรับเปลี่ยนการออกแบบให้เครื่องช่วยหายใจและเครื่องจ่ายออกซิเจนมีสมรรถนะและรูปลักษณ์เพื่อการใช้งานได้สะดวกขึ้น สามารถแจกจ่ายให้กับสถานพยาบาลในเครือข่ายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้ในวงกว้างและทั่วถึง ช่วยบรรเทาภาวการณ์ขาดแคลนเครื่องมือช่วยชีวิตได้ในระดับหนึ่ง ในการบรรยายหัวข้อถอดบทเรียนของกิจกรรมที่กล่าวถึงนี้ ทีมวิจัยจะได้สรุปแนวทางต่าง ๆ และแง่คิดที่ได้จากการพยายามเร่งพัฒนาผลงานที่แข่งกับเวลาเพื่อนำเสนอเป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง ส่วนหนึ่งเพื่อการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต ด้วยความเข้าใจและสามารถกำหนดทิศทางได้เร็วกว่าเดิมด้วยองค์ความรู้ที่เตรียมพร้อมรับสถานการณ์
กำหนดการ
08.30-09.00 น. ลงทะเบียน
09.00-10.30 น. การบรรยายช่วงที่ 1 โดย ดร.ภูมิ คงห้วยรอบ
10.30-10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.45-12.00 น. การบรรยายช่วงที่ 2 โดย ผศ.ดร.รัชนี กุลยานนท์
วิทยากร
ผศ.ดร.รัชนี กุลยานนท์
รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ดร.ภูมิ คงห้วยรอบ
หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
การลงทะเบียน (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
ลงทะเบียนออนไลน์ที่ >>>
– ผู้ที่เคยลงทะเบียนไว้แล้ว ให้ใส่ User Name และ Password และทำตามขั้นตอนใน website จนเสร็จสมบูรณ์
– สำหรับผู้ลงทะเบียนที่ยังไม่มี Username และ Password ต้องทำการลงทะเบียนก่อน ในช่อง New Registration และกรอก First name / Last name / E-mail Address แล้วกด submit จากนั้นกรอกข้อมูลส่วนตัวให้ครบถ้วน และทำตามขั้นตอนใน website โดยเมื่อท่านลงทะเบียนสำเร็จสมบูรณ์จะมีอีเมล์แจ้งกลับไปหาท่าน
หมายเหตุ
– กรณีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมฟังการสัมมนา ติดภาระกิจไม่สามารถเข้าร่วมได้ โปรดแจ้งยกเลิกมายังผู้จัดทาง email: ponlathw@mtec.or.th ภายในวันที่ 8 พฤษภาคม 2566 เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สนใจท่านอื่นต่อไป หากท่านไม่แจ้งยกเลิก ศูนย์ฯ จะเรียกเก็บค่าเตรียมการสำรองที่นั่งจากท่าน 1,000 บาท
– กรณียกเลิกจัดการเสวนา ผู้จัดงานฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกการจัดกิจกรรม โดยจะติดต่อแจ้งให้ผู้ลงทะเบียนทราบภายใน 1 สัปดาห์ก่อนการเสวนา
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีวัสดุเพื่ออุตสาหกรรม (คุณพลธร เวณุนันท์/ คุณบุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4677, 4675
E-mail : ponlathw@mtec.or.th