การสัมมนา
เทคโนโลยีในการเดินทางทางทะเล และการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทางเรือ
(Marine Technology on the Marine Tourism)
จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ร่วมกับ
โครงการพัฒนาสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า
กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม 2566
จัดสัมมนา Hybrid คู่ขนาน 2 รูปแบบ เวลา 13.00-16.00 น.
ท่านสามารถเลือกเข้าร่วมฟังสัมมนาออนไลน์ผ่านโปรแกรม Cisco WebEx Meeting
หรือฟังสัมมนาที่ห้อง MR222 ศูนย์นิทรรศการฯ ไบเทค กรุงเทพฯ
ภายในงาน INTEMACH 2023
ประเทศไทยมีรายได้หลักจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว หลังการแพร่ระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัส หรือ COVID-19 ประเทศไทยเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติด้วยความคาดหวังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยว เพื่อให้บรรยากาศกลับมาคึกคักเช่นก่อนเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ที่ผ่านมาการท่องเที่ยวทางน้ำ ทั้งการสัญจรทางลำคลอง แม่น้ำ อ่างเก็บน้ำ เขื่อน และทางทะเลที่ขนาบด้วยอ่าวไทยและอันดามัน เป็นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่สำคัญมาก และสิ่งที่จะขาดไปไม่ได้คือ สิ่งก่อสร้างและยานพาหนะสำหรับเดินทางและเพื่อกิจกรรมทางน้ำซึ่งมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน ขีดความสามารถทางวิศวกรรมทางทะเลของไทยจึงมีการพัฒนาควบคู่กัน ได้แก่ การสร้างเรือท่องเที่ยว เรือสำราญ เรือสินค้า ทุ่นลอยน้ำ โป๊ะลอยน้ำ ท่าเทียบเรือ แท่นขุดเจาะน้ำมัน และแหล่งพลังงานทางเลือกทางทะเล เป็นต้น
เทคโนโลยีทางทะเลจึงมีส่วนเข้ามาช่วยในการพัฒนาการท่องเที่ยวทางน้ำของไทย ในอดีตและปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่เข้ามาท่องเที่ยวและมีโอกาสใช้อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อกิจกรรมทางน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการล่องเรือ แล่นเรือใบ ดำน้ำดูปะการัง เซิร์ฟบอร์ด เจ็ตสกี เหล่านี้เป็นต้น อุปกรณ์ในการทำกิจกรรมแต่ละประเภทที่ได้ยกตัวอย่างมานั้น คือการนำเทคโนโลยีทางการผลิต เทคโนโลยีทางทะเลและลักษณะการนำไปใช้งานที่แตกต่างกันมาพัฒนาต่อยอด อีกทั้งยังสามารถผลิตเป็นสินค้าส่งออกไปยังต่างประเทศอีกด้วย เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องทางทะเลต่างๆ จึงมีส่วนสำคัญอย่างมากที่รัฐบาลควรสนับสนุนและส่งเสริมให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายต่อไป
โดยการบรรยายในหัวข้อนี้จะนำเสนอรายละเอียดที่เกี่ยวข้องทั้งในลักษณะจำเพาะของเทคโนโลยี รวมถึงปัจจัยแวดล้อมเพื่อนำไปต่อยอดองค์ความรู้ในภาพรวมของวิศวกรรมและเทคโนโลยีทางทะเลที่จะเป็นประโยชน์กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
กำหนดการ
12.30-13.00 น. ลงทะเบียน
13.00-14.30 น. การบรรยาย โดย ดร. ไพรีพินาศ พิมพิสาร
14.30-14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
14.45-16.00 น. การบรรยาย โดย ดร. ไพรีพินาศ พิมพิสาร
วิทยากร
ดร.ไพรีพินาศ พิมพิสาร
สาขาวิชาวิศวกรรมต่อเรือและเครื่องกลเรือ
คณะพาณิชยนาวีนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
การลงทะเบียน (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
ลงทะเบียนออนไลน์ที่ >>>
– ผู้ที่เคยลงทะเบียนไว้แล้ว ให้ใส่ User Name และ Password และทำตามขั้นตอนใน website จนเสร็จสมบูรณ์
– สำหรับผู้ลงทะเบียนที่ยังไม่มี Username และ Password ต้องทำการลงทะเบียนก่อน ในช่อง New Registration และกรอก First name / Last name / E-mail Address แล้วกด submit จากนั้นกรอกข้อมูลส่วนตัวให้ครบถ้วน และทำตามขั้นตอนใน website โดยเมื่อท่านลงทะเบียนสำเร็จสมบูรณ์จะมีอีเมล์แจ้งกลับไปหาท่าน
หมายเหตุ
– กรณีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมฟังการสัมมนา ติดภาระกิจไม่สามารถเข้าร่วมได้ โปรดแจ้งยกเลิกมายังผู้จัดทาง email: boonrkk@mtec.or.th ภายในวันที่ 8 พฤษภาคม 2566 เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สนใจท่านอื่นต่อไป หากท่านไม่แจ้งยกเลิก ศูนย์ฯ จะเรียกเก็บค่าเตรียมการสำรองที่นั่งจากท่าน 1,000 บาท
– กรณียกเลิกจัดการเสวนา ผู้จัดงานฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกการจัดกิจกรรม โดยจะติดต่อแจ้งให้ผู้ลงทะเบียนทราบภายใน 1 สัปดาห์ก่อนการเสวนา
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีวัสดุเพื่ออุตสาหกรรม (คุณบุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4675
E-mail : boonrkk@mtec.or.th