หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ
เทคโนโลยีโลหะผงและการพิมพ์สามมิติ
(Powder Metallurgy and Metal Powder 3D Printing)
จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
ร่วมกับ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
วันที่ 20-21 กรกฎาคม 2566 เวลา 9:00-16:00 น.
ห้อง A08-506 ชั้น 5 อาคาร S4 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรุงเทพฯ
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมหลักสูตรได้เรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตชิ้นส่วนโลหะผงด้วยกระบวนการขึ้นรูปในแบบต่างๆ ทั้งกระบวนการอัดขึ้นรูป กระบวนการฉีดขึ้นรูป และกระบวนการทางความร้อนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเทคโนโลยีการผลิตแบบเพิ่มเนื้อ (additive manufacturing, AM, 3D printing) และมีโอกาสทดลองใช้งานเครื่องพิมพ์สามมิติประเภท laser powder bed fusion (L-PBF)
กำหนดการ
วันที่ 20 กรกฎาคม 2566
09.00–09.45 น. รู้จักเทคโนโลยีโลหะผงแบบดั้งเดิม โดย คุณภาณุ เวทยนุกูล
• เทคโนโลยีโลหะผง และ เทคโนโลยีโลหะผงแบบดั้งเดิม คืออะไร
• รู้จักจุดเด่น จุดด้อย ของเทคโนโลยี
• ชิ้นงานในอุตสาหกรรมแบบใดบ้างที่เหมาะสมกับเทคโนโลยีนี้
09.45–10.45 น. รู้จักเทคโนโลยีการผลิตแบบเพิ่มเนื้อ (additive manufacturing, AM) โดย ดร.ศศิธร ศรีสวัสดิ์
• เทคโนโลยีการผลิตแบบเพิ่มเนื้อ คืออะไร
• รู้จักจุดเด่น จุดด้อย ของเทคโนโลยี
• ชิ้นงานในอุตสาหกรรมแบบใดบ้างที่เหมาะสมกับเทคโนโลยีนี้
10.45–11.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง
11.00–12.00 น. ผงโลหะ มาจากไหน โดย คุณภาณุ เวทยนุกูล
• รู้จักกระบวนการผลิตผงโลหะ
• ประเภทของผงโลหะ
• การใช้งานผงโลหะให้เหมาะสมกับกระบวนการผลิต
12.00–13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00–14.15 น. การขึ้นรูปผงโลหะแบบดั้งเดิม โดย คุณภาณุ เวทยนุกูล
• รู้จักกระบวนการขึ้นรูปผงโลหะให้เป็นชิ้นงาน การอัดขึ้นรูป การฉีดขึ้นรูป
• การเผาไล่ตัวประสาน การเผาประสาน (การอัดขึ้นรูป การฉีดขึ้นรูป)
• การอบชุบ (Heat treatment)
• การอบอ่อน (Annealing)
14.15–14.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
14.30–15.15 น. ประเภทของกระบวนการผลิตแบบ AM โดย ดร.ศศิธร ศรีสวัสดิ์
• เทคโนโลยีการผลิตแบบ AM สำหรับวัสดุประเภทพอลิเมอร์
• เทคโนโลยีการผลิตแบบ AM สำหรับวัสดุประเภทโลหะ
15.15–16.00 น. Case study: ตัวอย่างชิ้นงานที่ใช้เทคโนโลยีโลหะผงและการผลิตแบบ AM ในปัจจุบัน โดย ดร.ศศิธร ศรีสวัสดิ์ และ คุณภาณุ เวทยนุกูล
วันที่ 21 กรกฏาคม 2566
09.00–10.15 น. เสวนาพิเศษเรื่อง อนาคตของเทคโนโลยีการผลิตแบบ AM ในประเทศไทย
10.15–10.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.30–12.00 น. การตั้งค่าตัวแปรในการผลิตแบบ AM และการควบคุมคุณภาพการผลิต โดย ผศ. ดร.พชรพิชญ์ พรหมอุปถัมภ์
12.00–13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00–15.45 น. การเตรียมไฟล์ด้วยโปรแกรม Materialize / การเตรียมการขึ้นรูปสำหรับเครื่อง laser powder bed fusion (L-PBF) (ภาคปฏิบัติ)
15.45-16.00 น. Q & A
*หมายเหตุ ผู้เข้าร่วมหลักสูตรต้องนำเครื่อง Notebook ของตนเองมาใช้ในการเตรียมไฟล์ด้วยโปรแกรม Materialize
วิทยากร
อ.ภาณุ เวทยนุกูล
ทีมวิจัยเทคโนโลยีกระบวนการผลิตวัสดุผง
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
ดร.ศศิธร ศรีสวัสดิ์
ทีมวิจัยวัสดุเฉพาะทางสำหรับการประยุกต์ใช้ทางวิศวกรรม
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
ผศ.ดร.พชรพิชญ์ พรหมอุปถัมภ์
คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
การลงทะเบียน
ลงทะเบียนออนไลน์ >>>
ค่าลงทะเบียน
ราคาสำหรับข้าราชการและพนักงานองค์กรรัฐ 7,500 บาท/ท่าน (ไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)
ราคาสำหรับบุคคลทั่วไปและภาคเอกชน 8,025 บาท/ท่าน (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)
การชำระค่าลงทะเบียน
– โอนเงินเข้าบัญชี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์ สาขาย่อยอุทยานวิทยาศาสตร์ เลขที่บัญชี
– กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินพร้อมระบุชื่อ หน่วยงาน และหลักสูตรที่สมัครมาทาง Email: boonrkk@mtec.or.th
หมายเหตุ
– สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่
งานพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีวัสดุเพื่ออุตสาหกรรม (บุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์)
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4675
E-mail : boonrkk@mtec.or.th