หลักสูตรอบรม
การชุบแข็งชิ้นส่วนยานยนต์และเครื่องจักรกล
(Hardening of Automotive and Machine Parts)
วันที่ 29 – 30 มิถุนายน 2566 เวลา 9:00-17:00 น.
จัดอบรมแบบคู่ขนาน (Hybrid Training)
รูปแบบที่ 1 อบรมออนไลน์ผ่านโปรแกรม Cisco Web Ex
รูปแบบที่ 2 อบรมที่อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี
จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ร่วมกับ
สมาคมการอบชุบทางความร้อนไทย
หลักการและเหตุผล
การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และเครื่องจักรกล นับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญมากสาขาหนึ่งของประเทศ แม้ว่าปัจจุบันจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของโลก แต่ก็ยังเป็นอุตสาหกรรมหลักด้านการผลิตของประเทศ การชุบแข็งมักจะเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และเครื่องจักรกล โดยเฉพาะชิ้นส่วนที่ต้องรับแรงหรือต้องรับการเสียดสีสูง กระบวนการชุบแข็งจึงนับว่าเป็นกระบวนการสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพของชิ้นส่วนโดยตรง ดังนั้นการเข้าใจถึงหลักการ และขั้นตอนการดำเนินการจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ผลิต
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการการชุบแข็งวิธีต่าง ๆ รวมถึงกลุ่มเหล็กกล้า และการตรวจสอบคุณภาพงานชุบแข็ง ที่ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และเครื่องจักรกล
กลุ่มเป้าหมาย
กำหนดการ
08:30 น. – 09:00 น. ลงทะเบียน – เปิดห้องบรรยายออนไลน์
09:00 น. – 12:00 น. โลหะวิทยาเบื้องต้น (Introduction to Metallurgy )
แผ่นภาพสมดุลย์เหล็กคาร์บอน (Iron – Carbon Equilibrium Diagram)
อิทธิพลของคาร์บอนและสารเจือในเหล็กกล้า (Influence of Carbon and Alloys in Steels)
การแบ่งเกรดเหล็กกล้า (Steel Classification)
12:00 น. – 13:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 น. – 16:00 น. การชุบแข็งเหล็กกล้า (Hardening of Steels)
1. ชุบแข็งทั้งชิ้น (Full Hardening)
2. ชุบแข็งแบบมาร์เทมเปอริ่ง (Martempering)
3. ชุบแข็งแบบออสเทมเปอริ่ง (Austempering)
09:00 น. – 12:00 น. การชุบผิวแข็ง (Surface Hardening)
1. การชุบผิวแข็งอินดักชั่น (Induction Hardening)
2. การชุบผิวแข็งแบบคาร์บุไรซิ่ง (Carburizing)
3. การชุบผิวแข็งแบบคาร์โบไนไตรดิ่ง (Carbonitriding)
12:00 น. – 13:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 น. – 16:00 น. เตาชุบแข็งรูปแบบต่าง ๆ (Type of Furnaces)
การตรวจสอบคุณภาพงานชุบแข็ง (Quality Test of Hardened Work Piece)
1. การวัดความแข็ง (Hardness Test) HB, HV, HRC, HRA, Micro Vickers
2. การตรวจสอบโครงสร้างจุลภาค (Micro Structure Examination)
3. การตรวจหารอยร้าว (Inspection for Surface Crack)
Q&A
รศ.สมนึก วัฒนศรียกุล
• ข้าราชการบำนาญ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมการผลิต
คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ราคาสำหรับข้าราชการและพนักงานองค์กรรัฐ 7,000 บาท/ท่าน (ไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)
ราคาสำหรับบุคคลทั่วไปและภาคเอกชน 7,490 บาท/ท่าน (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)
– ผู้เข้าร่วมหลักสูตรอบรมทาง On line และ On-site จะได้รับเอกสารประกอบการอบรมแบบรูปเล่ม (พิมพ์ขาว-ดำ)
– รับจำนวนจำกัดเพียง 20 ท่านเท่านั้น
กรณีที่ทางศูนย์ขอยกเลิกการจัดอบรม
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงการจัดอบรม อันเนื่องจากมีจำนวนผู้ลงทะเบียนเข้าอบรมจำนวนน้อยเกินไปหรือมีเหตุฉุกเฉินอื่นที่ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ โดยไม่ต้องชดเชยค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้สมัครในทุกกรณี
อย่างไรก็ตามผู้สมัครจะได้รับเงินคืนเต็มจำนวนสำหรับค่าอบรมที่ได้ชำระไว้ล่วงหน้า
ช่องทางการลงทะเบียน
ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ที่
https://www2.mtec.or.th/eventnstda/user/regisnow.aspx?EventID=S23019
**เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่นั่งในการอบรมเต็ม โปรดทำการลงทะเบียนตามช่องทางดังกล่าวเพื่อสำรองที่นั่งเอาไว้ก่อน แล้วค่อยดำเนินการโอนเงินชำระค่าลงทะเบียนในภายหลัง**
**โปรดดำเนินการชำระค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 26 มิถุนายน 2566 หากท่านไม่ชำระภายในระยะเวลาที่กำหนด ศูนย์ฯขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกการสำรองที่นั่งอบรมของท่าน**
การชำระค่าลงทะเบียน
โอนเงิน หรือ ทำเช็ค สั่งจ่ายในนาม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ แล้วนำเช็คฝากเข้าบัญชี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์ สาขาย่อยอุทยานวิทยาศาสตร์ เลขที่บัญชี 080-000001-0 ภายในวันที่ 26 มิถุนายน 2566 (กรุณาส่งหลักฐานการฝากเช็คเข้าบัญชีพร้อมระบุชื่อ, หน่วยงาน มาทางอีเมล boonrkk@mtec.or.th)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีวัสดุเพื่ออุตสาหกรรม (คุณบุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4675
E-mail : boonrkk@mtec.or.th