หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ
การวิเคราะห์ผิวหน้าแตกหักโลหะภาคปฏิบัติ
(Practical Fractography of Metals)
จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
ร่วมกับ
ทีมวิจัยเทคโนโลยีการผลิตและซ่อมบำรุง
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและขนส่งสมัยใหม่
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
วันที่ 14-15 กันยายน 2566 เวลา 9.00-17.00 น.
ณ ห้องบรรยาย 1 อาคารบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี
หลักการและเหตุผล
เมื่อชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ทางวิศวกรรมได้รับความเสียหายจากการกระทำของแรงทางกลจนนำไปสู่การแตกหัก การศึกษาผิวหน้าแตกหัก (Fractography) ซึ่งเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์มักถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์ความเสียหายของชิ้นส่วนร่วมกับศาสตร์อื่นๆ เนื่องจากผิวหน้าแตกหักของชิ้นงานมีประโยชน์อย่างมากสำหรับนักวิเคราะห์ความเสียหาย โดยบนผิวหน้าแตกหักมีรายละเอียดมากมายที่สามารถบ่งบอกถึงสาเหตุของการเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นจุดเริ่มต้น ทิศทางการขยายตัวของรอยแตก ระยะเวลา แรงและทิศทางที่กระทำกับชิ้นงาน และจากข้อมูลที่ได้มีการรวบรวมกันไว้ในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันพบว่าการแตกหักเสียหายจากการล้า (Fatigue Failure) เป็นรูปแบบการเสียหายที่เกิดขึ้นกับเครื่องจักรกลและโครงสร้างต่างๆ ประมาณ 80-90 เปอร์เซ็นต์ของการเสียหายจากการแรงทางกล ดังนั้นผิวหน้าแตกหักจากการล้าจึงเป็นหัวข้อที่น่าศึกษาอย่างยิ่ง
เป้าหมายหลักของการวิเคราะห์ผิวหน้าแตกหักคือ การหาจุดเริ่มรอยแตก แล้วไปขยายผลซึ่งจะได้รับทราบรากของปัญหาทางวัสดุ แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าตรงไหนเป็นจุดเริ่มรอยแตก? แล้วจะไปขยายผลอย่างไร? มีหลายครั้งที่การอธิบายกลไกการแตกหักอาจค่อนข้างยุ่งยากแต่ท้าทายเนื่องจากความหลากหลาย/สลับซับซ้อนของวัสดุ สภาวะ/เงื่อนไขการรับแรง และสิ่งแวดล้อม และบ่อยครั้งที่คุณลักษณะที่น่าสนใจบนผิวหน้าแตกหักถูกบดบังหรือถูกทำลายบางส่วนจากการเสียดสีหรือกัดกร่อน (จากการทิ้งไว้นาน) ท่านไม่ต้องหนักใจ หลักสูตรนี้มีคำตอบ เนื่องจากการอบรมนี้ได้การออกแบบมาเพื่อให้เข้าใจเชิงปฏิบัติของการวิเคราะห์ผิวหน้าแตกหักผ่านการผสมผสานระหว่างการบรรยายและประสบการณ์ตรงของทีมงานที่สะสมมามากกว่า 20 ปี ทฤษฎีและตัวอย่างที่นำเสนอในการบรรยายจะมีทั้งการตรวจสอบจากชิ้นส่วนที่เสียหายในห้องปฏิบัติการทั้งในระดับมหภาคและระดับจุลภาค การตรวจด้วยสายตารวมถึงการใช้กล้องจุลทรรศน์สเตอริโอจะช่วยยืนยันรูปแบบการแตกหัก (Fracture modes) และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) จะถูกนำมาใช้เพื่อยืนยันกลไกการแตกหัก (Fracture mechanism) ของตัวอย่างที่เสียหาย และสำหรับภาคปฏิบัติที่มุ่งเน้นให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริงโดยมีการสนับสนุนเครื่องมือในการตรวจผิวแตกจากบริษัทเอกชน
วัตถุประสงค์
การจัดสัมมนาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ร่วมสัมมนา
1. มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเสียหายของโลหะที่มีการแตกหักเกิดขึ้น
2. ทราบความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุและผลกระทบที่สำคัญของการแตกหักของโลหะ
3. เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะผิวหน้าแตกหักกับสาเหตุการแตกหักของโลหะ
4. ทราบแนวทางในการวิเคราะห์ผิวหน้าแตกหักตามหลักปฏิบัติที่เป็นสากล
5. สามารถแยกแยะรูปแบบผิวหน้าแตกหักจากลักษณะที่ปรากฏบนผิวหน้าแตกหัก
6. สามารถหาจุดเริ่มต้นรอยแตกเพื่อขยายผลเชิงลึกได้
7. สามารถนำเสนอและถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้อื่นได้
รูปแบบกิจกรรม
– อบรมภาคทฤษฏีเชิงประยุกต์
คุณสมบัติของผู้สมัครเข้ารับการอบรม
– ผู้ที่มีความรู้พื้นฐานด้านวิศวกรรมวัสดุ เครื่องกล โลหการ ที่หรือสาขาที่ใกล้เคียง
– ผู้ที่ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมต่างๆ และผู้ที่สนใจทั่วไป
วิทยากร
1. อ.สยาม แก้วคำไสย์; M. Eng (Metallurgical Engineering)
2. อ.โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว; M. Eng (Metallurgical Engineering)
3. อ.นิรุช บุญชู M. Eng. (Metallurgical Engineering)
4. อ.ศิริววรณ อ่วมปาน; B. Eng (Metallurgical Engineering)
5. อ.วิษณุพงษ์ คนแรง; B. Eng (Materials Engineering and Production Technology)
6. อ.วราพงศ์ ถองกระโทก; B. Eng (Materials & Metallurgical Engineering)
7. อ.ดวงรดา ยุทธกำธร; M. Sci. (Materials Science)
กำหนดการ
วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน 2566
08:00 น. – 08:45 น. ลงทะเบียน
08:45 น. – 09:00 น. พิธีเปิดการสัมมนา โดย ดร.เอกรัตน์ ไวยนิตย์
09:00 น. – 09:30 น. บทนำ : การแตกหักและการวิเคราะห์ผิวหน้าแตกหัก
(อ.สยาม แก้วคำไสย์)
09:30 น. – 11:00 น. ขั้นตอนการตรวจสอบผิวหน้าแตกหัก
– การศึกษาประวัติความเป็นมา
– การดูแลรักษาผิวหน้าแตกหัก
– การตัดผิวหน้าแตกหัก
– การทำความสะอาดผิวหน้าแตกหัก
– การถ่ายภาพผิวหน้าแตกหักแบบมหภาค
– การถ่ายภาพผิวหน้าแตกหักแบบจุลภาค
(อ.วิษณุพงษ์ คนแรง)
11:00 น. – 11:15 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
11:15 น. – 12:15 น. รูปแบบและกลไกการแตกหัก (Fracture Modes and Mechanisms)
– รูปแบบการแตกหักและลักษณะทางมหภาคของผิวหน้าแตกหัก (Ductile & Brittle)
– กลไกการแตกหักและลักษณะทางจุลภาคของผิวหน้าแตกหัก
(อ.โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว)
12:15 น. – 13:15 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:15 น. – 14:45 น. การระบุจุดเริ่มต้นรอยแตก (Fracture Origin Identification)
– การระบุจุดเริ่มรอยแตกทางมหภาคด้วย Chevron, Radial, River, และ Beach marks
– จุดเริ่มรอยแตกทางจุลภาค (Microscale Crack-initiation Sites)
– การตรวจสอบเชิงลึกบริเวณจุดเริ่มรอยแตก
(อ.สยาม แก้วคำไสย์)
14:45 น. – 15:00 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
15:00 น. – 16:30 น. ภาคปฏิบัติ: การวิเคราะห์ผิวหน้าแตกหักรูปแบบต่างๆ แบ่งเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 20 นาที/ตัวอย่าง เวียนจนครบทั้ง 5 สถานี
สถานีที่ 1. ผิวหน้าแตกหักที่มีจุดเริ่มจุดเดียวและหลายจุด
สถานีที่ 2. ผิวหน้าแตกหักที่เกิดจากการรับแรงแบบ torsional bending
สถานีที่ 3. ผิวหน้าแตกหักจากการรับแรงแบบ unidirectional และ reversed bending
สถานีที่ 4. ผิวหน้าแตกหักแบบ corrosion fatigue
สถานีที่ 5. ศึกษาผิวหน้าแตกหักแบบเหนียว/เปราะในระดับมหภาคและจุลภาคด้วย SEM
(อ.โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว และ อ.วราพงศ์ ถองกระโทก)
16:30 น. – 17:00 น. สรุปภาคปฏิบัติการศึกษาผิวหน้าแตกหัก
(อ.โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว และ อ.วิษณุพงษ์ คนแรง)
วันศุกร์ที่ 15 กันยายน 2566
09:00 น. – 10:30 น. การวิเคราะห์ผิวหน้าแตกหักจากการล้า (Analysis of Fatigue Fracture)
กรณีตัวอย่างการวิเคราะห์ผิวหน้าแตกหักจากการล้า
(อ.สยาม แก้วคำไสย์)
10:30 น. – 10:45 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
10:45 น. – 12:15 น. กรณีตัวอย่างการวิเคราะห์ผิวหน้าแตกหักในงานวิเคราะห์ความเสียหาย
(อ.ศิริวรรณ อ่วมปาน)
12:15 น. – 13:15 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:15 น. – 15:00 น. ภาคปฏิบัติการวิเคราะห์ผิวหน้าแตกหักพร้อมทำสไลด์ (แบ่งเป็น 5 กลุ่ม)
(อ.นิรุช บุญชู และ อ.ดวงรดา ยุทธกำธร)
15:00 น. – 16:30 น. นำเสนอการวิเคราะห์ผิวหน้าแตกหักกลุ่มละ 15 นาที
16:30 น. – 17:00 น. สรุปผลและมอบใบประกาศนียบัตร
การลงทะเบียน
ลงทะเบียนออนไลน์ https://www2.mtec.or.th/eventnstda/user/regisnow.aspx?EventID=S23030
ค่าลงทะเบียน
บุคคลทั่วไป/เอกชน ราคา 8,453 บาท/ท่าน (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ข้าราชการ/พนักงานองค์กรรัฐ ราคา 7,900 บาท/ท่าน (ไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม)
การชำระค่าลงทะเบียน
โอนเงิน หรือ ทำเช็ค สั่งจ่ายในนาม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ แล้วนำเช็คฝากเข้าบัญชี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์ สาขาย่อยอุทยานวิทยาศาสตร์ เลขที่บัญชี 080-000001-0
(กรุณาส่งหลักฐานการฝากเช็คเข้าบัญชีพร้อมระบุชื่อ, หน่วยงาน มาทางอีเมล boonrkk@mtec.or.th)
หมายเหตุ
– อัตราค่าลงทะเบียนรวมค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อาหารกลางวัน เอกสารประกอบการอบรม 1 ชุด
– สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%
– รับจำนวนจำกัดเพียง 20 ท่านเท่านั้น
สมัครและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีวัสดุเพื่ออุตสาหกรรม (บุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์/ พลธร เวณุนันท์)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
โทรศัพท์ 0 2564 6500 ต่อ 4677
E-mail : boonrkk@mtec.or.th